คู่มือมนุษย์ เรื่องที่ ๕
ขั้นตอนการปฏิบัติ ศาสนา (ไตรสิกขา)
ในบที้จะบรรยายให้ทราบถึงวิธีที่จะตัดอุปาทาน หลักพุทธศาสนา
ที่เกี่ยวกับกรณีนี้ ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ข้อปฏิบัติหมวดนี้ เรียกว่า ไตรสิกขา
สิกขาขั้นแรกที่สุด
เราเรียกว่า “ศีล
ซึ่งหมายถึงการประพฤติดี ประพฤติถูก ตามหลักทั่วๆไป ไม่ทำให้ผู้อื่นต้อง
เดือดร้อน และไม่ทำตนเองให้เดือดร้อน มีจำแนกไว้เป็นศีล ๕
ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ หรืออื่นๆ อีก เป็นการปฏิบัติ
เพื่อความสงบ เรียบร้อยปราศจากโทษขั้นต้นๆ ทางกายและทางวาจร
ของตน และที่เกียวกับสังคม และส่วนรวม หรือเกี่ยวกับ
สิ่งของต่างๆ ที่จำเป็นแก่การเป็นอยู่ ๖๑
สิกขาขั้นที่ ๒
เรียกว่า “สมาธิ”
ข้อนี้ ได้แก่การบังคับจิตใจของตัวเองไว้ให้อยู่ในสภาพที่จะใช้ทำประโยชน์ให้มาก
ที่สุดตามที่ตนต้องการ ขอให้ตั้งข้อสังเกตุความหมายของคำว่า “สมาธิ”
ไว้ให้ถูกต้อง โดยมากท่านทั้งหลายย่อมจะได้ฟังมาว่า
สมาธินั้นคือใจมั่นแน่วแน่นิ่งเหมือนท่อนไม้ หรือมักว่าเป็นจิตที่
สงบ เป็นจิตที่บริสุทธิ์ แต่ลักษณะเพียง ๒ อย่างนั้น ยังไม่ใช่
ความหมายอันแท้จริงของสมาธิ การกล่าวเช่นนี้มีหลักใน
พุทธวจนะนั่นเอง พระพุทธองค์แสดงลักษณะของจิตด้วยคำอีกคำ
หนึ่ง ซึ่งสำคัญที่สุด คือคำว่า “กมฺมนีโย” แปลว่า สมควร
แก่การทำงาน และคำนี้ เป็นคำสุดท้ายที่ทรงแสดงลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ ๖๑
สิกขาขั้นที่ ๓
นั้นเรียกว่า “ปัญญา”
หมายถึงการฝึกฝนอบรมทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอันถูกต้องและสมบูรณ์
ถึงที่สุดในบรรดาสิ่งทั้งปวงตามที่มันเป็นจริง คนเราตามปกตินั้น
ไม่สามารถรู้อะไรๆ ให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงได้ คือมักถูกแต่
ตามที่เราใจเอาเอง หรือตามที่โลกสมมติกัน มันจึงไม่ใช่ตาม
ที่เป็นจริง ด้วยเหตุนี้ ศาสนา จึงมีระเบียบปฏิบัติ ที่เรียกว่า
ปัญยา สิกขาขึ้นอีกส่วนหนึ่ง เป็นส่วนสุดท้ายสำหรับจะฝึกฝน
อบรมให้เกิดความเข้าใจให้เห็นแจ้งในสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง
โดยสมบูรณ์ ๖๒
คำว่า “ความเข้าใจ” กับคำว่า “ความเห็นแจ้ง” นั้น
ในทางธรรมะแล้วไม่เป็นอันเดียวกัน “ความเข้าใจ” นั้นอาศัย
การคิดคำนึงด้วยการใช้เหตุผลบ้าง หรือการคาดคะเนเอา
ตามเหตุผลต่างๆ บ้าง ส่วน”ความเห็นแจ้ง” ไปไหกลกว่านั้น
คือต้องเป็นสิ่งที่เราได้ซึมซาบมาแล้ว ด้วยการผ่านผจญสิ่งนั้นๆ
มาด้วยตนเอง หรือด้วยการมีจิตใจจดจ่อเนื่องอยู่กับสิ่งนั้นๆ
โดยอาศัยการเฝ้าเพ่งดูอย่างพินิจพิจารณา จนเกิดมีความรู้สึก
เบื่อหน่าย ไม่หลงใหลในสิ่งนั้น ๆด้วยน้ำใสใจจริง ไม่ใช่ด้วย
การคิดเอาตามเหตุผล เพราะฉะนั้น ปัญญาสิกขาตามหลักของพุทธศาสนา
จึงไม่ได้หมายถึงปัญญา ที่ได้มาตามหลักของเหตุผล
เหมือนที่ใช้กันอยู่ในวงการศึกษาวิชาการสมัยปัจจุบัน แต่เป็ฯคน
ละอย่างทีเดียว ๖๓
ปัญญาในทางพระพุทธศาสนราต้องการรู้แจ้งเห็นแจ้งด้วย
น้ำใสใจจริง ด้วยการผ่านผจญสิ่งนั้นๆ มาแล้วโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง จนฝังใจแน่วแน่
ไม่อาจลืมเลือนได้ เพราะฉะนั้น การพิจารณา ในทางปัญญาตามสิกขาข้อนี้ จึงต้อง
ใช้สิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาแล้วในชีวิตของตนเอง เป็นเครื่องพิจารณา
หรือย่างน้อยก็ต้องเป็นเรื่องที่มีน้ำหนักมากพอที่จะทำให้ใจของ
เราเกิดความรู้สึกสังเวช เบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลายที่ไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนเหล่านั้นได้จริงๆ ๖๔
ศีลสิกขานั้น เป็นเพียงการศึกษาปฏิบัติตระเตรียมเบื้องตั้น
เพื่อให้เรามีการเป็นอยู่ฝาสุก อันจะช่วยให้จิตใจเป็นปกติ อานิสงส์
ของศีลมีหลายอย่างด้วยกัน แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นไปเพื่อให้
เกิดสมาธิ อานิสงส์ อย่างอื่นๆ เช่นว่า เป็นสุข หรือให้ไป
เกิดเป็นเทวดาในสวรค์นั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงมุ่งหมายโดยตรง
ท่านมุ่งโดยตรงถึงข้อที่จะให้เป็นที่เกิด ที่เจริญของสมาธิ ศีลจะ
ส่งเสริมให้เกิดสมาธิได้โดยง่าย ถ้าเรามีเครื่องรบกวนมาก
จิตใจของเราจะเป็นสมาธิได้อย่างไร ๖๕
สมาธิสิกขา คือการสามารถควบคุมจิต หรืออานใช้
จิตของเรานี้ ให้ทำหน้าที่ของมัน ให้เป็นประโยชน์ถึงที่สุด ใน
ขั้นศีลมีการประพฤติดี ทางกาย ทางวาจา ในขั้นสมาธิมีการ
ประพฤติดีทางจิต คือไม่มีความคิดผิด ไม่เศร้าหมอง ไม่มี
ความฟุ้งซ่าน และอยู่ในสภาพที่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ของมัน
อย่างนี้เรียกว่า เป็นการอบรมจิต หรือฝึกฝนจิตได้ถึงที่สุด
มีผลเกิดขึ้นเรียกว่า สมาธิ ๖๖
แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับประโยชน์ทั่วๆ ไปในทางโลก สมาธิ
ก็ยังเป็นของจำเป็นในทุกกรณี ไม่ว่าเราจะทำอะไรถ้าไม่ทำด้วย
ใจที่เป็นสมาธิแล้ว ย่อมไม่ได้รับผลสำเร็จด้วยดี ท่านจึงจัดสมาธิ
นี้ไว้ในลักษณะของบุคคลที่เรียกว่ามหาบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นมหาบุรุษ
ทางโลกหรือทางธรรม ล้วนแต่จำเป็นต้องมีสมาธิเป็นคุณสมบัติ
ประจำตัวทั้งนั้น ๖๗
แม้แต่เด็กนักเรียน ถ้าไม่มีจิตเป็นสมาธิแล้ว จะคิดเลขออก
ได้อย่างไร สมาธิในทำนองนั้นเป็นสมาธิตามธรรมชาติ มันยังอยู่
ในระดับอ่อน ส่วนสมาธิในทางหลักพุทธศาสนาที่เรากำลังพูดถึงนี้
เป็นสมาธิที่เราได้ฝึกให้สูงยิ่งขึ้นไปกว่าที่จะเป็นไปตามธรรมชาติ
เพราะฉะนั้น เมื่อฝึกสำเร็จแล้วจึงกลายเป็นจิตที่มีความสามารถ
มีกำลัง มีคุณสมบุติพิเศษอื่นๆ มากมายเหลือเกิน ๖๘
การที่คนเรานั้นสามารถถือเอาประโยชน์จากสมาธิได้ถึง
ปานนี้ เรียกว่ามนุษย์ได้ก้าวขึ้นมาถึงการรู้ความลับของธรรมชาติ
อีกขั้นหนึ่ง ข้อนี้หมายถึงการรู้วิธีบังคับจิตให้มีสมรรถภาพยิ่งไป
กว่าที่มนุษย์ธรมดาจะทำได้ ขั้นศียังไม่ถือว่าเป็นการเลยระดับ
ของมนุษย์ธรรมดา แม้จะอวดกันก็ยังไม่ถือว่าเป็นอวดอุตริมนุสธรรม
แต่พอมาถึงขั้นที่เป็นสมาธิ เป็นฌาน เป็นสมาบัติ
ท่านจัดเป็ฯอุตริมนุสธรรม ซึ่งพระภิกษุจะอวดไม่ได้ ขืนอวดก็ชื่อว่า
ไม่เป็นพระที่ดีหรือถึงกับไม่เป็นพระเลย แล้วแต่กรณี ๖๙
ถัดไปนี้ก็ถึงความเกี่ยวเนื่องกันระหว่าง สมาธิสิกขา
กับปัญญาสิกขา พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลยทีเดียวว่า เมื่อจิตเป็น
สมาธิแล้ว ย่อมเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง หมายถึงอาการ
ที่จิตประกอบด้วยสมาธิในลักษณะที่พร้อมจะปฏิบัติหน้าที่ ถ้าจิต
มีลักษณะเช่นนี้แล้ว ก็จะรู้สิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง ๗๐
ข้อนี้มีความแปลกประหลาดอยู่หน่อยหนึ่ง คือว่า เรื่อง
อะไรๆ ที่เราอยากจะรู้ หรือปัญหาที่เราอยากจะสางนั้น ตามปกติ
มันจะฝังตัวประจำอยู่ในใจของคนเราทั้งนั้น เราอาจไม่รู้สึกก็ได้
คือมันอยู่ใต้สำนึก เรื่อยไปตลอดเวลา ขณะ
ที่เราตั้งใจสะสางให้ออก มันก็ไม่ออก เพราะเหตุว่าจิตในขณะนั้น
ยังไม่พร้อมที่จะสสางปัญหานั้นั่นเอง ถ้าผู้ใดทำสมาธิให้ถูกต้อง
คือ ให้มีลักษณะ ที่เรียกว่า “กมฺมนีโย” พร้อมที่จะปฏิบัติงาน
ทางจิตแล้ว ปัญหาต่างๆที่สะสมอยู่ใต้สำนึกนั้น มันจะมี
คำตอบโพล่งออกเฉยๆ อย่างไมมีปี่มีขลุ่ย สืบต่อเนื่องจาก
ขณะที่จิตเป็นสมาธิเช่นนั้น ๗๑
แต่ว่าถ้าหากมันยังไม่โพล่งออกมา เราก็ยังมีวิธีอีกอัน
หนึ่งที่ให้น้อมจิตไปสู่การพิจารณาปัญหาที่เรากำลังมีอยู่
การพิจารณาด้วยกำลังของสมาธิในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ปัญญา
สิกขา หรืออย่างน้อยก็สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา ในคืนวันที่
ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ปฏิจจสมุปบาท คือ รู้อะไรเป็นอะไร ทะยอย
กันไปตามลำดับ ทั้งนี้ก็โดยมีสมาธิอย่างที่กล่าวมาแล้ว
พระองค์ได้ตรัสเล่าเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียด แต่รวบใจความแล้วก็
คือว่า ในขณะที่จิตเป็นสมาธิดีแล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อพิจารณาปัญญานั้นๆ ๗๒
ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงให้เห็ฯว่า ปัญหากับสมาธินี้
จะต้องเกี่ยวข้องกันเสมอไป แต่ว่าอาการที่ปัญญาอาศัยสมินั้น
บางทีเรามองไม่เห็นเลย เช่น เวลาที่เงียบสงัด เย็นสงาย ไม่มี
อะไรรบกวนใจ จิตเป็นสมาธิสดชื่นดี เราก็คิดอะไร ที่เป็น
คำตอบของปัญหาซึ่งติดค้างอยู่ได้ เป็นต้น ๗๓
แต่ในทางพุทธศาสนานั้น ท่านแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
สมาธิกับปัญญายิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก คือต้องมีสมาธิจึงจะมีปัญญา
ต้องมีปัญญาจึงจะมีสมาธิ ข้อนี้เป็นเพราะการที่จะให้
เกิดสมาธิยิ่งไปกว่าสมาธิตามธรรมชาตินั้น มันต้องอาศัยการมีปัญญา
คือ อย่างน้อยก็มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะ
อาการต่างๆ ของจิตที่ว่าจะบังคับมันอย่างไรจึงจะเกิดสมาธิ
ขึ้นมาได้ ฉะนั้น คนที่มีปัญญา จึงสามารถมีสมิมากขึ้นได้ตาม
ลำดับ เมื่อสมาธิมากขึ้น ปัญญาก็ยิ่งมีกำลังมากขึ้นตาม
มันส่งเสริมซึ่งกันและกันไปในตัว ๗๔
ถ้ามีปัญญาแล้ว ก็จะต้องมีความเห็นแจ้ง และมีผลเป็นความรู้สึกเบื่อหน่าย
สลดสังเวชถอยหลังออกมาจากสิ่งทั้งปวง
ที่เคยหลงรัก หลงยึดถือ ถ้ายังรี่เข้าไปหาสิ่งทั้งปวงด้วยความ
หลงรัก ด้วยความยึดถือ ด้วยความหลงใกลแล้ว ไม่ใช่เป็นปัญญา
ของพร่ะพุทธศาสนา ที่ว่าชะงักหรือถอยหลังนี้ไม่ใช่ทางกิริยา
อาการ เช่นจะต้องจับสิ่งนั้นสิ่งนี้ขว้างทิ้ง หรือทุบตีให้แตกหัก
หรือว่าต้องวิ่งหนีเข้าป่าไป อย่างนี้ก็หามิได้ แต่หมายถึงชะงักถอยหลังด้วยจิตใจ
โดยเฉพาะ คือมีจิตใจถอยออกจากการที่เคย
ตกเป็นทาสของสิ่งทั้งปวงมาเป็นจิตที่อิสระ ๗๕
ผลของความเบื่อหน่ายคลายความอยากจากสิ่งทั้งปวง
มันเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่ไปฆ่าตัวตาย หรือเข้าป่าไปบวชฤาษี หรือเอาไฟ
จุดเผาสิ่งต่างๆเสียให้หมด ภายนอกจะเป็นอย่างไรก็เป็นไป
ตามเรื่อง ยังคึงเป็นไปตามเหตุผล ตามความเหมาะสม แต่ภาย
ในจิตใจนั้นย่อมเป็นอิสระ ไม่เป็นทาสของสิ่งใดอย่างแต่ก่อนอีกต่อไป
นี่คือ อานิสงส์ของปัญญา ท่านใช้เรียกด้วยคำบาลีว่า “วิมุตติ”
หมายความว่า หลุดจากการเป็นทาสของสิ่งทั้งปวง
โดยเฉพาะทาสของสิ่งที่เรารัก ๗๖
แต่แม้สิ่งที่เราไม่รัก เราก็ตกเป็นทาสของมันเหมือนักน
เป็นทาสตรงที่ต้องไปเกลียดมันนั่นเอง อยู่เฉยๆ ไม่ได้ อุตส่าห์
ไปเกลียดมันไปร้อนใจกับมัน มันบังคับเราได้เหมือนกับของที่เรารัก
แต่อยู่ในลักษณะคนละอย่าง ฉะนั้น คำว่า เป็นทาสของสิ่งทั้งปวง
นั้นยอ่มหมายถึงทั้งทางที่พอใจและไม่พอใจ
ทั้งหมดนี้แสดงว่า เราหลุดออกจากการเป็นทาส
ของสิ่งทั้งปวงมาเป็นอิสระอยู่ได้ด้วยอาศัยปัญญา ๗๗
พระพุทธเจ้าท่านจึงได้วางหลักไว้สั้นๆ ที่สุดว่า
คนเราบริสุทธิ์ด้วยปัญญา ท่านไม่เคยตรัสว่าบริสุทธิ์ได้ด้วยศีล ด้วย
สมาธิ แต่บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา เพราะมันทำให้หลุดออกมาจาก
สิ่งทั้งปวง การไม่หลุดก็มีความไม่บริสุทธิ์ คือ สกปรก มืดมัว
เร่าร้อน เมื่อหลุดก็มีความบริสุทธิ์ สะอาด สว่างไสว แจ่มแจ้ง
และสงบเย็น มันเป็นผลของปัญญา หรือเป็นลักษณะอาการที่
แสดงว่า ปัญญาได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ของมันถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้น
ขอท่านทั้งหลายจงได้กำหนดพิจารณาสิกขาข้อที่ ๓ คือปัญญานี้ให้ดีๆ
ว่ามันมีอยู่อย่างไรและเป็นของสูงสุดเพียง ๗๘
ปัญญาในทางพระพุทธศาสนา ก็คือ ปัญญาที่ถอนตน
ออกมาเสียจากสิ่งทั้งปวง โดยการทำลายอุปาทาน ๔ ประการ
เสียให้หมดสิ้น ความติดยึดทั้ง ๔ น้ะน เปนเหมือนกับเชือกที่
ผูกมัดล่างเราไว้ ปัญญาก็เป็นเหมือนกับเชือกที่
ผูกมันล่ามเราไว้ ปัญญา ก็เป็นเหมือนมีดที่จะตัด
สิ่งเหล่านั้นให้ขาดออกไป จนไม่มีอะไรเป็นเครื่องผูกมัด
เราให้ติดอยู่กับสิ่งต่างๆ อีกต่อไป ๗๙
ข้อปฏิบัติทั้ง ๓ อย่างดังกล่าวนี้จะคงทนต่อการพิสูจน์หรือไม่
จะเป็นหลักวิชาอันแท้จริงเหมาะสมที่ทุกคนจะ
ปฏิบัติหรือไม่ขอให้พิจารณาดู ๘๐
คัดลอก จากหนังสือ คู่มือมนุษย์ โดยหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ