คู่มือมนุษย์ เรื่องที่ ๑
ท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหน
(คัดลอก จากหนังสือคู่มือมนุษย์ ฉบับย่อ โดย หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ )
.................................................................................................
ถ้าเราเปิดดูหนังสือทุกเล่ม ที่เขียนกันในสมัยปัจจุบันอันว่าด้วย
ต้นเหตุของการเกิดศาสนาแล้ว ก็จะเห็นว่า เขาเขียนไว้เหมือนๆ กัน คือ ตรงกันที่ว่า
คนป่าดั้งเดิมกลัวฟ้าผ่า ฟ้าร้อง กลัวความมืด กลัวพายุ กลัวสิ่งต่างๆ ที่อยู่เหนือความเข้าใจ
หรือความต้านทานของคนป่าเหล่านั้น และวิธีจะหลบหลีกอันตราย
ก็คือ ต้องแสดงอาการยอมแพ้ หมอบราบ อ้อนวอนบูชา
แล้วแต่คนฉลาดที่สุดในสมัยนั้นเห็นว่าจะต้องทำตามที่ตนนึกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์
หรือผีเหล่านั้นจะชอบใจ นี่นับว่า ศาสนาเกิดขึ้นมาในโลกด้วยอำนาจ
ของความกลัว และมีการปฏิบัติไปตามความกลัว .๑
ความกลัวของคนชั้นหลังๆ เลื่อนสูงขึ้นมาถึงความกลัว
ทุกข์ ชนิดที่อำนาจทางวัตถุ ช่วยเหลือไม่ได้ เช่น
ความเกิด ความแก่ เจ็บ ตาย ความหม่นหมองมืดมัวเ
พราะอำนาจของความอยาก ความหลงผิด
ซึ่งแม้คนจะมอำนาจหรือมีเงินทองสักเท่าไร
ก็ไม่สามารถจะระงับอาการอันโหดร้ายของความทุกข์เหล่านี้ได้
ประเทศอินเดีย เป็นประเทศที่เจริญด้วยนักคิด นักค้นคว้า
ผู้มีสติปัญญา ทั้งหลายจึงมีผู้ละทิ้งการไหว้บรรดา
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มาเป็นการค้นหาวิธีเอาชนะความเกิด
แก่ เจ็บ ตาย หรือเอาชนะ ความอยาก ความโกรธ ความหลงผิดให้ได้.
นี่นับว่า เป็นบ่อเกิดของศาสนาที่สูงขึ้นไปในทางปัญญา ในที่สุด ก็ได้พบวิชาที่เอาชนะ
ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือชนะ กิเลศต่างๆ ได้ ๒
สำหรับพระพุทธศาสนา
ก็มีมูลมาจากความกลัวแบบหลังนี้เหมือนกัน :
พระพุทธเจ้า
เป็นผู้พบวิธีที่จะเอาชนะสิ่งที่คนกลัว
ได้เต็มตามความประสงค์ และเกิดวิธีปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์
ชนิดที่เรียกว่า พุทธศาสนา พุทธศาสนาแปลว่า ศาสนาของผู้รู้
เพราะ พุทธะ แปลว่า ผู้รู้
คือ รู้ความจริงของสิ่งทั้งปวง ว่าอะไรเป็นอะไร
จึงสามารถปฏัติต่อสิ่งทั้งปวงได้ถูกต้อง เพราะฉะนั้น
พุทธศาสนา จึงเป็นศาสนาที่อาศัยสติปัญญา
หรือ อาศัยวิชาความรู้ทึ่ถูกต้อง
เพื่อทำลายความทุกข์ และต้นเหตุของความทุกข์นั้น. ๓
การทำพิธีรีตอบ เพื่อบูชา บวงสรวง อ้อนวอน บรรดาสิ่งศะกดิ์สิทธิ์นั้น
ไม่ใช่พุทธศาสนา พระพุทธเจ้าไม่รับเข้ามาไว้ในศาสนาของพระองค์เลย
เพราะเป็นสิ่งที่น่าขบขัน น่าหัวเราะ
และถือเอาเป็นที่พึ่งอันแท้จริงไม่ได้
พระพุทธเจ้า ทรงปฏิเสธ การกระทำเช่นนั้น โดยสิ้นเชิง ๔
มีคำกล่าว ในพระพุทธศาสนา ว่า
“ความรู้ ความฉลาด และความสามารถ ที่จะทำให้สำเร็จประโยชน์นั้นแหละ
เป็นตัวฤกษ์ ที่ดีอยู่ในตัวมันเองแล้ว ดวงดาวในท้องฟฟ้าจะทำอะไรได้
ประโยชน์ ที่ควรจะได้ก็จะผ่านพ้นคนโง่ๆ ที่มัวแต่นั่งคำนวณ
ดวงดาวในทิ้งไว้ไปเสียสิ้น”
ดังนี้ และว่า “ถ้าน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในแม่น้ำคงคา ฯลฯ
จะทำให้คนหมดบาป หมดทุกข์ได้แล้ว
พวก เต่า ปู ปลา หรือหอยที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ หรือสระศักดิ์สิทธิ์ นั้น
ก็คงจะหมดบาป หมดทุกข์ไปได้ด้วยน้ำนั้นเหมือนกัน
หรือ “ ถ้าหากว่า คนจะพ้นทุกขืได้ด้วยการบวงสรวงบูชา อ้อนวอน เอาๆ แล้ว
ในโลกนี้ ก็จะไม่มีใครมีความทุกข์เลย
เพราะว่า ใครๆ ต่างก็บูชาอ้อนวอนเป็น”. ๕
โดยเหตุที่ยังมีคนที่มีความทุกข์ทั้งที่ได้ทำการไหว้บูชาหรือทำพิธีรีตองต่างๆ อยู่
จึงถือว่า ไม่เป็นหนทาง
ที่จะเอาตัวรอดได้
ฉะนั้น เราจะต้องพิจารณา โดยละเอียดลออ ให้รู้ให้เข้าใจว่า
อะไรเป็นอะไร แล้วปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ให้ถุกต้อง ๖
พุทธศาสนา ไม่ประสงค์ การคาดคะเน
หรือทำอย่างที่เรียกกันว่า เผื่อจะเป็นอย่างนี้ : เราจะทำไปตรงๆ ตามที่มองเห็น
ด้วยปัญญาของตัวเอง
โดยไม่ต้องเชื่อคนอื่น.
แม้จะมีคนมาบอกให้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเชื่อเขาทันที
เราจะต้องฟังและพิจารณาจนเห็นจริงว่า เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
แล้วจึงจะเชื่อ และพยายามทำให้ปรากฎผลด้วยตนเอง. ๗
ศาสนา เหมือนกับของหลายเหลี่ยม
ดูเหลี่ยม หนึ่งมันก็เป็นอย่างหนึ่ง
อูอีกเหลี่ยมหนึ่ง มันก็ไปอีกอย่างหนึ่ง
แล้วแต่ว่าบุคคลั้นจะถือหลักกาคิดในแนวไหน ก็จะเห็น
ศาสนาเดียวในลักษณะที่แตกต่างกันได้
แม้พุทธศาสนา ก็ตกอยู่ในลักษณะ เช่นนี้ ๘
คนเราย่อมชื่อความคิดเห็จของตัว เพราะฉะนั้น
ความจริงหรือสัจจะ สำหรับคนหนึ่งๆ นั้น มันอยู่ตรงที่ว่าเขา เข้าใจ
และมองเห็นเท่าไหร่เท่านั้นเอง
สิ่งที่เรียกว่า
“ความจริง” ของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน
คนเราเข้าถึงปัญหาหนึ่งๆ ได้
ตื้นลึกกว่ากัน หรือด้วยลักษณะที่ต่างๆ กัน และด้วย
สติปัญญาที่ต่างๆกัน . สิ่งที่อยู่เหนือสติปัญญา คยวามรู้ความเข้าใจของตน
หรือตนยังไม่เข้าใจ คนนั้น ก็ไม่ถือว่า เป็นความจริงของเขา
ถ้าเขาจะพลอยว่าจริงไปตามผู้อื่น เขาก็รู้สึกอยู่แก่ใจว่า ไม่เป็นความแท้ความจริงของเขาเลย. ๙
ความจริงของคนหนึ่งๆ นั้นจะเดินคืบหน้าได้เสมอ
ตามสติปัญญา ความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น ทุกๆ วัน
จนกว่าจะถึงความจริงขั้นสุดท้าย คนเรามีการศึกษามาต่างกันและมีหลักพิจนิจ พิจารณาสำหรับจะเชื่อต่าสงๆ
กัน ฉะนั้นถ้าเอาสติปัญยา ที่ต่างกันมาดูพุทธศาสนา ก็จะเกิดความคิดเห็นต่างกันไป;
ทั้งนั้ เพราะว่า พุทธศาสนา มีอะไรๆ ครบทุกอย่างที่จะให้คนดู ๑๐
ดังที่กล่าวมาแล้ว พุทธศาสนา ก็คือ วิธีปฏิบัติเพื่อเอาตัวรอด
จากความทุกข์ โดยการทำให้รู้ความทจริงว่าอะไรเป็นอะไร
ตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงทำได้ก่อนและได้ทรงสอนไว้
แต่คัมภีร์ ทางศาสนานั้นย่อมมีอะไรๆ เพิ่มขึ้นได้ทุกโอกาส
ที่คนชั้นหลัง เขาจะเพิ่มลงไปได้ พระไตรปิฎก ของคนเรา
ก็จะตกอยู่ในฐานะอย่างเดียวกัน
คนชั้นหลังๆ เพิ่มเติมข้อความเข้าไปตามความเห็นว่าจะเป็นสำหรับยุคนั้นๆ
เพื่อจะช่วยให้คนมีศรัทธามากขึ้น หรือกลัวบาปรักบุญมากขึ้น
ซึ่งอาจจะมากเกินขอบเขตจนกระทั่วเกิดการเมาบุญกันใหญ่ ๑๑
ทั้งหมดนี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่า พุทธศาสนา
นั้นมีลักษณะหลายเหลี่ยมหลายมุม เหมือนกันภูเขาลูกเดียวมองจากทิศต่างๆ
กัน ก็เห็นรูปต่างๆ กัน ได้ประโยชน์ต่างๆ กัน
แล้วแต่ใครจะมองอย่างไร
แม้พระพุทธศาสนาจะมีมูลมาจากความกลัว ก็ไม่ใช่ความกลัว
ที่โง่เขลา ของคนป่าคนเถื่อน จนถึงกับนั่งไหว้รูปเคารพ
หรือไหว้สิ่งที่มีปรากฎการณ์แปลกๆ
แต่เป็นความกลัวชนิดที่สูงด้วยสติปัญญา
คือกลัวว่าจะไม่ได้รอดพ้นไปจากการบีบคั้นของความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
หรือความทุกข์ทั้งหลายที่เรามองเห็นๆ กันอยู่ ๑๒
พุทธศาสนาตัวแท้ไม่ใช่หนังสือ
ไม่ใช่คัมภีร์ ไม่ใช่เสียงบอกเล่าตามพระไตรปิฎก
หรือตัวพิธีรีตองต่างๆ
ซึ่งไม่ใช่ตัวแท้ของพระพุทธศาสนา
ตัวแท้ต้องเป็นตัวการปฏิบัติด้วย
กาย วาจา ใจ
ชนิดที่จะทำลายกิเลสให้ร่อยหรอ หรือสิ้นไปในที่สุด
ไม่จำเป็น ต้องเนื่องด้วยหนังสือ ด้วยตำรา
ไม่ต้องอาศัยพิธีรีตอง หรือสิ่งภายนอก
เช่น ผีสางเทวดา แต่ต้องเนื่องด้วยกาย วาจา ใจโดยตรง
คือ ต้องบอกบั่นจำกัดกิเลสให้หมดสิ้น
จนเกิดความรู้แจ่มใส
สามารถทำอะไรให้ถูกต้องได้ด้วยตนเอง
ไม่มีความทุกข์เกิดขึ้น
ตั้งแต่ต้นจนอวสาน
นี่แหละคือตัวแท้ของพระพุทธศาสนา ๑๓.
คัดลอก จากหนังสือ คู่มือมนุษย์ โดยหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ