สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,384,636 |
เปิดเพจ | 17,034,693 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
เมื่อธรรมครองโลก-ธรรมโฆษณ์
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
18.ฉแถบแดง
-
เข้าชม
1,967 ครั้ง
ยี่ห้อ
ธรรมโฆษณ์
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
28/04/2011 00:00
-
รายละเอียดสินค้า
ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส
เรื่อง เมื่อธรรมครองโลก
จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา
จำนวน 509 หน้า
(การนับจำนวนหน้าของหนังสือ จะนับเฉพาะส่วนหน้าหา ไม่นับส่วน คำนำ สารบาญ และส่วนท้าย)
รายชื่อหนังสือชุด ธรรมโฆษณ์
รายชื่อหนังสือ
เลขประจำเล่ม
ราคา
๑. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
๑
350
๒. อิทัปปัจยตา
๑๒
300
๓. สันทัสเสตัพธรรม
๑๓
250
๔. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๑
๓๖
250
๕. พุทธิกจริยธรรม
๑๘
250
๖. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
๓
300
๗.โอสาเรตัพพธรรม
๑๓.ก
250
๘. พุทธจริยา
๑๑
250
๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑
๑๖
250
๑๐. มหิดลธรรม
๑๗.ข
250
๑๑. บรมธรรม ภาคต้น
๑๙
250
๑๒. บรมธรรม ภาคปลาย
๑๙.ก
250
๑๓. อานาปนสติภาวนา
๒๐.ก
300
๑๔. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๑
๓๑
250
๑๕. สุญญตาปริทรรศ์ เล่ม ๑
๓๘
250
๑๖. ค่ายธรรมบุตร
๓๗
250
๑๗. ฆราวาสธรรม
๑๗.ก
200
๑๘. ปรมัตถสภาวธรรม
๑๔.ก
250
๑๙. ปฏิปทาปริทรรศน์
๑๔
250
๒๐. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๒
๓๖.ก
250
๒๑. สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒
๓๘.ก
250
๒๒. เตกิจฉกธรรม
๓๗.ง
250
๒๓. โมกขธรรมประยุกต์
๑๗.ค
250
๒๔. ศารทกาลิกเทศนา เล่ม ๑
๒๖
300
๒๕. ศีลธรรม กับ มนุษย์โลก
๑๘.ข
250
๒๖. อริยศีลธรรม
๑๘.ค
200
๒๗. การกลับมาแห่งศีลธรรม
๑๘.ก
250
๒๘. ธรรมสัจจสงเคราะห์
๑๘.ข
300
๒๙. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
๔
500
๓๐. ธรรมะกับการเมือง
๑๘.จ
300
๓๑. เยาวชนกับศีลธรรม
๑๘.ง
200
๓๒. เมื่อธรรมครองโลก
๑๘.ฉ
250
๓๓. ไกวัลยธรรม
๑๒.ก
250
๓๔. อาสาฬหบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๔
300
๓๕. มาฆบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๒
300
๓๖. พระพุทธคุณบรรยาย
๑๑.ก
400
๓๗. วิสาขบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๓
300
๓๘. ชุมนุมล้ออายุ เล่ม ๑
๔๒.ก
300
๓๙. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข
๓๙.ค
300
๔๐. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๑
๓๗.ก
300
๔๑. อะไร คือ อะไร
๓๗.ค
300
๔๒. ใคร คือ ใคร
๓๗.ข
300
๔๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น - ภาคปลาย
๒
700
๔๔. ราชภโฎวาท
๓๙.ง
300
๔๕. กข กกา ของการศึกษาพุทธศาสนา
๑๔.ค
250
๔๖. ธรรมะเล่มน้อย
๔๐
250
๔๗. ใจความแห่งคริสตธรรมเท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ
๔๔.ก
300
๔๘. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๒
๓๑.ก
300
๔๙. ฟ้าสางระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๑
๔๖.ค
300
๕๐. ฟ้าสาวระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๒
๔๖.ง
300
๕๑. ชุมนุมปาฐกถาธรรมชุด"พุทธรรม"
๓๒
250
๕๒. สมถวิปัสนาแห่งยุคปรมาณู
๑๔.ข
250
๕๓. นวกานุสาส์น เล่ม ๑
๓๙
300
๕๔. สันติภาพของโลก
๑๘.ข
250
๕๕. ธรรมะกับสัญชาตญาณ
๑๕
250
๕๖. ธรรมศาสตรา เล่ม ๑
๔๐.ก
300
๕๗. อตัมมยตาประยุกต์
๑๒.ข
300
๕๘. ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์
๑๕.ข
300
๕๙. อตัมมยตาประทีป
๑๒.ง
300
๖๐. อตัมมยตาปริทรรศน์
๑๒.ค
300
๖๑. สันทิฏฐิกธรรม
๑๓.ข
250
๖๒. พุทธธรรมประยุกต์
๑๗.จ
250
๖๓. สัมมัตตานุภาพ
๔๐.ฉ
250
๖๔. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๒
๑๖.ก
250
๖๕. โพธิปักขิยธรรมประยุกต์
๑๔.ง
300
๖๖. คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา
๔๐.ข
250
๖๗. อานาปานสติบรรยาย-อภิปราย-สัมมนา
๒๐.ค
300
๖๘. พัสสิกไตรเทศนา
๒๕.ง
250
๖๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๓
๑๖.ข
250
๗๐. คู่มือที่จำเป็นในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
๔๐.ช
250
๗๑. ธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ
๓๗.ง
300
๗๒. มนุสสธรรม
๑๗
400
๗๓. พุทธวิธีชนะความทุกข์
๑๔.จ
300
๗๔. หลักพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
๑๔.จ
300
๗๕. ปัญหาแห่งมนุษยภาพ
๑๗.ฉ
300
๗๖. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๒
๓๗.จ
400
หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด
๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.
๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.
๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.
๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.
๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.
ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.............................................................................................
เมื่อธรรมครองโลก
-๑-
หินโค้ง ๑๔ ก.ค. ๑๖
คำว่า "ธรรม" กับคำว่า "โลก"
ท่าสาธุชน ผู้มีความสนใจในธรรม ทั้งหลาย,
[คำปรารภ]
การบรรยายเป็นครั้งที่ ๑ ของการบรรยายชุดนี้ คือชุดที่เรียกว่า ภาค
อาสาฬหบูชา. ขอให้ท่านทั้งหลายระลึกถึงการบรรยายในชุดที่แล้วมา คือชุด
"ไกวัลยธรรม" ได้บรรยายจบไปแล้ว ได้กล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม"
ในทุกแง่ทุกมุม; และก็มีความสำคัญเนื่องกัน คือว่า ขึ้นชื่อว่า "ธรรม" แล้ว
ไม่ว่าประเภทไหน ย่อมมีลักษณะแห่งไกวัลยตารวมอยู่ด้วย ไม่ปริยายใดก็ปริยาย
หนึ่ง, ตัวไกวัลยธรรมเองนั้น ก็เป็นสักแต่ว่า "ธรรม" อย่างหนึ่ง ด้วยเหมือนกัน.
น.๑
d03203
น.๒ เมื่อธรรมครองโลก
ในวันนี้ เป็นวันแรกของการบรรยายชุดอาสาฬหบูชา ซึ่งจะได้บรรยายโดย
หัวข้อใหญ่ว่า เมื่อธรรมครองโลก ซึ่งจะได้แบ่งออกเป็นตอน ๆ อย่างเดียวกัน.
สำหรับในวันนี้ จะได้กล่าวโดยหัวข้อย่อยว่า คำว่า "ธรรม" กับคำว่า "โลก" ซึ่ง
จะกล่าวได้อย่างมากก็เพียงแต่ การบรรยาย ให้เห็นลักษณะของสิ่งที่เรียกว่า "ธรรม"
กับสิ่งที่เรียกว่า "โลก" ด้วยเท่านั้นเอง; สองอย่างนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ
กันก่อน แล้วจึงจะสามารถเข้าใจในหัวข้อที่ว่า "เมื่อธรรมครองโลก" นั้น จะเป็น
อย่างไร.
โลกตามธรรมชาติมันก็เป็นอย่างหนึ่ง โลกของมนุษย์ที่มีมนุษย์ไปแตะ
ต้อง ไปจัดสรร ไปกระทำให้มันเปลี่ยนแปลงไป ตามอำนาจของมนุษย์ นี้มันก็อย่าง
หนึ่ง; แล้วอย่างไหนเรียกว่า เมื่อธรรมครองโลก คือครองโลกชนิดไหน? นี้จะ
ได้กล่าวกันต่อไปข้างหน้า. เมื่อธรรมครองโลกนั้น มันครองเมื่อไร? ในลักษณะ
อย่างไร? นี้มันแล้วแต่ว่าเข้าใจคำว่า "ธรรม" ในลักษณะอย่างไร?
พึงรู้จักลักษณะของคำว่า "ธรรม" เมื่องครองโลก.
ธรรมที่เป็นธรรมชาติ, เป็นกฏของธรรมชาติ มันก็ครองโลกนี้อยู่
ตลอดเวลา; ส่วนธรรมที่มนุษย์ประพฤติปฏิบัตินั้น มันก็ครองโลกนี้เฉพาะ
ต่อเมื่อมนุษย์ประพฤติปฏิบัติเท่านั้น. ดังนั้น เมื่อกล่าวให้สิ้นเชิงแล้ว คำว่า
"ธรรม" นี้ก็เกิดแบ่งแยกออกไปได้ เป็นธรรมที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ, หรือตัว
ธรรมชาตินั้นเอง. และอีกอย่างหนึ่ง ก็คือธรรมที่คนหรือมนุษย์นี้ปฏิบัติ เป็นการ
ปฏิบัติ แล้วแต่ว่ามนุษย์จะปฏิบัติอย่างไร.
ธรรม กับ โลก น.3
ถ้าเมื่อกล่าว โดยหลักใหญ่ ขอให้นึกถึงคำ ๓ คำ ที่เคยพูดมาแล้ว
มากมายหลายครั้งหลายหน คือว่า ธรรมะที่ดำ ธรรมะที่ขาว และธรรมที่ไม่
อาจจะกล่าวได้ว่าดำหรือขาว.
ธรรมดำ ก็คือ ธรรมะที่ชั่ว ที่ผิด ที่มีผลเป็นความทุกข์. ถัาคนปฏิบัติ
ธรรมะดำกันทั้งโลก ธรรมะดำมันก็ครองโลก; แล้วก็มีผลมาถึงจิตใจของคน ให้
เป็นทุกข์เดือดร้อน.
ถ้าคนประพฤติธรรมะขาวใจของคนก็ขาว; ธรรมะที่ครองโลกก็เป็น
ธรรมะขาว ก็ทำโลกนี้ให้ไม่เป็นทุกข์ไม่เดือดร้อน หรือเรียกว่าอยู่เป็นสุข.
นี้ธรรมประเภทสุดท้าย คือ ธรรมะไม่ดำไม่ขาวนั้น, พ้นโลกเหนือ
โลก ไม่อาจจะกล่าวได้ว่าดำหรือขาว. ถ้าคนโลกพากันประพฤติธรรมะอย่างนี้
ก็เรียกว่าพ้นความเป็นโลก, ไม่มีปัญหาเรื่องดำเรื่องขาว เรื่องบุญ เรื่องบาป เรื่องสุข
เรื่องทุกข์ หรือเรื่องดีเรื่องชั่วอะไรกันอีกต่อไปอย่างนี้; แต่ว่ามีจิตที่หลุดพ้นเหนือ
โลก. ถ้าธรรมะชนิดนี้ครองโลก ก็หมายความว่ายกเลิกสิ่งที่เรียกว่า "โลก" ไม่มีความ
เป็นโลก, มีแต่ความอยู่เหนือโลก.
ขอให้จดจำคำสั้น ๆ ๓ คำนี้ไว้ให้ดี ๆ ทบทวนให้มองเห็นอยู่เสมอ ว่า
ธรรมะที่มนุษย์ประพฤตินั้น ดำก็มี ขาวก็มี พ้นจากดำพ้นจากขาวก็มี. ดำคือ
ชั่ว, ขาวคือดี; พ้นจากดำจากขาว, ก็คือเหนือดำ เหนือขาว เหนือดี เหนือชั่ว.
ถ้าเรายังมีกิเลสมากก็ประพฤติธรรมดำ, ถ้ามีกิเลสน้อยเบาบางไป ก็ประพฤติธรรมขาว,
น.๔ เมื่อธรรมครองโลก
ถ้าเพื่อความหมดกิเลสโดยประการทั้งปวง ก็ประพฤติธรรมที่ไม่ดำไม่ขาว. ธรรมะที่
จะดับทุกข์สิ้นเชิง คือ ธรรมะเพื่อนิพพานนั้น จัดไว้ในพวกที่ไม่ดำไม่ขาว.
นี่แหละขอให้เพ่งเล็งไปยังการประพฤติปฏิบัติของคน ถ้าคนประพฤติ
ธรรมะดำ ธรรมะดำก็ครองจิตใจของคน; แล้วก็ครองโลกนี้ ให้โลกนี้เป็นโลกที่ดำ
คือมืดหรือเป็นทุกข์. ถ้าคนพากันประพฤติธรรมะขาว ; ธรรมะก็ครองใจของคน
ให้เป็นใจที่ขาว ทำโลกนี้ให้เป็นโลกที่ขาว มีความสุข. ถ้าประพฤติเหนือดำเหนือขาว
ก็เป็นอันว่า ไม่ต้องพูดกัน; ไม่มีเรื่องที่จะต้องพูดกัน หรือพูดไม่ได้ว่าเป็นอะไร
คือไม่เป็นโลกนั่นเอง.
นี่ท่านก็จะพอมองเห็นได้เองว่า ที่ว่าธรรมะครองโลกนั้น มันมีลักษณะ
อย่างไร? และที่ว่าเมื่อไรธรรมะครองโลก? นี้ก็ตอบได้ ๒ อย่าง ดังที่กล่าวมาแล้ว
ข้างต้น : ว่าถ้าหมายถึงธรรมะที่เป็นกฎของธรรมชาติ ธรรมะชนิดนี้ก็ครองโลกทั้ง
หมดทั้งสิ้น ทุกความหมาย อยู่ตลอดเวลา. แต่ถ้าคำว่าธรรมะหมายถึงการประพฤติ
ปฏิบัติของบุคคลในโลก ก็หมายความว่า เมื่อใดมีการปฏบัติธรรมะอย่างไร ; เมื่อนั้น
ธรรมะก็ครองโลกเมื่อนั้น, แล้วก็ในลักษณะอย่างนั้น
จะมีผลเป็นอย่างไร? ก็ลองคิดดูได้เอง ถ้าธรรมะดำครองโลก โลก
นี้ก็เดือดร้อน. ถ้าธรรมะขาวครองโลก โลกนี้ก็ไม่เดือดร้อน. ถ้าธรรมะ
เหนือดำเหนือขาวครองโลก โลกนี้ก็เลิกกัน, คือไม่ถึงความเป็นโลก ที่จะเปลี่ยน
ไปเปลี่ยนมา เป็นดำ ๆ ขาว ๆ ดีๆ ชั่ว ๆ บุญ ๆ บาป ๆ กันอยู่อีกต่อไป; มันสิ้นสุด
แห่งความหมายจองคำว่า "โลก".
ธรรม กับ โลก น.๕
ทีนี้เราต้องการชนิดไหนกัน? ต้องการธรรมะดำ หรือธรรมะขาว
หรือต้องการธรรมะไม่ดำไม่ขาว? ต้องการอย่างไรก็ปฏิบัติอย่างนั้น ซึ่งก็ได้อธิบาย
กันมาแล้วตั้งแต่ก่อน ๆ มานี้ หลายครั้งหลายสิบครั้ง จนพอจะรู้ว่าปฏิบัติอย่างไรดำ,
อย่างไรขาว, อย่างไรไม่ดำไม่ขาว.
ทีนี้ เมื่อเรามองเห็นว่า โลกนี้มันกว้างเกินไป จะให้ทุกคนปฏิบัติพร้อมกัน
ไม่ได้; เราคนเดียวก็สามารถที่จำทำให้แก่จิตใจของเราได้. เมื่อจิตใจของเรา
เปลี่ยนไปอย่างไร มันก็มีผลเหมือนกับว่าโลกนี้มันก็เปลี่ยนสำหรับเรา; เช่นว่าเรา
มีจิตใจอยู่เหนือโลก โลกนี้มันก็มีค่าเท่ากับไม่มีสำหรับเรา, โลกนี้มันก็ไปมี
สำหรับคนอื่น ที่จะหลงหรือจะเวียนว่าย หรืออะไรกันไปก็ตามใจเขา. แต่มันไม่มี,
เป็นโลกที่ไม่มี หรือเป็นโลกที่สิ้นสุดแล้ว สำหรับบุคคลที่ประพฤติปฏิบัติจนถึงขั้นนี้.
นี่คือสิ่งที่เรียกว่า "โลก" กับสิ่งที่เรียกว่า "ธรรม" มันจะเป็นของคู่กันมา
อย่างนี้; นี้เมื่อกล่าวตามสมมติที่เราใช้พูดจากันอยู่.
สินค้าที่ดูล่าสุด
- เมื่อธรรมครองโลก-ธรรมโฆษณ... ราคา 250.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
หลักพระพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
รหัส : 14.ฉ-แถบแดง ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 25/04/2011 ผู้เข้าชม : 2,640