สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,383,209 |
เปิดเพจ | 17,033,228 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
สมุดภาพ ปฐมสมโพธิกถา วรรณคดีพระพุทธศานาพากไทย คัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
978-616-03-0083-9
-
เข้าชม
20,095 ครั้ง
ยี่ห้อ
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี ปั๊มทอง
ลิงค์
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
19/07/2018 14:16
-
รายละเอียดสินค้า
หนังสือ
สมุดภาพ ปฐมสมโพธิกถา
วรรณคดีพระพุทธศานาพากไทย คัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า
... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...... ... ... ... ...
พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เล่มนี้
เป็นหนังสือ ปกแข็ง เย็บกี่ ปั๊มทอง อย่างดี
ขนาด 31.5x23 cm
จำนวนหน้า 588 หน้า วัสดุ กระดาษ อาร์ท อย่างดี ภายในเป็นภาพ 4 สี ตลอดเล่ม
ราคา650บาท + ค่าจัดส่ง 180 บาท
= 830 บาท
ท่านสามารถอ่านรายละเอียดหนังสือเล่มนี้ได้ที่
http://www.trilakbooks.com/…/สมุดภาพ-ปฐมสมโพธิกถา-วรรณคดีพร…
📱สามารถโทร.สอบถามรายละเอียดอื่นๆได้ที่
086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771#สั่งซื้อหนังสือโดยตรงทางLine
👨🏻💻 LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---
แผนที่สำหรับเดินทาง Google maps🚙
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...... ... ... ... ...
ซึ่ง ปฐมสมโพธิกถา จะประกอบด้วย 29 ปริจเฉท ดังนี้
ปริเฉทที่ 1. วิวาหมงคลปริวรรต : พระเจ้าสุทโธทนะอภิเษกสมรส
ปริเฉทที่ 2. ดุสิตปริวรรต : พระโพธิสัตว์รับเชิญจุติ
ปริเฉทที่ 3. คัดภานิกขมนปริวรรต การประสูติของพระโพธิสัตว์
ปริเฉทที่ 4. ลักขณาปริคคาหกปริวรรต : ลักษณะของพระมหาบุรุษ
ปริเฉทที่ 5. ราชาภิเษกปริวรรต : พระโพธิสัตว์ได้รับการราชาภิเษกฯ
ปริเฉทที่ 6. มหาภินิกขมนปริวรรต : การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่
ปริเฉทที่ 7. ทุกรกิริยาปริวรรต : พระโพธิสัตว์บำเพ็ญทุกรกิริยา
ปริเฉทที่ 8. พุทธบูชาปริวรรต : มธุปายาสและการบูชา
ปริเฉทที่ 9. มารวิชัยปริวรรต : พระโพธิสัตว์ชนะหมู่มาร
ปริเฉทที่ 10. อภิสัมโพธิปริวรรต : ลำดับการตรัสรู้ยิ่ง
ปริเฉทที่ 11. โพธิสัพพัญญูปริวรรต : เจ็ดสัปดาห์หลังตรัสรู้
ปริเฉทที่ 12. พรหมัชเฌสนปริวรรต : ท้าวสหัมบดีพรหมทูลฯ
ปริเฉทที่ 13. ธัมมจักกปริวรรต : แสดงพระปฐมเทศนา
ปริเฉทที่ 14. ยสบรพชาปริวรรต : ยสกุลบุตรและเหล่าสหาย
ปริเฉทที่ 15. อุรุเวลคมนปริวรรต : อุรุเวลกัสสปชฏิลออกบวช
ปริเฉทที่ 16. อัครสาวกบรรพชาปริวรรต : พระสารีบุตรพระมหาโมลคคัลลานะบวช
ปริเฉทที่ 17. กปิลวัตถุคมนปริวรรต : เสด็จนิวัติพระนครกบิลพัสดุ์
ปริเฉทที่ 18. พิมพาพิลาปริวรรต : พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดฯ
ปริเฉทที่ 19. สักยบรรพชาปริวรรต : พวกเจ้าศากยะเสด็จออกผนวช
ปริเฉทที่ 20. เมตไตรยพยากรณ์ปริวรรต : พระอชิตะได้รับพญากรณ์ฯ
ปริเฉทที่ 21. พุทธปิตุนิพพานปริวรรต : พระพุทธบิดาปรินิพพาน
ปริเฉทที่ 22. ยมกปาฏิหาริยปริวรรต : ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์
ปริเฉทที่ 23. เทศนาปริวรรต : เสด็จดาวดึงส์
ปริเฉทที่ 24. เทโวโรหนปริวรรต : เสด็จลงจากเทวโลก
ปริเฉทที่ 25. อัตรสาวกนิพพานปริวรรต : พระอัครสาวกปรินิพพาน
ปริเฉทที่ 26. มหานิพพานสูตรปริวรรต : พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธฯ
ปริเฉทที่ 27. ธาตุวิภัชนปริวรรต : การแจกพระบรมสารีริกธาตุ
ปริเฉทที่ 28. มารพันธปริวรรต : พยามารถูกผูกไว้ด้วยฤทธิ์
ปริเฉทที่ 29. อันตรธานปริวรรต : ความเสื่อมสูญ 5 ประการ
ต้นฉบับหนังสือเล่มนี้ จจากกรมศิลปากร ที่กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
จัดพิมพ์โดยใช้ฉบับสอบทานชำระที่กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์ในปี 2505
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับหนังสือ เล่มนี้ครับ
................................................................................................................................................
ปฐมสมโพธิกถา พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าวถึงราชรถว่าเป็น เครื่องประกอบอิสริยยศของพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ตอนพระเจ้าสุทโธทนะทรงราชาภิเษกและอภิเษก สมรสกับพระนางสิริมหามายา เป็นตอนที่แสดงถึงความสำคัญของราชรถอย่างแท้จริง ดังพรรณนาโวหารว่า
"พระเจ้าชนาธิปราชก็ให้รี้พลแผ้วถางภูมิประเทศที่นั้นถวายพระเจ้าสีหหนุราช จึงตรัสสั่งสุรัตนวัฒกีอมาตย์นายช่างผู้ใหญ่ให้กระทำมหามณฑปกว้างถึงกึ่ง โยชน์ กอปรด้วยเสาถึง ๘๐๐ ต้น แล้วให้กระทำปราสาททององค์หนึ่งมีพื้น ๑๙ ชั้น ในอโสกอุทยานให้นามโกกนุทปราสาท ส่วนพระเจ้าชนาธิปราช ก็ให้สร้าง ปราสาท ๒ องค์ ได้นามธัญมุตปราสาทองค์ ๑ เวฬุปัตปราสาทองค์ ๑ ณ พระอุท ยานนั้น
แลการปราสาททั้ง ๓ สำเร็จในเดือนหนึ่งบริบูรณ์ ครั้งถึงผคุณมาสพระ-เจ้าชนาธิปราชจึงให้ตกแต่งพระนครงามดุจดาวดึงส์เทวโลก แล้วให้ตกแต่ง ปราสาททั้ง ๓ และมหามณฑปในอโสกอุทยาน ในท่ามกลางมหามณฑปนั้นตั้ง ไว้ซึ่งกองแก้ว ๗ ประการ สูงประมาณชั่วลำตาลหนึ่ง ลาดด้วยผ้ากัมพลอันหา ราคามิได้ เป็นบัลลังก์สำหรับจะราชาภิเษก ครั้นเวลารุ่งเช้าก็อัญเชิญพระสิริ มหามายาราชธิดา ให้โสรจสรงเสาวคนธ์จันทโนทกธารา แล้วทรงเครื่องสิริราช กัญญาวิภูสนาภรณ์พร้อมเสร็จ แวดล้อมด้วยคณาเนกนางขัตติยราชกุมารีแสน หนึ่งเป็นบริวาร
ราชา ส่วนสมเด็จพระเจ้าสีหหนุราช ก็อัญเชิญพระเจ้าสิริสุทโธทนราช โอรส ให้โสรจสรงสุคนโธทกธารา แล้วทรงราชาภิษิกพัสตร์รัตนราชปิลันธนา ภรณ์พร้อมเสร็จ พออุดมฤกษ์ก็อัญเชิญเสด็จขึ้นทรงอลงกตมหามงคลราชรถ อันห้อยย้อยไปด้วยแก้วมีประการต่างๆ เทียมด้วยสินธพชาติทั้ง ๔ มีสี ดังดอกกุมุทเสด็จไปสู่มหามงคลมณฑปที่ราชาภิเษก" *จากสำนวนพรรณนาโวหารข้างต้น จะพบว่าในพระราชพิธีราชาภิเษก พระเจ้าสีหหนุราชให้นายช่างชื่อสุรัตน วัฒกีอมาตย์ ทำปราสาททองถึง ๑๙ ชั้น ซึ่งทำให้พระมหานครงดงามเหมือนกับสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระนางสิริมหามายา ทรงฉลองพระองค์อย่างงดงาม และแวดล้อมด้วยบริวารที่เป็นนางกษัตริย์ถึงแสนคน พระเจ้าสีหหนุราชอัญเชิญพระเจ้า สิริสุทโธทนะทรงเครื่องประดับสำหรับกษัตริย์ เสด็จขึ้นอลงกตมหามงคลราชรถ ซึ่งประดับด้วยแก้วประดับต่างๆ หลากสี เทียมด้วยม้าทั้ง ๔ มีสีดอกกุมุท มีริ้วขบวนเสด็จไปที่มหามงคลมณฑปที่ราชาภิเษก
ขบวนอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายา ก็ทรงใช้ขบวนแห่ด้วยราชรถเช่นเดียวกัน ซึ่งตามพระราชอิสริยยศจะเห็นว่าที่ประทับบนราชรถจะสร้างขึ้นเป็นปราสาท และขบวนราชรถที่ตามเสด็จในริ้วขบวน ก็เกิดจากทิพยรถของนางฟ้า นางเทพอัปสร ท่ามกลางความปลื้มปิติยินดีของหมู่เทพยดาทั่วไป รอบมหามงคลวิวาห มณฑปแวดล้อมด้วยทิพยมณฑาบุปผชาติ ท้าวสุทธาวาสมหาพรหมทรงทิพยเศวตฉัตรอันใหญ่นำขบวนเสด็จไปข้างหน้า
ขบวนราชรถของพระเจ้าสุทโธทนะตามด้วยขบวนราชรถของพระอนุชา คือ สุกโกทนะ และอมิโตทนะ เมื่อถึง พระราชพิธีอันสำคัญคือฤกษ์อภิเษกสมรส ท้าวสุทธาวาสมหาพรหม จูงพระหัตถ์พระเจ้าสุทโธทนะและนางสุชาดาอสุ รินทรธิดาจูงพระหัตถ์พระนางสิริมหามายา ขึ้นไปประทับบนบัลลังก์สำหรับอภิเษกกษัตริย์ทั้งสองจับมือซึ่งกันละกัน ในเหตุการณ์อันเป็นมงคลเช่นนี้ ผู้ที่ต้องปรากฏตัวอยู่เสมอๆ คือท้าวสหัสนัยน์ทำหน้าที่เป่าทิพย์วิไชยยุตมหาสังข์ คันธรรพเทพบุตรดีดพิณสามสาย เทพยดาประโคมทิพยดุริยางค์ มนุษย์ประโคมดุริยางค์ และผู้ที่ทำพิธีหลั่งน้ำสังข์ก่อน กษัตริย์พระองค์อื่นก็คือ ท้าวสุทธาวาสมหาพรหม หลั่งน้ำทิพย์อุทกธาราจากรัตนภิงคาร และกล่าวประสิทธิพร ดังสำนวนพรรณนาโวหารว่า"ตราบเท่าถึงพระอุทยานนั้นให้ราบรื่นพื้นเสมอเป็นอันดี เทพยดาทั้งหลายก็มา ประชุมเล่นมหรสพภิเษกสมโภชในที่นั้นๆ ส่วนพระสิริมหามายาทรงเครื่องแล้ว แวดล้อมด้วยนางขัตติยกัญญาแสนหนึ่งเป็นบริวาร เสด็จลงจากปราสาททรง ราชรถ แลนางสุชาดาเทพอัปสรอสุรธิดา ก็ทรงทิพยรถยานออกจากพระนคร ไปสู่อุทยาน แวดล้อมด้วยคณาเนก นางเทพอัปสร เป็นบริวารนำหน้ารถพระสิริ มหามายาราชบุตรี สมเด็จท้าวโกสีย์และพระเจ้าชนาธิปราช กับทั้งสุนันทาเทวี ราชชนนีแลหมู่นางสนมนารีนิกรกัญญา กับกษัตริย์ขัตติยวงศาทั้งหลายเป็นอัน มากก็ตามไปในเบื้องหลัง หมู่เทพบรรษัททั้งหลายก็ถือฉัตรแลธงชาย ธงปฏาก แห่ไปทั้งสองฟากถนนวิธี เทพยดามนุษย์ทั้งปวงก็มาสโมสรสันนิบาตนั่งแวดล้อม มหามงคลวิวาหมณฑปอยู่โดยรอบ
ในขณะนั้น อันว่าทิพยมณฑาบุปผชาติ แลนานาทิพยกุสุมวัสสธารก็ บันดาลตกเต็มทั่วพื้นภูมิสถาน โดยยาวได้สองโยชน์กว้างได้โยชน์หนึ่ง แต่ล้วน กองดอกไม้ทิพย์อันตกลงมาสูงเสมอหลังม้า ส่วนสมเด็จพระเจ้าสีหหนุราชก็ให้ ตรวจเตรียมพลสารสินธพพยุหยาตร แลให้พระสิริสุทโธทนาราชกุมารลงจาก ราชรถ เสด็จขึ้นทรงมงคลเศวตหัตถี อันมีนามรัตนปัจจัยกุญชร เบื้องบนหลัง ดาดด้วยข่ายเงินทองแก้วทั้ง ๗ ประการ แลตั้งชื่อสุวรรณรัตนปราสาทเป็น ราชาอาสน์ที่สถิต มีกษัตริย์ศักยราชวงศ์ ๑๐๑ พระองค์แวดล้อมเป็นบริวาร แลท้าวสุทธาวาสมหาพรหมทรงซึ่งทิพยเศวตฉัตรอันใหญ่นำเสด็จไป ในเบื้อง หน้า และราชกุมารทั้งสอง คือ พระสุกโกทนะและอมิโตทนะ ผู้เป็นพระอนุชา เสด็จทรงมลคลราชรถอันเดียวกัน พร้อมด้วยจตุรงคโยธาหาญแห่ตามท้าวมหา พรหมไปในเบื้องหน้าพระคชาธารพระสิริสุทโธทนเชณฐษ สมเด็จพระเจ้าสีหหนุ ราช ก็เสด็จแวดล้อมด้วยขัตติยวงศ์ศักยราช ๖๐๐,๐๐๐ ไปในเบื้องหลังช้างพระ ที่นั่งพระราชโอรส แลหมู่เทพยดาทั้งหลายก็แวดล้อมไปเป็นอันมาก กษัตริย์ทั้ง สองฝ่ายเสด็จมาถึงซุ้มทวารพระอุทยาน แล้วเสด็จเข้าสู่มหามณฑปกับด้วยเทพ-ยดาเจ้าทั้งปวง ฝ่ายท้าวสุทธาวาสมหาพรหมกำหนดซึ่งกาลอันได้อุดมมหุติ ฤกษ์แล้ว ก็จูงพระหัตถ์พระสิริสุทโธทนราชกุมารขึ้นสถิต ณ เบื้องบนกองแก้ว นางสุชาดาอสุรินทรธิดา ก็จูงพระหัตถ์พระสิริมหามายาขึ้นสถิตบนรัตนราศีที่ อภิเษกนั้น แลกษัตริย์ทั้งสองก็จับพระหัตถ์ซึ่งกันและกัน สมเด็จท้าวสหัสนัยน์ก็ เป่าทิพย์วิไชยุตมหาสังข์ทักขิณาวัฏปัญจสิขคันธรรพเทพบุตรก็ดีดซึ่งพิณสาม สาย เทพยดามนุษย์ทั้งหลายก็ประโคมทิพยดุริยางค์แลมนุษย์ดุริยางค์ บันลือ ศัพท์โกลาหลนี่สนั่นพร้อมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว แลท้าวสุทธาวาสมหาพรหมก็ หลั่งทิพย์อุทกธาราจากรัตนภิงคาร ถวายมุทราภิสิญจนาการแล้วกล่าวมงคล สารประสิทธิ์พรโดยเอนกบรรยาย" **ตอนเจ้าชายสิทธัตถะประพาสสวน อันเป็นเหตุให้พระองค์เริ่มคิดจะออกผนวช เนื่องจากได้พบเทวทูตที่นิมิตให้ เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช การเสด็จประพาสสวนครั้งนั้นพระองค์ทรงราชรถซึ่งตกแต่งด้วยแก้ว ๗ ประการ อันงดงาม ห่อหุ้มด้วยหนังเสืองามสะอาดรุ่งเรืองดังแสงพระอาทิตย์ และเทียมด้วยม้า ๔ ตัว สีดอกโกมุท ดังพรรณนาโว หารว่า
"อยู่มาวันหนึ่ง สมเด็จพระมหาสัตว์มีพระทัยปรารถนาจะเสด็จไปประ- พาสพระอุทยาน จึงตรัสเรียกนายสารถีมาสั่งว่า ท่านจงตกแต่งรถ เราจะไปสู่ อุทยานภูมิ นายสารถีรับสั่งแล้วก็มาตกแต่งอุดมมรถพระที่นั่งทรงขจิตไปด้วย แก้ว ๗ ประการ แลหุ้มด้วยหนังสีหพยัคฆทีปิชาติงามสะดาอรุ่งเรือง มีพรรณ ประดุจอุทัยทิพากรจำรัสประดับด้วยเครื่องลาดอันพิจิตรโอฬาร แลสรรพอลง การอันเศษบริบูรณ์ทุกสิ่ง เทียมด้วยมงคลวรสินทธพทั้ง ๔ มีสีดังดอกโกกนุท ปทุมบุปผาชาติ เมื่อตกแต่งบวรราชรถยานเสร็จแล้ว ก็มากราบทูลเชิญเสด็จ สม เด็จบรมโพธสัตว์ก็ขึ้นทรงสถิตบนบัลลังก์พระที่นั่งมงคลราชรถ อันปรากฏรุ่ง เรืองจำรัสทัดเทียมอมรพิมานแวดล้อมด้วยดิเรกโยธาหาญ ออกจากพระนครจะ ไปสู่อุทยานภูมิประเทศ ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตอันหนึ่งเป็นปฐมนิมิตอันเทพ-ยดานฤมิตเป็นคนชรามีเกศาอันหงอก แลสีข้างก้คดค้อมกายั้นง้อมเงี้อมไปใน เบื้องหน้า มือถือไม้เท้าเดินมาในระหว่างมรรควิถีมีอาการอันไหวหวั่นสั่นไปทั่ว ทั้งกายควรจะสังเวช ยังไม่เคยได้ทอดพระเนตรพบเห็นมาแต่กาลก่อน จึงตรัส ถามนายสารถีว่า บุรุษผู้นี้มีนามชื่อใด จึงดูรูปกายแปลกประหลาดกว่าชนทั้ง หลายอื่นฉะนี้ ขณะนั้นเทพยดาเข้าสิงกายนายสารถีให้ทูลไปโดยสัตย์ว่า บุรุษผู้ นี้มีนามว่าชนชรา ตรัสซักถามว่า คนชราเป็นประการใด? ข้าแต่พระลูกเจ้า คน ชรานี้ มิได้มีชีวิตยาวยืนพลันจะถึงมรณภาพเป็นแท้ จึงตรัสถามว่าเหมือนตัว อาตมะนี้ก็จะมิได้ล่วงชราตามแลหรือ ข้าแต่พระลูกเจ้า พระองค์แลข้าพระพุทธ เจ้าก็ดี ชนทั้งหลายอื่นก็ดีบรรดาเกิดมาในโลกสันนิวาสนี้ บมิอาจล่วงพ้นชรา ธรรมทั้งสิ้นด้วยกัน เมื่อได้ทรงสดับดังนั้นก็ตรัสติเตียนซึ่งชาติอันเป็นเหตุจะให้ ชรา มีพระหฤทัยบังเกิดสังเวชเป็นกำลัง จึงตรัสสั่งนายสารถีว่าท่านจงกลับรถ เถิด จะประโยชน์อันใด กับสิริสมบัติอันบมิล่วงพ้นจากชรามีประการดังนี้ และจะ มาขวนขวายในการเล่นอันเป็นที่เกิดความประมาทมิควรยิ่งนัก ก็เสด็จกลับรถ คืนเข้าพระนครขึ้นสู่ปรางคปราสาท เหตุอันนั้นก็ทราบถึงพระราชบิดา จึงตรัส สั่งให้พระสนมทั้งหลายให้ตกแต่งพระกายประโลมพระราชโอรส หวังจะให้ลุ่ม หลงอยู่ในเบญจกามคุณอย่าให้เบื่อหน่ายแล้วให้กำชับชนทั้งหลายให้พิทักษ์รัก ษายิ่งกว่าแต่ก่อน ห้ามอย่าให้ชนชราเข้ามาในที่ใกล้ถึงกึ่งโยชน์" ***
ตอนโทณพราหมณ์ห้ามทัพแล้วแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ได้กล่าวถึงราชรถดังสำนวนพรรณนาอันไพเราะ ดังนี้
"ในขณะนั้น กษัตริย์ในเมืองโมรีนคร อันสถิตอยู่ ณ ที่ใกล้ป่าปิปผลิวัน ได้ทราบข่าวว่าพระทศพลเข้าสู่พระปรินิพพาน จึงส่งราชพูตให้ถือพระราช สาส์นมาถึงกษัตริย์มัลลราช ณ เมืองกุสินาราย ขอส่วนพระบรมธาตุ แล้วเสด็จ ยกพยุหยาตราตามมาในภายหลัง ครั้งนั้นกษัตริย์กุสินารายจึงแจ้งเหตุว่า ส่วน พระสารีริกธาตุนั้นปันแจกกันสิ้นแล้ว ท่านจงนำเอาพระอังคารไปสักการบูชา เถิด แลกษัตริย์โมรีนครก็เชิญพระอังคารไปกระทำสักการบูชาลำดับนั้น กรุง อชาตสัตตุราช เมื่อจะอัญเชิญพระบรมธาตุจากเมืองกุสินารายไปสู่กรุงราช คฤห์ แลในที่ระหว่างพระนครทั้งสองนั้นกำหนดมรรคาได้ ๑๒๕ โยชน์ แลทาง ในระหว่างนั้นน พระองค์ให้ชนทั้งหลายปราบให้ลื่นราบเสมอเป็นอันดี มีประ มาณโดยกว้างได้ ๘ อุศุภ แลตกแต่งอย่างมรรคาอันมาแต่มกุฏพันธนเจดีย์จนถึง ที่สันฐาคารศาลาซึ่งพระยามัลลราชทั้งหลายในเมืองกุสินารายตกแต่งนั้น แล้ว ให้ตั้งร้านตลาดรายเรียงไปตามสองข้างมรรคาจนตลอด ๑๒๕ โยชน์ เพื่อจะยัง รี้พลทั้งหลายมิให้เป็นทุกข์ลำบากด้วยจะอดอยากอาหารในหนทางแล้ว ให้อัญ เชิญพระหีบทองซึ่งใส่พระบรมธาตุ ขึ้นประดิษฐานบนบัลลังก์ราชรถ แลให้สันนิ บาตหมู่ชนทั้งหลายบรรดาอยู่ในริมณฑลทั่วพระราชอาณาเขต แห่งกรุงราช คฤห์ทั้ง ๕๐๐ โยชน์นั้นมาพร้อมกันทั้งสิ้นแล้ว ให้ยาตรารถทรงพระบรมธาตุไป จากเมืองกุสินารายให้เล่นการสาธุกีฬนักขัตฤกษ์บูชาไปตามระยะทางเบื้องว่า เห็นดอกไม้ป่าออกบานในที่ใด ก็ให้หยุดรถพระบรมธาตุอยู่กระทำสักการบูชา ในที่นั้น กว่าจะสิ้นดอกไม้ที่บาน แล้วชักรถไปถึงที่ประมาณสุดแอก ก็ให้หยุดสม โภชอยู่เจ็ดวันๆ แต่กระทำโดยนิยมดังนี้แลเชิญพระสารีริกธาตุมาถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ล่วงไป ก็ยังไม่ถึงเมืองราชคฤห์" ****
ภายในหนังสือมีรูปภาพพุทธประวัติ 29 รูป ตามจำนวน ปริเฉท ที่มี
เริ่มตั้งแต่...
ปริเฉทที่ 1 : วิวามงคลปริวรรค พระเจ้าสุทโธทนะอภิเษกสมรส
ไปจนถึง
ปริเฉทที่ 29 :อันตรธานปริวรรค ความเสื่อมสูญ ๕ ประการ
(ปริเฉทที่ 28 กล่าวถึงตอนที่พระยามารถูกผูกไว้ด้วยฤทธิ์)ข้อคิดเห็นสำหรับหนังสือเล่มนี้ โดย บุคคลทั่วไป และผู้ที่ได้อ่านหนังสือเรื่องปฐมสมโพธิกถาแล้ว
- เนื้อเรื่องปฐมสมโพธิกถานี้ มีคติทางมหายานและหินยานปนกันอยู่ เช่น กล่าวถึงพระศรีอารยเมตไตรย เป็นต้น หนังสือเรื่องนี้ อำนวยประโยชน์ทั้งทางศาสนาและวรรณคดี ทางศาสนาได้ความรู้เกี่ยวกับพุทธประวัติอย่างพิสดาร ทางวรรณคดีเป็นแบบอย่างแห่งความเรียงพรรณนา ใช้สำนวนโวหารสูง คำศัพท์ส่วนมากเป็นศัพท์บาลี ทำให้ได้ความรู้ทางภาษาเป็นอันมาก
... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...... ... ... ... ...
Tags : ปฐมสมโพธิกถา , พระพุทธเจ้า , พระศาสดา
สินค้าที่ดูล่าสุด
- สมุดภาพ ปฐมสมโพธิกถา วรรณ... ราคา 650.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
พระเจ้า500ชาติ ฉบับสมบูรณ์ อดีตชาติก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า…
รหัส : 978-616-03-0139-3 ราคา : 800.00 ฿ อัพเดท : 09/10/2020 ผู้เข้าชม : 146,480ประวัติ 80 พระอรหันต์ อดีตชาติ…
รหัส : 978-616-03-0078-5 ราคา : 700.00 ฿ อัพเดท : 20/04/2020 ผู้เข้าชม : 315,257 -
สมุดภาพ ปฐมสมโพธิกถา วรรณคดีพระพุทธศานาพากไทย…
รหัส : 978-616-03-0083-9 ราคา : 650.00 ฿ อัพเดท : 19/07/2018 ผู้เข้าชม : 20,095หนังสือธรรมะ-สู่แดนพุทธภูมิ-บันทึกการจาริกแสวงบุญ…
รหัส : 978-9744-531-544 ราคา : 150.00 ฿ อัพเดท : 10/06/2011 ผู้เข้าชม : 3,459 -
สมุดภาพ พิจารณาสังขาร (อนิจจัง…
รหัส : 978-6160-303-342 ราคา : 35.00 ฿ อัพเดท : 17/08/2011 ผู้เข้าชม : 5,200 -
ปรีชาญาณของสิทธัตถะ(อธิบายเนิ้อหาที่พุทธศาสนิกพึงศึกษาอย่างทั่วถ้วน)
รหัส : 978-6117-122-026 ราคา : 290.00 ฿ อัพเดท : 25/01/2012 ผู้เข้าชม : 2,794ภารตวิทยา(ความรู้เรื่องอินเดียทางวัฒนธรรม)
รหัส : 978-9747-236-118 ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 25/01/2012 ผู้เข้าชม : 4,276 -
ธรรมยาตรารำลึก (แดน พุทธภูมิ)
รหัส : 978-9749-254-837 ราคา : 280.00 ฿ อัพเดท : 26/01/2012 ผู้เข้าชม : 2,467ทศชาดก(เหมาะสำหรับพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสในพุทธธรรม)
รหัส : 978-9740-577-836 ราคา : 390.00 ฿ อัพเดท : 26/01/2012 ผู้เข้าชม : 1,862 -
ควอนตัมกับดอกบัว (การเดินทางสู่พรมแดนที่วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนามาบรรจบ)
รหัส : 978-6119-005-464 ราคา : 420.00 ฿ อัพเดท : 30/01/2012 ผู้เข้าชม : 4,091ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาโดย-ดร-สุชาติ-หงษา
รหัส : 978-974-7236-72-9 ราคา : 230.00 ฿ อัพเดท : 28/04/2012 ผู้เข้าชม : 4,914 -
พุทธสาวก-พุทธสาวิกา-ประมวลประวัติพระเถระพระเถรี-อุบาสกอุบาสิกาสมัยพุทธกาล
รหัส : 978-616-03-0499-8 ราคา : 500.00 ฿ อัพเดท : 05/06/2012 ผู้เข้าชม : 19,788ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โตพฺรหฺมรังสี)-ปกแข็งอย่างดี
รหัส : 978-616-03-0450-9 ราคา : 250.00 ฿ อัพเดท : 07/06/2012 ผู้เข้าชม : 3,652 -
ชีวประวัติและคำสอนหลวงปู่มั่นภูริทัตโต
รหัส : 978-616-03-0453-0 ราคา : 250.00 ฿ อัพเดท : 08/06/2012 ผู้เข้าชม : 4,048ประวัติพระกวนอิมมาตา-(ประวัติเจ้าแม่กวนอิม)
รหัส : 978-974-13-2840-6 ราคา : 160.00 ฿ อัพเดท : 22/06/2012 ผู้เข้าชม : 2,814