เราจะปลีกตัวถอนตัวออกมาเสียจากสิ่งทั้งหลายที่เป็น
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างไร?
คำตอบก็คือ จะต้องศึกษา
ว่าอะไรเป็นเหตุให้เราอยากเข้าไปติดยึดนิ่งเหล่านั้น? เมื่อรู้
ต้นเหตุ เราอาจจะตัดการยึดติดเสียได้ กิเลสซึ่งเป็นความยึดถือ
ในสิ่งทั้งปวงนั้น ในพุทธศาสนา เรียกว่า “อุปาทาน” แปลว่า ความยึดติด จำแนก
เป็น ๔ ประการด้วยกัน ๔๐
๑ กามุปาทาน (ยึดมั่นด้วยความเป็นกามหรือของรักของใคร่ทั่วไป)
เห็นได้จากการที่เคนเราตามธรรมดามีความคิดพันในสิ่งที่รัก ที่พอใจ
ว่าจะเป็น รูปเสียง กลิ่น รสและสัมผัส สัญชาตญาณของคนเราย่อม
รู้สึกสนุกสนานเพลิพเลน หรือเอร็ดอร่อยในกามารมณ์ ๔ อย่างนี้
ตามหลักธรรมในพุทธศาสนาขยายออกไปเป็น ๖ คือ มี “ธรรมารมณ์”
เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง หมายถึงสิ่งที่ผุดขึ้นในใจ จะเป็นอดีต ปัจจุบัน
หรืออนาคตก็ได้เ กี่ยวกับวัตถุกายนอกหรือภายในก็ได้ เป็นเพียงคิดฝัน
ก็ได้เ แต่ทำให้เกิดความเอร็ออร่อย เพลิดเพลินทางจิตใจในขณะที่รู้สึก ๔๑
การที่มนุษย์ต้องการทำงานขวนขวายหรือทำอะไรก็ตาม เรา
อาจจะสืบสวนเรื่องรวมไปแล้วจะพบว่า เขามีความอยากใคร่จะได้อย่างใด
อย่างหนึ่งที่เขาอุตส่าห์เล่าเรียนหรือประกอบอาชีพก็เพื่อ
ให้ได้ผลมาจากอาชีพ แล้วไปจัดหาความสบายในทางรูป
เสียง กลิ่น รส สัมผัส มาบำรุงบำเรอตน แม้แต่เรื่องทำบุญ
อธิฐานให้ไปสวรรค์ ก็มีมูลมาจากความหวังในทางกามารมณ์ทั้งนั้น
รวมความแล้ว ความยุ่งยากปั่นป่วนของโลกทั้งสิ้น มีมูลมาจากกามารมณ์นั่นเอง ๔๒
กามารมณ์ มีอำนาจร้ายกาจ ถึงเพียงนี้ ก็เพราะอำนาจของ
กามุปาทาน คือ ความยึดมั่นติดมั่นอย่างเหนียวแน่นใน
กามตัวนี้เอง พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้เปฌนอาปาทานข้อต้น
เป็นปัญหาเกี่ยวกับโลกโดยตรง โลกจะวินาศฉิบหาย
หรือจะเป็นอะไรก็ตาม ย่อมมีมูลมาจากกามุปาทาน
นี้โดยเฉพาะ เราควรจะพิจารณาตัวเราเองว่าเรา
มีความคิดในกามอย่างไร เหนียวแน่นเพียงไร
จะเหลือวิสัยที่เราจะละได้จริงๆ หรือไม่ ๔๓
ถ้าวากันทางคดีโลกแล้ว การติดกามกลับจะเป็นประโยชน์
อย่างใหญ่หลวง เพราะจะทำให้เรารักครอบครัว ทั้งยังทำให้
ขยันขันแข็งในการแสวงหาทรัพย์และชื่อเสียง ฯลฯ
แต่ถ้ามองกันในแง่ของธรรมะ จะรู้สึกว่าเป็นทางมาแห่งความทุกข์
ทรมานอันเร้นลับ เพราะฉะนั้นในทางธรรมะความติดกาม
จึงเป็นสิ่งที่ต้องควบคุม และถึงกับเป็นสิ่งที่จะต้อฃละกันให้
หมดสิ้นในที่สุด จึงจะหมดความทุกข์ทั้งปวงได้ ๔๔
๒ ทิฏฐปาทาน (ยึดติดเป็นทิฏ่ฐิหรือความคิดเห็นที่ตนมีอยู่เดิมๆ)
เป็นสิ่งที่พอจะมองเห็นและเข้าใจได้ไม่อยาก พอเราเกิดมาในโลก
เราก็ได้รับการศึกษาอบรมให้เกิดเป็นความคิดเห็นชนิที่มีไว้สำหรับ
ยึดมั่นไม่ยอมใครง่ายๆ นี้เรียกว่า ทิฏฐิ ลักษณะที่ยึดความคิดความเห็น
ของตนนี้เป็นไปตามธรรมชาติ เราไม่ติเตียนกันนัก และเป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้
แต่เป็นโทษภัยที่ร้ายกาจไม่น้อยไปกว่าการยึดติดในของรักของใคร่ ถ้ายึด
ติดในความคิดความเห็นเดิมๆ ของตัวอย่างดื้อดึงแล้ว
ก็อาจถึงกับจะต้องได้รับความวินาศ
เราจึงจำเป็นต้องปรับปรึง ทิฏฐิองเราให้ถูกให้ดีให้สูงยิ่งขึ้น คือจาก
ความคิดผิดให้กลายเป็นความเห็นถูกต้องและยิ่งๆขึ้นไปจนถึงที่สุด
ชนิดที่รู้อริยสัจจ์ได้ที่ได้บรรยายมาแล้ว ๔๕
ทิฏฐิทที่เป็นความดท้อถือรั้นนั้นมีมูลมาจากหลายทาง
แต่โดยพาะอย่างยิ่งแล้ว มักจะเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม
ประเพณี หรือ ลัทธิศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ทิฏฐิดื้อรั้นเป็นของ
ส่วนตัวเองล้วนๆ นั้นยังไม่เท่าไร เพราะไม่มากมาย
เหมืนอที่มาจากขนบธรรมเนียบประเพณีที่ถือกันมา
ที่ค่อยๆ อบรมสะสมกันมากขึ้นๆ ๔๖
ปัญหานี้ย่อมจะเกิดแก่บุคคลผู้ถือลัทธิศานาที่ยังต่ำๆ
อยู่ ทั้งๆ ที่ตนเห็นว่าต่ำหรือผิดก็เปลี่ยนไม่ได้เพราะ
เขามักถือเสียว่า บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย
เคยถือกันมา หรือถ้าไม่มีเหตุผลอะไรสำหรับ
แก้ตัวขึ้นมาจริงๆ ก็ว่าเป็นสิ่งที่เคยถือกันมานานนมแล้ว
เป็นต้น เพราะเหตุนี้เองพระพุทธศาสนาจึงถือว่า
ทิฏฐินั้นเป็นกิเลสตัวร้ายกาข เป็นสิ่งที่น่าอันตรายที่สุด
อย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องพยายามทำอย่างยิ่งให้
หมดไป มิฉะนั้นตนก็จะไม่ได้อะไรที่ดีขึ้นเลย ๔๗
๓สีลัพพัตตุปาทาน (ยึดติดเป็นวัตรปฏัติที่มุ่งหมายผิดทาง )
หมายถึงความถือมั่นในการประพฤติการกระทำที่ปรัมปรา
สืบกันมาอย่างงมงาย ไร้เหตุผล หรือที่คนนิยมเรียกกันว่า
ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ คิดกันว่า เป็ฯสิ่งที่เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
และจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ๔๘
คนไทยเราทั่วไปก็มีสิ่งนี้กันไม่น้อย
กว่าชนชาติอื่น มีการถือเครื่องรางของขลัง
ลัทธิเคล็ดลับต่างๆ เช่น ตื่นนอนขึ้นมราจะต้องเสกน้ำล้างหน้า
จะถ่ายอุจาระก็ต้องผินหน้าทิศนั้นทิศนี้
จะบริโภคอาหาร หรือจะนอน ก็ต้องมีเคล็ดมีพิธี
เชื่อผีสางเทวดา ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
เป็นการปฏิบัติที่ไร้เหตุผล อย่างยิ่ง ไม่คำนึงถึงเหตุผล
คงมีแต่ความยึดถือมั่นตามความยึดถือมั่น
ตามตำราบ้าง เคยทำมาแล้วไม่ยอมเปลี่ยนแปลงบ้าง ๔๙
แม้วิปัสสนากรรมฐาน หรือสมถกรรมฐาน
อย่างที่กำลังประพฤติปฏิบัติกันอยู่ในเวลานี้ก็ตาม
ถ้าไปด้วยความไม่รู้เหตุผล ต้นปลาย ไม่รู้ความมุ่งหมายอันแท้จริง
แล้วก็ต้องเป็นไปด้วยอำนาจของการยึดถือโดยมุ่งหมายผิด
เป็นความโง่เขลาชนิดหนึ่ง โดยไม่ต้องสงสัย ๕๐
แม้ที่สุดจะรับศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ หรือศีลเท่าใดก็ตาม
ถ้ารักษาโดยคิดว่า จะเป็นผู้ขลังผู้วิเศษศักดิ์สิทธิ์ จะมีอำนาจ
ฤทธิ์เดชอะไรขึ้นมาแล้ว ก็กลายเป็นกิจวัตร ที่มุ่งผิดทาง ทำไป โ
ดยอำนาจสีลัพพัตตุปาทานนี้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องกล่าวถึง
การประพฤติแปลๆ ของพวกภายนอกพุทธศาสนาก็ได้
ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องระมัดระวังให้มากๆ ๕๑
การประพฤติปฏิบัติตามหลักของธรรมะในพระพุทธศาสนานั้น
จะต้องให้ถูกไปตั้งแต่เริ่มมีความคิด ความเห็นความพอใจ
ในผลของการทำลายกิเลสไปตังแต่ต้นทีเดียว
ความประพฤติปฏิบัตินั้นจึงจะไม่เป็นความงมงายที่
นอกลู่นอกทาง ไร้เหตุผล และเสียเวลาปฏิบัติ ๕๒
๔ อัตตวาทุปาทาน (ยึดมั่นโดยความเป็นตัวเป็นตน)
ความยึดมั่นว่า ตัวตนนี้ เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งเร้นลับอย่างยิ่ง
สิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดจะรู้สึกว่ามันเปฯตัวตนของมันอยู่
ดังนี้ เสมอไปอย่างช่วยไม่ได้ เพราะมันเป็น
สัญชาติญาณขั้นต้นที่สุดของสิ่งที่มีชีวิต และเป็นมูลฐาน
ของสัญชาตญาณอื่นๆ เช่น สัญชาตญาณหาอาหารการ
กิน สัญชาตญาณต่อสู้อันตราย หลบหนีอันตราย สัญชาตญาณสืบพันธุ์
และอื่นๆ อีกมาก ซึ่งล้วนแต่อาศัยสัญชาตญาณ
แห่งการรู้สึกยึดถือว่าเป็นตัวมันทั้งนั้น มันต้อง
ยึดว่ามีตัวเราเสียก่อน จึงจะไม่อยากตาย มันจึงอยากหาอาหาร
มาเลี้ยงร่างกาย อยากต่อสู้เอาตัวรอด หรืออยากจะสืบพันธุ์ของมันไว้ ๕๓
ความยึดถือว่ามีตัวตนนี้มีประจำอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย
ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วมันจะมีชีวิตรอดมาไม่ได้
แต่พร้อมกันนั้น มันก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ใน
การแสวงหาอาหาร ในการต่อสู้ ในการสืบพันธุ์
หรือในการทำอะไรทุกๆอย่าง ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่ามันเป็นมูลฐานแห่งความทุกข์ทั้งปวงด้วย ๕๔
ข้อนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็นใจความโดย สรุปสั้นที่สุดว่า
“สิ่งต่างๆที่คนมีอุปาทานไปยึดอยู่นั่นแหละเป็น
ตัวความทุกข์ หรือเป็นมูลเหตุแห่งความทุกข์”หรือ
“ร่างกายและจิตใจที่คนเข้าไปยึดถือด้วย
อุปาทานอยู่นั่นแหละเป้นความทุกข์ ๕๕
อุปาทานข้อนี้เป็นต้นกำเนินของชีวิต
และเป็นต้นกำเนินของความทุกข์ต่างๆ คำที่ว่า “ชีวิต
คือความทุกข์ ความทุกข์ คือชีวิต ท่านก็หมายถึง
ข้อนี้เอง การที่เรารู้จักมูลกำเนินของชีวิตและ
ของความทุกข์ น่าจะถือว่าเป็การรู้ในสิ่งที่ลึกซึ้งที่
สุดและรู้ถึงที่สุด เพราะว่า เป็นทางทำให้เราสามารถ
กำจัดความทุกขืได้อย่างเด็ดขาด ข้อนี้อยากจะอวด
ด้วยว่า เป็นวิชาความรู้เฉพาะของพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่อาจพบ
ได้ในศาสนาอื่นๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้เลย ๕๖
เกี่ยวกับอุปาทาน วิธีปฏิบัติที่ให้ประโยชน์
ที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้น จะต้องอาศัยการรู้จักตัวความยึดติด
โดยเฉพาะ อัตตวาทุปาทานให้มากเป็นอย่างยิ่ง
เพราะว่ามันเป็นมูลฐานของชีวิต เป็นสิ่งที่มีขึ้นเอง เป็นเอง
ประจำอยู่เสร็จแล้วในตัว โดยไม่ต้องมีใครมาสอนอะไรกันอีก ๕๗
ขอสรุปความว่า อุปาทานทั้งสี่นี้ เป็นปัญาอันเดียว
ที่พุทธบริษัทหรือผู้ประสงค์จะรู้จักตัวพุทธศาสนา
จะต้องเข้าใจให้ได้เพราะว่าวัตถุประสงค์ของการรักษา
พรหมจรรย์ในพุทธศานานี้ก็ทำเพื่อให้จิตใจหลุดพ้น
จากความยึดมั่นที่ผิดๆ นี้ ท่านทั้งหลายจะได้พบคำกล่าวเ
ช่นในท้ายบาลีทุกๆ สูตร ที่กล่าวถึงการบรรลุ
ธรรมของพระอรหันต์ ซึ่งในที่นั้จะมีคำว่า “จิตหลุดพ้นจากอุปาทาน”
แล้วก็จบกัน เพราะว่าเมื่อจิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นแล้ว
ก็ไม่มีอะไรที่จะมาผูกคล้องจิตใจนั้นตกเป็นทาสของโลก
หรือเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เรื่องจึงจบสิ้น หรือกลายเป็นโลกุตระ
คือพ้นโลก เหตุฉะนั้น การหลุดพ้นจากการยึดมั่นที่ผิดๆ
จึงเป็นใจความสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา ๕๘
คัดลอก จากหนังสือ คู่มือมนุษย์ โดยหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ