คู่มือมนุษย์ เรื่องที่ ๖
คนเราติดอะไร (เบญจขันธ์)
อะไรเป็นที่ตั้งที่ยึด ที่เกาะเกี่ยวของอุปาทาน ที่ตั้งของ
อุปาทาน ก็คือ โลกนี้เอง คำว่า “โลก ในทางพระพุทธศาสนา
มีความหมายกว้างกว่าความหมายตามธรรมดา คือหมายถึง
สิ่งทั้งปวง ทั้งสิ้นกันทีเดียว ไม่ว่าจะเกี่ยวกับมนุษย์ เทวดา พรหม
สัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก ปีศาจ เปรต อสุรกาย อะไรก็สุดแท้แต่ที่จะมี
รวมแล้วก็เรียกว่า “โลก” ๘๑
การรู้จักโลก มีความยากอยู่ตรงที่ว่า มันมีความลึกลับ
เป็นชั้นๆ เรารู้จักกันแต่ชั้นนอกๆ ที่เรียกว่า “ชนสมมติ”
นี้หมายถึง ตามสติปัญญาของคนทั่วๆไป พระพุทธศาสนา จึงมี
การสอนให้ดูโลกกันหลายๆ ชั้น ท่านมีวิธีแนะให้ดูการจำแนก
โลกออกเป็นฝ่ายวัตถุ ซึ่งเรียกกันว่า รูปธรรม อย่างหนึ่ง ฝ่ายจิตใจ
เรียกว่า ธนามธรรม อีกฝ่ายหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นท่านได้แบ่ง
ส่วนที่เป็นนามธรรมหรือจิตใจนี้ออกเป็น ๔ ส่วน เมื่อเอารูปธรรม
๑ ส่วน มารวมเข้ากับนามธรรม ก็ได้เป็น ๕ ส่วน ท่านเลย
เรียกว่า เบญจขันธ์หรือขันธ์ห้า แปลว่า ส่วน ๕ ส่วน ประกอบ
กันขึ้นเป็ฯโลก คือสัตว์ เป็นคนเรานี่เอง ๘๒
การดูโลก ก็หมายถึงการดูสัตว์โลก ซึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ก็คือคน เพราะปัญหาอยู่ที่เรื่องของคน แล้วเผอิญส่วน ๕ ส่วน
นี้ก็พร้อมอยู่ในคน ร่างกาย เป็ฯวัตถุที่เรียกว่า รูป หรือรูปขันธ์
(ส่วนที่เป็นรูป) ส่วนที่เป็ฯจิตใจอีก ๔ ส่วนนั้น จำแนกออกไปได้ คือ ๘๓
ส่วนที่ ๑ เรียกว่า “เวทนา” หมายถึง ความรู้สึก ๓
ประการ คือ สุขหรือพอใจอย่างหนึ่ง ทุกข์หรือไม่พอใจอย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่ง อยู่ในลักษณะที่ไม่อาจจะเรียกได้ว่า สุขหรือทุกข์
คือเป็นเรื่องที่ยังเฉยๆ อยู่ แต่ก็เป็นความรู้สึกเหมือนกัน
ความรู้สึกนี้มีประจำอยู่ในตัวเราเป็นปกติ วันหนึ่งๆ
ย่อมเต็มไปด้วยความรู้สึก ท่านจึงถือว่า ส่วนหนึ่งที่ประกอบกันเป็นคน
และเรียกส่วนนี้ว่า เวทนา หรือ เวทนาขันธ์ ๘๔
ส่วนที่ ๒ เรียกว่า “สัญญา” แปลว่า รู้ตัว
เป็ฯความรู้สึกตัวอยู่เหมือนอย่างว่าเรา กำลังตื่นอยู่ คือ ไม่หลับ
ไม่สลบ ไม่ตาย หรือเรียกว่า มีสติสมปฤดี โดยทั่วๆ ไปมักจะ
อธิบายกันว่า เป็นความจำได้หมายรู้ ก็ถูกเหมือนกัน เพราะว่า
เรายังไม่เมา ไม่สลบ ไม่หลับ ไม่ตาย ดังที่กล่าวแล้ว เมื่อ
กระทบอะไรทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็รู้สึกหรือจำได้วา เป็น
อะไร เช่น รู้ว่า เขียว แดง สั้น ยาว คน สัตว์ ฯลฯ ตาม
แต่ที่จะจำได้ นั่นแหละเป็ฯความรู้สึกของสมปฤดี หรือ “สัญญา” ในที่นี้ ๘๕
ส่วนที่ ๓ เรียกว่า “สังขาร” มีความหมายมากจน
มันปนเปกันอยุ่งไปหมด เราถูกถึงสังขารที่เป็นส่วนของนามธรรม
นี้กันก่อน แปลว่า “ปรุง” คือกิริยาอาการของสิ่งที่เป็นอยู่ใน
คนหนึ่งๆ ได้แก่ การคิด หรือความคิด เช่นคิดจะทำ คิด
จะพูด คิดอย่างนั้นอย่างนี้ คิดดี คิดเลว คิดในทางไหนก็จัด
เป็นความคิดทั้งนั้น ความรู้สึกที่เป็นความคิดพลุ่งขึ้น
มาจากการปรุงแต่งภายในใจนี้เรียกว่าสังขาร คำว่า สังขาร
ในที่อื่นนั้น หมายถึงบุญกุศลที่ปรุงแต่งคนให้เกิดก็มี หมายถึง
ร่างกายหรือโครงร่างที่มีจิตใจครองดังนี้ก็มี มีความหมายหลายทาง
แต่ตรงกันโดยเหตุที่มันมีความหมายไปในทาง
การปรุงแต่งประกอบกันขึ้นมา ๘๖
ส่วนที่ ๔ เรียกว่า “วิญญาณ” หมายถึงตัวจิตที่ทำหน้าที่
รู้สึกที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น และที่กายทั่วๆไป ตลอดถึงที่ใจของ
ตนเองด้วย(ไม่ใช่เจตภูต อย่างที่คนส่วนมากเข้าใจกัน) ๘๗
เมื่อได้แยกดูทีละส่วนๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่เห็ฯมีส่วนไหนที่เป็นตัวตนของตนดังนี้แล้ว
ก็จะถอนความเข้าใจผิดเรื่องตัวตนเสียได้ ว่าไม่ใช่เป็นตัวตนของใครเลย
ถ้าไม่เกิดความอยาก ไม่เกิดความัก หรือเกลียดในสิ่งทั้งหลาย
จึงจะเรียกว่าเนแจ้งในสิ่งทั้งปวงว่าไม่ใช่ตัวตน
การนึกคิดตามเหตุผลก็พอจะทำให้เชื่อว่าไม่ใช่ตัวตนได้
แต่มันก็เป็นเพียงความเชื่อ ไม่เป็นการรู้แจ้งชนิดที่จะตัดความยึดถือ
ว่าเป็นตัวเป็นตนได้อย่างเด็ดขาด เหตุนี้จึงต้องศึกษาพิจารณกัน
ตามหลักแห่งสิกขา ๓ ประการ จึงจะถึงขนาดที่จะถอนการยึดถือเรื่องนี้ได้ ๘๘
หน้าที่อันพึงจะปฏิบัติในเรื่องเบญจขันธ์ นี้ คือ
ต้องทำให้ความรู้แจ้งเกิดขึ้น เพื่อขจัดความโง่เสีย
แล้วก็จะเห็นเองว่าไม่มีส่วนไหนที่เป็นตัวเป็นตนอันน่ายึดถือ เมื่อนั้นการยึดถือก็
แตกสลายลง ฉะนั้น เราจำเป็นต้องศึกษาเรื่องเบญจขันธ์ ซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งความหลงว่า เป็นตัวตนนี้ให้ละเอียด พระพุทธเจ้าทรงสอน
เรื่องนี้มากกว่าเรื่องทั้งหลาย
มีใจความสรุปสั้นๆว่า “เบญจขันธ์
เป็นอนัตตา” และถือว่าเป็นคำสอนที่เป็นตัวพระพุทธศาสนาแท้
เป็นใจความสำคัญของพระพุทธาสนา ซึ่งจะมองกันในแง่ปรัชญา
หรือวิทยาศาสตร์ หรือในฐานะเป็นศาสนาก็ตาม ถ้าเรารู้ตามที่
เป็นจริงคือความยึดถือด้วยการเข้าใจผิดก็จะหายไป
ความอยากทุกชนิดจะไมมีทางเกิด และความทุกข์ก็จะไม่มี ๘๙
หน้าที่อันจะพึงปฏิบัติในเรื่องเบญจขันธ์ นี้คือ
ต้องทำให้ความรู้แจ้งเกิดขึ้น
เพื่อขจัดความโง่เสีย แล้วก็จะเห็นเองว่าไม่มี
ส่วนไหนที่เป็นตัวเป็นอันอันน่ายึดถือ เมื่อนั้นการยึดถือก็
แตกสลายลง ฉะนั้น เราจำเป็นต้องศึกษาเรื่องเบญจขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้ง
แห่งความหลงว่าเป็นตัวตนนี้ให้ละเอียด พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องนี้มากกว่า
เรื่องทั้งหลาย มีใจความสรุปนั้นๆ ว่า
”เบญจขันธ์อนัตตา” และถือว่า เป็นคำสอนที่เป็นตัวพระพุทธศาสนา
เป็นใจความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ซึ่งจะมองกันในแง่ปรัชญา หรือวิทยาศาสตร์ หรือในฐานะเป็นศาสนาก็ตาม
ถ้าเรารู้ตามที่เป็นจริงความยึดถือ้ดวยการเข้าใจผิดก็จะหายไป
ความอยากทุกชนิดจะไม่มีทางเกิด และความทุกข์ก็จะไม่มี ๘๙
สรุปความว่า สิ่งทั้งปลายทั้งปวงในโลกนี้ รวมอยู่ในคำว่า “เบญจขันธ์” คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
แต่ละส่วนเป็นมายา ไร้ตัวตน แต่ก็มีอำนาจล่อให้เกิดความยึดถือ
จนคนทั่วไปอยากมี อยากเป็นอยากไม่ให้มี อยากไม่ให้เป็น
ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดความทุกข์ไม่อยากเปิดเผยก็อย่างเร้นลับ
ทุกคนจะต้องอาศัยข้อปฏิบัติที่เรียกว่า ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
ถอนความหลงติดในเบญจขันธ์เสียให้สิ้นเชิง
จึงจะไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของขันธ์ทั้งห้า แล้วจะไม่มีความทุกข์
โลกจะอยู่ในลักษณะที่อำนวยความผาสุกใจให้แก่ผู้นั้นไม่ต้องร้อนใจเพราะสิ่งใดๆ
เป็นผู้มีจิตใจอยู่หนือสิ่งทั้งปวง ไปจนตลอดชีวิต นี้เป็นผลของการรู้แจ้ง
แทงตลอดในเรื่องเบญจขันธ์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ๙๐