**พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร** เมื่อก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ได้มีมหาบุรุษท่านหนึ่งเกิดขึ้นมาในโลก
เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ซึ่งบัดนี้ อยู่ในเขตประเทศเนปาล มีพระนามว่า "สิทธัตถะ"
ต่อมาอีก ๓๕ ปี พระสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรมได้พระนามตามความตรัสรู้ว่า "พุทธะ"
ซึ่งไทยเราเรียกว่า "พระพุทธเจ้า" พระองค์ได้ทรงประกาศพระธรรมที่ได้ตรัสรู้แก่ประชาชนจึงเกิดพระพุทธศาสนา
(คำสั่งสอนของพระพุทธะ) และบริษัท ๔ คือ ภิกษุ (สามเณร) อุบาสก อุบาสิกา ขึ้นมรในโลกจำเดิมแต่นั้น
บัดนี้ในเมืองไทยมีแต่ภิกษุ (สามเณร) อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุนั้นคือ ชายผู้ถือบวช ปฏิบัติพระวินัยของภิกษุ สามเณร นั้น
คือชายผู้มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี หรือแม้อายุเกิน ๒๐ ปีแล้วเข้ามาถือบวชปฏิบัติสิกขาของสมเณร
อุบาสก อุบาสิกา นั้นคือ คฤหัสถ์ชายหญิง ผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) และปกิบัติอยู่ในศีล สำหรับคฤหัสถ์
บัดนี้ มีคำเรียกชายหญิง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ผู้ประกาศตนถึงพระพุทธเจ้า
พร้อมทั้งพระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะว่า "พุทธมามกะ" "พุทธมามิกา" แปลว่า "ผู้ถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของตน"
พระพุทธศาสนาได้แผ่ออกจากประเทศถิ่นที่เกิดไปในประเทศต่างๆ ในโลก
หลักเคารพสูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ พระรัตนตรัย (รัตนะ ๓) ได้แก่ พระพุทธเจ้า
คือพระผู้ตรัสรู้พระธรรม แล้ว ทรงประกาศสั่งสอนตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น พระธรรมคือสัจธรรม
(ธรรมคือความจริง) ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และได้ทรงประกาศสั่งสอนเป็นพระศาสนาขึ้น พระสงฆ์คือหมู่ชนผู้ได้ฟังคำสั่งสอน
ได้ปกิบัติและได้รู้ตามพระพุทธเจ้า บางพวกออกบวชตามได้ช่วยนำพระพุทธศาสนา และสืบต่อวงศ์การบวชมาจนถึงปัจจุบันนี้
ทุกคนผู้เข้ามานับถือพระพุทธศาสนา จะเป็นคฤหัสถ์ ก็ตามจะถือบวชก็ตาม
ต้องทำกิจเบื้องต้นหรือปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัยนี้เป็นสรณะ คือที่พึ่ง หรือดังที่เรียกว่านับถือเป็นพระของตน
เทียบกับทางสกุลคือ นับถือพระพุทธเจ้าเป็นพระบิดา ผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางจิตใจของตน
พุทธศาสนิกชนย่อมสังคมกับผู้นับถือศาสนาอื่นได้ และย่อมแสดงความเคารพสิ่งเคารพในศาสนาอื่นได้ตามมรรยาทที่เหมาะสม
เช่นเดียวกับแสดงความเคารพบิดาหรือมารดา หรือผู้ใหญ่ของคนอื่นได้
แต่ก็คงมีบิดาของคนฉะนั้นจึงไม่ขาดจากความเป็นพุทธศาสนิกชน ตลอดเวลาที่ยังนับถือพระรัตนตรัยเป็นของตน
เช่นเดียวกับเมื่อยังไม่ตัดบิดาตนไปรับบลิดาของเขามาเป็นบิดา ก็คงเป็นบุตรธิดา ตนอยู่ หรือเมื่อยังไม่แปลงสัญชาติเป็นอื่น
ก็คงเป็นไทยอยู่นั่นเอง ฉะนั้นพระพุทธศาสนาจึงไม่คับแคบ ผู้นับถือ ย่อมสังคมกับชาวโลกต่างชาติต่างศาสนาได้สะดวก
ทั้งที่ไม่สอนให้ลบหลู่ใคร ตรงกันข้าม กลับให้เคารพต่อผู้ควรเคารพทั้งปวง และใครตรงกันข้าม
กลับให้เคารพต่อผู้ควรเคารพทั้งปวง และไม่ซ่อนเร้นหวงกับธรรมไว้โดยสอน ใครจะมาศึกษาปฏิบัติก็ได้ทั้งนั้น
โดยไม่ต้องมานับถือก่อน ทั้งนี้ เพราะแสดงธรรมที่เปิดทางให้พิสูจน์ได้ว่า เป็นสัจจะ (ความจริง) ที่เป็นประโยชน์สุขแก่การดำรงชีวิตในปัจจุบัน......
สัจธรรมที่เป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนาคือ อริยสัจ ๔ อริยสัจ แปลว่า... "สัจจะ"ของผู้ประเสริฐ (หรือผู้เจริญ)"
"สัจจะที่ผู้ประเสริฐพึงรู้"
"สัจจะที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐ"
หรือแปลรวบรัดว่า...
"สัจจะอย่างประเสริฐ"
พึงทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า มิใช่สัจจะตามชอบใจของโลก หรือของตนเอง แต่ เป็นสัจจะ ทางปัญญาโดยตรง
อริยสัจ มี ๔ คือ
ทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งมีเป็นธรรมดาของชีวิต และความโสก ความระทม ความไม่สบายกาย
ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ ความปรารถนาไม่สมหวัง กล่าวโดยย่อก็คือกาย และใจนี้เอง ที่เป็นทุกข์ต่างๆ จะพูดว่า ชีวิตนี้ เป็นทุกข์ต่างๆ ดังกล่าวก็ได้
สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตใจ
คือดิ้นรนทะยานอยากเพื่อที่จะให้ได้สิ่งปรารถนาอยากได้ ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อที่จะได้เป็นอะไรต่างๆ ดิ้นรนทะยานอยากที่จะไม่เป็นในภาวะที่ไม่ชอบต่างๆ
นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา ควาดิ้นรน ทะยานอยากดังกล่าว
มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ ทางมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ เพียรพยามชอบ สติชอบ ตั้งใจชอบ
ได้มีบางคนเข้าใจว่า พระพุทธศาสนามองในแง่ร้าย เพราะแสดงให้เห็นแต่ทุกข์ และสอนสูงเกินกว่าที่คนทั่วไปจะรับได้
เพราะสอนให้ดับความดิ้นรนทะยานอยากเสียหมด ซึ่งจะเป็นไปยาก เห็นว่าจะต้องมีผู้เข้าใจดังนี้ ถึงต้องซ้อมความเข้าใจไว้ก่อนที่จะแจกอริยสัจออกไป
พระพุทธศาสนามิได้มองในแง่ร้าย หรือแง่ดีทั้งสองแต่อย่างเดียว แต่มองในแง่ของสัจจะ คือความจริง ซึ่งต้องใช้ปัญยาและจิตใจที่บริสุทธิ์ ประกอบกันพิจารณา