สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,383,867 |
เปิดเพจ | 17,033,897 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
ธรรมนูญชีวิต-ราคาธรรมทาน50บาท
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
9789745751149
-
เข้าชม
8,042 ครั้ง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
11/04/2021 21:30
-
รายละเอียดสินค้า
ธรรมนูญชีวิตโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
กระดาษถนอมสายตาสีครีม (กรีนรีด)
จำนวน 106 หน้า (ปกอ่อน เคลือบปกเงา อย่างดี)
สนับสนุน ค่าจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ในราคาโรงพิมพ์ธรรมทาน
เล่มละ 50 บาท
---------------------------------------------------
สำหรับท่านที่สั่งพิมพ์หนังสือ เป็นที่ระลึก
เพื่อแจกเป็นธรรมทาน // สามารถ พิมพ์ข้อความ เพิ่มเติม ได้ 1 หน้าฟรีดำเนินการจัดส่ง โดย
"ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์"--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ช่องทางติดต่อ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม / สั่งซื้อ / ส่งสลิปการโอนเงิน
สามารถสั่งซื้อ โดยตรง ที่ LINE@ ได้โดยตรงที่
หรือสั่งทำ โต๊ะวางพระ แท่นวางพระ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่
LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooksท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์เพิ่มเติม
สามารถโทร.สอบถามรายละเอียดอื่นๆได้ที่
086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771
ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่
เรื่องลายละเอียดผลิตภัณฑ์ สอบถามสินค้าอื่นๆ สอบถามข้อสงสัย
รวมถึง เรื่อง การจัดส่ง ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วประเทศ
โดยปกติ ที่ศูนย์สามารถดำเนินการจัดส่ง ไปถึงวัด
หรือสถานปฏิบัติธรรม และบ้านพักอาศัย ตามที่ลูกค้าต้องการ
--- --- --- --- --- --- ---
ท่านสามารถมาชม ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ด้วยตนเอง
ที่สถานที่ตั้ง ของศูนย์ ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น
ศูนย์หนังสือไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ ที่
พุทธมณฑล สาย 4 ฝั่งเดียวกันกับ พุทธมณฑลองค์พระยืน
ติดกับกำแพง วัดญาณเวศกวัน
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีสถานที่จอดรถกว้าง มีร้านกาแฟ ขนมว่าง
แผนที่สำหรับเดินทาง Google maps
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2.......................................................................
สารบัญ
ภาค ๑ วินัยชาวพุทธ
หมวดหนึ่ง วางฐานชีวิตให้มั่น
กฏ ๑ เว้นชั่ว ๑๔ ประการ
ก. เว้นกรรมกิเลส ๔
ข. เว้นอคติ ๔
ค. เว้นอบายมุข ๖
กฏ ๒ เตรียมทุนชีวิต ๒ ด้าน
ก. เลือกสรรคนที่จะเสวนา
ข. จัดสรรทรัพย์ที่หามาได้
กฏ ๓ รักษาความสัมพันธ์ ๖ ทิศ
ก. ทำทุกทิศให้เกษมสันต์
ข.เกื้อกูลกันประสานสังคม
หมวดสอง นำชีวิตให้ถึงจุดหมาย
ก. จุดหมาย ๓ ขั้น
ข. จุดหมาย ๓ ด้าน
ภาค ๒ ธรรมนูญชีวิต
หมวดหนึ่ง คนกับสังคม
๑. คนมีศีลธรรม (สมาชิกในหมู่อารยชน)
๒. คนมีคุณแก่ส่วนราม (สมาชิกที่ดีของสังคม)
๓. คนผู้เป็นส่วนร่วมที่ดีของหมู่ชน (สมาชิกที่ดีของชุมชน)
๔. คนมีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี (สมาชิกที่ดีของรัฐ)
หมวดสอง คนกับชีวิต
๕. คนประสบความสำเร็จ (ชีวิตที่ก้าวหน้า และสำเร็จ)
๖. คนที่รู้จักทำมาหาเลี้ยงชีพ (ชีวิตที่เป็นหลักฐาน)
๗. คนครองเรือนที่ล้ำเลิศ (ชีวิตบ้านที่สมบูรณ์)
๘. คนไม่หลงโลก (ชีวิตที่ไม่ถลำพลาด)
หมวดสาม คนกับคน
๙. คนร่วมชีวิต (คู่ครองที่ดี)
๑๐. คนรับผิดชอบตระกูล (หัวหน้าครอบครัวที่ดี)
๑๑. คนสืบตระกูล (ทายาทที่ดี)
๑๒. คนที่จะคบหา (มิตรแท้-มิตรเทียม)
๑๓. คนงาน-นายงาน (ลูกจ้าง-นายจ้าง)
หมวดสี่ คนกับพระศาสนา
๑๔. คนใกล้ชิดศาสนา (อุบาสก-อุบาสิกา)
๑๕. คนสืบศาสนา (พระภิกษุสงฆ์).......................................................................
ธรรมนูญชีวิต : มาตรฐานชีวิต ที่ชาวพุทธที่พึงมี
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ.ปยุตฺโต )
เนื้อหาทั้งหมดของ มาตรฐานชีวิตของชาวพุทธนี้
มีรวมอยู่แล้วใน หนังสือ ธรรมนูญชีวิต
ถือได้ว่า มาตรฐานชีวิตของชาวพุทธ เป็นเกณฑ์อย่าง
ต่ำสำหรับการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ
ส่วน ธรรมนูญชีวิต เป็นประมวล
หลักธรรมทั่วไปเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีงาม
ซึ่งอาจถือเป็นส่วนขยายของมาตรฐานชีวิตของชาวพุทธ
ผู้ปฏิบัติอาจใช้ มาตรฐานชีวิตของชาวพุทธ
เป็นเกณฑ์ตรวจสอบเบื้องต้นสำหรับการดำเนินชีวิต
ของตน แล้วก้าวสู่คุณสมบัติ และข้อปฏิบัติในธรรมนูญชีวิต
เพื่อดำเนินชีวิตให้ดีงาม มีความสำเร็จ และเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น
จนถึงความสมบูรณ์
............................................................................หนังสือ ‘ธรรมนูญชีวิต’ เล่มนี้ พระเดชพระคุณ พระพรหม
คุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ท่านได้มานำหลักธรรมของพระบรมศาสดา
มาแสดงไว้ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนนำไปใช้ในการวางรากฐานชีวิต
ให้มั่นคง และนำชีวิตให้ถึงจุดหมาย ตลอดจนการประพฤติปฏิบัติตน
เพื่อการอยู่ร่วมกันในแต่ละฐานะหน้าที่ ด้วยการทำตนเป็นสมาชิก
ที่ดีของสังคม
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงวางหลักปฏิบัติเพื่อ
การบรรลุถึงจุดหมายไว้มากมาย อันเป็นหลักที่ทุกคนจะต้องมีความ
เข้มแข็งที่จะตั้งมั่น เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ที่มีมาตรฐานในชีวิตที่มั่นคง
ทั้งยังป็นการร่วมมือกันสร้างสรรค์สังคมให้เจริญและมั่นคงอีกด้วย
เพื่อวางรากฐานชีวิตของตนเองให้ดำเนินไปในทางที่ดีงาม เพื่อให้
บรรลุถึงจุดหมาย ๓ ด้าน กล่าวคือ ๑.ประโยชน์ตน ๒.ประโยชน์
ผู้อื่น ๓.ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
วางฐานชีวิตให้มั่น
ชาวพุทธจะต้องดำเนินชีวิตที่ดีงาม และร่วมสร้างสรรค์สังคมให้เจริญ
มั่นคง ตามหลัก วินัยของคฤหัสถ์ (คิหิวินัย) ดังนี้
บทความส่วน หนึ่ง ในหนังสือ ธรรมนูญชีวิต (เล่มนี้)
------------------------------------------------------------กฎ ๑: เว้นชั่ว ๑๔ ประการ
ก. เว้นกรรมกิเลส (บาปกรรมที่ทำให้ชีวิตมัวหมอง) ๔ คือ
๑. ไม่ทำร้ายร่างกายทำลายชีวิต (เว้นปาณาติบาต)
๒. ไม่ลักทรัพย์ละเมิดกรรมสิทธิ์ (เว้นอทินนาทาน)
๓. ไม่ประพฤติผิดทางเพศ (เว้นกาเมสุมิจฉาจาร)
๔. ไม่พูดเท็จโกหกหลอกลวง (เว้นมุสาวาท)
ข. เว้นอคติ (ความลำเอียง/ประพฤติคลาดธรรม) ๔ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ (เว้นฉันทาคติ)
๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง (เว้นโทสาคติ)
๓. ไม่ลำเอียงเพราะเขลา (เว้นโมหาคติ)
๔. ไม่ลำเอียงเพราะขลาด (เว้นภยาคติ)
ค. เว้นอบายมุข (ช่องทางเสื่อมทรัพย์อับชีวิต) ๖ คือ
๑. ไม่เสพติดสุรายาเมา
๒. ไม่เอาแต่เที่ยวไม่รู้เวลา๓. ไม่จ้องหาแต่รายการบันเทิง
๔. ไม่เหลิงไปหาการพนัน
๕. ไม่พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว๖. ไม่มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน
กฎ ๒: เตรียมทุนชีวิต ๒ ด้าน
ก. เลือกสรรคนที่จะเสวนา คบคนที่จะนำชีวิตไปในทางแห่งความเจริญ
และสร้างสรรค์ โดยหลีกเว้นมิตรเทียม คบหาแต่มิตรแท้ คือ
๑. รู้ทันมิตรเทียม หรือ ศัตรูผู้มาในร่างมิตร (มิตรปฏิรูปก็) ๔ ประเภท
๑) คนปอกลอก มีแต่ขนเอาของเพื่อนไป มีลักษณะ ๔
(๑) คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
(๒) ยอมเสียน้อย โดยหวังจะเอาให้มาก
(๓) ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจเพื่อน
(๔) คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์
๒) คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔
(๑) ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย
(๒) ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย
(๓) สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้
(๔) เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง
(๓) คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔
(๑) จะทำชั่วก็ เออ ออ
(๒) จะทำดีก็ เออ ออ
(๓) ต่อหน้าสรรเสริญ
(๔) ลับหลังนินทา
๔) คนชวนฉิบหาย มีลักษณะ ๔
(๑) คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
(๒) คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
(๓) คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
(๔) คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน
๒. รู้ถึงมิตรแท้ หรือ มิตรด้วยใจจริง (สุหทมิตร) ๔ ประเภท
๑) มิตรอุปการะ มีลักษณะ ๔
(๑) เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน
(๒) เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สินของเพื่อน
(๓) เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้
(๔) มีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก
๒) มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔
(๑) บอกความลับแก่เพื่อน
(๒) รักษาความลับของเพื่อน
(๓) มีภัยอันตราย ไม่ละทิ้ง
แม้ชีวิตก็สละให้ได้
๓) มิตรแนะนำประโยชน์ มีลักษณะ ๔
(๑) จะทำชั่วเสียหาย คอยห้ามปรามไว้
(๒) แนะนำสนับสนุนให้ตั้งอยู่ในความดี
(๓) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง
(๔) บอกทางสุขทางสวรรค์ให้
๔) มิตรมีใจรัก มีลักษณะ ๔
(๑) เพื่อนมีทุกข์ พลอยไม่สบายใจ (ทุกข์ ทุกข์ด้วย)
(๒) เพื่อนมีสุข พลอยแชมชื่นยินดี (สุข สุขด้วย)
(๓) เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ให้
(๔) เขาสรรเสริญเพื่อน ช่วยพูดเสริมสนับสนุน
ข. จัดสรรทรัพย์ที่หามาได้ ด้วยสัมมาชีพ ดังนี้
ขั้นที่ ๑ ขยันหมั่นทำงานเก็บออมทรัพย์ ดังผึ้งเก็บรวมน้ำหวานและเกสร
ขั้นที่ ๒ เมื่อทรัพย์เก็บก่อขึ้นดังจอมปลวก พึงวางแผนใช้จ่าย คือ
๑ ส่วน เลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว ดูแลคนเกี่ยวข้อง และทำความดี
๒ ส่วน ใช้ทำหน้าที่การงานประกอบกิจการอาชีพ
๑ ส่วน เก็บไว้เป็นหลักประกันชีวิตและกิจการคราวจำเป็น
กฎ ๓: รักษาความสัมพันธ์ ๖ ทิศ
ก. ทำทุกทิศให้เกษมสันต์ ปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่สัมพันธ์กับตนให้ถูกต้อง
ตามฐานะทั้ง ๖ คือ
ทิศที่ ๑ ในฐานะที่เป็นบุตรธิดา พึงเคารพบิดามารดา ผู้เปรียบเสมือนทิศ
เบื้องหน้า ดังนี้
๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
๒. ช่วยทำกิจธุระการงานของท่าน
๓. ดำรงวงศ์สกุล
๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน
บิดามารดาอนุเคราะห์บุตร ตามหลักปฏิบัติดังนี้
๑. ห้ามปรามป้องกันจากความชั่ว
๒. ดูแลฝึกอบรมให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔. เป็นธุระเมื่อถึงคราวจะมีคู่ครองที่สมควร
๕. มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส
ทิศที่ ๒ ในฐานะที่เป็นศิษย์ พึงแสดงความเคารพนับถือครูอาจารย์ ผู้
เปรียบเสมือนทิศเบื้องขวา ดังนี้
๑. ลุกต้อนรับ แสดงความเคารพ
๒. เข้าไปหา เพื่อบำรุง รับใช้ ปรึกษา ซักถาม รับคำแนะนำ เป็นต้น
๓. ฟังด้วยดี ฟังเป็น รู้จักฟังให้เกิดปัญญา
๔. ปรนนิบัติ ช่วยบริการ
๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจังถือเป็นกิจสำคัญ
อาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ ตามหลักปฏิบัติดังนี้
๑. แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี
๒. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๓. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
๔. ส่งเสริมยกย่องความดีงามความสามารถให้ปรากฎ
. สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ คือ สอนฝึกศิษย์ให้ใช้วิชาเลี้ยงชีพ
ได้จริง และรู้จักดำรงตนด้วยดี ที่จะเป็นประกันให้ดำเนินชีวิตดี
งามโดยสวัสดี มีความสุขความเจริญ
ทิศที่ ๓ ในฐานะที่เป็นสามี พึงให้เกียรติบำรุงภรรยา ผู้เปรียบเสมือนทิศ
เบื้องหลัง ดังนี้
๑. ยกย่องให้เกียรติสมฐานะที่เป็นภรรยา
๒. ไม่ดูหมิ่น
๓. ไม่นอกใจ
๔. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน
๕. หาเครื่องแต่งตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส
ภรรยาอนุเคราะห์สามี ตามหลักปฏิบัติดังนี้
๑. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
๒. สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
๓. ไม่นอกใจ
. รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
๕. ขยัน ช่างจัดช่างทำ เอางานทุกอย่าง
ทิศที่ ๔ ในฐานะที่เป็นมิตรสหาย พึงปฏิบัติต่อมิตรสหาย ผู้เปรียบเสมือน
ทิศเบื้องซ้าย ดังนี้
๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒. พูดจามีน้ำใจ
๓. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๔. มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย
๕. ซื่อสัตย์จริงใจ
มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ตามหลักปฏิบัติดังนี้
เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร
ทิศที่ ๕ ในฐานะที่เป็นนายจ้าง พึงบำรุงคนรับใช้ และคนงาน ผู้
เปรียบเสมือนทิศเบื้องล่าง ดังนี้
๑. จัดงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลัง เพศ วัย ความสามารถ
๒. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่
๓. จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
๔. มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้๕. ให้มีวันหยุด และพักผ่อนหย่อนใจ ตามโอกาสอันควร
คนรับใช้และคนงาน แสดงน้ำใจต่อนายงาน ดังนี้
๑. เริ่มทำงานก่อน
๒. เลิกงานทีหลัง
๓. เอาแต่ของที่นายให้
๔. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
๕. นำความดีของนายงานและกิจการไปเผยแพร่
ทิศที่ ๖ ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน พึงแสดงความเคารพนับถือต่อ
พระสงฆ์ ผู้เปรียบเสมือนทิศเบื้องบน ดังนี้
๑. จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
๒. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔
พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ตามหลักปฏิบัติดังนี้
๑. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
๒. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
๔. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง
๕. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้มีความสุขความเจริญ
ข. เกื้อกูลกันประสานสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูลกันร่วมสร้างสรรค์สังคมให้
สงบสุขมั่นคงสามัคคีมีเอกภาพ ด้วยสังคหวัตถุ ๔ คือ
๑. ทาน เผื่อแผ่แบ่งปัน (ช่วยด้วยเงินด้วยของ)
๒. ปิยวาจา พูดอย่างรักกัน (ช่วยด้วยถ้อยคำ)
๓. อัตถจริยา ทำประโยชน์แก่เขา (ช่วยด้วยกำลังแรงงาน)
๔. สมานัตตตา เอาตัวเข้าสมาน (ช่วยด้วยร่วมสร้างสรรค์และแก้ปัญหา
เสมอกันโดยธรรม และร่วมสุขร่วมทุกข์กัน)
............................................................................
ธรรมนูญชีวิต
หนังสือที่สมควรมีไว้ประจำบ้านเรือน
“วินัย” เป็นระเบียบกำกับความประพฤติให้เป็นแบบแผน
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนที่อยู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่คนผู้อยู่
ร่วมกันจะต้องนำมาปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ธรรมนูญชีวิตเล่มนี้ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
ท่านได้นำหลักธรรมของพระบรมศาสดาแสดงไว้ เพื่อให้พุทธ
ศาสนิกชนนำไปใช้ในการวางรากฐานชีวิตให้มั่นคง และนำชีวิต
ให้ถึงจุดหมายตลอดจนการประพฤติปฏิบัติตนเพื่อการอยู่ร่วมกัน
ในแต่ละฐานะหน้าที่ ด้วยการทำตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป . อ . ปยุตฺโต)
............................................................................
ชาวพุทธที่เรียกว่า อุบาสก และอุบาสิกกา นับว่าเป็นชาวพุทธชั้นนำ
จะต้องมีความเข้มแข็งที่จะตั้งมั่นอยู่ในหลักให้เป็นตัวอย่างแก่ชาวพุทธทั่วไป
นอกจากรักษาวินัยชาวพุทธแล้ว ต้องมีอุบาสกธรรม ๕ ดังนี้
๑.มีศรัทธา เชื่อประกอบด้วยปัญญา ไม่งมงาย มั้นในพระรัตนตรัย
ไม่หวั่นไหว ไม่แกว่งไกว ถือธรรมเป็นใหญ่และสูงสุด
๒.มีศีล นอกจากตั้งในศีล ๕ และสัมมาชีพแล้ว ควรถือศีล อุโบสถ
ตามกาล เพื่อพัฒนาให้ชีวิตและความสุขพึ่งพาวัตถุน้อยลง ลดการเบียด
เบียน และเกื้อกูลแก่ผู้อื่นได้มากขึ้น
๓.ไม่ถือมงคล ตื่นข่าว เชื่อกรรม มุ่งหวังผลจากการกระทำด้วย
เรี่ยวแรง ความเพียรพยายามตามเหตุผล ไม่ตื่นข่าวเล่าลือโชค ลางเรื่อง
ขวังมงคล ไม่หวังผลจากการขออำนาจดลบันดาล
๔.ไม่แสวงหาพาหิรทักขิไณย์ ไม่ไขว่ขว้าเขตบุญขุนขลังผู้วิเศษ
ศักดิ์สิทธิ์ นอกหลักพระพุทธศาสนา
๕.ขวนขวายในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ใส่ใจริเริ่มและสนับสนุน
กิจกรรมการกุศล ตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
---------------------------------------------------------------------------------------
บทความ : ในหนังสือเรื่อง ธรรมนูญชีวิต พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงามโดย : สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
หัวข้อเรื่อง : คนสมบูรณ์แบบ
(สมาชิกแบบอย่างของมนุษยชาติ)
---------------------------------------------------------------------------------------คนสมบูรณ์แบบ หรือมนุษย์โดยสมบูรณ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสมาชิกที่ดีมี
คุณค่าอย่างแท้จริงของมนุษยชาติ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นคนเต็มคน ผู้สามารถ
นำหมู่ชนและสังคมไปสู่สันติสุขและความสวัสดี มีธรรมหรือคุณสมบัติ ๗
ประการ ดังต่อไปนี้
๑. ธัมมัญญุตา รู้หลักและรู้จักเหตุ คือรู้หลักการและกฎเกณฑ์ของ
สิ่งทั้งหลาย ที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต ในการปฏิบัติกิจหน้าที่
และดำเนินกิจการต่างๆ รู้เข้าใจสิ่งที่ตนจะต้องประพฤติปฏิบัติตามเหตุผล เช่น
รู้ว่า ตำแหน่ง ฐานะ อาชีพ การงานของตน มีหน้าที่และความรับผิดชอบ
อย่างไร มีอะไรเป็นหลักการ จะต้องทำอะไรอย่างไร จึงจะเป็นเหตุให้บรรลุ
ถึงผลสำเร็จที่เป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบนั้นๆ ดังนี้ป็นต้น ตลอดจน
ชั้นสูงสุดคือรู้เท่าทันกฎธรรมดาหรือหลักความจริงของธรรมชาติ เพื่อปฏิบัติ
ต่อโลกและชีวิตอย่างถูกต้อง มีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของโลกและ
ชีวิตนั้น
---------------------------------------------------------------------------------------๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล คือรู้ความหมาย และ
ความมุ่งหมายของหลักการที่ตนปฏิบัติ เข้าใจวัตถุประสงค์ของกิจการที่ตน
กระทำ รู้ว่าที่ตนทำอยู่อย่างนั้นๆ ดำเนินชีวิตอย่างนั้น เพื่อประสงค์ประโยชน์
อะไร หรือควรจะได้บรรลุถึงผลอะไร ที่ให้มีหน้าที่ ตำแหน่ง ฐานะ การงาน
อย่างนั้นๆ เขากำหนดวางกันไว้เพื่อความมุ่งหมายอะไร กิจการที่ตนทำอยู่
ขณะนี้ เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง เป็นผลดีหรือผลเสียอย่างไร
ดังนี้เป็นต้น ตลอดจนถึงขั้นสูงสุด คือ รู้ความหมายของคติธรรมดา และ
ประโยชน์ที่เป็นจุดหมายแท้จริงของชีวิต
---------------------------------------------------------------------------------------
๓. อัตตัญญุตา รู้ตน คือ รู้ตามเป็นจริงว่า ตัวเรานั้น ว่าโดยฐานะ
ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความถนัด ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น
บัดนี้เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสม และทำการต่างๆ ให้
สอดคล้องถูกจุด ที่จะสัมฤทธิ์ผล ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงตนให้เจริญงอก
งามถึงความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป
---------------------------------------------------------------------------------------
๔. มัตตัญญุตา รู้ประมาณ คือ รู้จักพอดี เช่น รู้จักประมาณในการ
บริโภค ในการใช้จ่ายทรัพย์ รู้จัโความพอเหมาะพอดี ในการพูด การปฏิบัติ
กิจและทำการต่างๆ ตลอดจนการพักผ่อนนอนหลับและการสนุกสนานรื่น
เริงทั้งหลาย ทำการทุกอย่างด้วยความเข้าใจวัตถุประสงค์เพื่อผลดีแท้จริงที่
พึงต้องการ โดยมิใช่เพียงเพื่อเห็นแก่ความพอใจ ชอบใจ หรือเอาแต่ใจของ
ตน แต่ทำตามความพอดีแห่งเหตุปัจจัยหรือองค์ประกอบทั้งหลาย ที่จะลง
ตัวให้เกิดผลดีงามตามที่มองเห็นด้วยปัญญา
---------------------------------------------------------------------------------------
๕. กาลัญญุตา รู้กาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่
พึงใช้ในการประกอบกิจ ทำหน้าที่การงาน ปฏิบัติการต่างๆ และเกี่ยวข้อง
กับผู้อื่น เช่น รู้ว่า เวลาไหน ควรทำอะไร อย่างไร และทำให้ตรงเวลา ให้เป็น
เวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา ให้ถูกเวลา ตลอดจนรู้จักกะ
เวลา และวางแผนการใช้เวลาอย่างได้ผล
---------------------------------------------------------------------------------------๖. ปริสัญญุตา รู้ชุมชน คือ รู้จักถิ่น รู้จักที่ชุมนุม และชุมชน รู้การ
อันควรประพฤติปฏิบัติในถิ่นที่ชุมนุม และต่อชุมชนนั้นว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้า
ไปหา ควรต้องทำกิริยาอย่างนี้ ควรต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้มีระเบียบวินัย
อย่างนี้ มีวัฒนธรรมประเพณีอย่างนี้ มีความต้องการอย่างนี้ ควรเกี่ยวข้อง
ควรต้องสงเคราะห์ ควรรับใช้ ควรบำเพ็ญประโยชน์ให้อย่างนี้ๆ เป็นต้น
๗. ปุคคลัญถุตา รู้บุคคล คือ รู้จักและเข้าใจความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อน
อย่างไร และรู้จักที่จะปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ด้วยดีว่า ควรจะคบหรือไม่ ได้
คติอะไร จะสัมพันธ์เกี่ยวข้อง จะใช้ จะยกย่อง จะตำหนิ หรือจะแนะนำสั่ง
สอนอย่างไร จึงจะได้ผลดี ดังนี้ เป็นต้น
ธรรม ๗ ข้อนี้ เรียกว่า สัปปุริสธรรม แปลว่า
ธรรมของสัปปุริสชน คือ คนดี หรือ คนที่แท้
ซึ่งมีคุณสมบัติของความเป็นคนที่สมบูรณ์
---------------------------------------------------------------------------------------อุบาสก อุบาสิกาที่ดี มีคุณสมบัติที่เรียกว่า
อุบาสกธรรม ๕ ประการ คือ
๑. มีศรัทธา เชื่อมีเหตุผล มั่นในคุณพระรัตนตรัย
๒. มีศีล อย่างน้อยดำรงตนได้ในศีล ๕
๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล มุ่งหวังผลจากการ
กระทำ มิใช่จากโชคลาง หรือสิ่งที่ตื่นกันไปว่าขลังศักดิ์สิทธิ์
๔. ไม่แสวงหาทักขิไณยนอกหลักคำสอนนี้
๕. เอาใจใส่ทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระพุทธศาสนา*
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ดำเนินการจัดส่ง โดย
"ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์"--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ช่องทางติดต่อ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม / สั่งซื้อ / ส่งสลิปการโอนเงิน
สามารถสั่งซื้อ โดยตรง ที่ LINE@ ได้โดยตรงที่
หรือสั่งทำ โต๊ะวางพระ แท่นวางพระ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่
LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooksท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์เพิ่มเติม
สามารถโทร.สอบถามรายละเอียดอื่นๆได้ที่
086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771
ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่
เรื่องลายละเอียดผลิตภัณฑ์ สอบถามสินค้าอื่นๆ สอบถามข้อสงสัย
รวมถึง เรื่อง การจัดส่ง ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วประเทศ
โดยปกติ ที่ศูนย์สามารถดำเนินการจัดส่ง ไปถึงวัด
หรือสถานปฏิบัติธรรม และบ้านพักอาศัย ตามที่ลูกค้าต้องการ
--- --- --- --- --- --- ---
ท่านสามารถมาชม ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ด้วยตนเอง
ที่สถานที่ตั้ง ของศูนย์ ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น
ศูนย์หนังสือไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ ที่
พุทธมณฑล สาย 4 ฝั่งเดียวกันกับ พุทธมณฑลองค์พระยืน
ติดกับกำแพง วัดญาณเวศกวัน
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีสถานที่จอดรถกว้าง มีร้านกาแฟ ขนมว่าง
แผนที่สำหรับเดินทาง Google maps
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2
Tags : ธรรมนูญชีวิต , หนังสือธรรมะ , พระพรหมคุณาภรณ์ , ชาวพุทธ , ป.อ.ปยุตฺโต , สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
สินค้าที่ดูล่าสุด
- ธรรมนูญชีวิต-ราคาธรรมทาน5... ราคา 50.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
รู้หลักก่อน แล้วศึกษาและสอนให้ได้ผล
รหัส : 978-974-389-0987 ราคา : 100.00 ฿ อัพเดท : 08/12/2010 ผู้เข้าชม : 3,496 -
พุทธธรรม-ฉบับปรับขยาย-พจนานุกรม-โดยพระพรหมคุณาภรณ์…
รหัส : 974-575-492-7 ราคา : 665.00 ฿ อัพเดท : 18/08/2021 ผู้เข้าชม : 74,574พจนานุกรมพุทธศาสน์-ฉบับประมวลศัพท์…
รหัส : 978-616-0301805 ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 10/06/2019 ผู้เข้าชม : 9,569 -
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม…
รหัส : ประมวลธรรม ราคา : 250.00 ฿ อัพเดท : 10/06/2019 ผู้เข้าชม : 8,068พุทธธรรม-ฉบับเดิม-สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
รหัส : 978-616-030-9054 ราคา : 200.00 ฿ อัพเดท : 20/03/2020 ผู้เข้าชม : 11,471 -
อายุยืนอย่างมีคุณค่า ปาฐกถาธรรมเพื่อความมีชีวิตที่สงบเย็นและเป็นสุขอย่างยิ่ง
รหัส : อายุยืน-25 ราคา : 25.00 ฿ อัพเดท : 10/01/2019 ผู้เข้าชม : 6,092กรรม นรกสวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่…
รหัส : 978-974-841-751-6 ราคา : 100.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 4,462 -
จากจิตวิทยา สู่ จิตภาวนา โดยพระพรหมคุณาภรณ์…
รหัส : 974-453-366-8 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 05/12/2011 ผู้เข้าชม : 5,728จากสุขในบ้าน สู่ความเกษมศาสนติ…
รหัส : 978-974-453-743-0 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 1,740 -
เพิ่มพลังชีวิต โดยพระพรหมคุณาภรณ์
รหัส : 978-974-453-882-6 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 2,537ภูมิธรรมชาวพุทธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์…
รหัส : 978-974-453-744-7 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 2,800 -
พระพุทธศาสนา กับโลกธุรกิจ (การใช้หลักพุทธธรรมในการทำธุรกิจ)…
รหัส : 974-9973-96-8 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 4,461พัฒนาการ แบบองค์รวมของเด็กไทย…
รหัส : 978-974-453-367-6 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 2,294 -
นรกสวรรค์ในพระไตรปิฎกนรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ท่าทีของพระพุทธศานาต่อเรื่องนรกสวรรค์โดยพระพรหม
รหัส : 978-974-453-424-8 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 2,999ทุกข์สำหรับเห็นสุขสำหรับเป็นหัวใจพุทธศาสนาแก่นแท้ของพุทธศาสนาแก่ธรรมเพื่อชีวิต
รหัส : 978-974-453-426-2 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 1,995