สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์
ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตานี้ เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย
เป็นความจริงที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดา ตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไป
ก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุวไว้ ถ้าไม่มนสิการ
คือ ไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น สิ่งที่เหมือน เครื่องปิดบังซ่อน
คลุมเหล่านี้คือ
๑. สันตติ บังอนิจจลักษณะ
๒. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ
๓. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ
๑. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความเกิดและความดับ หรือความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมสิ้นไป ก็ถูกสันตติ คือ ความสืบต่อหรือความเป็นไปอย่างต่อเนื่องปิด
บังไว้ อนิจจลักษณะจึงไม่ปรากฏ, สิ่งทั้งหลายที่เรารู้เห็นนั้นล้วนแต่มีความเกิดขึ้น
และความแตกต่างสลายอยู่ภายในตลอดเวลา แต่ความเกิดดับนั้นเป็นไปอย่าหนุน
เนื่องติดต่อกันรวดเร็วมาก คือ เกิด-ดับ-เกิด-ดับ-เกิด-ดับ ความเป็นไปต่อเนื่อง
อย่างรวดเร็วยิ่งนั้น ทำให้เรามองเห็นว่าเป็นสิ่งนั้นคงที่ถาวรเป็นอย่างหนึ่งอย่างเดิม
ไม่มีความเปลี่ยนแปลง เหมือนอย่างตัวเราเองหรือคนใกล้เคียงอยู่ด้วยกันมองเห็นกัน
เสมือนว่าเป็นอย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเวลาผ่านไปนาน สังเกตดู หรือไม่เห็น
กันนานๆ เมื่อพบกันอีกจึงรู้ว่าได้มีความเปลี่ยนแปลงไปแล้วจากเดิม แต่ตามความเป็น
จริงความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นอยู้ตลอดเวลา ทีละน้อย และต่อเนื่องจนไม่เห็นช่องว่าง
ตัวอย่างเปรียบเทียบพอให้เห็นง่ายขึ้น เช่น ใบพัดที่กำลังหมุนอยู่อย่างเร็วยิ่ง มองเห็น
แต่เป็นแผ่นกลมแผ่นเดียวนิ่ง เมื่อทำให้หมุนช้าลง ก็เห็นเป็นใบพัดกำลังเคลื่อนไหว
แยกเป็นใบๆ เมื่อจับหยุดมองดูก็เห็นชัดว่าเป็นใบพัดต่างหากกัน ๒ใบ ๓ใบ หรือ ๔ใบ
หรือเหมือนคนเอามือจับก้านธูปที่จุดไฟติดอยู่แล้วแกว่งหมุนอย่างรวดเร็วเป็นรูปวงกลม
มองดูเหมือนเป็นไฟรูบวงกลม แต่ความจริงเป็นเพียงธูปก้านเดียวที่ทำให้เกิดรูปต่อเนื่อง
ติดเป็นพืดไป หรือเหมือนหลอดไฟฟ้าที่ติดไฟอยู่สว่างจ้า มองเห็นเป็นดวงไฟที่สว่างคงที่
แต่ความจริงเป็นกระแสไฟฟ้าที่เกิดดับไหลเนื่องจากผ่านไปอย่างรวดเร็ว หรือเหมือนมวลน้ำ
ในแม่น้ำที่มองดูเป็นผืนหนึ่งผืนเดียว แต่ความจริงเป็นกระแสน้ำที่ไหลผ่านไปๆ เกิดจากน้ำ
หยดน้อยๆ มากมายมารวมกันและไหลเนื่อง
สิ่งทั้งหลายเช่นดังตัวอย่างเหล่านี้ เมื่อใช้เครื่องมือหรือวิธีการที่ถูกต้องมากำหนดแยก
มนสิการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไป จึงจะประจักษ์ความไม่เที่ยงแท้ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง
๒. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูก อิริยาบถ คือ
ความยักย้ายเคลื่อนไหวปิดบังไว้ ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ, ภาวะที่ทนอยู่มิได้ หรือภาวะที่คง
สภาพเดิมอยู่มิได้ หรือภาวะที่ไม่อาจคงอยู่หรือสภาพเดิมได้ ด้วยมีแรงบีบครั้นกดดันขัดแย้งเร้า
อยู่ในส่วนประกอบต่างๆ นั้นจะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตาหรือความรู้สึกของมนุษย์ มักจะต้อง
กินเวลาระยะหนึ่ง แต่ในระหว่างนั้น ถ้ามีการคืบเคลื่อนยักย้ายหรืทำให้แปลรูปเป็นอย่างอื่นไป
เสียก่อน ก็ดี ภาวะที่บีบคั้นกดดันขัดแย้งนั้น ก็ไม่ทัดปรากฏให้เห็น ปรากฏส่วนใหญ่มักเป็นไป
เช่นนี้ ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ
ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในร่างกายของมนุษย์นี้และไม่ต้องรอให้ถึงขั้ขชีวิตแตกดับอดก แม้ในชีวิต
ประจำวันนี้เอง ความบีบคั้นกดดันขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลาทั่งองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจ
อยู่นิ่งเฉยในท่าเดียวได้ ถ้าเราอยู่หรือต้องอยู่ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น ยืนอย่างเดียว นั่งอย่าง
เดียว เดินอย่างเดียว นอนอย่างเดียว ความบีบคั้นกดดันตามสภาวะจะค่อยๆเพิ่มมากขึ้นๆ จนถึง
ระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้นกดดันที่คนทั่วไปว่าเป็นทุกข์ เช่น เจ็บปวดเมื่อย จนในที่สุดก็
ทนไม่ไหว และต้องยักย้ายเปลี่นไปสู่ท่าอื่นที่เรียกว่าอิริยาบถอื่น เมื่อมีความบีบคั้นกดดันอันเป็น
ทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง ความรู้สึกบีบคั้นกดดันที่เรียกว่า ความทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไป
ด้วย (ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบายที่เรียกว่าความสุขเกิดขึ้นมาแทน
ด้วย แต่อันนี้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่
ภาวะปราศจากทุกข์) ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่งหรืออิริยาบถอื่นเสีย หรือเรา
มักจะเคลื่อนไหวเปลี่ยนท่าหรืออิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอดจากความรู้สึกทุกข์ไปได้ เมื่อไม่รู้สึกทุกข์
ก็เลยพลอยมองข้ามไม่เห็นความทุกข์ที่เป็นความจริงตามสภาวะไปเสียด้วย ท่านจึงว่าอิริยาบถบัง
ทุกขลักษณะ
๓. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกเป็นธาตูต่างๆ ก็ถูก ฆนะ คือความเป็นแท่ง
เป็นก้อนเป็นชิ้นเป็นอันเป็นมวลหรอเป็นหน่วยรอม ปิดบังไว้ อนัตตลักษณะจึงไม่ปรากฏ, สิ่งทั้งหลาย
ที่เรียกชื่อว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ล้วนเกิดจากเอาส่วนประกอบทั้งหลายมารอบรวมปรุงแต่งขึ้น เมื่อแยกย่อย
ส่วนประกอบเหล่านั้นออกไปแล้ว สิ่งที่เป็นหน่วยรวมซึ่งเรียกชื่อว่าอย่างนั้นๆ ก็ไม่มี
โดยทั่วไป มนุษย์มองไม่เห็นความจริงนี้ เพราะถูกฆนสัญญาคือความจำหรือความสำคัญหมายเป็น
หน่วยรวมคอยปิดบังไว้ เข้ากับคำกล่าวอย่างชาวบ้านว่า เห็นเสื้อแต่ไม่เห็นผ้า เห็นแต่ตุ๊กตามองไม่เห็น
เนื้อยางคือคนที่ไม่ได้คิดไม่ได้คิดพิจารณาบางทีก็ถูกภาพตัวตนของเสื้อปิดบังตามหลอดไว้ ไม่ได้
มองเห็นเนื้อผ้าที่ปรุงแต่งเป็นรูปเสื้อนั้น ซึ่งว่าที่จริงผ้านั้นเองก็ไม่มี มีแต่เส้นด้ายมากมายที่มาเรียงกัน
เข้าตามระเบียบ ถ้าแยกด้ายทั้งหมดออกจากกันผ้านั้นเองก็ไม่มี หรือเด็กที่มองเห็นเป็นรูปตุ๊กตา เพราะถูก
ภาพตัวตนของตุ๊กตาปิดบังหลอกตาไว้ ไม่ได้มองถึงเนื้อยางซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงของตุ๊กตานั้น เมื่อจับ
เอามาแต่งตัวจริง ก็มีแต่เนื้อยาง หามีตุ๊กตาไม่ แม้เนื้อยางนั้นเองก็เกิดจากส่วนผสมต่างๆ มาปรุงแต่งขึ้นต่อๆ
กันมา ฆนสัญญาย่อมบังอนัตตลักษณะไว้ในทำนองแห่งตัวอย่างง่ายๆ ที่ได้ยกมากล่าวไว้นี้ เมื่อใช้อุปกรณ์
หรือวิธีการที่ถูกต้องมาวิเคราะห์มนสิการเห็นความแยกย่อยออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ จึงจะประจักษ์ในความ
มิใช่ตัวตน มองเห็นว่าเป็นอนัตตา
.........................................................................................
คัดลอกมาจาก
หนังสือเรื่อง อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา ไตรลักษณ์
ท่านสามารถดูรายละเอียดหนังสือเล่มนี้//สั่งซื้อได้ที่