ศรัทธากับกฏแห่งกรรม
ยกตัวอย่างว่า ท่านไม่มีศรัทธาที่จะกวาดลานวัด สมภารบังคับท่าน
ท่านจะไม่ได้บุญ ทำไปโดยถูกบังคับ ท่านจะได้บุญกันอย่างไรเล่า
แต่ถ้ท่านตั้งใจทำ ท่านมีศรัทธากวาดเว็จ กุฎี ข้อปฏิบัติแล้ว ท่านจะ
ได้บุญหมื่นเปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครแบ่งของท่านไปได้ ท่านเป็นผู้ได้ร้อย
เปอร์เซ็นต์ ถ้าตีระฆังดังปั๊บขอให้ภิกษุนวกะทำกิจวัตร ไม่ทำไม่ได้
เพราะถูกบังคับ แหม! ถ้าเราไม่ทำไม่ได้เดี๋ยวท่านจะว่า ต้องทำโดย
ซังกะตายทำ ทำโดยเสียไม่ได้ ท่านจะไม่ได้บุญ
ถ้าหากท่านถูเรือน กวาดบ้าน แล้วก็ทำด้วยศรัทธา เหงื่อหยดลูกคาง
เดี๋ยวท่านจะได้หายเหนื่อยด้วยความชื่นใจบ้านก็จะเรียบร้อย สะอาด
หมดจดด้วยศรัทธา
ถ้าพ่อแม่บังคับให้ทำ แล้วก็ทำอย่างเสียไม่ได้ รับรองว่า เสร็จแล้วก็ยัง
เหนื่อยใจ เสียว่าพ่อแม่บังคับเรา ไม่น่าจะมาข่มใจเราเลย ทำนองนี้
เป็นต้น มันก็เกิดผลออกมาในรูปแบบนี้ ใจคอก็ไม่ค่อยสบาย เสร็จด้วย
ความไม่สบายใจ แล้วผลของงานนั้นก็เสร็จด้วยความไม่เรียบร้อย
ไม่สะอาดหมดจด สะอาดไม่เรียบร้อย เพราะจิตไม่ดี
เหมือนกับว่าท่านตั้งใจเขียนหนังสือวิชาการบทหนึ่ง ท่านมีศรัทธาเขียน
ท่านตั้งใจเขียน ท่านมีสติสัมปชัญญะ กำหนดจิตใจในการเขียน รับรอง
ภาษาหนังสือท่านเรียบร้อย วรรคตอนก็เหมาะเจาะ ย่อหน่าก็เหมาะเจาะ
เขียนติดหรือเว้นวรรคเป็นขั้นเป็นตอน ถูกทำนองคลองธรรม รับรองจดหมาย
หรือหนังสือนั้นจะสวยงาม เรียบร้อย อ่านก็ง่าย คล่องแคล่วว่องไวในการอ่าน
คนอื่นก็อ่านออกหมด
เดี๋ยวนี้เขียนหนังสือดันตัวยึกยอ เขียนโดยเสียไม่ได้ ก็ทำไปโดยเสียไม่ได้
มันก็เลยเอาดีไม่ได้ อย่างนี้มันเป็นกฏแห่งกรรม เราจะเห็นได้ชัด
คัดลอกบทความจาก
หนังสือเรื่อง กรรมกำหนด
ท่านสามารถดูรายละเอียดหนังสือเล่มนี้//สั่งซื้อได้ที่
http://www.trilakbooks.com/product/259962/กรรมกำหนด.html