หนังสือเรื่อง เริ่มชีวิตให้ ได้ความสุข ในกาลวาระนี้ ขอให้เป็นวันใหม่ ชีวิตใหม่ที่มีความสุข ก็ขอให้ท่านทั้งหลายเจริญสุข คือสร้างบุญกุศลไว้ให้มาก . . . การสร้างบุญนั้นไม่ต้องใช้สตางค์ ก็ขอฝากไว้ บุญ คือ ความเจริญก้าวหน้าของชีวิต
ของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
...............................
คิดสิ่งใด ทำสิ่งใด ก็อยากให้สำเร็จตามปรารถนาด้วยกันทุกคน
เป็นปีแห่งความสดชื่นเบิกบานใจราวกับดอกไม้แย้มผลิ มีสีสันสดสวยตระการตาแก่ผู้พบเห็นทั่วไป ความสดสวยของชีวิต จะต้องเกิดขึ้น . . . ตามระบบและครรลองที่ถูกต้อง . . . ซึ่ ง จ ะ ต้ อ ง มี . . . “แผนการในการสร้างชีวิต” “แผนการในการสร้างอนาคต”
ดำเนินให้ต่อเนื่อง ด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่และมั่นคง
เพื่อจะนำนาวาของชีวิต . . . ให้บรรลุเป้าหมายให้จงได้ดังที่ตั้งปณิธานไว้
การที่เราจะมีชื่อเสียงและเกียรติยศ
มีทรัพย์สินเงินทอง มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ หรือทำให้เกิดความสุขนั้นอยู่ที่ตัวเราทั้งสิ้น เราเป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่จะกระทำให้เกิดขึ้น
ถ้าทำให้เกิดความสุขมากหรือทำให้เกิดน้อย...ก็เป็นของเรา
หรือถ้าไม่ทำก็ไม่มีสุข สุขนั้นจะต้องมีเหตุทำให้เกิดขึ้น จึงจะเป็นสุขได้
ฉั น ใ ด ก็ ดี . . .
หากต้องการมีความสุขในปีต่อไป หรือในอนาคต
ก็ต้องทำดังต่อไปนี้
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า . . .
ความสุขของคฤหัสถ์ จะเกิดขึ้นได้ ๔ ประการ
๑. ค ว า ม สุ ข เ กิ ด จ า ก ก า ร มี ท รั พ ย์ มีความตั้งใจที่จะทำงานให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และมีผลงานในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ก็จะทำให้มีหน้าที่การงานและรายได้สูงขึ้น มีทรัพย์สินเงินทองสะสมไว้เป็นประโยชน์ต่อชีวิต เพื่อวันข้างหน้าต่อไปเถิด . . . ท่านจะประเสริฐที่สุด ๒. ค ว า ม สุ ข จ า ก ก า ร ใ ช้ ท รั พ ย์
เงินทองนั้นไม่ได้หามาได้ง่ายเลย หามาด้วยความเหนื่อยยากด้วยกันทุกคน จะเกิดความภูมิใจอิ่มเอิบว่า . . . ตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมนั้น นำไปใช้ทำประโยชน์ ทำกุศลผลบุญต่างๆ และนำไปซื้อของใช้ที่จำเป็นต่อชีวิต หรือสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยให้เป็นหลักฐานที่มั่นคง แ ก่ ชี วิ ต ยิ่ ง ขึ้ น ต่ อ ไ ป เ ถิ ด
๓. ค ว า ม สุ ข จ า ก ก า ร ไ ม่ เ ป็ น ห นี้
การที่เราหาทรัพย์สินมาด้วยความเหนื่อยยากลำบาก จะต้องระมัดระวังรักษาทรัพย์มิให้สูญหายไป จะกระทำสิ่งใด . . . ก็ต้องรู้จักแบ่งทรัพย์ให้ถูกต้อง เป็น ๔ ประการ . . . คือ . . . เพื่อตนเองและครอบครัว ทำบุญทำกุศลและส่วนรวมหนึ่งส่วน เพื่อธุรกิจการงาน สองส่วน เพื่อสะสมไว้เป็นทุนสำหรับชีวิตในอนาคตอีกหนึ่งส่วน
ฉะนั้นเมื่อจะนำเงินนั้นมาลงทุนหรือดำเนินกิจการใด ๆ
ก็ต้องคำนึงถึงหลัก ๔ ประการนี้ ถึงแม้ว่าจะเพลี่ยงพล้ำก็ไม่เกิดเป็นทุกข์ การที่ทำธุรกิจเกินตัวหรือการใช้จ่ายเกินตัว จะทำให้เกิด . . . เป็นหนี้ . . . ขึ้น การเป็นหนี้นั้น นอกจากจะทำให้ชีวิตตัวเองไม่มีความสุขแล้ว ยังทำให้ครอบครัวไม่มีความสุขด้วย
๔.ความสุขเกิดจากการประพฤติไม่มีโทษ
ถ้าเรามีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ทำมาหากินในทางสุจริต ใครๆติเตียนไม่ได้ ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ เราก็เกิดความสุขความภาคภูมิใจ
ผู้ที่มีความประสงค์จะมีความสุขยิ่งๆขึ้น
พระพุทธองค์ตรัสว่า . . . ความสงบเป็นสุขอย่างยิ่ง คนที่มีจิตใจสงบ ไม่วุ่นวายกับสิ่งใดๆ มีความตั้งใจและสมาธิแน่วแน่ดีในพระกรรมฐาน . . . ...จะทำแต่สิ่งที่ดีๆทั้งนั้น และมีความตั้งใจที่จะทำงานของตนให้ดียิ่งขึ้น ไม่ทำความชั่ว ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทำร้ายผู้อื่น และไม่อยากได้ของผู้อื่น เลี้ยงชีวิตโดยชอบ ก็จะทำให้ชีวิตนั้นมีความสุข และความสงบเกิดขึ้น
ส่วนผู้ที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน . . .
สติปัญญาก็จะเกิดขึ้นจากความสงบนั้น และบรรลุถึงการปฏิบัติธรรมในที่สุด อย่างที่มาเจริญกรรมฐานด้วยความถูกต้อง ความสุขใดเสมอด้วยความสงบ...ไม่มีแล้ว
ท่านทั้งหลาย . . .
สิ่งใดๆก็ตาม ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามปกติ บุคคลที่มีจิตใจเป็นปกติ . . . ย่อมมีความสุขและความสงบ มีความเจริญก้าวหน้าของชีวิต
ส่วนผู้ที่มีจิตใจที่ผิดปกติ ก็จะเกิดโทษทุกข์ทรมาน
และเกิดความเดือดร้อนต่อตัวเองและผู้อื่นนานัปการ ความปกติจึงทำให้คนพบกับความสันติสุขและไม่มีโทษ
ความเป็นปกตินี้ . . .
พระพุทธศาสนาบัญญัติว่า “เป็นศีล” ที่โยมนั่งกรรมฐาน ถือศีลก็คือความเป็นปกตินั่นเอง บางท่านที่ไม่รู้จักคำว่าศีล อีกนัยหนึ่งไม่รู้จักคำว่า ศีลคืออะไร เ ล ย สิ้ น กํ า ลั ง ใ จ ที่ จ ะ รั ก ษ า ศี ล แต่ความจริงแล้ว ศีล แปลว่า ปกติ...
หลังจากยุคของความเสื่อม . . . ก็มาถึงจุดแห่งการเปลี่ยนแปลง
แสงอันทรงพลังที่ถูกบดบัง กลับสว่างขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น แต่ไม่ได้เป็นไปด้วยกำลังบังคับ หากเป็นขบวนการตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเอง
ด้วยเหตุนี้ . . . การเปลี่ยนแปลงสิ่งเก่าๆ จึงง่าย
สิ่งเก่าถูกละทิ้งไป สิ่งใหม่ได้รับการเชื้อเชิญเข้ามา ทั้งสองอย่างนี้เป็นไปตามจังหวะที่เหมาะสม จึ ง ไ ม่ ก่ อ ใ ห้ เ กิ ด โ ท ษ แ ต่ ป ร ะ ก า ร ใ ด
ท่านที่สนใจ สั่งซื้อหนังสือ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติอได้ที่
ไตรลักษณ์ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ริมกำแพงวัดญาณเวศกวัน
E-mail : trilak_books@yahoo.com
โทร. 086-461-8505,02-482-7358