เมื่อเรามองดูความเป็นไปนชีวิตประจำวันของเราเอง แต่ละคนๆ ในวันหนึ่งๆ
เราต้องประสบกับความพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เหล่านี้เป็นต้น
ซึ่งเราต้องการแต่ด้านความพอใจ ความดีใจ ส่วนด้านตรงกันข้ามเรา
ไม่ต้องการแต่เราก้ไม่รู้วิธีว่าทำอย่างไร จึงจะพ้นออกมาเสียจากความไม่พอใจความเสียใจ
แต่ำหรับผุ้ที่ได้ศึกษาธรรมชาติของชีวิตจิตใจ
ภายในตัวเองด้วยการเฝ้ามอง เฝ้าสังเกตุความรู้สึกภายในจิตใจ
ของตนเองมาพอสมควร โดยอาศัยหลักการในพุทธศาสนา หรือศาสนาใดก็ตาม
จะพบว่า เพราะเราติดหรือหลงใหลในรสอร่อยของเหยื่อกามในโลก ซึ่งได้แก่
ความสนุกสนานก็เอร็ดอร่อย อันเกิดจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นต้นนี่เอง
เราจึงต้องวนเวียนอยู่ในความพใจ ไม่พอใจ ดีใจ เสียใจ เหล่านี้ เป็นต้น
ยิ่งกว่านั้น เมื่อศึกาาธรรมชาติของชีวิตจิตใจภายในตัวเอง ให้ลึกลงไปๆ
ก็จะพบว่า แม้แต่ความพอใจ ดีใจ มันก็เป็นความทนทรมานชนิดหนึ่งเท่าๆกับ
ความไม่พอใจ ความเสียใจ
ดังนั้น ทั้งความพอใจ ความไม่พอใจ ความดีใจ ความเสียใจ อันเป็นของคู่
เหล่านี้จึงเป็นความทุะกขืทรมาน เท่าๆกัน
สำหรับท่านที่ซึมซาบดังกล่าว จึงจะชะเง้อหาสิ่งที่สูงกว่า ประเสริฐกว่า
แต่เขาก็ไม่มีโอกาสพบหรือถึงสิ่งนั้นได้ถ้าเขาไม่ยอมละเหยื่อซึ่งมีแต่ความยึดถือว่า
"ตัวตน" หนักขึ้นๆ แต่ถ้าเขายอมละเหยื่อ "ตัวตน" ก็จะค่อยๆ สลายไปๆ
และหมดไปในที่สุด และนั่นแหละคือภาวะอันประเสริฐสูงสุดที่มนุษย์เรา
ควรจะได้จะถึงในการเกิดชาติหนึ่งนี้ ซึ่งสิ่งนั้นจะเรียกว่า "นิพพาน"
คณะเผยแพร่ชีวิตประเสริฐ
จากหนังสือธรรมะเรื่อง นิพพาน โดยหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ