ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรม
ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรมนั้น สรุปได้ 2 อย่าง คือ
1. แสดงหลักความจริงสายกลาย ที่เรียกว่า
"มัชเฌนธรรม" หรือ เรียกเต็มว่า "มัชเฌนธรรมเทศนา"
ว่าด้วยความจริงตามแนวของเหตุผลบริสุทธิ์ ตามกระบวนการของธรรมชาติ
นำมาแสดงเพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติในชีวิตจริงเท่านั้น
ไม่ส่งเสริม ความพยายามที่จะเข้าถึงสัจธรรมด้วยวิธี
ถกเถียง สร้างทฤษฎีต่างๆ ขึ้นแล้วยึดมั่นปกป้องทฤษฎีนั้นๆ
ด้วยการเก็งความจริงทางปรัชญา
2. แสดงข้อปฏิบัติสายกลาย ที่เรียกว่า "มัชฌิมาปฏิปทา"
อันเป็นหลักการครองชีวิตของผู้ฝึกอบรมตน
ผู้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงมงาย มุ่งผลสำเร็จ คือ
ความสุข สะอาด สว่าง สงบ เป็นอิสระ ที่สามารถ มองเห็นได้ในชีวิตนี้
ในทางปฏิบัติ ความเป็นสายกลายนี้ เป็นไปโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ
เช่น สภาพชีวิตของบรรพชิต หรือคฤหัสถ์ เป็นต้น
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งการกระทำ (กรรมวาท และกิริยวาท) เป็นศาสนาแห่งความเพียร พยายาม
(วิริยวาท) ไม่ใช่ศาสนาแห่งการอ้อนวอนปรารถนา หรือศาสนา แห่งความห่วงกังวล.
(คัดลอกจากหนังสือ พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย หน้าที่ 6)