การสังคายนาเป็นเหตุใก้เกิดพระไตรปิฎก
ก า รเ กิ ด พ ร ะ ไ ต ร ปิ ฎ ก
แม้ในตอนต้นจะได้ระบุนามของพระเถระหลายท่านว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง
กับพระไตรปิฎกแต่พระไตรปิฎกก็เกิดขึ้นภายหลังที่ท่านพระเถระทั้งหลาย
ได้ร่วมกันร้อยกรองจัดระเบียบพระพุทธะวจนะแล้ว
ในสมัยของพระพุทธเจ้าเองยังไม่มีการจัดระเบียบหมวดหมู่
ยังไม่มีการจัดเป็นวินัยปิฎกสุตตันตะปิฎก และ อภิธรรมปิฎก
นอกจากมีตัวอย่างการจัดระเบียบวินัยในการสวด ปาฏิโมกข์
ลำดับสิขาบททุกกึ่งเดือน
ตามพระพุทธะบัญญัติและการจัดระเบียบธรรมะในสังคีติสูตร
และทสุตตรสูตร ที่พระสารีบุตรเสนอไว้ กับตัวอย่าง
ที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงวิธีจัดระเบียบพระธรรมแก่
พระจุนทเถระ และพระอานนท์ในปาสาทิกสูตร และสามคามสูตร
ดังได้กล่าวไว้แล้ว ในเบื้องต้น
พระพุทธเจ้าประทานพระพุทธโอวาท
ไว้มากมายหลายต่างกาลเวลา ต่างสถานที่กัน
การที่พระสาวกซึ่งท่องจำกันไว้ได้ และจัดระเบียบ
หมวดหมู่เป็นปิฎกต่างๆ ในเมื่อพระศาสดานิพพานแล้ว
พอเทียบได้ดังนี้ พระพุทธเจ้า
เท่ากับทรงเป็นเจ้าของสวนผลไม้ เช่น ส้มหรือองุ่น
พระเถระผู้จัดระเบียบหมวดหมู่คำสอน เท่ากับ
ผู้ที่จัดผลไม้เหล่านั้น ห่อกระดาษบรรจุลังไม้ เป็นประเภทๆ
บางอย่างก็ใช้ผงไม้กันกระเทือน ใส่แทนห่อกระดาษ
ปัญหาเรื่องของภาชนะที่ใส่ผลไม้เช่นลังหรือห่อก็เกิดขึ้น
คือใรนชั้แรก คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น รวมเรียกว่า พระธรรมวินัย
เช่นในสมัยเมื่อใกล้ปรินิพพานแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า
ธรรมและวินัยทีเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่ท่านทั้งหลาย
ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไป
จึงเป็นอันกำหนดลงเป็นหลักฐานได้อย่างหนึ่งว่า ในสมัยของพระพุทธเจ้า
ยังไม่มีคำว่า พระไตรปิฎก มีแต่คำว่า ธรรมวินัย คำว่า พระไตรปิฎก
หรือ ติปิฎก ในภาษาบาลีนั้น มาเกิดขึ้นภายหลัง ที่ทำสังคายนาแล้ว
แต่จะภายหังสังคายนาครั้งที่เท่าไหร่จะได้กล่าวต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้คำว่า พระไตรปิฎก จะเกิดขึ้นในสมัยหลังพุทธปรินิพพาน
ก็ไม่ทำให้สิ่งที่บรรจุอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น คลายความสำคัญลงเลย
เพราะคำว่า พระไตรปิฎก เป็นเพียงภาชนะ กระจาด หรือลังสำหรับใส่ผลไม้
ส่วนตัวผลไม้หรือนัยหนึ่งของพุทธวจนะ
ก็มีมาแล้วในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนพระศาสนา
ถอดความจาก "พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน" (ปกเขียว) หน้าที่6
ภาพงานพิธี ถวายพระไตรปิฎก และ ถวายตู้พระไตรปิฎก โดยคณะเจ้าภาพผู้มีจิตศรัทธา
ได้ใช้สถานที่ของศูนย์จัดส่งพระไตรปิฎก
เป็นที่ถวายตู้และหนังสือพระไตรปิฎกในราคามูลนิธิ โดย ได้นิมนต์พระสงฆ์ 9 รูปมาเป็นผู้รับพระไตรปิฎก
โดยทางศูนย์ได้เป็นผู้สนับสนุนเอื้อเฟื้อสถานที่ในการทำพิธีถวายพระไตรปิฎกในครั้งนี้
สำหรับท่านใดมีความประสงค์จะขอใช้สถานที่ในการถวายพระไตรปิฎก
แด่พระภิกษุสงฆ์ ก็สามารถ สำหรับท่านที่มีความประสงค์จะถวายพระไตรปิฎก
และตู้พระไตรปิฎก โดยขอใช้สถานที่ดังกล่าวกับทางศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์
ท่านสามารถติดต่อขอใช้สถานที่ของทางศูนย์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่ประการใด
สามารถติดต่อกับทางศูนย์ได้ที่เบอร์
087-696-7771, 086-461-8505
ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์
ตั้งอยู่ที่ ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ติดกับวัดญาณเวศกวัน
ทางศูนย์เปิดบริการให้เข้ามาเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ ตู้พระไตรปิฎก
และหนังสือพระไตรปิฎกแบบต่างๆ ในราคามูลนิธิ
ทั้งของ มูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ มูลนิธิของมหามกุฏราชวิทยาลัย
เปิดบริการวันจันทร์ - วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น
สำหรับท่านที่ต้องการสั่งชุดหนังสือพระไตรปิฎกแบบครบถ้วนสมบูรณ์
ฉบับที่เป็นมาตรฐาน จัดพิมพ์โดย . . .
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ และมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ
และจัดจำหน่ายในราคามูลนิธิมหาวิทยาลัย ทั้ง 2 สถานที่
โดย ศูนย์จัดส่งพระไตรปิฎกทั่วประเทศ (ไตรลักษณ์)
#พระไตรปิฎก เป็นประดุจดั่งคลังบันทึกคำสอนอันมากมายของ #พระพุทธเจ้า ผ่านการเวลานับพันปี
ยากที่คนยุคหลังจะเข้าใจได้ #พุทธธรรม ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ.ปยุตฺโต จึงเป็นดั่ง
อรรถาธิบายไขข้อสงสัย แห่งพระไตรปิฎก ให้มีชีวิตชีวา และสื่อความหมายทั้งในแง่จริยธรรม
และศาสนธรรมในโลกสมัยใหม่