พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) |
ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระองค์ไม่ทรงแต่งตั้งพระภิกษุรูปใดเป็นศาสดาปกครองคณะสงฆ์สืบต่อจากพระองค์นอกจากประทานแนวทางไว้ว่า “โดยที่เราล่วงลับไป ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย” ชาวพุทธจึงถือเอาพระธรรมวินัยเป็นเสมือนตัวแทนพระศาสดา แต่เนื่องจากพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้สมัยยังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้นไม่ได้รับการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจึงเป็นไปได้ที่พระธรรมวินัยบางส่วนจะสูญหายไปภายหลังปรินิพพานของพระพุทธเจ้าถ้าไม่มีมาตรการเก็บรักษาที่ดี มาตรการในการเก็บรักษาพระธรรมวินัยเรียกว่า การสังคายนา หมายถึง การประชุมสงฆ์จัดระเบียบหมวดหมู่พระะรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้จนสรุปเป็นมติที่ประชุมว่า พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนี้แล้ว ก็มีการท่องจำถ่ายทอดสืบต่อ ๆ กันมาการสังคายนาพระะรรมวินัยมีขึ้นหบายครังและการนับครั้งของการสังคายนาก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา การสังคายนาที่ทึกฝ่ายยอมรับตรงกันได้แก่การสังคายนา ๓ ครั้งแรกในประเทศอินเดียการสังคายนาครั้งที่หนึ่ง จัดขึ้นใกล้กรุงราชคฤห์ภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ ๓ เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน ๕๐๐ องค์ พระมหากัสสปะเถระเป็นประะานและเป็นผู้สอบถาม พระอุบาลีตอบข้อซักถามเกี่ยวกับธรรมคำตอบของพระอานนท์เริ่มต้นด้วยประโยคว่า “เอวัมเม สุตัง” แปลว่า “ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้” ในการสังคายนาครั้งที่สอง ซึ่งจัดขึ้นใน พ.ศ. ๑๐๐ ยังไม่มีการแบ่งพระธรรมวินัยเป็นพระไตรปิฎกอย่างชัดเจน การจัดประเภทพระธรรมวินัยเป็นรูปพระไตรปิฎก มีขึ้นในการสังคายนา ครั้งที่ ๓ ใน พ.ศ. ๒๓๕ จัดขึ้น ณ กรุงปาฏลีบุร ประเทศอินเดีย ไตรปิฎก แปลว่า สามคัมภีร์ หมายความว่า พระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้นั้นแบ่งออกเป็น ๓ ปิฎกหรือคัมภีร์ นั่นคือ วินัยปิฎก ว่าด้วยศีลหรือวินัยของภิกษุ ภิกษุณี สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป ตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบ อภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมล้วน ๆ เน้นหนักในเรื่องจิตวิทยา และอภิปรัชญา
|