คู่มือมนุษย์ เรื่องที่ ๗
การทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติ
จากหนังสือคู่มือมนุษย์ (ฉบับคัดย่อ) โ่ดยหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ
ในบทนี้จะบอกให้ทราบต่อไปว่า สมาธิ จะมีได้โดย
ทางตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง และจากการปฏิบัติตามหลักวิชา
โดยเฉพาะอีกอย่างหนึ่ง มีผลอย่างเดียวกัน คือเม่อจิตเป็นสมาธิ แล้วก็นำไปใช้
เพ่งพิจารณา (วิปัสสนา) ๙๑
แต่มีข้อควรสังเกต อย่างหนึ่งว่า สมาธิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั้น
มันมักจุพอเหมาะพอสมแก่กำลังของปัญญาที่จะ
ใช้ทำการพิจารณา ส่วนสมาธิ ที่เกิดจากการฝึกตามหลักวิชาการนั้น
มันมักจะเป็นสมาธิที่มากเกินไป หรือเหลือใช้
และยังเป็นเหตุให้คนหลงผิด พอใจเพียงแค่สมาธินั้นก็ได้ เพราะว่า
ในขณะที่จิตเป็นสมาธิเต็มที่นั้น ย่อมเป็นความสุขความสลายชนิด
หนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดความพอใจจนถึงกับหลงติดหรอหลงคิดว่า
เป็นมรรคเป็นผล โดยเหตุนี้ สมาธิที่เป็นไปตามทางธรรมชาติที่พอเหมาะ
พอสมกับการใช้พิจารณานั้น จึงไม่เสียหลายไม่เสียเปรียบ สมาธิ
ตามแบบที่ฝึกตามแนววิธีเทคนิคนัก ขอแต่เพียงให้รู้จักประคับประคอง
ทำให้สมาธิเกิด และให้เป็นไปด้วยดีก็แล้วกัน ๙๒
ข้อความต่างๆ ในพระไตรปิฎก ก็มีเล่าถึงแต่เรื่องการ
บรรลุมรรคผลทุกขั้นตามวิธีธรรมชาติ ในที่เฉพาะพระพักตร์ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเอง หรือต่อหน้าผู้สั่งสอนคนอื่นๆ โดยไม่ได้
ไปสู่ป่า นั่งทำความเพียงอย่างมีพิธีรีตอบ กำหนดเพิ่งอะไรต่างๆ
ตามอย่างในคัมภีร์ ที่แต่งกันใหม่ๆ ในชั้นหลังๆ โดยเฉพาะในกรณี
แห่งการบรรลุอรหัตตผลของภิกษุปัญญจวัคคีย์ หรือ ฤาษี
๑,๐๐๐ รูป ด้วยการนั่งฟังอัตตลักขณสูตร
และอาทิตตปยิยายสูตรด้วยแล้ว
จะยิ่งเห็นว่า ไม่มีการพยายามตามหลักวิชาใดๆ
เลย แต่เป็นการเห็นแจ้ง แทงตลอดตามวิธีของธรรมชาติแท้ๆ ๙๓
นี้แหละ เป็นลักษณะของสมาธิที่เป็นไปเองตามธรรมชาติ ซึ่งตามปกติถูกมองข้ามไปเสีย
เพราะมีลักษณะดูมันไม่ค่อยจะขลัง
จะศักดิ์สิทธิ์ ไม่ค่อยจะเป็ฯปาฏิหาริย์ที่น่าอัศจรรย์ แต่โดยที่แท้แล้ว
คนเรารอดตัวมาได้เป็นส่วนใหญ่ ก็โดยอำนาจของ
สมาธิตามธรรมชาตินี้เอง แม้การบรรลุมรรคผลนิพพานเป็นอรหันต์
ก็อาศัยสมาธิตามะรรมชาติ ทำนองนี้ เป็นส่วนมาก
ฉะนั้นขอท่านทั้งหลายอย่าได้มองข้ามเรื่องของสมาธิ
ที่เป็นไปตามธรรมชาติ มันเป็นเรื่องที่เราอาจทำได้ก่อน หรือได้อยู่แล้ว
เป็นส่วนมาก ควรจะประคับประคองมันให้ถูกวิธี ให้มันเป็นไปด้วยดีถึงที่สุด
จะมีผลเท่ากันเหมืนอกับผู้ที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ไปแล้วเป็นส่วนมาก ซึ่งเคยรู้จักนั่งสมาธิแบ
ใหม่ๆ อย่างที่กำลังตื่นๆ กันอยู่ในในขณะนี้เลย ๙๔
ทีนี้เราก็มาถึงความลับของธรรมชาติ ที่เกี่ยวกับเรื่อง
ลำดับแห่งความรู้สึกต่างๆ ภายในใจ จนกระทั่วเกิดการเห็นแจ่มแจ้ง
ตามที่เป็นจริงต่อโลก หรือต่อขันธ์ห้า
ลำดับแรก ได้แก่ ปีติ และปราโมทย์
หมายถึงความชุ่มชื้นใจหรือความอิ่มใจในทางธรรม
การที่เราทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้การให้ทาน
ซึ่งถือว่าเป็นบุญชั้นต้นๆ ก็เป็นการทำให้เกิดปีติและปราโมทย์ได้
ถ้าไปถึงขั้นศีล คือมีความประพฤติทางกาย วาจาไม่ด่างพร้อย
จนถึงกับนับถือเคารพตัวเองได้ ปีติปราโมทย์ก็มากขึ้น ถ้าหาก
ไปถึงขั้นสมาธิจะเห็นได้ว่า ในองค์ของสมาธิอันดับแรกที่เรียกว่า
ปฐมฌานนั้น ก็มีปีติอยู่องค์หนึ่งด้วยโดยไม่ต้องสงสัย ๙๕
ปีติปราโมทย์นี้ มีอำนาจอยู่ในตัวมันเองอย่างหนึ่ง ซึ่งจะ
ทำให้เกิดความสงบระงัล (ปัสสัทธิ) ตามปกติจิตของคนเรา ไม่ค่อย
จะระงับ เพราะว่าจิตตกเป็นทาสของความคิดนึกขอ
สิ่งยั่วยวนภายนอก ของความรู้สึก และอะไรต่างๆ อยู่ตลอด
เวลา เป็นความฟุ้งอยู่ภายใน ไม่เป็นความสงบ แต่ถ้าหากมีปีติ
ปราโมทย์ตามธรรมะมาประจำใจอยู่และมากพอสมควรแล้ว ความสงบ
ระงับจั้นจะต้องมีขึ้น จะมีมากหรือน้อย ตามอำนาจของปีติ ปราโมทย์ ที่มีมากหรือน้อย ๙๖
เมื่อมีความระงับแล้วก็ย่อมเกิดอาการที่เรียกว่า “สมาธิ”
คือใจสงบนิ่ง และอยู่ในสภาพที่คล่อง สะดวก เบาสบาย พร้อม
ที่จะไหวไปตามความต้องการ โดยเฉพาะก็เพื่อตัดกิเลส ไม่ใช่
ทำจิตใจให้เงียบตัวแข็งทื่อเป็นก้อนหิน อะไรทำนองนั้น ก็หาไม่
ร่างกายจะต้องให้มีความรู้สึกอย่างปกติ แต่ว่าจิตสงบเป็นพิเศษ
เหมาะสมที่จะใช้นึกคิดพิจารณา มีความผ่องใสที่สุด เยือกเย็น
ที่สุด สงบรำงับที่สุด เรียกว่า “กมฺมนีโย” คือ พร้อมที่จะรู้ นี่คือลักษณะ
สมาธิที่เราต้องการ ไม่ใช่อยู่ในฌานสมาบัติแข็งทื่อ
เหมือนตุ๊กตาหินไม่รู้สึกตัวเลย ๙๗
การอยู่ในฌานทำนองนั้นจพิจารณาอะไรไม่ได้เลย จิตที่
ติดฌานจะพิจารณาธรรมไม่ได้ มีแต่จะตกลงสู่ภวังค์เสียตลอดไป
ไม่สามารถนำมาใช้ในการพิจารณา จัดว่าเป็นอุปสรรคของการ
วิปัสสนาโดยตรงทีเดียว ผู้จะพิจารณาธรรมได้จะต้องออกจากฌาน
แล้วจึงพิจารณา โดยใช้ อำนาจการที่จิตมีสมาธิขนาดได้
ฌานมาแล้วนั่งเองเป็นเครื่องมือ ๙๘
ในการทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาตินี้ เราไม่ต้องเข้าฌาน
ชนิดที่ทำตัวเองให้แข็งทื่อ แต่ว่าต้องการจิตที่สงบ
เป็นสมาธิ ที่มี คุณสมบัติ “กมฺมนีโย” ครบถ้วน
พร้อมที่จะรู้แจ้งจนเกิด ความรู้ตามที่เป็นจริงต่อโลกทั้งหมด
(ยถาภูตญาณทัสสนะ) โดย อาการตามธรรมชาติ ทำนองเดียวกันกับผู้รู้แจ้ง
ขณะที่นั่งฟังพระ ผู้มีพระภาคเจ้าแสดงธรรม หรือนำไปคิดพิจารณาในที่เหมาะสม
จนรู้ ไม่มีพิธีรีตอบ หรือปาฏิหาริย์ อันเป็นเรื่องความเห็นผิดเป็นชอบ
หรือหลงใหลต่างๆ แต่อย่างใด ๙๙
หากว่ามีสิ่งแวดล้อมเหมาะสมและความดีต่างๆที่ได้
เคยสร้างสมมาเต็มที่ อาจเป็นพระอรหันต์เลยก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่
เหตุการณ์ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ
ตามธรรมชาติ สิ่งที่เรียกว่า “ญาณทัสสนะ” จะต้องเกิด และจะต้องตรงตามที่เป็นจริง
ไม่มากก็น้อย เพราะเหตุว่าพุทธบริษัทเรา
ย่อมเคยได้ยิน ได้ฟัง ได้เคยคิดเคยศึกษาเรื่องโลก ขันธ์ สังขาร
ทั้งหลายด้วยความอยากจะเข้าใจตามที่เป็นจริงมาแล้ว
เพราะนั้น ความรู้ที่เกิดขึ้นในขณะที่จิตสงบเป็นสมาธินั้น จึงไม่มีทาง
เสียหายเลย ย่อมจะได้ประโยชน์เสมอโดยแน่นอน ๑๐๐
คำว่า “ยถาภูตญาณทัสสนะ” ในที่นี้ หมายถึง การรู้ การเห็น
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงอย่างถูกต้องตามที่เป็นจริง คือ
เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นว่า “ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มี
อะไรที่น่าเป็น” ไม่ว่าอะไรๆ ไม่ควรเข้าไปยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตน
ว่าของตัวของตน ว่าดี ว่าชั่ว น่ารัก หรือน่าชัง อย่างนี้เป็ฯต้น
ถ้ามีความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในทางพอใจ
ก็ตาม ไม่พอใจก็ตาม แม้เพียง แต่รู้สึกคิดนึกหรือระลึกถึงเท่านั้น
ก็ยังถือว่าเป็นการยึดถือในที่นี้ ที่ว่าไม่น่าเอาไม่น่าเป็น
ก็มาจากหลักที่ว่ามี่อะไรที่น่ายึดถือนั่นเอง ๑๐๑
ตัวอย่างในเรื่อง “เอา” ก็คือ การปักใจในทรัพย์สมบัติ
เงินทอง สัตว์ สิ่งของอันเป็นที่พอใจต่างๆ การ “เป็น” ก็คือ
การถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นสามีภรรยา เป็นคนมั่งมี
คนเข็ญใจ เป็นคนแพ้ คนชนะ กระทั่ง เป็นมานุษย์ หรือเป็นตัวเอง
ถ้าพิจารณา ให้ลึกซึ้ง แม้ความเป็นคนนี้ก็ไม่น่าสนุก น่าเอื้อระอา เพราะ
เป็นที่ตั้งของควาทุกข์ ถ้าไม่ยึถือว่าเป็นคนเสียได้ ก็จะไม่เป็นทุกข์
นี้เรียกว่าเห็นความม่าเป็น ซึ่งมีใจความสำคัญอยู่ตรงที่ว่า
ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ต้องมีความทุกข์ตามแบบของความเป็นชนิด
นั้นๆ เพราะว่าความเป็นอะไรๆ นี้ มันต้องทนเป็นต้องทนดำรงอยู่
ต้องมีการต่อสู้เพื่อให้ได้เป็นหรือเป็นอยู่ต่อไป
อย่างน้อยที่สุด ก็คือการต่อสู้ทางใจในการที่จะยึดถือ
เอาความเป็นอะไรๆ ของตนไว้ให้ได้ ๑๐๒
เมื่อมีตนก็จะต้องมีอะไรๆ เป็นของตน ภายนอกตน
ออกไปอีกทอดหนึ่งฉะนั้น จึงมีลูกของตน
เมีของตน อะไรๆของตนอีกหลายอย่าง กระทั่งมีหน้าที่แห่งความเป็นผัว
เป็นเมีย ความเป็นนาย เป็นบ่าว ความเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ของตน
ขึ้นมาทั้งหมดนี้เป็นการชี้ให้เห็นความจริงในข้อที่ว่า ไม่มีความเป็นชนิด
ไหนที่จะไม่ต้องอาศัยความดิ้นรนต่อสู้เพื่อดำรงความเป็นนั้นไว้
ความลำบากดิ้นรนต่อสู้นั้นก็คือผลของการหลงใหลยึดถือ
สิ่งต่างๆ ด้วยความไม่รู้นั่นเอง ๑๐๓
ถ้าไม่ให้เอาไม่ให้เป็นกันแล้วจะอยู่กันได้อย่างไร ? นี่คง
จะเป็นที่สงสัยอย่างใหญ่หลวงของผู้ที่ไม่เคยคิดไม่เคยนึกในเรื่องนี้
คำว่า “เอา” และคำว่า “เป็น “ในที่นี้ หมายถึง
การเอาหรือการเป็นด้วยกิเลส ด้วยตัณหา ด้วยอุปาทานความยึด
มั่นว่าน่าเอาน่าเป็น และใจก็เอาจริงเอาจัง เป็นจริงเป็นจัง
เพราะฉะนั้น มันก็ต้องหนักใจ ร้อนใจ เจ็บใจ ช้ำใจ
หรืออย่างน้อยก็เป็นภาวะหนักทางใจ
นับตั้งแต่แรกไปและตลอดเวลาทีเดียว เมื่อเรารู้ความจริง
ข้อนี้แล้ว ก็จะมีสติสัมปชัญญะคุ้มครองจิตใจไม่ให้ตก
ไปเป็นทาสของความมีความเป็นด้วยอำนาจการยึดติด
มีสติปัญญาอยู่เหนือสิ่งต่างๆ ๑๐๔
เมื่อเรารู้สึกอยู่ว่า โดยที่แท้มันเป็นสิ่งที่ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น ปากแต่เรายังไม่สามารถ
ถอนตัวออกไปเสีขนกความมีความเป็นนั้นได้
เราก็จำเป็นต้องมีสติรู้ตัวให้พอเหมาะสม ถ้าจะเข้าไปเอา
หรือเข้าไปเป็นอย่างโง่เขลางมงาย ซึ่งผลสุดท้ายก็ตกหลุทมตกบ่อ
ความโง่เขลาและอุปาทานของตัวเอง
จนถึงกับต้องฆ่าตัวตาย
สมมติตัวว่า เสือหรืองูร้าย เป็นสิ่งที่ขายได้แพง
ในเมื่อเราไม่มีวิธีอื่นจะประกอบอาชีพ เราจะเข้าไปจับเสือมาขายอย่างนี้
มันก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่เราจะต้องเข้าไปจังเสือให้ถูกวิธี
เราจึงจะได้เสือมาขาย และได้เงินมาเลี้ยงชีวิต
ถ้าผิดวิธีเราก็จะต้องตายเพราะเสือ ๑๐๕
โลกหรือสิ่งทั้งปวงมีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่เป็น
ของใคร มันจะเล่นงานบุคคลผู้ที่เข้าไปยึดถือด้วยตัณหา อุปาทาน
นับแต่วาระแรก คือตั้งแต่เมื่ออยากได้ อยากเป็นกำลังให้ กำลังได้
กำลังเป็น และได้แล้ว เป็นแล้ว ตลอดเวลาแห่งกาลทั้งสาม ใครเข้าไปยึดถือ
อย่างหลับหูหลับตา แล้วก็จะมีความทุกข์อย่าง
เต็มที่เหมือนอย่างที่เราเห็นปุถุชนคนเขลา
ทั้งหลายเป็นๆ กันอยู่โดยทั่วไปในโลก ๑๐๖
แม้ที่สุด “ความดี “ที่ใครๆ บูชากะน ถ้าหากว่าใคร
เข้าไปเกี่ยวข้องกับความดีในอาการที่ผิดทาง และยึดถือกันมากเกินไป ก็จะได้รับ
ความทุกข์จากความดีนั้นเช่นเดียวกัน
เว้นไว้แต่เราจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับมัน
โดยมีความรู้ว่าธรรมชาติของมันเป็นอย่างนั้น ๑๐๗
ความอยากเอาอยากเป็นนี้ เป็นความโง่อย่างยิ่งชนิดหนึ่ง
เป็นความหลงผิดไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร จนกระทั้งไป
คว้าเอากงจักรมาเป็นดอกบัว เพราะฉะนั้น ขอให้เราทุกข์คนปฏิบัติ
หน้าที่ของตนด้วยสติปัญญาที่รู้ตัวอยู่เสาอ ว่าไม่มีอะไรที่น่าเอาน่าเป็น
หรือน่าหลงใหลยึดถือดังกล่าวแล้ว จงทำไปให้พอเหมาะ
พอสมกับที่รู้ว่า สิ่งเหล่านั้นมีความไม่น่าเอา หรือไม่น่าเป็นอยู่ตามธรรมชาติ
เราต้องเข้ไปเกี่ยวข้องให้ถูกวิธี และให้พอเหมาะ
ในเมื่อเรายังต้องเกี่ยวข้องอยู่ ข้อนี้
เป็นการทำให้ใจของเรายังสะอาด สว่างไสว แจ่มใส สงบเย็นอยู่เสมอ
แล้วเข้าไปเกี่ยวข้องกับโลก หรือสิ่งทั้งปวง
ด้วยอาการที่จะไม่เป็นพิษและเป็นโทษแก่ตัวเรา ๑๐๘
ความไม่น่าเอาไม่น่าเป็นนี้ ชาวโลกธรรมดาฟังดูแล้วชวนให้ไม่เชื่อ
ไม่เลื่อมใส แต่ถ้าใครได้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของมันแล้ว
กลับจะทำให้เกิดความกล้าหาญร่าเริง คือมีจิตเป็นนาย
เป็นอิสระต่อสิ่งทั้งปวง ทำให้สามารถเข้าไปหาสิ่งต่างๆ
ด้วยความมั่นใจว่าจะไม่ตกเป็นทาสของมัน คือไม่เข้าไป
ด้วยอำนาจของกิเลสตัณหาหน้ามืด จนกลายเป็นทาสของมัน ๑๐๙
คนเรากำลังเอาอะไรอยู่ก็ตามกำลังเป็นอะไรอยู่ก็ตาม ขอให้รู้สึกตัวอยู่เสมอว่า เรากำลังเอา
หรือเป็นในสิ่งซึ่งที่แท้แล้ว เอไม่ได้เป็นไม่ได้เพราะไม่มีอะไรที่เอาได้จริงเป็นได้จริงตาม
ต้องการของเรา มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรมอยู่ตลอดเวลา
เราเองเข้าไปยึดมันด้วยกิเลสตัณหาบ้าๆ บอๆ
ของเราเอง ต่างหาก ฉะนั้น เราจึงทำกับสิ่งเหล่านี้ไม่ถูกตรงกับ
ที่มันเป็นจริง เพราะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่รู้ตามที่เป็นจริงนั่นเอง
จึงต้องเกิดความทุกข์ยุ่งยากขึ้นทุกอย่างทุกประการ ๑๑๐
คนแต่ละคนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนให้บริสุทธิ์
ผุดผ่องได้ ก็เพราะมันอยากเอาอะไร อยากเป็นอะไรเกินของเขต
เพราะอำนาจของกิเลสตัณหาของตนเองเสียเรื่อย จึงไม่สามารถดำรง
ตนให้อยู่ในสภาพที่เป็นความดี ความงาม ความถูกต้อง และความยุติธรรม
มูลเหตุแห่งความหายนะของทุกคนมันอยู่ที่การตกเป็นทาสของตัณหา
เพราะฉะนั้น การรู้จักสิ่งทั้งปวงให้ถูกต้องตามที่มันเป็นจริง (ยถาภูตญาณทัสสนะ) จึงเป็น
ใจความสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา นี้เป็นทางให้เราเอาตัวรอดกันได้
โดยมาก ไม่ว่าในเรื่องประโยชน์โลกๆ ซึ่งหวังผลเป็นทรัพย์สมบัติชื่อเสียง
หรือว่าเพื่อหวังผลประโยชนืในโ,กหน้า เช่นสวรรค์
หรือเรื่องที่พ้นจากชาวโลกขึ้นไป คือ เรื่อง มรรค ผล นิพพาน
ก็ตาม ทั้งหมดนี้ล้วนแต่ต้องกาศัยความรู้ความเห็นอันถูกต้องทำนองนี้ทั้งนั้น ๑๑๑
เราทุกคนจะรุ่งเรืองด้วยปัญญา พระพุทธศานาได้กล่าวอยู่บ่อยๆ
ว่าคนเราบริสุทธิ์ด้วยปัญญา ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยอย่างอื่น ทางรอดของเรานั้นอยู่ที่ปัญญาเห็นแจ่มแจ้งในสิ่ง
ทั้งปวงว่าไม่มีอะไรที่น่ายึดถือ คือน่าเอาน่าเป็นด้วยการมอบกาย
ถวายชีวิตเลย ที่มีอยู่แล้วที่เป็นอยู่แล้ว ก็ขอให้เป็นไปตามสมมติ
ของโลกๆ ที่สมมติว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่กัน ก็เพื่อจะให้รู้จัก
ชื่อรู้จักเสียง รู้จักแบ่งหน้าที่การงานกันเพื่อความสะดวกในทางสังคม ๑๑๒
เราอย่าไปหลงยึดถือว่า ตัวเราเป็นนั่นเป็นนี่ไปตาม
ที่เขาสมมติให้เลย มันจะมีลักษณะเหมือนกับการถูกมอม
ดังสัตว์เล็กๆ เช่นจิ้งหรีดเป็นต้น ซึ่งถูกมอมหน้า
ถูกทำให้มึนให้งงแล้วมันก็จะกันเองจนตาย คนเรานี่แหละ
ถ้าถูกมอมหรือถูกหลอกต่าๆ ก็จะมึนเมาจนทำสิ่งที่ตาม
ปกติมนุษย์ธรรมดาสามัญทำไม่ได้
เช่นฆ่ากันเป็นต้นฉะนั้น เราอย่าไปหลงติดสมมติ
แต่พึงรู้สึกตัวว่าเป็นเรื่องการสมมติ ซึ่งเป็นของ
ต้องมีในสังคม เราจะต้องรู้สึกโดยแท้จริงว่า
ฃกายกับในนี่คืออะไร ธรรมชาติที่แท้จขริงของมันเป็นอย่างไร
โดยเฉพาะก็คือเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
นั้นเอง ส่วนเรานั้นจะต้องดำรงอยู่ในลักษณะที่เป็นอิสระอยู่เสมอ ๑๑๓
สำหรับทรัพย์สมบัติหรืออะไร ที่เราจำเป็นจะต้องมีก็ขอให้เห็นว่า
เป็นการสมมติอีกเหมือนกัน จงปล่อยไว้ตามประเพณี ที่มีอยู่ว่า นี่เป็ฯของคนนี้
นี่บ้านคนนี้ นี่นาคนนั้น เป็นต้น กฎหมายก็คุ้มครอง
กรรมสิทิ์ไว้ให้คนเราทั้งทั่จิตใจไม่ต้องยึดถือว่า
เป็นของเรา เพราะฉะนั้น เราก็ควรมีอะไรๆ เพียงเพื่อความสะดวกสบาย
ไม่ใช่เพื่อมาเป็นนายอยู่เหนือใจเรา เมื่อเรามีความ
รู้แจ้งอย่างนี้ สิ่งต่างๆ ก็จะลงไปอยู่ในบ่าวเป็นทาสเรา และเราก็อยู่เนหือมัน ๑๑๔
เมื่อเห็นจริงว่าไม่มีอะไรที่น่าเอาน่าเป็นอย่างนี้แล้ว ความเบื่อ
หน่าย (นิพพิทา) ก็เป็นสิ่งที่เกิด่ขึ้นติดตามมาตามส่วนสัดของ
การเห็นแจ้ง นี่หมายความว่า มีการคลอนแคลน
สั่นสะเทือนเกิดขึ้นแล้วในการเข้าไปหลงยึดถือ
หรือเปรียบเหมือนเมื่อเราต้องตกเป็นทาสเขามานาน
จนมีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นก็มีความเคลื่อน
ไหวไปในทางที่จะต้องเปลื้องตนออกจากความเป็นทาส
นี้เป็นลักษณะของนิพพิทา คือความเบื่อหน่าย
เกลียดความเป็นทาสขึ้นมาแล้วหน่ายต่อความที่ตนหลง
เข้าไปยึดถือเอาสิ่งต่างๆ ด้วยความเข้าใจว่าน่าเอาน่าเป็นนั่นเอง ๑๑๕
ครั้นพอมีความเบื่อหน่ายแล้วโดยอัตโนมัติธรรมชาตินั่นเอง
ย่อมจะมีความจางหรือคลายออก (วิราคะ) เหมือนกับ เชือกที่ผูกมัดไว้แน่นถูกแก้ออก หรือเหมือนสีน้ำย้อมผ้าที่ติดแน่น
เอาแช่น้ำยาบางอย่างให้สีมันหลุดออก ความยึดถือที่คลายออกจากโลก หรือจากสิ่งทั้งปวงที่เคยยึดถือนี้ ท่านเรียกว่า “วิราคะ”
ระยะนี้ถือว่าสำคัญที่สุด แม้จะไม่ใช่ระยะสุดท้าย
แต่ก็เป็นระยะที่สำคัญที่สุดของการหลุดพ้นเพราะว่า เมื่อมีการคลายออกจางออกดังนี้แล้วไม่ต้องสงสัยเลย
สิ่งที่เรียกว่าความหลุดออกจากทุกข์ (วิมุตติ) จะต้องมีโดยแน่นอน ๑๑๖
เมื่อหลุดออกมาได้จากความเป็นทาส ไม่ต้องเป็นทาสของโลกอีกต่อไป
ก็จะมีอาการบริสุทธิ์ (วิสุทธิ). ในที่นี้หมายความว่าไม่เศร้าหมอง ก่อนนี้
เศร้าหมองที่กาย วาจา
ใจ หรือจะมองดูกันในแง่ไหนๆ ก็เป็นเรื่องเศร้าหมองทั้งนั้น แต่ เมื่อหลุดพ้นออกจาก
ความเป็นทาส ในรสอร่อยๆ ของโลกแล้ว จึงจะอยู่ในลักษณะที่บริสุทธิ์
คือ ไม่เศร้าหมองอีกต่อไป ๑๑๗
เมื่อมีความบริสุทธิ์แท้จริงอย่างนี้แล้ว ก็จะเกิดความ
สงบสันติอันแท้จริงสืบไป เป็นความสงบเย็นจากความวุ่นวาย
จากความรบกวน หรือจากการต่อสู้ดิ้นรนทรมานต่างๆ ซึ่งปราศจาก
อาการเบียดเบียนวุ่นวายเหล่านี้แล้ว ท่านสรุปเรียกความเป็นอย่างนี้ว่า
“สันติ” ความสงบรำงับดับเย็นของเรื่องทั้งปวง มันแทบเรียกได้ว่า ถึงขั้นสุด
หรือขั้นเดียวกันกับนิพพาน แท้ที่จริง
สันติกับนิพพานนั้นเกือบไม่ต้องแยกกัน
ที่แยกกันก็เพื่อจะให้เห็นว่า เมื่อสงบแล้วก็นิพพาน ๑๑๘
นิพพาน แปลว่า ไม่มีเครื่องิ่มแทงอีกอย่างหนึ่ง แปลว่า
ความดับสนิทไม่มีเหลือ ฉะนั้น คำว่านิพพานจึงมีความ
หมายใหญ่ สองประการคือ ดับไม่มีเชื้อสำหรับจะเกิด
มาเป็นความทุกข์อีกต่อไป นี่อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งก็คือ
ปราศจากความทิ่มแทง ความเผาลน ปราศจากความผูกพัน
ร้อยรัดต่างๆ ทุกอย่าง ทุกประการ รวมความแล้ว
ก็แสดงถึงภาวะที่ปราศจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง นิพพาน ยังมีความหมาย
ที่มุ่งใช้ต่างๆ กันอีกหลายอย่าง เช่น หมายถึงการดับของความทุกข์ก็มี
หมายถึงการดับของความทุกข์ก็มี หมายถึงการดับของกิเลสอย่างหมดสิ้นก็มี
หมายถึงธรรมะหรือเครื่องมือ หรือเขตแดนหรือสภาพอันใดอันหนึ่ง
ที่ทุกข์ทั้งปวง กิเลสทั้งปวง สังขารทั้งปวง ดับไปหมดสิ้น ๑๑๙
แม้จะมีคำว่า “นิพพาน” ใช้กันอยู่ในลัทธิศาสนาหลายๆ ลัทธิก็ตาม แต่
ความหมายไม่เหมือนกันเลย เช่น
ลัทธิหนึ่งถือเอาความสงบเย็นเพราะการที่ฌานได้สมาบัติ
ว่าเป็นนิพพานบางลัทธิถือความมัวเมาอยู่ใน
กามารมณ์กันอย่างเพียบพร้อมว่าเป็นนิพพาน
พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธนิพพานในความหมาย
เช่นนั้นทรงระบุความหมายของพระนิพพาน
เพียงในลักษณะที่เป็นภาวะอันปราศจากความทิ่มแทง
ร้อยรัด แผดเผา ของกิเลสและความทุกข์ เพราะการ
ได้เห็นสภาวะโลก เห็นสิ่งทั้งปวงตามที่
เป็นจริงจนหยุดความอยากความยึดในสิ่งต่างๆ เสียได้ดังนี้ ๑๒๐
เพราะฉะนั้น เราจึงควรเห็นคุณค่าอันยิ่งใหญ่ของการ
เห็นสิ่งทั้งหลายให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
และควรพยายามทำให้เกิดมีขึ้นไม่ทางใด
ก็ทางหนึ่ง กล่าวคือ ทางที่จะเป็นไปเองตามธรรมชาติ
โดยการประคับประคองให้ดี
ทำจิตใจให้มีปีติปราโมทย์
มีการเป็นอยู่ที่บริสุทธิ์ทุกลมหายใจ
ทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่เสมอ
จนกระทั่งเกิดคุณธรรมต่างๆ
ตามลำดับที่กล่าวแล้วนี้วิธีหนึ่ง ส่วนอีกวิธีหนึ่ง
เป็นการเร่งรัด้วยอำนาจจิตบังคับ
คือไปศึกษาและปฏิบัติตามหลักวิชาของการทำสมาธิ
หรือการเจริญวิปัสสนาโดยเฉพาะสำหรับผู้
ที่อุปนิสัยเหมาะก็อาจก้าวหน้าไปได้เร็วในเมื่อทำถูกวิธีและถูกกับสิ่งแวดล้อม ๑๒๑
แต่วิปัสสนา ตามธรรมชาตินั้น เราทำได้ทุกโอกาส ทุกขณะ เพียงระวังให้การเป็นอยู่ประจำวันของเราบริสุทธิ์ผุดผ่อง
จนเกิดความอิ่มใจในทางธรรมะ ความรำงับจิต ความสงบ
มีความรู้ที่เป็นจริงต่อสิ่งทั้งหลาย ความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดออก
ความบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ความสงบเย็น ถึงภาวะ
ที่ปราศจากความทุกข์อย่างชิมลอง น้อยๆ ไปเรื่อยๆ ไป ตามธรรมชาติ
ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี ก็จะใกล้ชิดนิพพานแท้จริงได้มากขึ้นๆ ๑๒๒
สรุปความว่า สมาธิและวิปัสสนาตามธรรมชาติที่ทำให้
บุคคลบรรลุมรรคผลนั้น ต้องอาศัยการพิจารณาความจริงในข้อที่ว่า
“ไม่มีอะไรที่น่าเอาน่าเป็ฯ” อยู่เป็นประจำอยู่ทุกวัน
ผู้หวังจะได้ผลอันนี้ จะต้องพยายามทำตนให้เป็นคนสะอาด
มีอะไรเป็นที่พอใจในตัวจนยกมือไหว้ตนเองได้ มีปีติปราโมทย์
ตามทางธรรมอยู่เสมอ
ไม่ว่าในเวลาปฏิบัติหน้าที่หรือเวลาพักผ่อน ปีติปราโมทย์นั่นเอง ทำให้เกิด
ความแจ่มใส สดชื่น มีใจสงบรำงับ เป็นเหตุให้
จิตมีสมรรถภาพในการคิดค้นตามธรรมชาติอยู่อย่างอัตโนมัติ
เกิดความเห็ฯจริงว่า ไม่มีอะไรที่น่าเอาน่าเป็นอยู่เสมอ ขณะใดเป็นไปอย่างแรงกล้า
จิตก็หน่ายคลายความอยากจากสิ่งที่เคยยึดถือ
หลุดออกมาได้จากสิ่งที่เคยยึดถือว่าตัวตนหรือของตน ไม่มีความ
หลงอยากในสิ่งใดด้วยกิเลสตัณหาอีกต่อไป
ความทุกข์ซึ่งไม่มีที่ตั้งอาศัยก็สิ้นสุดลง ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่า
เป็นผู้ถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์แล้ว
นับว่าเป็นของขวัญที่ธรรมชาติได้มีไว้ให้สำหรับทุกคนโดยแท้จริง ๑๒๓
คัดลอก จากหนังสือ คู่มือมนุษย์ โดยหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ