สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,382,569 |
เปิดเพจ | 17,032,543 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
วิมุตติมรรค-ทางแห่งความหลุดพ้น-ราคาเล่มละ300บาท
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
978-616-300-339-3
-
เข้าชม
17,680 ครั้ง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
10/05/2019 10:40
-
รายละเอียดสินค้า
วิมุตติมรรค ทางแห่งความหลุดพ้น
พระอุปาติสสเถระ : รจนา
(พิมพ์ใหม่ล่าสุด พิมพ์ปี 2560 : โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปกแข็งเย็บกี่อย่างดี)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ : แปล จากภาษาอังกฤษ
ของพระเอฮารา พระโสมเถระ และ พระเขมินทเถระ
พิมพ์เผยแพร่ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
จำนวน 538 หน้า // ขนาด 16*21.5 เซนติเมตร // ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี
หมายเลข ISBN : 978-616-300-339-3
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ราคาจัดพิมพ์เผยแพร่ 300 บาท
มีค่าจัดส่ง EMS 80 บาท ต่อ 1 เล่ม
**หากสั่งให้ส่งจำนวนหลายเล่ม ศูนย์จัดส่งจะประมวลค่าจัดส่งให้ใหม่
ในราคาบริษัทขนส่งเอ็กเพรส ทั่วไทย ในราคาที่ถูก ตาม ที่อยู่ที่ให้จัดส่ง ของลูกค้าต่อไปฯ**
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
👨🏻💻 LINE สอบถามการสั่งพิมพ์ /สั่งซื้อ / และ จัดส่งทั่วไทย ที่ : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---
แผนที่สำหรับเดินทาง 🚙 มาด้วยตนเอง ที่
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2
เนื้อหาภายในเล่ม (สารบัญ)
บทที่ 1 นิทานกถา
บทที่ 2 ศีลปริจเฉท
บทที่ 3 ธดุงคปริจเฉท
บทที่ 4 สมาธิปริจเฉท
บทที่ 5 กัลยามิตรปริจเฉท
บทที่ 6 จริยาปริจเฉท
บทที่ 7 กัมมัฏนารัมมณปริจเฉท
บทที่ 8 กัมมัฏฐานปริจเฉท
บทที่ 9 อภิญญาปริจเฉท
บทที่ 10 ปัญญาปริจเฉท
บทที่ 11 ตอนที่ 1 อุบายปริจเฉท
บทที่ 11 ตอนที่ 2 สัจจอุบาย
บทที่ 12 ตอนที่ 1 สัจจญาณปริจเฉท
บทที่ 12 ตอนที่ 2 สัจจญาณ--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
หนังสือ "วิมุตติมรรค" เป็นวรรณคดีบาลีประเภทประกรณ์พิเศษ
ที่อธิบายไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา อันเป็นวิมุตติมรรค (ทางแห่งความหลุดพ้น)
เป็นคู่มือสำหรับศึกษาและปฏิบัติธรรม ซึ่งแต่งก่อนหนังสือที่มีชื่อคล้ายกัน คือคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ของพระพุทธโฆสาจารย์ พระเถระผู้รจนาวิมุตติมรรค มีชื่อว่า "พระอุปติสสเถระ"
ประวัติความเป็นมาของท่านไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน ศาสตราจารย์นาไกสันนิษฐานว่า
ผู้รจนา คือ "พระอรหันต์อุปติสสะ" ชาวลังกา ผู้ชำนาญพระวินัย
และมีชื่อปรากฏอยู่ในคัมภีร์ "ปริวาร" ของพระวินัยปิฎก
ท่านมีผลงานแพร่หลายในรัชกาลของพระเจ้าสภะ ผู้ครองราชย์ในลังกา
ระหว่าง พ.ศ. 603-653
ท่านภิกขุญาณโมลี ได้กล่าวไว้ในบทนำแห่งหนังสือวิสุทธิมรรค ที่ท่านแปล
เป็นภาษาอังกฤษว่ายังไม่มีหลักฐานเพียงพอ ที่จะสนับสนุน มติที่ว่า พระอุปติสสเถระ
ผู้รจนาคัมภีร์วิมุตติมรรค เป็นรูปเดียวกับพระอรหันต์อุปติสสะ ผู้ชำนาญพระวินัย
แต่มีเหตุผลน่าเชื่อถือว่า วิมุตติมรรค แต่งก่อน วิสุทธิมรรค
และน่าจะแต่งขึ้นในประเทศอินเดีย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีเอกสาร หลักฐานเพียงพอ ที่จะตัดสินใจให้เป็นข้อยุติ
ว่าพระเถระผู้รจนาวิมุตติมรรค เป็นชาวลังกาหรือชาวอินเดีย
ข้อที่นักปราชญ์ทั้งหลายเห็นพ้องต้องกัน ก็คือว่า พระอุปติสสเถระ
ได้รจนาวิมุตติมรรคก่อน ที่พระพุทธโฆสาจารย์ได้รจนาวิสุทธิมรรค
และพระพุทธโฆสาจารย์ ได้ศึกษาวิมุตติมรรค ก่อนจะรจนาวิสุทธิมรรค
เป็นที่น่าสังเกตุว่า แม้พระพุทธโฆสาจารย์จะได้อ้างทัศนะของผู้แต่งวิมุตติมรรค
หลายครคั้ง แต่ก็ไม่เคยกล่าวถึงหนังสือนี้โดยตรงในวิสุทธิมรรค
ท่านเพียงแต่อ้างว่าเป็นมติของอาจารย์บางพวก เช่นเมื่อบรรยายเรื่องต้นเหตุแห่งจริยา
พระพุทธโฆสาจารย์กล่าวว่า "อาจารย์บางพวก กล่าวว่า จริยา 3 ข้างต้นนั้น
มีอาจิณกรรมในภพก่อนเป็นต้นเหตุ และมีธาตุและโทษเป็นต้นเหตุ
พระธรรมปาละผู้รจนาปรมัตถมัญชุสา วิสุทธิมัคคมหาฎีกา อธิบายคำว่า
อาจารย์บางพวก ที่พระพุทธโฆสาจารย์อ้างถึงข้างต้นนั้น ได้แก่ พระอุปติสสเถระ
ผุ้เสนอทัศนะเช่นนี้ได้ในคัมภีร์วิมุตติมรรค
พระพุทธโฆสาจารย์กล่าว ไว้ในวิสุทธิมรรคตอนหนึ่งว่า โดยทั่วไป มีจริยา ๖ ประการ
แต่อาจารย์บางพวก กล่าว่า มี จริยา ๑๔ ประการ ผู้อ่านจริยาปริเฉท หน้า55
ของวิมุตติมรรคนี้จะพบว่า พระอุปติสสเถระ กล่าวถึงจริยา 14 ประการ
ไว้ค่อนข้างละเอียดชัดเจน ดังนั้นว่า อาจารย์บางพวกที่พระพุทธโฆสาจารย์
หมายถึง ก็คือ พระอุปติสสเถระผู้รจนาวิมุตติมรรค
หากจะตั้งปัญหา ถามว่า เหตุใดในการแต่งวิสุทธิมรรค
พระพุทธโฆสาจารย์ จึงไม่เอ่ยถึงหนังสือ วิมุตติมรรคเลย?
เหตุผลน่าจะเป็นไปได้มากกว่า ก็คือ พระพุทธโฆสาจารย์แต่งวิสุทธิมรรค
เพราะถูกพระเถระแห่งมหาวิหารทดสอบความรู้ก่อนที่จะ
อนุญาตให้แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี
ในเวลานั้นสำนักมหาวิหารนั้น เป็นคู่แข่งของสำนักอภัยคิรีวิหาร
ซึ่งอธิบายธรรมบางข้อต่างกันและมีหลักฐานบางประการแสดงว่า
สำนักอภัยคิรีวิหารยอมรับมติบางประการที่ปรากฏ ในวิมุตติมรรค จนกระทั่ง
พระเถระแห่งมหาวิหารเข้าใจว่า วิมุตติมรรค เป็นคัมภีร์สำคัญของฝ่ายอภัยคิรีวิหาร
เนื่องจากพระพุทธโฆสาจารย์ แต่งวิสุทธิมรรค ในฐานะผู้เสนอผลงานทางวิชาการ
เพื่อการยอมรับของพระเถระสำนักมหาวิหาร จึงเป็นไปได้ว่า
ท่านจงใจหลีกเลี่ยงการอ้างอิงคัมภีร์วิมุตติมรรค ซึ่งถูกเข้าใจว่าเป็นคัมภีร์หลักของฝ่ายอภัยคิรีวิหาร
ทั้งนี้ก็เพื่อความสบายใจของพระเถระสำนักมหาวิหารนั่นเอง
ที่เป็นเช่นนั้น ไม่ได้หมายความว่า การอธิบายธรรมในวิมุตติมรรคจะแตกต่างจากการอธิบายธรรม
ของฝ่ายเถรวาท เพราะเมื่อว่าถึงการอธิบายธรรมโดยทั่วไปแล้ว วิมุตติมรรคได้เสนอ
ทัศนะอันแตกต่างจากวิสุทธิมรรคในรายละเอียดปลีกย่อยไม่กี่ประเด็น ดังที่
ภิกขุญาณโมลีกล่าวไว้ว่า การที่วิมุตติมรรคมีทัศนะอันเป็นที่ยอมรับของฝ่ายอภัย
คิรีวิหารนี้ ไม่ได้หมายความว่าวิมุตติมรรคมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับสำนักนี้
ทั้งวิมุตติมรรคและสำนักอภัยคิรีวิหารอาจจะอ้างคัมภีร์จากที่มาเดียวกัน จึงมีทัศนะ
พ้อมกันและทัศนะที่วิมุตติมรรคยอมรับก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญถึงขนาดที่ทำให้แตกแยก
นิกายออกไปจากเถรวาท คัมภีร์วิมุตติมรรคไม่ได้เสนอแนวคำสอนที่เป็นของมหายาน
แต่อย่างใด การตีความธรรมของคัมภีร์นี้ยังคำอยู่ในกรอบของหินยานหรือเถรวาท
นั่นเอง.
ผู้ศึกษาคัมภีร์วิมุตติมรรคจะพบว่า การอธิายธรรม ในวิมุตติมรรคยังคงเป็น
แบบเถรวาท ที่อาศัยแหล่งอ้างอิงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา เชิงอรรถ ที่นำมา
อ้างอิงท้ายเล่มนี้ เป็นเอกสารหลักฐานที่ยืนยันว่า ผู้รจนาวิมุตติมรรค ได้ประมวล
ความรู้จากพระไตรปิำกอรรถกถา และคัมภีร์บาลีอื่นๆ มาอธิบาย ไตรสิกขาอย่างเป็น
ระบบด้วยวิธีการเขียนแบบถามตอบที่สั้นกระชับ ตรงประเด็น นับว่าเป็นวิธีการ
ประพันธ์ ที่ต่างจากวิสุทธิมรรคอย่างเห็นได้ชัด การที่คัมภีร์วิมุตติมรรคและวิสุทธิมรรค
จะอธิบายเรื่องไตรสิกขาเหมือนกัน มิได้หมายความว่า คัมภีร์ใดคัมภีร์หนึ่งจะ
ไม่สำคัญหรือไม่จำเป็น การศึกษาคัมภีร์ทั้งสอง จะเสริมซึ่งกันและกัน
กล่าวคือ วิมุตติมรรค จะช่วยให้ผู้อ่านจับประเด็นหลักและได้ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ
ข้อธรรมนั้นๆ อย่างรวดเร็ว ในขณะที่วิสุทธิมรรค จะให้คำอธิบายข้อธรรม
อย่างละเอียด พร้อมทั้งเสนอกรณีตัวอย่างประกอบเป็นบุคลาธิษฐาน.
ในการแปลวิมุตติมรรคฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยครั้งนี้ คณะผู้แปล
ประสงค์จะรักษาสวรรณคดีบาลี เป็นภาษาเดิมที่พระอุปติสสเถระรจนาไว้
ดังนั้นการแปลจึงยังคงใช้ศัพท์ธรรมภาษาบาลีจำนวนมาก ทั้งนี้ด้วยความหวังว่า
สักวันหนึ่ง อาจจะมีการแปลวิมุตติมรรคกลับสู่ภาษาบาลีดังเดิม และนั่นจะช่วยให้
วิมุตติมรรคกลับมาแพร่หลายในโลกพระพุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง เช่นเดียวกับคัมภีร์
มิลินทปัญหา ซึ่งแต่เดิม เป็นภาษาสันสกฤตและสูญหายไป ชาวพุทธทั่วโลกยังมี
โอกาสศึกษามิลินทปัญหาทุกวันนี้ ก็โดยอาศัย ฉบับภาษาบาลีที่มีผู้แปลถ่ายทอดจากฉบับ
ภาษาสันสกฤตนั่นเอง.
ปณามพจน์
นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง
อุทเทศคาถา
สีลํ สมาธิ ปญฺญา จ วิมุตฺ จ อนุตฺตรา
อนุพุทฺธา อิเม ธมฺมา โคตเมน ยสสฺสีนา
พระโคดมผู้มียศได้ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม
บุคคลผู้ปรารถนาจะพ้นจากทุกข์และอุปทานทั้งปวง มีจิตอันประเสริฐที่สุด
ปรารถนาจะขจัดเหตุแห่งชาติชราและมรณะ เสวยสุขและวิมุตติ เพื่อเข้าถึงความดับ
คือพระนิพพาน ที่ยังไม่บรรลุและนำหมู่ชนเหล่าอื่นที่ยังอยู่อีกฝั่งหนึ่งให้ถึงความ
สมบูรณ์ ควรรู้ชำนาญในพระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรมนี้คือวมุตติมรรค (ทางแห่ง
ความหลุดพ้น)
บัดนี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาวิมุตติมรรคนั้น ขอจงตั้งใจสดับ
ถาม : อะไรคือศีล
ตอบ : คำว่า ศีล ได้แก่ ความสังวร
สมาธิ ได้แก่ ความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน
ปัญญา ได้แก่ ความรอบรู้
วิมุตติ ได้แก่ ความหลุดพ้นจากพันธนาการ
อันยอดเยี่ยม ได้แก่ ปราศจากอาสวะ
ตรัสรู้ ได้แก่ ตรัสรู้ด้วยปัญญา
ธรรมเหล่านี้ ได้แก่ ธรรมอันประเสริฐ ๔ ประการ
โคดม ได้แก่ พระโคตร
ผู้มียศ ได้แก่ ผู้มีโชค พระองค์ได้รับยสยิ่งใหญ่ไร้พรหมแดนเพราะ
เหตุที่ทีคุณธรรมอันประเสริฐคือศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ
จากหนังสือเรื่อง วิมุตติมรรค พระอุปติสสเถระ รจนา หน้าที่ ๒
วิมุตติมรรคพรรณนาถาม : วิมุตติมรรคหมายความว่าอะไร
ตอบ : วิมุตติมรรคหมายถึงวิมุตติ ๕ ประการ คือ วิกขัมภนวิมุตติ (หลุดพ้นด้วย
การข่มไว้) ตทังควิมุตติ (หลุดพ้นด้วยองค์นั้น ๆ) สมุจเฉทวิมุตติ (หลุดพ้นด้วยการ
ตัดขาด) ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ (หลุดพ้นด้วยการสงบ) และนิสสรณวิมุตติมรรค (หลุดพ้นด้วย
การสลัดออกไป)
ถาม : วิกขัมภนวิมุตติเป็นไฉน
ตอบ : วิกขัมภนวิมุตติ คือ การหลุดพ้นโดยการข่มกิเลสไว้ด้วยสมาธิใน
ปฐมณาน นี้เรียกว่า วิกขัมภนวิมุตติ
ตทังควิมุตติ คือ การหลุดพ้นจากทิฏฐิบางประการด้วยการปฏิบัตินิพเพธ-
ภาคิยสมาธิ (สมาธิส่วนชำแรกกิเลส) นี้เรียกว่า ตทังควิมุตติ
สมุจเฉทวิมุตติ คือ การทำลายสังโยชน์ได้ด้วยการปฏิบัติโลกุตตรมรรค
นี้เรียกว่า สมุจเฉทวิมุตติ
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ (พึงเข้าใจว่า) เป็นเหมือนความสุจใจของบุคคลผู้ได้รับผล
ของการปฏิบัติ นี้เรียกว่า ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
นิสสรณวิมุตติ คือ การหลุดพ้นจากการดับโดยไม่มีเบ็ญจขันธ์เหลือ นี้เรียกว่า
นิสสรณวิมุตติ
วิมุตติมรรคนี้เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น ทางปฏิบัติที่ประเสริฐสายนี้เรียกว่า
วิมุตติมรรค ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา
จากหนังสือเรื่อง วิมุตติมรรค พระอุติสสเถระ รจนา หน้าที่ ๓
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
แนะนำหนังสือ ที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กันกับหนังสือเล่มนี้
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
หนังสือ : วิสุทธิมรรค // พระพุทธโฆสเถร : รจนา
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
มิลินทปัญหา-ฉบับเเปลในมหามกุฏุราชวิทยาลัย-ราคา300บาท
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
หนังสือ สัตตปัพพบุพพสิกขา และ บุพพสิกขาวรรณนา 400.00 บาท
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
วิมุตติมรรค-อธิบาย ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา-ราคาเล่มละ300บาท
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
Tags : หนังสือวิมุตติมรรค , วิมุตติมรรค , พระอุปติสสเถระ
สินค้าที่ดูล่าสุด
- วิมุตติมรรค-ทางแห่งความหล... ราคา 300.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชนย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี45เล่มจากมหามกุฏราชวิทยาลัย
รหัส : 00000 ราคา : 500.00 ฿ อัพเดท : 02/08/2022 ผู้เข้าชม : 87,371ตู้พระไตรปิฎกไม้สักแท้และหนังสือพระไตรปิฎกมจร.พุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญ…
รหัส : ไตรปิฎกไม้สัก ราคา : 8,500.00 ฿ อัพเดท : 20/03/2012 ผู้เข้าชม : 6,463 -
ป้ายทองเหลือง บรรจุรายชื่อ ผู้ร่วมสร้างตู้พระไตรปิฎก
รหัส : ป้ายทองเหลือง ราคา : สอบถามราคากับช่างผู้แกะเนื้องาน อัพเดท : 22/07/2011 ผู้เข้าชม : 4,006ป้ายอลูมิเนียม บรรจุรายชื่อ ผู้ร่วมสร้างตู้พระไตรปิฎก
รหัส : ป้ายทองอลูมิเนียม ราคา : สอบถามราคากับช่างผู้แกะเนื้องา อัพเดท : 20/07/2011 ผู้เข้าชม : 4,932 -
หนังสือพระไตรปิฎก ทั้ง 45 เล่ม…
รหัส : มจร ราคา : 15,000.00 ฿ อัพเดท : 10/05/2022 ผู้เข้าชม : 44,036ตู้ใส่หนังสือธรรมะ ไม้สัก สีน้ำตาล-ดำเคลือบด้าน
รหัส : ตู้พระไตรปิฎก3 ราคา : 8,500.00 ฿ อัพเดท : 11/11/2011 ผู้เข้าชม : 4,679 -
พระไตรปิฎกฉบับที่ทำให้ง่ายแล้ว-โดย-วศินอินทสระ-เรียบเรียง
รหัส : 9786167149066 ราคา : 380.00 ฿ อัพเดท : 13/11/2020 ผู้เข้าชม : 22,032พระไตรปิฎกฉบับย่อความและอธิบายความ-อังคุตตรนิกาย(หมวด1-9)โดยวศินอินทสระ
รหัส : 9786167149127 ราคา : 600.00 ฿ อัพเดท : 27/09/2011 ผู้เข้าชม : 4,709 -
พระไตรปิฎกฉบับขยายความสังยุตตนิกายสคาถวรรคเล่ม15โดยวศินอินทสระ
รหัส : 9786167149202 ราคา : 650.00 ฿ อัพเดท : 27/09/2011 ผู้เข้าชม : 4,004คำบรรยายในพระไตรปิฎก-เสฐียรพงษ์วรรณปกราชบัณฑิต
รหัส : 978-616-03-0498-1 ราคา : 200.00 ฿ อัพเดท : 05/06/2012 ผู้เข้าชม : 16,474 -
พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม1-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-9099-2-5 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 09/06/2012 ผู้เข้าชม : 4,560พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม2-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-9028-23-0 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 11/06/2012 ผู้เข้าชม : 2,876 -
พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม3-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-91103-4-8 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 11/06/2012 ผู้เข้าชม : 2,469พระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า
รหัส : 978-974-364-962-2 ราคา : 3,500.00 ฿ อัพเดท : 19/11/2021 ผู้เข้าชม : 13,991 -
พระไตรปิฎกฉบับพิเศษ-คู่มือปฏิบัติธรรมตามวิถีพระพุท
รหัส : 978-974-881817-7 ราคา : 211.00 ฿ อัพเดท : 22/06/2012 ผู้เข้าชม : 4,117นวโกวาท-หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี-30บาท
รหัส : 2010010208837 ราคา : 30.00 ฿ อัพเดท : 15/01/2019 ผู้เข้าชม : 32,552