บททดสอบใจ และเตือนใจให้นึกถึงความจริง
จากหนังสือเรื่อง ความจริงแห่งชีวิต
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
มองในแง่ที่หนึ่ง เรื่องของชีวิตที่มีความเกิดขึ้น และมี
ความสิ้นสุดนี้ ว่าตามคติทางพระศาสนา ก็เป็นเรื่องธรรมดา
แต่เป็นธรรมดา ในส่วนที่มนุษย์เราไม่ชอบใจ คือส่วน
อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ ที่ไม่น่าปรารถนา ใครๆ ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น
แต่มันก็เป็นสิ่งสุดวิสัยที่จะไปห้ามกีดกั้นได้ มันจะต้อง
เกิดขึ้นแน่นอน เพราะเป็นกฎธรรมชาติ เมื่อมันยังไม่เกิด เราก็ไม่อยาก
ให้เกิด แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราก็ต้องยอมรับความจริง
การยอมรับความจริงนี้ ถ้าเอามาใช้ในทางธรรมก็กลายเป็นบททดสอบ
จิตใจของเราได้ด้วย และถ้าทำอย่างนั้นก็กลายเป็นว่า เราสามารถ
ถือเอาประโยชน์จากสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ส่วนที่ว่ามันเป็นไปแล้ว อย่างที่ไม่น่าจะเป็นไปอย่างนั้น เราก็
ต้องยอมรับความจริง แต่ส่วนหนึค่งก็คือ การนำมาใช้ในการทดสอบ
จิตใจของตนเอง เมื่อเป็นเครื่องวัดผลการปฏิบัติธรรมว่า
อันนี้ล่ะนะ คือของจริงที่ปราฎขึ้น แล้วเป็นความจริงตามหลักธรรม
ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สิ่งทั้งหลายมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วเสื่อมสบายไปเป็นธรรมดา โดยเฉพาะชีวิตของมนุษย์นี้
มีการเกิด แล้วก็ต้องมีความตายเป็นของแน่นอน ไม่มีใคร หลีกเลี่ยงได้
ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราจะทำใจของเราอย่างไร ถ้าเป็นลักาณะจิตใจของผู้ที่ด้ฝึกฝนตนเอง
หรือพัฒนาแล้ว ก็จะเป็นจิตใจที่สามารถตั้งตัว หรือฟื้นฟูตัวเองได้ทัน
ท่านกล่าว่า คนเรานั้นอยู่ในโลกก็จะต้องประสบโลกธรรม
คือสิ่งที่เป็นธรรมดาของโลกเป็นธรรมดา
ถ้าเราไม่ได้ฝึกฝจจิตใจของเรา เวลาประสบอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา
ก็จะเกิดความเศร้าโศกเสียใจ ท่านเรียกว่า มีการยุบหรือการแฟบ
จิตใจก็ห่อเหี่ยว แต่ในทางตรงข้าม ถ้าได้รับอารมณ์ที่น่า
ปรารถนาอย่างที่เรียกว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข เราก็จะ
มีความปลาบปลื้มปีติ ยินดี แล้วก็อาจหลงใหลมัวเมา
ถ้าคนไม่ได้ฝึกฝนตนเอง ก็จะทำให้จิตใจฟูไปตาม แล้วก็จะหลงระเริง
คือไม่ใช่เพียงแค่ปีติยินดีตามสมควรแก่ธรรมเท่านั้น
แต่จะหลงระเริงมัวเมา แล้วอาจจะเกิดเป็นโทษ อาจจะเกิดกิเลนสต่างๆ ตามมาได้อีกมากมาย
แต่สำหรับผู้ที่ได้รับการพัฒนาตนเองแล้ว รู้จักฝึฝน ตนเอง
แล้วนะธรรมมากล่อมเกลาจิตใจ ได้รู้คติธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย
ก็จะปฏิบัติด้วยความรู้เท่าทัน ถ้าสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ดีงามน่าพอใจ
ก็ยินดี พึงพอใจตามสมควรแก่ธรรม แต่ไม่หลงระเริงไป
หรือถ้ามีสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาเ้กิดขึ้น
เช่น มีการสูญเสีย หรือการพลัดพราก เป็นต้น ก็จะทำใจได้รวดเร็ว โดยรู้เท่าทันคติธรรมดา
ไม่เศร้าโศกจนเกินไป แล้วก็จะโน้มจิตใจไปในทาง
ที่เป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตใจงอกงามยิ่งขึ้น จิตใจก็จะไม่สลด ไม่ตกอยู่นาน
อาจจะตกอยู่ชั่วขณะสั้นๆ
ในฐานที่เป็นธรรมดาของปุถุชน แต่เสร็จแล้วก็จะรู้เข้าใจเท่าทันความจริง
พอรู้เท่าทันความจริงแล้วก็จะตั้งจิตใจให้ฟื้นขึ้นมาเป็นปกติได้
เมื่อตั้งจิตใจเป็นปกติได้ขึค้นมาแล้ว และรู้เท่าทันด้วยปัญญา
จิตใจนั้น ก็จะสว่างผ่องใน ความเป็นกุศลธรรมก็เกิดขึ้น
ทั้งหมดนี้ ข้อสำคัญ ก็คือ การรู้เท่าทันความจริง สิ่งที่เป็นเครื่องทดสอบ พุทธศาสนิกชน
ในเรื่องการปฏิบัติก็คือ ความรู้เท่าทันนี้แหละว่า เราได้ศึกษาธรรมแล้ว มีความรู้เท่าทัน
สามารถดำรงจิตใจของตนเองได้
เป็นปกติสุข หรือให้พัฒนาเจริญงอกงามขึ้นได้แค่ไหนเพียงไร
หนังสือธรรมะชุดเตรียมตัวตายอย่างสงบ โดย พระไพศาล วิสาโล
อ่านรายละเอียดหนังสือชุดนี้ได้ที่
http://www.trilakbooks.com/product/2048543/หนังสือชุด-เตรียมตัวเผชิญความตาย-420บาท.html