สมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่เรากำหนดใจว่า จะทำให้สำเร็จ . . . ใจเราปักหลักอยู่กับเรื่องนั้นเท่านั้น
สมาธิมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า . . .
เอกัคคตา แปลว่า คิดเรื่องเดียว
เลือกเรื่องที่ท่านจะทำ
ล อ ง กํ า ห น ด ต า ร า ง เ ว ล า
ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพนั้นจะกำหนดเวลาเป็นช่วงๆ อันไหนเรื่องด่วนเรื่องสำคัญแล้วก็ทุ่มเททำเรื่องนั้นจนหมดเวลา หรือเสร็จเรื่องแล้วจึงค่อยเปลี่ยนไปเรื่องอื่น เ ข า คิ ด ที ล ะ เ รื่ อ ง . . .
ไม่ใช่ให้เรื่องต่างๆ เข้ามาพันกันจนยุ่งไปหมด
การมีสมาธิ หมายความว่า . . .
เรากำลังคิดเรื่องอะไรก็มีสติในเรื่องนั้น ใจ . . . อยู่กับเรื่องนั้นเพียงเรื่องเดียว
อย่างที่หลวงพ่อเทียน ท่านสอนให้ทำสมาธิด้วยกายคตาสติ
คือ กำหนดดูมือที่ขึ้นและลง ขึ้นก็รู้...ลงก็รู้ มีสติกับการเคลื่อนไหวของมือในปัจจุบันตลอดเวลา . . . ไม่วอกแวกไปไหนเลย สติที่ติดตามการเคลื่อนไหวของมืออย่างต่อเนื่อง
ทํ า ใ ห้ เ กิ ด ส ม า ธิ มือในปัจจุบันขณะอยู่ตรงไหน สติรู้ทันหมด
หรือในการฝึกสติตามการเดินว่า ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ
สำหรับคนเริ่มฝึกขั้นแรก เขายกเท้าซ้ายแล้วก็วาง ยกเท้าขวา. . . แล้วก็วาง ให้มีสติตามทันการเคลื่อนไหว คนที่ฝึกขั้นสูง สติ . . . รู้ปัจจุบันละเอียดขึ้นอีก ยก...ย่าง...เหยียบ อย่างนี้เป็นต้น
เมื่อฝึกสติมากขึ้น สติจะตามทันทุกอย่าง
ทันแม้กระทั่งความคิดของตัวเอง
เวลาที่จิตโกรธ เราจะรู้ทันและใส่เบรกให้กับตัวเองได้
ถ้าเกิดโกรธ...หรือ...กลัวขึ้นมา ก็สามารถที่จะห้ามความโกรธหรือปลุกปลอบใจได้ ถ้าหากว่าเราเริ่มจะขุ่นมัว สติจะเป็นเครื่องตรวจสอบตนเอง รู้ทันแม้กระทั่งความคิดของตนเองได้
. . . เ พ ร า ะ ฉ ะ นั้ น . . . คนที่มักโกรธควรเจริญสติจะได้ใจเย็นลง
สติเป็นตัวกระบวนการฝึกอยู่กับปัจจุบัน
เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออก ลมถูกปลายจมูกก็รู้ ลมหายใจเข้า...ก็รู้ หายใจออก...ก็รู้ อย่างนี้เป็นต้น ไม่วอกแวกไปที่อื่น สติอยู่กับลมหายใจเข้าออกเท่านั้น เรียกว่าอานาปานสติ คือสติกำหนดลมหายใจเข้าและออก เมื่อทำสติเช่นนี้ต่อเนื่องจะเกิดสมาธิ
คือ . . . ปักใจอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว
สมาธิมี ๓ ขั้นด้วยกัน
. . . คือ . . . ๑. ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ ๒. อุปจารสมาธิ สมาธิเกือบจะแน่วแน่ ๓. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่
ขั้นที่ ๑ เรียกว่า ขณิกสมาธิ
เป็นสมาธิขั้นต้นสำหรับชาวบ้าน สมาธิชั่วขณะที่ทำสิ่งนั้นๆ
เช่น อยู่กับขณะของลมหายใจเข้า-ออก แน่วแน่อยู่กับเรื่องนั้น เป็นสมาธิที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เราอ่านหนังสือหนึ่งเล่มจนจบได้ต้องมีขณิกสมาธิ ในการที่ท่านฟังบรรยายนี้เข้าใจจะต้องมีขณิกสมาธิทุกคน . . . ถ้าไม่มีสมาธิขั้นนี้เรียนอะไรไม่ได้
ใครมีขณิกสมาธิมากก็จะมีกระแสจิตที่แรงกล้า
เพราะสมาธิคือการรวมพลังให้กับกระแสจิต
อย่างที่ท่านมองใครสักคนหนึ่ง . . . ท่านมองอย่างตั้งใจก็คือระดมความคิดไปที่เขา การระดมกระแสจิตไปนั้นก็คือ สมาธินั่นเอง
ขณะนั้นท่านมองอย่างโกรธ มองอย่างรักหรือมองอย่างเมตตา
กระแสสมาธิจึงมีอยู่หลากหลาย
อย่างเช่น ท่านแผ่เมตตาก็คือทำสมาธินั่นเอง นึกถึงใครด้วยเมตตากรุณาคือความรักความสงสาร ก็เป็น . . . กรรมฐาน . . . อย่างหนึ่ง
พระพุทธเจ้าเองนิยมใช้การกำหนดลมหายใจ เข้า-ออก
ที่เรียกว่า . . . อานาปานสติ . . .
หลวงพ่อเทียนใช้กายคตาสติ...รู้ทันการเคลื่อนไหวของมือ
คิดอยู่เรื่องเดียว มองจะต้องให้เห็น คือรู้ทันปัจจุบัน
ปรากฏว่า . . . บางคนทำแล้ววอกแวก
เพราะแทนที่จะไปดูมือ กลับไปดูเส้นลายมือ คิดว่าเส้นลายมือเรามันขาด เส้นโชคเมื่อไรจะขึ้นสักทีหนอ . . . มือซีดเหลือเกิน . . . จิตวิ่งไปเรื่องไหนต่อเรื่องไหน พอให้กำหนดลมหายใจเข้า-ออก เป็นหวัดเสียแล้ว คิดไปเรื่องโน้นเรื่องนี้ อย่างนี้ทำให้จิตใจฟุ้งซ่านไปหมด
สมาธิขั้นสูงขึ้นไปเกือบจะเป็นฌาน เรียกว่า อุปจารสมาธิ
แปลว่า ใกล้จะแน่วแน่
ขั้นนี้สามารถกำจัดนิวรณ์ทั้งห้า คือ กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) พยาบาท (ความขัดเคือง) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) และวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) อุปจารสมาธิยังไม่เรียกว่าฌาน เพราะยังไม่มีองค์ฌานทั้งห้า
สมาธิขั้นสูงสุดเรียกว่า . . .
อัปปนาสมาธิ หมายถึงสมาธิแน่วแน่
. . . เป็นสมาธิของผู้เข้าฌาน . . . มีองค์ฌานทั้งห้า คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
พระพุทธเจ้าเวลาเข้าฌานสมาบัติ
ฟ้าผ่าลงมาใกล้ๆ ก็ไม่ได้ยิน...จิตแน่วแน่มาก อันนี้เราทำในชีวิตประจำวันไม่ได้ เพราะเสียงจะเป็นข้าศึก เป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ ผู้ต้องการบรรลุสมาธิขั้นนี้อาจต้องเข้าป่า แต่สำหรับคนที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ ไม่จำเป็นต้องได้อัปปนาสมาธิก่อน ท่านทำขณิกสมาธิแล้วเข้าวิปัสสนาไปเลย
ความต่างของสมาธิและวิปัสสนาอยู่ตรงที่
สมาธิเป็นเรื่องของความแน่วแน่ของจิต สำหรับวิปัสสนานั้นเป็นเรื่องของปัญญา
วิปัสสนาคือเอาจิตไปดูอนิจจัง ความไม่เที่ยง
เกิด-ดับๆ ของจิต หรือความรู้สึก เช่น เมื่อครู่นั่งแล้วมีความสุข ตอนนี้มีความทุกข์ สุขทุกข์ไม่เที่ยง คือ เห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่า วิปัสสนา เป็นเรื่องของปัญญา
แต่ถ้าเป็นเรื่องของสมาธิในชีวิตประจำวัน
หรือเป็นเรื่องความสงบนิ่งแห่งจิต เป็นเรื่องจิตคิดน้อยที่สุดจนหยุดคิด ท่านจะมีความสุขสงบ มีพลังในการทำงาน เป็นประโยชน์ในชีวิตทั่วไป แล้วทำให้ท่านไม่เครียด
คนเครียดคือคนแบกเรื่องหนักไว้เต็มหัว
พรุ่งนี้หรือมะรืนนี้จะถึงวันงาน กังวลว่า . . . นี่ก็ยังไม่ได้ทำ นั่นก็ยังไม่ได้ทำ คิดจะทำเรื่องหนึ่งก็มีเรื่องนี้มาเรื่องนั้นมากวนใจ เช่นไปอยู่ที่ทำงาน...รู้สึกเครียดก็หอบงานกลับไปทำที่บ้าน พอกลับบ้าน...ก็หอบงานกลับไปทำที่ทำงาน อยู่ที่ทำงานก็ห่วงบ้านจนต้องโทรศัพท์กลับไปที่บ้าน พอไปอยู่ที่บ้านก็โทรศัพท์กลับไปที่ทำงาน หรือตอนทำงานก็วางแผนพักร้อน ตอนไปพักร้อนก็หอบเอางานไปทำด้วย และพอกลับไปที่ทำงานก็วางแผนพักร้อนต่อไป อะไรก็ไม่รู้ ทำอะไรไม่จริงสักอย่าง ใจวุ่นวายสับสน
คนที่ไม่เครียด ก็คือทำทีละเรื่อง ทีละอย่าง
อันไหนจำเป็นรีบด่วนก็ทำก่อน หรือที่เราเรียกว่าการจัดลำดับความสำคัญนั่นเอง
ขั้นนี้เราทำให้เต็มที่ เสร็จแล้วจึงจับงานอื่นขึ้นมาทำ . . . ทำทีละเรื่องๆ . . . เหมือนกับยกเก้าอี้ทีละตัว ถ้าท่านพยายามยกทีละ ๑๐ ตัว ก็ยกไม่ไหว
นโปเลียนมหาราชเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพคนหนึ่ง
จิตแพทย์เขียนเล่าไว้ว่า . . . ตอนนโปเลียนมีอำนาจวาสนารบเก่งมาก ตีชนะเกือบทั่วยุโรปจนถึงรัสเซีย รบก็เก่งและเป็นนักบริหารที่เก่งในยามสงบ บริหารการคลังเยี่ยม...เงินเต็มคลัง พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ กับพระนางมารีอังตัวเนต ใช้เงินหมดเลย ไม่มีเงินเหลือ แต่นโปเลียนสามารถทำเงินให้เต็มคลัง ไปรบที่ไหนเขียนจดหมายถึงมเหสี . . . เขียนจดหมายสั่งงานได้ มีจดหมายและบันทึกของนโปเลียนเก็บไว้เป็นหลักฐาน ในปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ถึง ๘๐,๐๐๐ ฉบับ บางฉบับแปลมาเป็นภาษาไทย คือเรื่องจดหมายรักนโปเลียน เขาเอาเวลาที่ไหนมาทำเรื่องต่างกันได้
เรื่องเศรษฐกิจกับการรบ...มันคนละอย่าง
จิตแพทย์สงสัยว่านโปเลียนทำได้อย่างไร
ตอนนั้น . . . นโปเลียนถูกจับปล่อยเกาะ จิตแพทย์ก็ยังอุตส่าห์นั่งเรือไปสัมภาษณ์ นโปเลียนก็ขยายความลับบอกว่า
. . . เราฝึกคิดทีละเรื่อง . . .
ทำเรื่องไหนนึกคิดเรื่องนั้นเท่านั้น คือทำสมาธินั่นเอง มี ส ติ จ ด จ่ อ อ ยู่ กั บ เ รื่ อ ง นั้ น
เขาไม่ได้เรียนรู้วิธีทำสมาธิแบบพุทธ
เขาฝึกด้วยวิธีของตนเอง เขาบอกว่า . . .
ฝึกจินตนาการให้หัวสมองเขาเหมือนกับตู้มีลิ้นชักหลายลิ้นชัก
แต่ละลิ้นชักเก็บไว้ ๑ เรื่อง เท่านั้น เรื่องสงครามเก็บไว้ลิ้นชักนี้ เรื่องจดหมายเก็บไว้ลิ้นชักนั้น เรื่องอื่นเก็บไปลิ้นชักอื่น และจะคิดเรื่องไหนก็เปิดลิ้นชักนั้นออกมาเท่านั้น . . . ปิดลิ้นชักอื่นให้หมด ไม่ให้มันตีกัน และเวลาหยุดคิดก็ปิดลิ้นชักอื่นให้หมดเลย
นโปเลียนกล่าวว่า . . .
ถ้าไม่เชื่อจะทดลองทำให้ดู เราจะไม่คิดอะไรเลย ว่าแล้วก็หลับตาเอนกายลงนอนไม่ถึง ๕ นาที . . . นโปเลียนหลับสนิทเลย . . .
จิตแพทย์อัศจรรย์ใจ . . .
จับชีพจรดูลมหายใจแล้วเห็นว่าเขาหลับจริง . . . หลอกหมอไม่ได้หรอก . . .
นโปเลียนทำได้เพราะฝึกคิดทีละเรื่อง
ทำทีละอย่างให้ดี . . . หมดเวลาก็หยุดทำ
มีเรื่องเล่าทำนองเดียวกันว่า . . .
นายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง ขณะที่ต่างชาติยกทหารบุกเข้ามา . . . ปรากฏว่า . . . ในรั้วในวังตกใจกันใหญ่เลย วิจารณ์กันว่าจะรบดีไหม? ท่านนายกรัฐมนตรีไม่ประกาศสงครามสักที..ยังอึมครึมกันอยู่ จนกระทั่งเวลาเลี้ยงอาหารค่ำ งานใหญ่...มีเจ้าหญิงร่วมเสวย เขาก็คุยกันเรื่องสงครามว่า . . . รัฐบาลจะรบหรือไม่รบ แต่นายกรัฐมนตรีนั่งรับประทานเฉย . . . ไม่พูดกับใคร ...คนก็วิจารณ์กันรอบๆโต๊ะ
ในที่สุดเจ้าหญิงองค์หนึ่งทนไม่ได้
ถามท่านนายกรัฐมนตรีตรงๆว่า ท่านยังมัวรออะไรอยู่ล่ะ ท่านนายกฯ ก็ทูลตอบว่า . . . กำลังรอของหวานรายการต่อไป นี่เป็นสมาธิ . . . ฝึกมีระเบียบในชีวิต
พวกที่เครียดจนเป็นโรคกระเพาะ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ
ควรฝึกคิดทีละเรื่องเหมือนนโปเลียน หั ด ส ร้ า ง ร ะ เ บี ย บ ใ ห้ กั บ ชี วิ ต ต น เ อ ง
การทำสมาธิก็คือมีสติอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้านั้น
และเอาจิตใจตามเรื่องนั้นอย่างต่อเนื่อง...ไม่ขาดสาย เหมือนกับกระแสน้ำที่อยู่ในเขื่อน แล้วปล่อยออกมาทางเดียว จะเป็นพลังผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ถ้ากระแสจิตซัดส่ายไปหลากหลาย จะไม่มีพลังพอจะแก้ปัญหา
บางครั้งถ้าท่านมีปัญหาอะไรคิดไม่ออก...ให้นอนหลับ
ตื่นเช้าขึ้นมา สมองจะปลอดโปร่ง ความคิดของท่านสดใสขึ้น ไอเดียต่างๆจะเกิดขึ้น นักคิดหลายคน . . .
ได้ความคิดที่ดีตอนเช้ามืดเมื่อสมองปลอดโปร่ง เพราะได้พักตอนนอนหลับ
. . . ก ร ะ แ ส จิ ต จึ ง มี พ ลั ง . . .
ท่านที่สนใจ สั่งซื้อหนังสือ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติอได้ที่
ไตรลักษณ์ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ริมกำแพงวัดญาณเวศกวัน
E-mail : trilak_books@yahoo.com
โทร. 086-461-8505,02-482-7358