ศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาแห่งปรัชญา
ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องพระไตรปิฎกต่อไป เราจำต้องแยกให้ออก
ระหว่างปรัชญากับศาสนา ปรัชญาเป็นเรื่องของการคิดหาเหตุผลเป็นสำคัญ
และถกเพียงกันในเรื่องเหตุผลนั้น เพื่อสันนิษฐานความจริง เรื่องที่ถกเถียง
หรือคิดหานั้น อาจจะไม่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่เป็นอยู่ เช่น นักปรัชญา
อาจจะถกเถียงกันว่า จักรวาลเกิดขึ้นเมื่อไร และจะได้ไปสิ้นสุดเมื่อไร โลกจะ
แตกเมื่อไร ชีวิตเกิดขึ้นเมื่อไร เป็นต้น และนักปรัชญา ก็ไม่จำเป็นต้องดำเนิน
ชีวิตตามหลักการอะไร หรือแม้แต่ให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตนคิด เขาคิดหา
เหตุผลความจริงของเขาไป โดยที่ว่าชีวิตส่วนตัวอาจจะไปในทางที่
ตรงข้ามก็เป็นได้ เช่น นักปรัชญาบางคน อาจจะเป็นคนคุ้มดีคุ้มร้าย บางคน
สำมะเลเทเมา บางคนมีทุกข์จนกระทั่งฆ่าตัวตาย
จากหนังสือเรื่องพระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้ ราคาโรงพิมพ์ธรรมทาน 27 บาท
แต่ศาสนา เป็นเรื่องราวของการปฏิบัติ เรื่องของการดำเนินชีวิตหรือการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ในชีวิตจริง การปฏิบัตินั้นต้องมีหลักการที่แน่นอน อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ยอมรับว่าเป็นจริง
โดย มีจุดหมายที่แสดงไว้อย่างชัดเจนด้วย
เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติ คือ ศาสนิกชน เริ่มต้นก็ต้องยอมรับที่จะปฏิบัติ
ตามหลักการของศาสนานั้น ตามที่องค์พระศาสดา ได้แสดงไว้ ซึ่งเราเรียกว่า
คำสอน ด้วยเหตุนี้ ศาสนิกจึงมุ่งไปที่ตัวคำสอนของพระศาสดา
ซึ่งรวบรวมและรักษาสืบทอดกันมาในสิ่งที่เรียกว่า คัมภีร์
เมื่อมองในแง่นี้ พระพุทธศาสนา จึงไม่ใช่เป็นปรัชญา แต่เป็นศาสนา
มีพระสมณโคดม เป็นพระศาสดา ซึ่งชาวพุทธทุกคน เชื่อในการตรัสรู้
ของพระองค์ สอนวิธีการดำเนินชีวิตที่เมื่อถึงที่สุดแล้วจะนำไปสู่เป้าหมาย
คือการหลุดพ้นจากความทุกข์ คัมภีร์ขนาดใหญ่ที่บรรจุหลักธรรมคำสอน
เรียกว่า พระไตรปิฎก ชาวพุทธที่แท้ จึงต้องปฏิบัติตามคำสอนให้ถูกต้อง
เพื่อให้ได้รับ ประโยชน์จากพระพุทธศาสนามากที่สุด และเพื่อเป็นหลักประกันวิธี
ปฏิบัติที่ถูกต้อง ก็จำเป็นต้องมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องพระไตรปิฎก ด้วยเช่นกัน