เหตุผลที่บุคคลส่วนใหญ่
ชอบนำไม้สักทำเฟอร์นิเจอร์
- ไม้สักทอง มีความสวยงามในตัวเอง เพราะในเนื้อไม้สักทอง
มีแร่ทองคำที่เรานำมาทำสร้อยทองได้ แต่ต้องสกัดจากไม้
- ไม้สักทอง มีลวดลายเฉพาะตัว ลายเป็นเส้นสาย สวยงามจัดเป็น
ไม้ที่ดีและสวยที่สุดในโลก (ชุดหลุยส์ที่แพงระยับของ อิตาลีที่ขึ้นชื่อ ลือชา ก็ยังใช้ไม้สักของประเทศไทย)
- ไม้สักของประเทศไทย มีความสวยงาม คงทน ที่สุดในโลก สวยกว่าไม้สักจากพม่า สักอินโด และที่อื่นๆ เหตุผล คือ ภูมิอากาศ และดินในบ้านเราดีกว่า
- ไม้สักไม่มีแมลง ปลวกหรือมอดรบกวน
- ไม้สักเป็นไม้ที่มีราคาในตัวเอง ไม่ว่าจะเก็บไว้นานขนาดไหน
ไม้สักก็มีราคาสูง และจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ
- ไม้สักเป็นไม้มงคล มีไม้สัก (ถือมีศักดิ์มีศรี) ผู้ใช้ไม้สักจะเห็นคุณค่าของไม้สักมากยิ่งๆ
ขึ้น ถ้านำไปเปรียบเทียบกับ เฟอร์นิเจอร์ชนิดอื่น เช่น ไม้อัดที่สวยแต่รูป แต่ไม่ทน
เมื่อถูกความชื้นมากๆ เฟอร์นิเจอร์ไม้อัดก็จะบวมในขณะที่ไม้สัก คงสภาพได้ดีเยี่ยม
ความรู้เกี่ยวกับไม้สัก
ถิ่นกำเนิดของไม้สัก
ไม้สัก มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Teak และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tectona grandis
อยู่ในวงค์ Verbenaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
ไม้สัก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และบางส่วนของภาคกลางและตะวันตก คือ
ในท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ สำพูน เชียงราย สำปาง แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก
สุโขทัย เพชรบูรณ์ และพิจิตรและมีบ้างเล็กน้อยในจังหวัด นครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี
ไม้สัก ชอบขึ้นตามพื้นที่ที่เป็นภูเขา แต่ในพื้นที่ราบที่น้ำไม่ขังไม้สักก็ขึ้นได้ดีเช่นเดียวกัน ในพื้นที่ที่เป็นดินปนทรายแต่น้ำไม่ขัง
ไม้สักมักขึ้นเป็นหมู่ไม้สักล้วน ๆ และมีไม้ขนาดใหญ่ ไม้สักชอบพื้นที่ที่มีชั้นดินลึก การระบายน้ำดี ไม่ชอบดินแข็งและน้ำท่วมขัง
ไม้สัก ขึ้นได้ดีในดินที่เกิดจากหินหลายชนิด แต่ความเจริญงอกงามของไม้สักขึ้นอยู่กับความลึก การระบายน้ำ
ความชื้น และความอุดมสมบูรณ์ ของดินนั้น ๆ โดยเฉพาะในดินที่เกิดจากหินปูนซึ่งแตกแยกผุผังจนกลายเป็นดินร่วนที่ลึก
ไม้สักชอบมากและเจริญเติบโตดีมาก ไม้สักชอบดินที่มีความเป็นกลางและด่างเล็กน้อย ค่า pH ระหว่าง 6.5-7.5
ปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 1,200-2,000 มม. ต่อปี ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 700 เมตร
และมีฤดูแล้งแยกจากฤดูฝนชัดเจนจะทำให้ไม้สักมีลวดลายสวยงาม
การกระจายพันธุ์ของไม้สัก
ไม้สักเป็นไม้ป่าเขตร้อน มีแหล่งธรรมชาติจำกัดอยู่เฉพาะในประเทศอินเดีย พม่า ไทย (เฉพาะในภาคเหนือ)
ลาว (เฉพาะส่วนที่ติดต่อกับภาคเหนือของไทย) และอินโดนีเซีย (ในภาคกลางและภาคตะวันออกของเกาะชวา)
เท่านั้น แหล่งไม้สักธรรมชาติดังกล่าวนับว่าจะหมดสิ้นไป ราคาไม้สัก ในตลาดโลกจึงนับวันมีแต่จะสูงขึ้นมากเมื่อ
เปรียบเทียบกับไม้ชนิดอื่นๆ ดังนั้นจึงได้มีการนำไปปลูกนอกถิ่นกำเนิดในประเทศต่างๆ
ที่อยู่ในภูมิภาคเขตร้อนของทวีปเอเชีย แอฟริกา อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และบางเกาะของออสเตรเลีย
สำหรับประเทศไทย ไม้สักขึ้นอยู่ตามธรรมชาติเฉพาะในตอนเหนือของประเทศ ในแถบลุ่มแม่น้ำกก
สาละวิน ปิง วัง ยม และน่าน ได้แก่ ในจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน น่าน ลำปาง
แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี และต่อมาถึง
บางส่วนในแถบตะวันตกของจังหวัดกาญจนบุรี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๑๗๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
มีแหล่งไม้สักสำคัญอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน
ป่าไม้สักโดยทั่วไป เป็นป่าผสมผลัดใบหรือที่เรียกกันว่า ป่าเบญจพรรณ ผลัดใบในฤดูแล้งพรรณไม้มีค่าที่สำคัญนอกเหนือจากไม้สักแล้ว มีไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้มะค่า ไม้ตะแบก ไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ฯลฯ ไม้สักเจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นสูง ดินลึก ระบายน้ำดี และมีสภาพที่เป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย โดยมีค่าของความเป็นกรด-เบส (pH) ระหว่าง ๖.๕-๗.๕ ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพเนื้อไม้อยู่ระหว่าง ๑,๐๐๐-๑,๕๐๐ มิลลิเมตรต่อปี และมีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝน เพื่อที่เนื้อไม้จะได้มีลวดลายของวงปีชัดเจน ระดับความสูงของพื้นที่ไม่เกิน ๗๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล
เนื่องจากได้มีการทำไม้สักออกจากป่า เพื่อหารายได้ให้แก่ประเทศอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานกว่าศตวรรษ และจำนวนประชากรในประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมาทำให้ป่าสักธรรมชาติทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้พื้นที่ป่าสักก็ถูกบุกรุกทำลายเพื่อใช้เป็นอยู่อาศัยและทำกินอย่างกว้างขวาง พื้นที่ป่าสักธรรมชาติที่มีอยู่จึงลดลงอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันพื้นที่ป่าสักในประเทศไทยเหลืออยู่ไม่เกิน ๒๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ประเทศไทยครั้งหนึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตและส่งออกไม้สักรายใหญ่ของโลก บัดนี้ได้ลดปริมาณการผลิตไม้สักลงอย่างมาก จนไม่พอแม้แต่ที่จะนำมาใช้สอยภายในประเทศและได้เริ่มมีการนำเข้าไม้สักจากต่างประเทศ
ลักษณะบางประการ
ไม้สัก เป็นต้นไม้ผลัดใบ ขนาดใหญ่มีลำต้นเปลา มักมีพูพอน ตอนโคนต้นเรือนยอดกลม สูงเกินกว่า 20 เมตร
เปลือก หนา 0.30-1.70 ซม. สีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา แตกเป็นร่องตื้น ๆ
ไปตามทางยาวและหลุดออกเป็นแผ่นบาง ๆ เล็ก ๆ
ใบ ใหญ่ ความกว้าง 25-30 ซม. ความยาว 30-40 ซม. รูปใบรีมน หรือรูปไข่กลับ
แตกจากกิ่งเป็นคู่ ๆ ท้องใบสากหลังใบสีเขียว แกมเทา เป็นขน
ดอก เล็กสีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่ ๆ ตามปลายกิ่งเริ่มออกดอกเดือน มิถุนายน เป็นต้น
ผล ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลหนึ่ง ๆ มีเมล็ดใน 1-4 เมล็ด
เปลือกแข็งมีขนสั้น ๆ นุ่ม ๆสีน้ำตาล หุ้มอยู่ ผลแก่ในราวเดือน พฤศจิกายน-มกราคม
ลักษณะเนื้อไม้ สีเหลืองทอง ถึงสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลแก่แทรก เสี้ยนตรง
เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง เลื่อยใสกบ ตบแต่งง่าย
คุณสมบัติบางประการ
ไม้สัก ปลวกและมอดไม่ทำอันตราย เพราะในเนื้อไม้สักมีสารเคมีพิเศษอยู่ชนิดหนึ่ง
ชื่อ O-cresyl methyl ether สารเคมีชนิดนี้ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมป่าไม้
มีคุณสมบัติ เมื่อทาหรืออาบไม้แล้วไม้จะมีความคงทนต่อ ปลวก แมลง เห็ดราได้อย่างดียิ่ง
นอกจากนี้ในไม้สักทอง ยังพบว่ามีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm. (ไม้สักทอง 26 ต้น มีทองคำหนัก 1 บาท)
ไม้สัก เป็นไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ จากการทดลองตามหลักวิชาการไม้สักมีความแข็งแรงสูงกว่า
1,000 กก./ตร.ซม. และมีความทนทานตามธรรมชาติ จากการทดลองนำส่วนที่เป็นแก่นของไม้สัก
ไปทดลองปักดิน ปรากฏว่า มีความทนทานตามธรรมชาติเกินกว่า 10 ปี (ระหว่าง 11-18 ปี)