อาหารกาย-อาหารใจ ความสัมพันธ์ที่แยกไม่ออก
โดย... รศ.พญ.จิรพรรณ
คำว่าคน มีส่วนประกอบใหญ่ ๒ ส่วน คือ ร่างกาย กับจิตใจ
ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ จำเป็นต้องมีอาหารหล่อเลี้ยงด้วยกันทั้งคู่ จะให้อาหาร
แก่ส่วนใดส่วนเดียว ก็จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ ดังนั้น อาหารกายและอาหารใจ
จึงมีความสัมพันธ์กัน ชนิดแยกไม่ออก ในการบริโภคอาหารไม่ว่าจะเป็นอาหารกาย
หรืออาหารใจ ก็มีขั้นตอนคล้ายคลึงกันดังนี้
๑.ต้องรู้ว่า ต้องการอาหารชนิดใด
ถ้าร่างกายต้องการอาหารที่มีโปรตีนมาก
ก็ต้องเสาะหาเนื้อสัตว์หรือถั่ว ถ้าใจต้องการดับทุกข์ก็ต้องหาความสงบ หรือหาหลักธรรมให้ใจ
๒.ต้องรู้สถานที่ที่จะแสวงหาอาหารตามที่ต้องการ
อาหารกาย ก็ซึ้อหาจากตลาด ตามสวน ตามไร่ สมัยนี้ก็ซื้อที่ซุปเปอร์มาเก็ต
อาหารใจถ้าอยากสนุก ก็หาตามสถานเริงรมย์ต่างๆ หรืออยา่กสงบไ็ไปหาตาม ทุ่งนา ป่า เขา หรือที่วัด (บางแห่ง)
๓.อาหารต้องปรุงแต่งก่อนบริโภค
เรื่องอาหารกายนั้น ถ้าเราต้องการรับประทานน้ำพริกนรก
นอกจากจะหากระเทียม พริกขี้หนู กะปิ น้ำปลา น้ำตาลมาให้ครบแล้ว
ยังต้องโขลกคลุกเคล้าและปรุงรสให้อร่อยตามที่เราชอบ
ใจก็เช่นเดียวกัน เมื่อได้ยินหรือได้เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว ก็มาคิดปรุงแต่งตามที่ใจชอบหรือไม่ชอบ
เช่น ตามองเห็นสาวสวยก็เกิดชอบใจ ก็คิดปรุงแต่งเรื่อยไปว่า เป็นลูกใครนะ บ้านอยู่ไหน อยากรู้จัก
ขณะคิดปรุงแต่งก็เหมือนกับการโขลกน้ำพริกแล้วปรุงด้วยน้ำปลา น้ำตาล มะนาว จะให้แซบอย่างไรก็ได้
๔. ทางเข้าของอาหารสู่ร่างกายและจิตใจ
อาหารกายมีทางเข้า ๓ ทาง คือ
ทางจมูก คืออากาศที่เราหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ปิด
ทางปาก คืออาหารประเภทที่เราต้องขบเคี้ยวและดื่ม
ทางหลอดเลือดดำ เป็นสารอาหารสังเคราะห็ที่สามารถทำให้ครบทุกหมวดหมู่ มากกว่าอาหารที่รับประทานทางปาก
ดังนั้น ผู้ที่อ้างว่าอดอาหารก็ยังรับทางอื่น จะไม่มีโอกาสขาดอาหารตาย เพราะอาหารที่เข้าหลอดเลือดดำนั้น
มีคุณค่าของอาหารครบถ้วน กับทำให้แข็งแรงดีเสียอีก ทั้งยังไม่เปลืองเวลาเคี้ยวกลืน
อาหารใจมีทางเข้าดังนี้
ทางตา ได้แก่ การเห็นรูป
ทางหู ได้แก่ การได้ยินเสียง
ทางจมูก ได้แก่การได้กลิ่น
ทางลิ้น ได้แก่การลิ้มรส
ทางกายสัมผัส ได้แก่ การที่กายได้สัมผัสกับความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง แล้วใจก็ปรุงแต่งจากสิ่งที่ได้รับเป็นอาหารใจ เป็นความยินดี ความพอใจ ความชอบ ความไม่ชอบ หรือเเฉยๆบ้าง
๕.ความเหมาะของอาหารที่บริโภค
คนที่ร่างกายอ้วนพี น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานไปแลวถึง ๑๐ ก.ก. อาหารประเภท ขาหมู หมั่นโถว
ก็คงจะไม่ใช่สิ่งเหมาะสม อาหารใจก็เ่ช่นเดียวกัน คนใจร้อน ขี้โกรธ ก็ไม่ควรไปนั่งตามสภากาแฟ
หรือตลาดโต้รุ่ง เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
๖.พิษภัยที่เกิดจากอาหาร
ผักผลไม้ที่ร่างกายต้องการ อาหารไม่ปลอดสารพิษ ก็เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ฉันใด ใจที่ร้อนรนหาเรื่องร้อน
เรื่องกลุ้มใจ ก็เกิดอันตรายกับจิตใจได้ฉันนั้น
ดังนั้น จึงอาจจะสรุปได้ว่า เมื่อจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว และจิตใจเนื่องอยู่กับกาย
อาหารใดที่เป็นประโยชน์ต่อจิตใจ ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่างร่างกายด้วย ในทางตรงข้าม
อาหารใดที่เป็นพิษเป็นภัยต่อจิตใจ ก็เป็นพิษเป็นภัยต่อร่างกายด้วย
ดังนั้น จึงควรรีบหาอาหารดีดี ให้ใจ เช่น ใช้หลักเป็นอาหารใจ จะได้สุขาพดี ทั้งกายและใจนั่นเอง
บทความดีดีจาก...