สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,381,213 |
เปิดเพจ | 17,031,143 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
วิธีฝึกจิต โดยหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ
24/06/2011
View: 4,702
วิธีการฝึกจิต.
เรื่องเผลอ ถ้าไม่รู้จักละอายรู้จักกลัว, ถ้าไม่รู้จักละอายไม่รู้จักกลัวก็เผลอเรื่อยไป, นี้อธิ
บายตั้งหลายหน จนไม่ค่อยนึกถึงแล้ว เคยเทศน์หรือปาฐกถาหลายคราว. เรื่องเดินตกร่อง ทำไมจึงจะ
เดินไม่ตกร่อง? เพราะมันกลัว, ทำไมไม่ทำผ้านุ่งหลุดกลางถนนเลย? ก็เพราะมันละอาย ก็มีเท่านี้.
เดี๋ยวนี้เราไม่ละอายเผลอสติ ก็ไม่ละอาย, รู้อยู่ว่าเผลอสติ เพราะไม่ละอาย, ไม่เคยละอาย, กลาย
เป็นคนไม่ละอายไป, แล้วอย่างนี้มันไม่ได้เจ็บปวดจนโลหิตไหล เหมือนเรื่องบาดเจ็บแผล ก็เลยไม่
กลัว.
นี่ให้ทุกคนนึกดู ความจริงข้อนี้ คือที่เราไม่รู้จักละอาย แล้วก็ไม่รู้จักกลัว, มีกิเลสขนาดยกหูชู
หางเร่อร่าไปหมด ก็ไม่รู้จักละอาย เรื่องกลัวมันยิ่งไม่รู้จักใหญ่เพราะมันไม่ได้เจ็บปวดอะไร. บางทีมัน
ก็สนุกสนานดีเสียด้วยซ้ำไป ในการที่จะยกหูชูหางต่อหน้าบ้าง, ลับหลังบ้าง แล้วมันก็มีเท่านั้น.
๒
แล้วมันเนื่องกันไปกับข้างต้นอีกหน่อยหนึ่ง คือว่า เราต้องพิจารณา มองอยู่เสมอ ว่ามันเป็นอัน
ตราย มันน่ากลัวหรือเป็นอันตราย หรือว่าเลยไปอีกก็คือ เราต้องศึกษาให้รู้ว่า เราจะทำสติอย่างไรจะ
ปฏิบัติอย่างไร เมื่ออารมณ์มากระทบ จะต้องหยุดชะงักไว้ก่อน; ก่อนที่จะคิดนึกตัดสินลงไปว่า จะทำ
อย่างไร เพื่อจะมีสติทัน เรื่องนับสิบก่อนนี่เคยพูดหลายหน. หัดให้เป็นนิสัยว่า จะไม่ทำอะไรพรวด
พราดออกไป, ไม่ทำอะไรพรวดพราดออกไป โดยไม่ทำความรู้สึกสติเสียก่อน. นับถึงสิบเสียก่อนจึงค่อย
ตัดสินใจ ค่อยคิด ค่อยนึก ค่อยโกรธ หรือค่อยจะด่าใครก็ตาม ให้นึกถึงสิบ นับถึงสิบเสียก่อน.
การฝึกเพื่อมีสติ.
เราก็หัดได้ โดยวิธีของกัมมัฏฐานนั่นเอง; ที่จริงเรื่องกำหนดลมหายใจ หรือยกย่างเท้า หรือ
ว่ายุบหนอพองหนออะไร ถ้าทำถูกวิธีช่วยในเรื่องนี้ได้มาก, กลัวว่าจะไม่ทำกันในแบบนี้กำหนดลมหายใจ
ออก มันต้องรู้สติมีสติเสียก่อนเราจะหายใจออก, มีสติเสียก่อนหายใจเข้า มีสติอยู่หายใจออก, มีสติอยู่
หายใจเข้า บาลีอานาปานสติ. ถ้าหายใจไปตามสบาย กำหนดไปตามสบาย, มันจะต้องรู้ว่า เราจะ
หายใจออก เราจะหายใจเข้า. นี่มันเป็นบทเรียน ที่ว่าการจะทำอะไร จะเคลื่อนไหวอะไรไปต้องรู้ตัว
ก่อนว่า จะทำอะไร; เช่นเราจะออกประตู เราต้องรู้ตัวก่อนว่าเราจะออกประตู. เมื่อเราจะไป ก็
ต้องรู้ก่อนว่าเราจะไป. เราจะใส่กุญแจประตู ก็รู้ว่าจะใส่กุญแจประตู, ต้องรู้ก่อนทำเสมอ, แล้วมันจะ
มีนิสัยนึกได้ก่อนทำเสมอ แล้วมันก็จะไม่ลืมใส่กุญแจประตูเพราะมันหัดเสียจนเคยชินเป็นนิสัยว่า จะต้องรู้
สึกตัวก่อนทำเสมอ. นี้เขาหัดกระทั่งทุกครั้งที่หายใจเข้าออก, ทุกครั้งที่ย่างเท้าเดิน, นี้มันก็จะเป็นนิสัย
อย่างยิ่ง ที่จะรู้สึกในสิ่งที่จะทำลงไป.
๓
แล้วหัดได้ไปเสียทุกอย่าง นี่ก็หัดจากเรื่องในชีวิตประจำวัน; เช่น ฉันอาหารอย่างนี้ มันก็มี
หลายระยะ นับตั้งแต่หยิบขึ้นมา จะใส่เข้าปาก จะเคี้ยวให้แหลกจะกลืนลงไปนี้, ถ้ามีสติหัดนึกนำหน้า
ก่อนเสมอ จะไม่มีทางพลาด, หรือเราจะอ่านหนังสือ ก็ให้ตาไปก่อนปากที่อ่านเสมอ. ตาดูหนังสือ
นำหน้าไปก่อนปากว่า ตัวหลังๆ ที่ถัดไปหลายๆ ตัว ก็มีผลอย่างเดียวกัน.
ทีนี้เห็นเป็นของเล็กน้อยไปเสีย ไม่ค่อยจะฝึกกันให้เต็มที่ : ลืมใส่กุญแจประตู ก็เห็นเป็นเรื่อง
เล็กน้อยไม่ละอาย, เอากุญแจเก็บอยู่ข้างใน งับประตูงับกุญแจข้างนอกปิดแล้วกุญแจอยู่ข้างใน อย่างนี้
ก็ไม่รู้สึกละอาย. คนหน้าด้านเหล่านี้ไม่เห็นว่า นี้เป็นเรื่องสำคัญ, ไม่รู้สึกว่านี้เป็นการเสียหายอย่างยิ่ง
ของสมณะผู้ฝึกฝนสติ; เพระเขาถือว่าลูกกุญแจไม่กี่สตางค์, ลูกกุญแจของกู กูจะตัดจะทำใครจะทำไมกู.
นี่ไปคิดเสียอย่างนี้ คนหน้าด้าน ถ้ามีความละอาย มันต้องละอาย จนถึงกับว่า ไม่รู้ว่าจะเอาหน้าไปไว้
ไหน ในการที่สมณะลืมกุญแจไว้ข้างใน, งับประตูข้างนอก ทั้งที่ตัวกุญแจนั้นไม่กี่สตางค์.
นี่มันไม่มีในตำรา ไม่มีในบัญชีกัมมัฏฐาน; แต่นี่มันคือตัวสติ, ต้องมีสติก่อนทำอะไรเสมอ
แล้วก็ทำไม่พลาด. แล้วการทำแก้วแตกใบหนึ่ง ก็ไม่ใช่ว่าแก้วแตกใบหนึ่งไม่ก็สตางค์; มันเป็นความฉิบ
หายของ การเป็นสมณะ ที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ มีราคามากมาย แล้วก็ไม่ละอายและไม่กลัว. มันทุกเรื่อง
ไปที่ ขาดสติแล้ว มันก็ต้องละอายและกลัว, แม้แต่เรื่องเดินสะดุดนี้ มันก็ต้องละอายและกลัวเพราะมัน
ขาดสติ สัมปชัญญะ. นี่เรื่องข้างนอก ที่ถือกันว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่มีใครละอาย ไม่มีใครกลัว.
Tags : วิธีฝึกจิต ฝึกจิต สติ เจริญกรรมฐาน ภาวนา เจริญสติ อานาปานสติ หนังสือธรรมะ