บัณฑิตตามพุทธวิธี
บัณฑิต ตามพุทธวิธี ความสัมพันธ์กับพระไตรปิฎก
บัณฑิตในทางโลก หมายถึง ผู้ทรงความรู้ ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ หรือผู้สำเร็จการศึกษา ๓ ขั้น
คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ส่วนบัณฑิต
ในมหาวิทยาลัยสงฆ์มีวัตถุประสงค์หลัก คือ
๑) เพื่อให้บัณฑิตมีความรอบรู้ เชี่ยวชาญในเรื่อง
พระพุทธประวัติ สามารถวิเคราะห์ วิพากษ์ และวิจัยวิชาการด้านพระพุทธศาสนาได้
อย่างแตกฉาน
๒) เพื่อให้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้นำสังคมทางด้านปัญญาและจิตใจ และ
๓) สามารถนำหลักพุทธรรมไปประยุกต์ใช้เผยแผ่พระพุทธศาสนา
เพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมในการศึกษาเพื่อรับปริญญา ทางพระพุทธศาสนา
เริ่มต้นจากการศึกษา เรียกว่า ไตรสิกขา หมายถึง ข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติ
ที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา
ให้ยิ่งขึ้นไป จนบรรลุจุดหมาย สูงสุดคือพระนิพพาน
พระพุทธศาสนาได้เน้นความสำคัญเกี่ยวกับหลักไตรสิกขาเป็นอย่างมาก เนื่องจากหลักปฏิบัติ
ธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งหมดจัดรวมอยู่ในหลักไตรสิกขา เมื่อไตรสิกขาเป็นหลักคำสอนที่ครอบคลุม
หลักปฏิบัติธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา จึงกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนานั้นเป็นหลักธรรมแห่ง
การศึกษา การรับปริญญาเป็นบัณฑิตตามพุทธวิธี จึงเป็นเรื่องการศึกษาพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ : พุทธวิธี, ไตรสิกขา, บัณฑิต