ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ไตรลักษณ์
บริการพิมพ์หนังธรรมะแจกเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ
ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนา ไตรลักษณ์
บริการจัดพิมพ์งานหนังสือ ที่ระลึก เนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ ใช้เวลาจัดพิมพ์รวดเร็วสุด ไม่เกิน 1-2 วัน
บริการจัดส่งทั่วประเทศ สะดวกส่งเร็ว ด้วยบริษัทขนส่งทั่วประเทศ
โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การจัดพิมพ์หนังสือ ได้ที่ 02-482-7358 , 02-482-7093, 086-461-8505
ตัวอย่าง งานพิมพ์แบบต่างๆ
จัดแสดงไว้ เพื่อเป็นแนวทาง ในการจัดทำ หนังสือที่ระลึก ในโอกาสต่อไป
ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์
ขอกราบขอบพระคุณทุกท่าน ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล ไว้สำหรับเป็นตัวอย่าง และเป็นแนวทางในการจัดทำหนังสือในครั้งนี้
ที่จัดพิมพ์ข้อความแทรกได้ฟรี 1 หน้า // จัดส่งฟรีทั่วไทย
ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์ บริการพิมพ์หนังธรรมะแจกเนื่องใน
โอกาสพิเศษต่างๆโดยได้คัดเลือกจากกลุ่มหนังสือที่มีอยู่ในคลังหนังสือธรรมะ
ซึ่งมีไว้ให้เลือกใช้สำหรับงานพิมพ์แจกเป็นธรรมบรรณาการและแจกหนังสือธรรมะ
เนื่องในโอกาสต่างๆ
เช่นการรวบรวมรายชื่อผู้ร่วมบุญในการจัดพิมพ์
หนังสือเพื่อพิมพ์แจกและถวายพระภิกษุสงฆ์
เพื่อให้ท่านได้นำไปแจกจ่ายแด่ผู้สนใจศึกษาธรรมะ,
งานอนุสรณ์เนื่องในงานฌาปนกิจ,หนังสือที่ระลึกในงาน
พระราชทานเพลิง, งานวันเกิด, หนังสือที่แจกเพื่องานเกษียณอายุราชการ,
และในโอกาสวาระสำคัญต่างๆ เพื่อสร้างบุญบารมีของตนให้ยิ่งๆขึ้น
หรืออุทิศกุศลในการจัดพิมพ์หนังสือให้แก่ผู้วายชนม์
อันจะยังกุศลแห่งการเผยแพร่ธรรมะเป็นทาน
และเผยแพร่หลักธรรมะให้เจริญแพร่หลายสถาพรสืบไปซึ่งถือว่าเป็นกุศลใหญ่
ใช้เวลาการจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึก1-2วันและจัดพิมพ์หนังสือในราคาต้นทุนโรงพิมพ์ธรรมทาน
พร้อมกับจัดพิมพ์ข้อความที่ระลึกของผู้สั่งพิมพ์ได้ฟรี
1หน้าบริการจัดส่งทั่วประเทศสะดวกส่งเร็วโดยใช้บริษัทขนส่งทั่วประเทศ
ท่านสามารถตรวจเช็ค รายการหนังสือที่มีมากกว่า 2,000 รายการ ได้ที่
โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการจัดพิมพ์หนังสือธรรมะเพื่อแจก
ที่ 02-482-7358, 087-696-7771, 086-461-8505
LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
ตัวอย่างงานพระราชทานเพลิง แบบ 8หน้า |
ตัวอย่างงานพระราชทานเพลิง แบบ 8 หน้า |
ตัวอย่างงานพระราชทานเพลิง แบบ 12 หน้า |
||||
ตัวอย่างงานพระราชทานเพลิง แบบ 8หน้า |
ตัวอย่างงานพระราชทานเพลิง แบบ 8 หน้า |
|||||
.. | ||||||
กราบนมัสการ และกราบขอบพระคุณ พระทีฆทัสสีมุนีวงศ์
|
||||||
|
หรือจะสามารถใส่รายชื่อหลายๆชื่อลงในใบแทรกหนังสือก็สามารถทำได้
นี่คือตัวอย่างส่วนแทรก งานหนังสือที่ระลึก แบบพิมพ์ขาวดำ
ที่จัดพิมพ์ข้อความแทรกได้ฟรี 1 หน้า // จัดส่งฟรีทั่วไทย
|
|
หนังสือ ในวาระสำคัญ
การจัดทำหนังสือ เป็นธรรมทาน หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ โดยศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์
............................................................................................................................................................................................
เพื่อแจกเป็น กุศล หรือ เป็นของขวัญ เนื่องใน พิธีการต่างๆ เช่น งานบวช , งานแต่งงาน,
งานครบรอบวันเกิด, หรือ เนื่องวาระงานฌาปนกิจฯ หรือ ในวาระงาน พระราชทานเพลิงฯ
โดยศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎก
และศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์
หากท่านผู้สนใจ จัดทำหนังสือ หรือจัดพิมพ์
หนังสือธรรมะเพื่อแจก ในโอกาสงานต่างๆดังกล่าว เพราะเข้าใจดีอยู่ว่า การจัดทำ
หนังสือเพื่อแจกสักหนึ่งเล่ม คงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมข้อความ
การจัดเตรียมเอกสาร หรือแม้แต่รูปภาพ และเอกสารสำคัญบางอย่างและหากต้องใช้
ประกอบสำหรับการทำหนังสือเนื่องในโอกาสพิเศษนั้นๆ ซึ่งสามารถศึกษาเนื้อและสาระ
ความรู้เบื้องต้นจากการจัดเตรียมเอกสาร และรูปแบบ การจัดทำหนังสือ เนื่องในโอกาส
ต่างๆ ดังต่อไปนี้...
1. การจัดทำหนังสือเพื่อแจก เป็นธรรมทาน
การจัดทำหนังสือเพื่อแจก เป็นธรรมทาน
โดยปกติ จะนิยมทำแจก เนื่องใน โอกาสปีใหม่ โอกาสวันสงกรานต์ โอกาสเทศกาล
เข้าพรรษา เทศกาลออกพรรษา วันคล้ายวันเกิดและตามวันสำคัญตามประเพณีไทยต่างๆ
ซึ่งการจัดทำหนังสือในรูปแบบนี้ ก็จักนิยม แจกหนังสือธรรมะตั้งแต่ หนังสือ
ธรรมะเล่มเล็กๆ กระทัดรัด อ่านแล้วเข้าใจง่าย สบายๆ ซึ่งอาจจะมีใบแทรก
แปะหน้าลงไปในหน้าด้านในของหนังสือว่า จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานโดยชื่อผู้ใด
เป็นผู้จัดพิมพ์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ก็จักขออุทิศกุศล บุญ และบารมี แด่คนที่รัก
หรือบุคคลที่ล่วงลับไป.
นอกเหนือจากการเลือกหนังสือที่มีอยู่ เพื่อดำเนินการขั้นตอน
ต่อไป
..................................................................................................
ตัวอย่าง ข้อความที่สามารถพิมพ์แทรกลงในหนังสือพระราชทานเพลิงศพ
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเพลิงศพ .................................................. ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม เป็นเกียรติอันสูงสุดแก่ผู้วายชนม์ และวงศ์ตระกูล อย่างหาที่สุดมิได้
หากความทราบโดยญาณวิถีถึงดวงวิญญาณของ.................................................ได้ด้วยประการใด ในสัมปรายภพ คงจะมีความปลาบปลื้มซาบซึ้งเป็นล้นพ้น ในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับพระราชทานเกียรติยศอันสูงยิ่งในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวง ผู้เป็นทายาทของผู้วายชนม์ ขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาส กราบถวายบังคมแทบเบื้องพระยุคลบาท ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ และจะเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม เป็นสรรพสิริมงคลแก่ข้าพระพุทธเจ้า และวงศ์ตระกูลตลอดไป
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า
ครอบครัว..............................
............................................................................................................................
ประวัติและคำไว้อาลัย
ชื่อผู้วายชนม์............................................
ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ ฌาปนสถานวัด.............................อำเภอ.....................จังหวัด...................
วัน....................ที่ .......เดือน....................พ.ศ. ๒๕....... เวลา............................น.
เรียน ...................................................ประธานในพิธี และท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ ทุกท่าน
ก่อนที่จะประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ คุณแม่..............................................คณะเจ้าภาพซึ่งประกอบด้วยบุตร-ธิดา และหลาน ๆ ขอกราบขอบพระคุณท่านประธานในพิธีและท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน ที่ได้ให้เกียรติแก่ผู้วายชนม์และครอบครัวมาร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันนี้ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณ และรำลึกถึงผู้วายชนม์เป็นวาระสุดท้าย กระผม....................................... ขอนำประวัติและคำไว้อาลัยมาเรียนให้ท่านผู้มีเกียรติเพื่อกรุณาทราบโดยสังเขป ดังนี้
...ชาติภูมิ...
คุณแม่.............................................เกิดเมื่อวัน...........ที่..........เดือน.........................พุทธศักราช ๒๕........ ณ บ้านเลขที่.......................ตำบล....................................อำเภอ...........................................จังหวัด......................................เป็นบุตรคนที่........ของคุณพ่อ...............................และคุณแม่...................................
...การสมรส...
คุณแม่...............................................สมรสกับ คุณพ่อ...........................................เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔........มีบุตร รวม.............คน คือ
๑. ......................................................................................
๒........................................................................................
...เกียรติประวัติ...
คุณแม่.....................................................เป็นภรรยาที่ประเสริฐของสามี เป็นแม่ที่ประเสริฐของลูก ท่านถนอมเลี้ยงดูลูกทุกคนด้วยความรัก ให้ความอบอุ่นแก่ลูก เหมือนร่มโพธิ์ร่มไทรที่ให้ความร่มเย็นแก่ผู้อยู่ใต้ร่มเงา ท่านเป็นบุคคลสู้ชีวิตที่ยอดเยี่ยมท่านหนึ่ง เป็นผู้มีความอดทน วิริยะ อุตสาหะ มาตั้งแต่เยาว์วัย เพราะต้องรับภาระดูแลครอบครัว ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน คุณแม่.........................................ท่านทำงานทุกอย่างไม่ว่าจะหนักเหนื่อยสักเท่าไร ไม่เคยมีคำว่า “ย่อท้อ” อยู่ในหัวใจ เพราะมีลูกที่ต้องเลี้ยงดูถึง........คน ท่านพยายามทำงานทุกรูปแบบเพื่อสร้างฐานะครอบครัวให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง คุณแม่พยายามสอนให้ลูกทุกคนประพฤติตนเป็นคนดี มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความขยันหมั่นเพียร และดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้องดีงาม โดยที่คุณแม่เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องเหล่านี้ ความตั้งใจอันแน่วแน่ของท่านก็คือจะปลูกฝังลูกทุกคนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมและให้ได้รับการศึกษาที่ดี และความตั้งใจ ความปรารถนาของท่านก็ผลิดอกออกผลอย่างงดงาม นั่นคือ ลูกทุกคนได้สนองตอบปณิธานของคุณแม่ โดยตั้งใจศึกษา เล่าเรียนจนจบการศึกษาในระดับสูงทุกคน ท่านได้อบรมเลี้ยงดูทายาทจนประสบความสำเร็จในชีวิต เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน เป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่าของชาติและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ เป็นอเนกอนันต์
นอกจากนี้ คุณแม่..............................................เป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ยินดีในการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ได้บริจาคทรัพย์อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาอยู่เนืองนิตย์มิได้ขาด และได้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมเป็นอันมาก ด้วยการบริจาค...............................................มอบให้................................กอปรทั้งเป็นผู้มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ ท่านจึงเป็นที่รักยิ่งของญาติมิตรและบุคคลทั่วไป
จากคุณงามความดีทุกสิ่งทุกประการที่คุณแม่ได้ทำเพื่อลูก เพื่อสังคมนั้น ปรากฎประจักษ์ชัดแก่สังคม ด้วยเหตุนี้คุณแม่จึงได้รับการยกย่องเชิดชูจากเพื่อนบ้านตลอดมา
...บั้นปลายชีวิต...
คุณแม่ป่วยและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล................................................. ตั้งแต่ปลายเดือน.....................๒๕........ ด้วยโรค............................................. .คุณแม่ได้จากไปอย่างไม่มีวันกลับด้วยอาการอันสงบ เมื่อวัน.............ที่........เดือน............................พ.ศ............................. รวมสิริอายุได้..........ปี .......เดือน..........วัน
การจากไปของ คุณแม่......................................ในครั้งนี้ สร้างความเศร้าโศกเสียใจอาลัยรัก แก่สามี บุตร - ธิดา หลาน ๆ และญาติมิตรเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นได้จากบทนิพนธ์ที่บุตร – ธิดา ได้ประพันธ์อนุสรณ์ถึงคุณแม่ว่า
แม่เป็นร่ม โพธิ์ทอง ของลูกหลาน
แม่สร้างฐาน ชีวิต ลิขิตให้
พระคุณแม่ สุดจะเทียบ เปรียบสิ่งใด
แม่จากไป ไม่กลับ ดับชีวิน
แม่เคยอยู่ เคยดู เมื่อลูกป่วย
แม่เคยช่วย เคยปลอบ มอบทรัพย์สิน
แม่เคยฝาก ของใช้ ของให้กิน
โอ้แม่สิ้น ลูกต้อง นองน้ำตา
ขอให้แม่ จงสู่ สุคติ
สมดำริ บุญที่สร้าง ทางภพหน้า
สบสวรรค์ ครรลัย ในมรรคา
เปรมปรีดา ในกุศล ผลบุญเทอญ
และการจากไปของคุณแม่............................................นั้น มิใช่เป็นความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักยิ่งของครอบครัว............................เท่านั้น แต่นับว่าเป็นการสูญเสียบุคคลที่มีค่าของประเทศชาติอีกด้วย
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ ชีวิตและความตายเป็นของคู่กัน ที่ใดมีเกิดที่นั่นมีตาย ชีวิตของสัตว์ทั้งมวล ถูกความเกิดและความแก่เบียดเบียน ย่อมเสื่อมสิ้นไปตามกาลเวลา ครั้นถึงกาลกำหนดแล้ว ย่อมจะแตกทำลายไป พระท่านจึงสอนสาธุชนให้เพียรสร้างความดีเป็นนิตย์ เพื่อความสงบสุขของชีวิตในปัจจุบัน เพื่อเป็นที่พึ่งพิงในโลกเบื้องหน้า และเพื่อฝากเกียรติคุณชื่อเสียงอันดีงามให้ปรากฏสืบไปชั่วกาลนาน ดังบทนิพนธ์ที่ว่า
ดินจะกลบลบกายวายสังขาร ไฟจะผลาญเอาซากสิ้นสาบสูญ
แต่ความดียังมีอยู่คอยค้ำคูณ คอยเทิดทูนแทนซากที่จากไป
ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และบุญกุศลคุณงามความดีที่ คุณแม่..................................ได้ประพฤติบำเพ็ญมาตลอดชีวิต ตลอดถึงบุญกุศลที่บุตร - ธิดา หลาน ๆ และญาติมิตร ได้ร่วมจิตบำเพ็ญทักษิณานุประทานอุทิศให้ในกาลครั้งนี้ จงเป็นพลวปัจจัยหนุนส่งให้ คุณแม่..........................................ได้ไปสถิตเสวยอุดมสุข ในทิพยวิมานสุคติสถาน ในสัมปรายภพด้วยเทอญ ฯ
-------------------
085-819-4018, 086-461-8505, 087-696-7771, 02-482-7358
ไตรลักษณ์ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ยินดีบริการจัดทำส่วนแทรกพิเศษสำหรับแทรก
หน้าพร้อมข้อความ แทรกหนังสือ
เพียง ท่าน ส่งข้อความ ที่ต้องการแทรก ส่งมาที่
ช่อง ส่งข้อความด่วน หรือ เข้ามายัง e-mail : trilak_books@yahoo.com
** หากท่านผู้ใช้บริการ เวปไซด์ ของท่านศูนย์หนังสือ แล้วหาหนังสือไม่พบ
เนื่องจาก ไม่รู้ชื่อหนังสือ , ไม่รู้ชื่อผู้แต่ง, ทราบแต่หัวข้อที่ต้องการศึกษา
แต่ไม่ทราบว่าชื่อหนังสือเรื่องอะไร, หรือ เป็นหนังสือที่หายาก,
สามารถส่ง ข้อความ สอบถาม ได้ที่ ช่องทาง
ส่งข้อความด่วน หรือส่ง e-mail : trilak_books@yahoo.com
หรือโทร 086-461-8505, 087-696-7771, 02-482-7358
สำหรับส่งไฟล์เอกสาร,ส่งไฟล์รูปสำหรับงานพิมพ์หนังสือที่ระลึก ส่งจดหมายสอบถามการพิมพ์หนังสือธรรมะ
บริการจัดส่งหนังสือพระ จัดกี่ชุดก็ได้ไม่จำกัดจำนวนเพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในโอกาสพิธีต่างๆหรือถวายเป็นธรรมะบูชา แด่พระภิกษุสงฆ์ พร้อมจัดเป็นชุด ส่งพร้อมถวายพระได้ในทันทีบริการดีดีจากศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์
บทความ
งานพระราชทานเพลิงศพ ที่เป็นประโยชน์
พิธีสำหรับงานพระราชทานเพลิงศพ
รวบรวมโดย นายยงยุทธ พิมพา
ในปัจจุบัน การขอพระราชทานเพลิงศพ มีความนิยมมากในกลุ่มของข้าราชการทุกระดับ พระสงฆ์ รวมไปถึงทหาร ตำรวจ หรือแม้กระทั้งพ่อ แม่ข้าราชการ ฯลฯ เลยเป็นช่องว่างให้ข้าราชการ
หรือคนบางคนฉวยโอกาส แอบอ้างว่าได้รับมอบหมายจากสำนักพระราชวังให้เป็นผู้ปฏิบัติพิธีพระราชทานเพลิงศพ แต่เพียงผู้เดียวในจังหวัด เรียกร้องค่าใช้จ่าย สามหมื่นบ้าง แปดหมื่นบ้าง บางรายเสียไปสาม
สี่แสนก็มี เค้าว่าเป็นค่าดำเนินพิธีการทั้งหมด การดำเนินพิธีการบางครั้งก็ไม่ถูกต้อง ไม่เรียบร้อย ไม่สม
พระเกียรติ แต่ถ้าจะให้ดีไปติดต่อขอรับบริการที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย จะมีเจ้าหน้าที่พิธีการโดยตรง ได้รับมอบหมายจากกรมการศาสนา ซึ่งได้ทำข้อตกลงกับกองพระราชพิธี ให้สามารถปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และสามารถปฏิบัติงาน(ถวายงาน) หน้าพระพักตร์ได้ จุดสังเกต เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจะติดบัตรศาสนพิธีกร ลงนามโดยอธิบดีกรมการศาสนา ปกติแล้วเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะสามารถปฏิบัติงานได้ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในพระบรมมหาราชวัง หรือในการเสด็จของ
พระบรมวงศานุวงศ์ในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ และ เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ในการขอพระราชทานเพลิงศพ การปฏิบัติพิธีการ จึงขออนุญาตนำเรียนขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้
ในฉบับที่แล้ว ผมได้นำเสนอ ศาสนพิธีเกี่ยวกับพิธีการทำบุญงานอวมงคล ซึ่งเป็นขั้นตอน
ง่าย ๆ ที่สามารถปฏิบัติได้ ตั้งแต่การรับศพไปไว้ที่วัด โดยยกตัวอย่างจากวัดโพธิสมภรณ์ พระอารามหลวง ของจังหวัดอุดรธานี ที่ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานให้ไว้กับเจ้าหน้าที่ฌาปนกิจสถาน ซึ่งทางวัดโพธิสมภรณ์ได้ขอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่จากมณฑลทหารบกที่ ๒๔ ที่เรียกกันติดปากและคุ้นหูว่า อนุศาสน์ (ตำแหน่งจริง ๆ เรียกว่าอนุศาสนาจารย์) มีหน้าที่ในการอบรมคุณธรรมจริยธรรมให้กับทหารของกองทัพ แต่ละกองทัพก็มีอนุศาสน์ ที่มีความรู้ความสามารถในการประกอบพิธีทางด้านศาสนา เนื่องจากแต่ละท่านมีดีกรีเปรียญธรรมต่อท้าย จึงรับรองได้ว่าการปฏิบัติงานด้านศาสนพิธีถูกต้องตามระเบียบแน่นอน…ครับผม
คราวนี้มาถึงเรื่องการขอพระราชทานเพลิงศพ ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ที่นิยมไม่ใช่ว่าอยากได้มาเพื่อตัวเอง หรอกนะครับ แต่ขอพระราชทานมาเพื่อผู้วายชนม์ ที่เป็นที่เคารพ ที่เป็นบุคคล
ที่มีเกียรติ ที่เป็นบุคคลที่ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติ จากการที่ได้รับผิดชอบเกี่ยวกับงานพระราชทานเพลิงศพมาประมาณ ๗ – ๘ ปี นับจำนวนผู้ใช้บริการนับไม่ถ้วน ผ่านพบปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ นานา บางครั้งก็แก้ได้ บางทีก็แก้ไม่ได้ จึงขอเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานที่ดูดี มีระเบียบเกิดความเรียบร้อย และสมเกียรติของผู้วายชนม์ เพื่อให้ท่านผู้สนใจได้นำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติได้อย่างง่ายดาย คลายความวิตกกังวลไปพอสมควร เอาเฉพาะที่ใกล้ตัวและเกี่ยวข้อง … เท่านั้นนะครับ
เริ่มต้นเลยนะครับ……การขอพระราชทานเพลิงศพ มี ๒ กรณี คือ
๑. กรณีปกติ สำหรับข้าราชการพลเรือน ครู ตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ทหาร ตำรวจ
ยศร้อยตรีขึ้นไป สมาชิกสภาผู้แทนฯ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล / จังหวัด กรณีนี้ไม่ได้เขียนไว้ในระเบียบ
- ๒ -
๒. กรณีพิเศษ พนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูง (ระดับ ๘) เหรียญกล้าหาญ เหรียญชัยสมรภูมิ (เหรียญราชการชายแดน ) องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเป็นหน่วยงานออกหนังสือรับรองให้ ศิลปินแห่งชาติ นักกีฬาทีมชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนฯ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ผู้บริจาคเงินให้วัด หรือมูลนิธิไม่น้อยกว่า ห้าแสนบาท ผู้บริจาคร่างกาย อวัยวะ บิดามารดาของข้าราชการระดับ ๖ ขึ้นไป (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นระดับชำนาญการ) บิดามารดาของพระครูชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป บิดามารดาของข้าราชการทหาร ตำรวจระดับพันโทขึ้นไป
เอกสารประกอบที่จะต้องเตรียมการขอพระราชทานเพลิงศพ
กรณีปกติ ให้ต้นสังกัดทำเรื่องเสนอเลขาธิการพระราชวัง เอกสารประกอบด้วย
๑. สำเนาใบมรณะบัตร
๒. สำเนาทะเบียนผู้ถึงแก่กรรม
๓. สำเนาบัตรข้าราชการผู้ถึงแก่กรรม
๔. กำหนดการ (บอกวัน เวลา สถานที่ที่จะฌาปนกิจศพ) ยกเว้นวันศุกร์ วันเฉลิมฯ
๕. หนังสือกราบบังคมทูลลา เท่านี้รับรองว่าได้รับหีบเพลิงพระราชทานแน่นอน
กรณีพิเศษ ให้บุตรที่เป็นข้าราชการทำเรื่องเสนอเลขาธิการพระราชวัง โดยตรง มีเอกสาร
๑. สำเนาใบมรณะบัตร
๒. สำเนาทะเบียนผู้ขอพระราชทาน(บุตร)
๓. สำเนาบัตรข้าราชการผู้ขอพระราชทาน(บุตร)
๔. กำหนดการ (บอกวัน เวลา สถานที่ที่จะฌาปนกิจศพ) ยกเว้นวันศุกร์ วันเฉลิมฯ
๕. หนังสือรับรองจากหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษาในกรณีใช้เหรียญกล้าหาญ เหรียญชัยสมรภูมิ (เหรียญราชการชายแดน+ พิทักษ์เสรีชน)
เมื่อได้จัดทำหนังสือนำส่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ถือเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครไปที่พระบรมมหาราชวัง โดยวิธีใดก็ได้ แต่ต้องเป็นวันเวลาราชการเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะเสียเวลาเดินทางไปเก้อ… เมื่อไปถึงสนามหลวงให้ไปทางด้านมหาวิทยาลัยศิลปากร ถนนหน้าพระลาน เดินข้ามถนนไปประตูที่มีทหารยืนรักษาการณ์อยู่ ประตูที่สอง ถามเขาว่า กองพระราชพิธีอยู่ที่ไหน ก็เข้าไปประตูนั้น (ถ้าไปรถแท็กซี่บอกเขาว่าไปที่วัดพระแก้วจะง่ายกว่า) เสร็จแล้วก็ถือหนังสือไปที่ตึกสารบรรณ เพื่อลงทะเบียนรับ แล้วรอเจ้าหน้าที่ดำเนินการประมาณ ๑๐ นาที เจ้าหน้าที่ก็จะให้ลงชื่อรับหนังสือ แล้วถือไปกองพระราชพิธี ขึ้นไปชั้น ๒ เลี้ยวขวาไปห้องสวัสดิการฯ ยืนหนังสือให้เจ้าหน้าที่ แล้วเขียนแบบขอรับหีบเพลิงและหมายรับสั่ง จ่ายค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ ห้าสิบบาท ถ้าจะขอหมายรับสั่งให้มีกำหนดการฌาปนกิจประมาณ ๗ – ๑๐ วัน ถ้าต่ำกว่านั้นก็ไม่ต้องขอ…เจ้าหน้าที่จะบอกให้ท่านเข้าไปรับหีบเพลิงพระราชทาน จากโต๊ะหมู่ที่ประดิษฐาน
- ๓ -
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ วิธีการ ให้ยืนตรงโค้งคำนับ ๑ ครั้ง เสร็จแล้วนั่งคุกเข่าข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างก็ไม่เป็นไร ยื่นมือขวาไปข้างหน้าแล้วเอางาน (ยื่นมือไปข้างหน้าลักษณะหัวแม่มืออยู่ด้านบน นิ้วก้อยอยู่ด้านล่าง กระดกข้อมือขึ้น ๑ ครั้ง แล้วจับหีบเพลิงโดยให้สี่นิ้วเรียงกันอยู่ด้านล่าง หัวแม่มืออยู่ด้านบน…) เสร็จแล้วลุกขึ้นยืนตรงโค้งคำนับ ๑ ครั้ง แล้วนำหีบเพลิงไปให้เจ้าหน้าที่คนเดิมนั่นแหล่ะครับบรรจุหีบเรียบร้อยแล้วถือกลับออกมา…(อย่าเปิดหีบห่อนะครับ เพราะการปฏิบัติค่อนข้างยาก)
เมื่อเดินทางกลับมาถึงจังหวัดก็ให้นำหีบเพลิงพระราชทานไปประดิษฐานที่ ศาลากลาง
ที่ว่าการอำเภอ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ตำบล) เทศบาลนคร ( ตำบล) หรือที่บ้านก็ได้ โดยให้ประดิษฐานในที่อันสมควร (บนหิ้ง บนโต๊ะหมู่ชาที่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ หรือโต๊ะที่ปูผ้าขาวรองรับ ไม่ปนกับสิ่งของอื่น ๆ) รอจนถึงกำหนดวันฌาปนกิจก็ค่อยเชิญไปประกอบพิธี ……..
การเตรียมงาน
คราวนี้จะพูดถึงการเตรียมงาน เฉพาะพิธีพระราชทานเพลิงศพอย่างเดียว ถ้ารวมพิธีบำเพ็ญกุศลด้วยจะยาวไป สับสนวุ่นวาย ก็ขอให้ท่านผู้สนใจไปอ่านตอนที่ ๒ เรื่องศาสนพิธีสำหรับงานอวมงคลในเว๊บไซด์สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานีเอานะครับ ….สิ่งที่ต้องเตรียมมีดังนี้
๑. พิธีกร (ผู้จัดลำดับขั้นตอนของพิธี เป็นโฆษกด้วย..มืออาชีพสักหน่อยไม่งั้น..เจ๊ง)
๒. ผู้อ่านหมายรับสั่ง (ถ้ามี) เป็นข้าราชการก็ดี ครู นายกเทศบาล หรืออบต…ก็ได้
๓. ผู้อ่านประวัติ ควรเป็นญาติแต่ไม่ควรเป็นบุตรสามี ภรรยา จะอ่านไม่จบ
๔. ผู้อ่านสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ควรเป็นญาติไม่จำเป็นต้องเป็นบุตรสามี ภรรยา
๕. ผู้เชิญหีบเพลิงพระราชทาน ๑ คน (ควรเป็นผู้ชาย) ขบวนเดินตามอีกประมาณ ๔ คน ชายหรือหญิงก็ได้) กำลังสวยดี ถ้าไม่มีก็ใช้ผู้เชิญคนเดียวเลยก็ได้ ไม่ผิดระเบียบแต่อย่างใด รถควรจะเป็นรถตู้ เพราะบรรทุกคนได้เยอะน่าจะมีรถตำรวจนำขบวนด้วย เพราะจะทำให้การจราจรติดขัดน้อยลง
๖. ผู้ต้อนรับแทนญาติหรือญาติประมาณ ๑๐ คนก็พอไม่มากเกินไปหรือแล้วแต่กำลังศรัทธาของผู้ร่วมงานมากน้อย ไม่ได้กำหนด ทั้งหมดตั้งแต่ข้อ ๑ – ๖ การแต่งกายให้สวมชุดปกติขาวสวมปลอกแขนสีดำข้างซ้าย ให้ประดับแถบเครื่องราชฯ อย่างประดับเหรียญตรานะครับ… อายเขา
๗. ประธานถ้าเป็นข้าราชการให้แต่งกายเหมือนข้อ ๖ ถ้าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ
ผู้อาวุโสแต่งกายด้วยชุดสูทสีดำ ถ้าสวมชุดสูทสีกรมท่าจะต้อง สวมปลอกแขนสีดำข้างซ้าย การเตรียมงานนั้นก็ขอความร่วมมือจากหน่วยงานหรือจากญาติที่เป็นข้าราชการให้ช่วยแต่งชุดปกติขาวไว้ทุกข์ ไม่ยากคิดว่าทุกคนก็ต้องการจะช่วยเหลือกันอยู่แล้ว (ในกรณีที่ไม่ได้เชิญใครเป็นประธาน หรือประธานที่เชิญไว้มาไม่ทันกำหนดเวลาติดธุระแบบเฉียบพลัน ให้ดูแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน เลือกบุคคลที่อาวุโสสูงสุดที่แต่งกายด้วยชุดปกติขาวเป็นประธานในพิธีแทน...ครับ
- ๔ -
ขั้นตอนพิธีการ
จะขออนุญาตตัดตอน เอาตรงพิธีการงานพระราชทานเพลิงศพเลยทีเดียว หมายความว่า
พระเทศน์ และทำพิธีมาติกา บังสุกุลเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือไว้เฉพาะผ้าบังสุกุลของประธานผืนเดียวเท่านั้น (ที่เขาเรียกว่าผ้ามหาบังสุกุล แปลว่า ผ้าเปื้อนฝุ่นมากๆ ปัจจุบันนิยมเรียกว่าผ้าบังสุกุลเท่านั้นครับ) ๑. เมื่อพิธีทุกอย่างเสร็จสิ้นลง และถึงเวลาที่กำหนดไว้แล้วโฆษกก็จะประกาศทำความเข้าใจ แนวทางการต้อนรับหีบเพลิงพระราชทานว่า ให้ผู้เข้าร่วมงานทุกท่านนั่งอยู่ในความสงบ ไม่ต้องลุกขึ้นยืนรับหีบเพลิงฯ แต่อย่างใด
๒. ให้คณะต้อนรับออกมายืนเรียงแถว ๒ แถว หันหน้าเข้าหากัน ตั้งแต่บริเวณเต็นท์ไปหาเมรุเมื่อขบวนเชิญหีบเพลิงมาถึง ให้คนถือพานเชิญหีบเพลิงลงจากรถก่อนเดินประมาณ ๒– ๓ ก้าวแล้วหยุดรอ แล้วค่อยเป็นผู้ร่วมขบวนเดินตามลงมาทีหลังจนครบ บอกว่าพร้อม…เพื่อให้คนเชิญหีบเดินผ่านแถวที่ต้อนรับไป คณะต้อนรับให้โค้งคำนับทำความเคารพหีบเพลิงฯ ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย เหมือนกัน เมื่อขบวนเดินผ่านไปแล้วก็ให้คณะต้อนรับเดินตามไปแล้วเลี้ยวเข้าหาที่นั่งที่จัดเตรียมไว้ให้ ก่อนนั่งทำความเคารพประธานครั้งหนึ่งพร้อมกันก่อน แล้วจึงนั่งลง…
๓. เมื่อขบวนเชิญหีบเพลิงฯ เดินไปถึงบริเวณบันไดเมรุ (อ่านว่า เมน) ให้ผู้ถือหีบเพลิง
เดินขึ้นไปบนเมรุเพียงคนเดียว เดินไปไปวางที่โต๊ะหมู่ที่ปูผ้าขาว วางเสร็จ ก็ให้เดินลงจากเมรุไปสบทบกับขบวนข้างล่าง แล้วกลับหลังหัน พร้อมกับทำความเคารพผู้วายชนม์พร้อมกัน เสร็จแล้วเดินออกไปหาที่นั่งที่เจ้าภาพจัดเตรียมไว้ให้ เดินออกไปเป็นแถวเดียวจะสวยงาม สง่าดีด้วย เมื่อไปถึงเก้าอี้ให้ยืนรอจนทุกคนเข้าที่แล้วจึงทำความเคารพ ประธานพร้อมกัน แล้วจึงนั่งลง
๔. ลำดับต่อไปพิธีกรจะเชิญผู้อ่านหมายรับสั่ง มาอ่านหน้าแท่นรายงาน ควรจะเตรียมอยู่บริเวณ ด้านข้างของแท่นกล่าวรายงานทั้ง ๓ คนที่จะอ่านฯ ให้ยืนเรียงแถวจะดูสวยงามและสง่าดี เมื่อพิธีกรเชิญมาอ่าน ก็ให้เดินมาที่ข้างแท่นรายงานแล้วโค้งคำนับ ๑ ครั้ง ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง จึงเดินขึ้นแท่นรายงาน อ่านจนจบ แล้วจึงเดินลงมาข้างแท่นรายงาน โค้งคำนับ ๑ ครั้ง ไปยืนเข้าแถวที่เดิม
๕. ต่อไปพิธีกรจะเชิญผู้ที่อ่านประวัติผู้วายชนม์ วิธีการเหมือนกันกับข้อ ๔
๖. ต่อไปพิธีกรจะเชิญผู้ที่อ่านสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ วิธีการเหมือนกันกับข้อ ๔
๗. เมื่ออ่านจบแล้วพิธีกรจะเชิญผู้เข้าร่วมพิธียืนสงบนิ่งเป็นเวลา ๑ นาที ในกรณีนี้
ไม่ควรจะมีการอ่านสุภาษิต คำไว้อาลัย เป็นช่วงที่ต้องการความสงบเงียบมีสมาธิ ในช่วงนี้ให้ผู้เชิญหีบเพลิงฯ ขึ้นไปแกะหีบห่อหีบเพลิงออก แล้วยืนอยู่ด้านหลังของโต๊ะหีบเพลิงฯ (ที่ต้องให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้แกะหีบเพลิงฯ เนื่องจากว่าประธานไม่ทราบว่าจะดึงริบบิ้นสีดำที่ตรงไหน บางท่านอาจจะประหม่า อาจจะทำให้ดึงผิดแล้วกลายเป็นผูกให้แน่นมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เสียเวลาแกะกล่อง ดูแล้วขั้นตอนไม่ราบเรียบ)
๘. ต่อไปพิธีกรจะเชิญประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุล และประกอบพิธีพระราชทาน
เพลิงศพในลำดับต่อไป ในช่วงนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติประธานในพิธี ผู้เข้าร่วมงานทุกคนควรจะยืนขึ้น
รอจนกว่าประธานจะประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพเสร็จ แล้วจึงเดินขึ้นบันได้วางดอกไม้จันทน์ในลำดับต่อไป
- ๕ –
๙. เมื่อประธานทอดผ้าบังสุกุลเสร็จแล้ว พระสงฆ์พิจารณาผ้าฯ เสร็จแล้ว จึงเป็นการประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ โดยมีวิธีการสำหรับประธานในพิธีดังนี้
๑๐. ประธานทำความเคารพไปทางทิศใต้ (ทิศที่พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวประทับอยู่)
เป็นการขอพระบรมราชานุญาตเพื่อปฏิบัติงานแทนพระองค์
๑๑. เจ้าหน้าที่ยืนถือหีบเพลิงเดินเข้าหาประธานในพิธี (ส่วนมากเข้าทางด้านขวา) ประธานหยิบเทียนชนวนให้เจ้าหน้าที่ถือไว้ (เจ้าหน้าที่ถือพานหีบเพลิงมือขวา ถือเทียนชนวนมือซ้าย)
๑๒. ประธานหยิบกล่องไม้ขีดพระราชทานจุดที่เทียนชนวน แล้วสะบัดให้ไฟดับก่อน
วางก้านและกล่องไม้ขีดไว้ในกล่องหีบเพลิงพระราชทาน
๑๓. ประธานถวายบังคม (ยกมือไหว้) ที่กล่องหีบเพลิง ๑ ครั้ง แล้วหยิบธูปเทียนดอกไม้จันทน์พระราชทาน จุดไฟที่เทียนชนวน หลังจากนั้นนำไปวางที่ใต้ฐานหีบศพ โค้งคำนับศพ ๑ ครั้ง ถ้าเป็นสังขารของพระสงฆ์ ให้ยกมือไหว้ในระดับหนึ่ง ๑ ครั้ง หลังจากนั้นหันหน้าพร้อมกับโค้งคำนับไป
ทางทิศใต้ ๑ ครั้ง (หรือทิศที่พระเจ้าอยู่หัวฯประทับอยู่) แล้วเดินลงจากเมรุ ขึ้นทางด้านไหน ลงทางด้านนั้น เดินไปที่เก้าอี้แล้วนั่งลง จะทักทายเจ้าภาพญาติๆ หรือจะกลับเลยก็ได้..ครับ
๑๔. หลังจากนั้นพระสงฆ์จะวางดอกไม้จันทน์ ตามด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือจะเป็นข้าราชการที่สวมชุดปกติขาวก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมในช่วงเวลานั้น เป็นเสร็จพิธีพระราชทานเพลิงศพ
.......................................................................................
จัดพิมพ์ ข้อความเพิ่มเติม 1 หน้าฟรี ส่งทั่วไทย
เชิญชวน : จัดพิมพ์หนังสือ ราคา 20 บาท เรื่อง งานได้ผล คนก็เป็นสุข
จัดพิมพ์ ข้อความเพิ่มเติม 1 หน้าฟรี ส่งทั่วไทย
ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์ บริการพิมพ์หนังธรรมะแจกเนื่องใน
โอกาสพิเศษต่างๆโดยได้คัดเลือกจากกลุ่มหนังสือที่มีอยู่ในคลังหนังสือธรรมะ
ซึ่งมีไว้ให้เลือกใช้สำหรับงานพิมพ์แจกเป็นธรรมบรรณาการและแจกหนังสือธรรมะ
เนื่องในโอกาสต่างๆ
เช่นการรวบรวมรายชื่อผู้ร่วมบุญในการจัดพิมพ์
หนังสือเพื่อพิมพ์แจกและถวายพระภิกษุสงฆ์
เพื่อให้ท่านได้นำไปแจกจ่ายแด่ผู้สนใจศึกษาธรรมะ,
งานอนุสรณ์เนื่องในงานฌาปนกิจ,หนังสือที่ระลึกในงาน
พระราชทานเพลิง, งานวันเกิด, หนังสือที่แจกเพื่องานเกษียณอายุราชการ,
และในโอกาสวาระสำคัญต่างๆ เพื่อสร้างบุญบารมีของตนให้ยิ่งๆขึ้น
หรืออุทิศกุศลในการจัดพิมพ์หนังสือให้แก่ผู้วายชนม์
อันจะยังกุศลแห่งการเผยแพร่ธรรมะเป็นทาน
และเผยแพร่หลักธรรมะให้เจริญแพร่หลายสถาพรสืบไปซึ่งถือว่าเป็นกุศลใหญ่
ใช้เวลาการจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึก1-2วันและจัดพิมพ์หนังสือในราคาต้นทุนโรงพิมพ์ธรรมทาน
พร้อมกับจัดพิมพ์ข้อความที่ระลึกของผู้สั่งพิมพ์ได้ฟรี
1หน้าบริการจัดส่งทั่วประเทศสะดวกส่งเร็วโดยใช้บริษัทขนส่งทั่วประเทศ
ท่านสามารถตรวจเช็ค รายการหนังสือที่มีมากกว่า 2,000 รายการ ได้ที่
โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการจัดพิมพ์หนังสือธรรมะเพื่อแจก
ที่ 02-482-7358, 087-696-7771, 086-461-8505
LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks