สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,384,382 |
เปิดเพจ | 17,034,429 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
สุญญตาปริทรรศน์-ธรรมโฆษณ์
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
38แถบน้ำเงิน
-
เข้าชม
3,658 ครั้ง
ยี่ห้อ
ธรรมโฆษณ์
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี ปั๊มทอง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
29/04/2011 00:00
-
รายละเอียดสินค้า
ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส
เรื่อง สุญญตาปริทรรศน์-ธรรมโฆษณ์
จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา
จำนวน 512 หน้า
(การนับจำนวนหน้าของหนังสือ จะนับเฉพาะส่วนหน้าหา ไม่นับส่วน คำนำ สารบาญ และส่วนท้าย)
www.trilakbooks.com ไตรลักษณ์ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ริมกำแพงวัดญาณเวศกวัน
.......................................................................................................................................
รายชื่อหนังสือชุด ธรรมโฆษณ์
รายชื่อหนังสือ
เลขประจำเล่ม
ราคา
๑. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
๑
350
๒. อิทัปปัจยตา
๑๒
300
๓. สันทัสเสตัพธรรม
๑๓
250
๔. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๑
๓๖
250
๕. พุทธิกจริยธรรม
๑๘
250
๖. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
๓
300
๗.โอสาเรตัพพธรรม
๑๓.ก
250
๘. พุทธจริยา
๑๑
250
๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑
๑๖
250
๑๐. มหิดลธรรม
๑๗.ข
250
๑๑. บรมธรรม ภาคต้น
๑๙
250
๑๒. บรมธรรม ภาคปลาย
๑๙.ก
250
๑๓. อานาปนสติภาวนา
๒๐.ก
300
๑๔. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๑
๓๑
250
๑๕. สุญญตาปริทรรศ์ เล่ม ๑
๓๘
250
๑๖. ค่ายธรรมบุตร
๓๗
250
๑๗. ฆราวาสธรรม
๑๗.ก
200
๑๘. ปรมัตถสภาวธรรม
๑๔.ก
250
๑๙. ปฏิปทาปริทรรศน์
๑๔
250
๒๐. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๒
๓๖.ก
250
๒๑. สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒
๓๘.ก
250
๒๒. เตกิจฉกธรรม
๓๗.ง
250
๒๓. โมกขธรรมประยุกต์
๑๗.ค
250
๒๔. ศารทกาลิกเทศนา เล่ม ๑
๒๖
300
๒๕. ศีลธรรม กับ มนุษย์โลก
๑๘.ข
250
๒๖. อริยศีลธรรม
๑๘.ค
200
๒๗. การกลับมาแห่งศีลธรรม
๑๘.ก
250
๒๘. ธรรมสัจจสงเคราะห์
๑๘.ข
300
๒๙. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
๔
500
๓๐. ธรรมะกับการเมือง
๑๘.จ
300
๓๑. เยาวชนกับศีลธรรม
๑๘.ง
200
๓๒. เมื่อธรรมครองโลก
๑๘.ฉ
250
๓๓. ไกวัลยธรรม
๑๒.ก
250
๓๔. อาสาฬหบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๔
300
๓๕. มาฆบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๒
300
๓๖. พระพุทธคุณบรรยาย
๑๑.ก
400
๓๗. วิสาขบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๓
300
๓๘. ชุมนุมล้ออายุ เล่ม ๑
๔๒.ก
300
๓๙. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข
๓๙.ค
300
๔๐. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๑
๓๗.ก
300
๔๑. อะไร คือ อะไร
๓๗.ค
300
๔๒. ใคร คือ ใคร
๓๗.ข
300
๔๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น - ภาคปลาย
๒
700
๔๔. ราชภโฎวาท
๓๙.ง
300
๔๕. กข กกา ของการศึกษาพุทธศาสนา
๑๔.ค
250
๔๖. ธรรมะเล่มน้อย
๔๐
250
๔๗. ใจความแห่งคริสตธรรมเท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ
๔๔.ก
300
๔๘. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๒
๓๑.ก
300
๔๙. ฟ้าสางระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๑
๔๖.ค
300
๕๐. ฟ้าสาวระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๒
๔๖.ง
300
๕๑. ชุมนุมปาฐกถาธรรมชุด"พุทธรรม"
๓๒
250
๕๒. สมถวิปัสนาแห่งยุคปรมาณู
๑๔.ข
250
๕๓. นวกานุสาส์น เล่ม ๑
๓๙
300
๕๔. สันติภาพของโลก
๑๘.ข
250
๕๕. ธรรมะกับสัญชาตญาณ
๑๕
250
๕๖. ธรรมศาสตรา เล่ม ๑
๔๐.ก
300
๕๗. อตัมมยตาประยุกต์
๑๒.ข
300
๕๘. ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์
๑๕.ข
300
๕๙. อตัมมยตาประทีป
๑๒.ง
300
๖๐. อตัมมยตาปริทรรศน์
๑๒.ค
300
๖๑. สันทิฏฐิกธรรม
๑๓.ข
250
๖๒. พุทธธรรมประยุกต์
๑๗.จ
250
๖๓. สัมมัตตานุภาพ
๔๐.ฉ
250
๖๔. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๒
๑๖.ก
250
๖๕. โพธิปักขิยธรรมประยุกต์
๑๔.ง
300
๖๖. คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา
๔๐.ข
250
๖๗. อานาปานสติบรรยาย-อภิปราย-สัมมนา
๒๐.ค
300
๖๘. พัสสิกไตรเทศนา
๒๕.ง
250
๖๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๓
๑๖.ข
250
๗๐. คู่มือที่จำเป็นในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
๔๐.ช
250
๗๑. ธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ
๓๗.ง
300
๗๒. มนุสสธรรม
๑๗
400
๗๓. พุทธวิธีชนะความทุกข์
๑๔.จ
300
๗๔. หลักพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
๑๔.จ
300
๗๕. ปัญหาแห่งมนุษยภาพ
๑๗.ฉ
300
๗๖. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๒
๓๗.จ
400
หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด
๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.
๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.
๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.
๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.
๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.
ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.............................................................................................
ชื่อเรื่อง สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๑ เล่มที่ ๓๘
d01501
สารบาญ
สุญญตาปริทรรศน์
๑.การบวช คือการฝึกกระทำเพื่อผู้อื่น หน้า๑
๒.การบวช คือการพักผ่อนทางวิญญาณ ๑๘
๓.ความว่างจากตัวกู คือการพักผ่อนทางวิญญาณ ๓๘
๔.การพักผ่อนทางวิญญาณ คือความหมายของนิพพาน ๕๕
๕.ความว่างจากตัวกู คือความเต็มของสติปัญญา ๗๓
๖.ความไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นสติปัญญาสุดยอดอยู่ในตัวของมันเอง ๙๑
๗.ความกำกวมของภาษา เป็นสิ่งที่ควรระวัง ๑๑๐
๘.ผลการค้นคว้า เกี่ยวกับการยึดมั่นถือมั่น ๑๒๘
๙.ขอบเขตของการค้นคว้าทางวิญญาณ ๑๔๕
๑๐.การค้นคว้าทางวิญญาณมีจุดมุ่งหมายตรงไปยังความว่างจากตัวกู ๑๖๔
๑๑.ยูโดทางวิญญาณ ๑๗๙
๑๒.การทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง ๑๙๗
๑๓.ทำไมจึงใช้คำว่า จิตว่าง ๒๑๕
๑๔.ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานด้วยจิตว่าง ๒๒๙
๑๕.ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานด้วยจิตว่าง (ต่อ) ๒๔๕
๑๖.การยกผลงานให้แก่ความว่าง ๒๖๑
๑๗.กินอาหารของความว่าง ๒๗๖
๑๘.ตายเสร็จสิ้นแล้วในตัวแต่หัวที ๒๙๐
๑๙.รู้จักความตายให้ถูกต้อง ๓๐๘
๒๐.รู้จักความตายให้ถูกต้อง (ต่อ) ๓๒๒
๒๑.ความหมายอันสับสนระหว่างความตายกับความอยู่ ๓๓๕
๒๒.โวหารพูดเกี่ยวกับความว่างหรือความตายที่สำคัญที่สุด ๓๕๔
๒๓.การเป็นอยู่ด้วยจิตว่าง ๓๗๑
๒๔.การเป็นอยู่ด้วยจิตว่าง จะสำเร็จประโยชน์ได้โดยวิธีใด ๓๘๙
๒๕.การเป็นอยู่ด้วยจิตว่าง จะสำเร็จประโยชน์ได้โดยวิธีใด (ต่อ) ๔๐๕
๒๖.ธรรมะในฐานะเป็นเครื่องมือพื้นฐานทั่ว ๆ ไป ๔๒๒
โปรดดูสารบาญละเอียดหน้าต่อไป.
สุญญตาปริทรรศน์
-๑- การบวชคือการฝึกกระทำเพื่อผู้อื่น
๔ สิงหาคม ๒๕๑๒
________________________________
พระพุทธเจ้าท่านจะไม่นั่งพูดบนหินอ่อน หรือบนอาคารที่
หรูหรา, ธรรมเทศนา หรือพระสูตรส่วนมากพูดกันที่ไหนก็ได้
แล้วแต่จะมีชนวนให้พูด, มีอะไรที่สะดุดใจที่ไหนท่านก็พูดเรื่อง
นั้นไปเลย. พระสูตรหรือคำสอนทั้งหมดเกิดขึ้นเนื่องจากท่าน
พูดตามที่ต่าง ๆ ไม่เคยมีพูดกันอย่าแบบพิธีรีตองในห้องปาฐกถา
หรือในอาสนะที่สวยงาม. ที่เราพูดกัน ที่หน้าตึกนั้นเห็นว่ามันไม่
เข้ารูป, แต่ทีแรกที่พูดที่นั่น ก็เพื่อฉลองน้ำใจของผู้ที่สร้างตรง
หน้ามุขบันไดนั่น เขาเสียเงินไปสามหมื่นบาท ค่าหินอ่อน ค่าหิน
ขัด, ก็เลยใช้ที่ตรงนั้นเป็นที่พูดบ้าง ให้คนที่ออกเงินได้บุญ.
ที่เป็นตึกรามอย่างนี้ มันไม่ใช่แบบของเรา ซึ่งเป็นภิกษุ บรรพชิตหรือสันยาสี ผู้กินอยุ่กลางดิน
หรือกลางพื้นดิน. ดังนั้เราจึงเปลี่ยนไป เป็นมาพูดกลางพื้นดินอย่านี้เสียบ้าง แล้วก็ให้เป็นพื้นดินมาก
หน่อย. ผมบอกพวกที่มาที่นี่
๒
ทั้งฝรั่งทั้งไทยว่า , แม้ว่าเราอยู่ที่นี่ ๒๐ กว่าปีแล้ว มีอาคารมีอะไรอย่างนี้ แต่การเป็นอยู่ยังสงวนไว้
ให้เป็นแบบพักแรมอยู่เสมอ คือ comping-life พักแรมชั่วขณะที่นั่นคืนที่นี่คืน, จึงขอให้รู้ไว้ว่า เรายัง
มั่นคงในชีวิตแบบพักแรม, การเป็นอยู่แบบพักแรมอยู่เสมอ. เพราะฉะนั้น อย่าไปทำอะไรให้มัน
เหมือนกับคนอยู่บ้านเรือนมีนั่นมีนี่ อย่างนั้นอย่างนี้ แขวนนั่นแขวนนี่, นั้นมันเป็นเรื่องบ้านเรือน, โดย
เฉพาะพวกที่อยู่ทางด้านหลังภูเขา ซึ่งเป็นที่ที่กำหนดไว้ สำหรับการอยู่ตามแบบนั้นโดยเฉพาะ, ส่วนด้าน
หน้านี้ก็เปลี่ยนแปลงไปบ้าง เพราะเปป้นที่รับแขก . ในเรื่อง "พักแรม" อยุ่เสมอนี้ดี, ดังนั้นที่เรา
พูดกันอย่างนี้ที่กลางลานตรงนี้* ก็ให้ถือว่าเหมือนพูดในขณะที่กำลังเดินทางไกล ไปตามตำบลต่าง ๆ
สะดวกที่จะนั่งพูดนั่งคุยกันตรงไหน ก็นั่งที่นั่น อย่างนั้นแหละดี.
สำหรับเรื่องที่จะพูดวันนี้ ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระใหม่โดยเฉพาะ แล้วก็ไม่รู้ไม่ชี้กับพระเก่า, ไม่
นึกถึง เพราะว่าเราเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องพูดกับพระใหม่ ให้เป็นการปลอดภัย. ฟังให้ดี ๆ ให้เป็น
การปลอดภัยไปตั้งแต่แรก เรียกว่าเรื่องรีบด่วน, เรื่องรีบด่วนที่จะต้องพูด.
ทีนี้ผมก็อยากจะเรียกว่า "ทางธรรม" คือเป็นเรื่องรีบด่วนทางธรรม ซึ่งต้องนึกถึงเรื่องรีบด่วน
ทางวินัยก่อน, พอเราบวชพระกันเสร็จในอุโบสถนั้น ก็มีเรื่องรีบด่วนทางวินัย รีบบอกกันทันที คือ :
เรื่องอนุศาสน์ ๘ ซึ่งเป็นเรื่องรีบด่วนทางวินัย, เรื่องอกรณียกิจ ๔ ที่ทำเข้าไม่ได้, ทำแล้วก็ล้มละ
ลายหมด ในความเป็นภิกษุทางวินัย เหมือนที่บอกแล้วในวันบวชนั้น, เรื่องเมถุนธรรม, เรื่องอทินนาทาน
, เรื่องฆ่ามนุษย์, เรื่องอวดอุตริมนุษยธรรม, เหล่านี้เป็นเรื่องรีบด่วนทางวินัย เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้.
------------------------
* ลาน หมายถึง ที่ว่าง เชิงเขาพุทธทองด้านหน้า ที่สวนโมกข์ฯ
๓
อีก ๔ เรื่องก็คือ เรื่องรีบด่วนเพื่อให้เกิดความแน่ใจ ความเบาใจ : ว่าอย่ากลัวอด, อย่ากลัว
ไม่มีอะไรจะนุ่งห่ม จะอยู่จะกินจะใช้ จะรักษาโรค, ให้แน่ใจเสียว่า จะกินอาหารที่ได้มาจากชาวบ้าน,
นุ่งห่มผ้าที่เขาทิ้ง, อยู่โคนไม้, เมื่ออยู่โคนไม้ได้ ก็ไม่มีปัญหา ว่าจะมีกุฎิอยู่หรือไม่. เรื่องยาแก้โรคนั้น
ก็ใช้ของที่ง่ายที่สุด ที่จะหาได้สำหรับสมัยนั้นก็คือเภสัชกลางบ้าน ที่ปรุงขึ้นด้วยน้ำมูต, เขาเรียกวาเภสัช
ทั่วไป จนกระทั่งอนุญาตไว้ว่าไม่ต้องประเคน. มูต คูต ขี้เถ้า ดิน สี่อย่างนี้ ไม่ต้องประเคน ให้
ขวนขวายมาใช้บำบัดโรค, มูต ก็เช่นปัสสาวะที่ใช้เป็นยา , คูต คืออุจจาระ จะเป็นอุจจาระสัตว์
หรืออะไร ก็สุดแท้, แล้วก็ขี้เถ้า แล้วก็ดิน, นี่อยู่ในเภสัชที่เรียกว่าของภิกษุ รวมความหมายอยู่ในคำว่า
ปูติมุตฺตเภสชฺชํ.
เราก็เลยเบาใจ เป็นอิสระทันที เมื่อเรารู้สึกว่าเราไม่ต้องกลัว ในการที่เราเปลี่ยนชีวิตมาใน
แบบที่ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีข้าวกิน จะไม่มีเครื่องนุ่งห่ม, หากินอย่างขอทาน นุ่งห่มผ้าที่เขาทิ้ง อยุ่โคนไม้
เป็ฯที่สุด. ไม่มีอะไรก็อยู่โคนไม้, สำหรับยาแก้โรคนั้นใช้ไปตามบุญตามกรรม ตามที่ชาวบ้านเขามีอยู่มา
แต่โบราณ, อาศัยความเข้มแข็งความทรหดอดทน หรือความต้านทานในร่างกายนี้ยังใช้ได้, อย่าไปหวัง
ว่าจะได้ยาแพง ๆ อร่อยๆ . ทั้งหมดนี้เรียกว่า เรื่องรีบด่วนทางวินัย.
วันนี้ผมจะพูด เรื่องรีบด่วนทางธรรม สำหรับภิกษุใหม่ด้วย.
คำว่า "รีบด่วน" มันก็บอกอยู่ในตัวแล้วว่า สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่าเรื่องใดควรถือว่าเป็นเรื่องรีบด่วน
. สำหรับเรื่องรีบด่วนทางธรรมนี้ คุณจะหาไม่พบในหนังสือ หนังหา ตำรับตำราก็ได้, เพราะว่าเขาไม่
นิยมเขียน. แต่ความจริงมันสำคัญมาก เพราะว่า เมื่อบวชเข้ามาแล้ว จะต้องมีการตั้งต้นที่ถูกต้อง ที่
เป็นรากฐานที่ถูกต้อง , มิฉะนั้นเราจะเสียใจทีหลังว่า เราไม่ได้ทำให้ถูกต้องมาตั้งแต่วินาที
๔
แรก หรือวันแรก , ก็น่าเสียดาย . ความที่ไม่ถูกต้องมาตั้งแต่ทีแรกนั้น ทำให้รากฐานมันเลื่อนลอย ใน
ที่สุดอาจจะแกว่ง แกว่งไปจนเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง.
ทีนี้ เรื่องมันมากนัก, เรื่องต่าง ๆ ถ้าจะเอาโดยรายละเอียดแล้ว มันมากเรื่องนัก, ฉะนั้น
เราอยากจะเลือกเอาเพียงเรื่องเดียว แล้วกินความทั่วไปหมดทุกเรื่อง. ในที่สุดมันก็เป็นเรื่องสรุป ของ
สิ่งที่เราเรียกกันว่า "ธรรมปาฏิโมกข์", ธรรมปาฏิโมกข์คือเรื่องที่พูดอยู่เป็นประจำ ตั้งสองสามปีมา
แล้วที่บันไดตึกนั้น.
สำหรับเรื่องธรรมปาฏิโมกข์ทั้งหมด ไม่ว่าคราวไหน ครั้งไหน มันก็เป็นเรื่องทำลายตัวกู-ของกู
, นั่นแหละเป็ฯเรื่องสำคัญ, เพราะฉะนั้นเมื่อเราพูดถึงเรื่องรีบด่วนในทางธรรมแล้ว ก็ไม่มีอะไร
นอกไปจากเป็นการทำลายความยึดมั่นถือมั่น เรื่องตัวกู-ของกูนั่นเอง, แต่มันมีปัญหายุ่งยากมากตอนนี้
ที่ว่า ทุกหนทุกแห่ง หรือพระมหาเถระ ผู้มีอำนาจท่านห้าม ไม่ให้เอาเรื่องทำลายความยึดมั่นเรื่องตัวตน
นี้มาสอนพระใหม่, แทบทุกหนทุกแห่งเขาห้ามกันอย่างนี้ ว่าไม่ให้เอาเรื่องสูงสุดที่เขาสมมุติเรียก
ว่าโลกุตตระ, เรื่องหลุดพ้น, เรื่องทำลายความยึดมั่น, ซึ่งเป็นเรื่องสูงสุดเอามาสอนพระใหม่ . แต่
เรามันเห็นด้วยไม่ได้ เราเห็นว่ามันไม่มีเรื่องไหน, มันทีเรื่องเดียว , จะเป็ฯพระใหม่หรือพระเก่าก็ตาม
มันมีเรื่องเดียว : เรื่องหาวิธีทางใดทางหนึ่ง ตามความเหมาะสมแก่ฐานะของตน แล้วทำลายความ
ยึดมั่นว่าตัวกู-ว่าของกูนี้. แม้พระบวชใหม่เข้ามาใหม่ ๆ ทำไม่ได้มากก็จริง, แต่ก็ต้องมีความถูกต้อง
คือตรงจุด, ต้องเป็นความตรงจุด ถูกต้องในเรื่องนี้.
การทำลายความยึดมั่นถือมั่นนี้ มีได้หลายระดับเหมือนกัน, ถ้าเราจะเอาตั้งแต่ระดับที่อาจจะ
ประพฤติได้แม้พระใหม่ ก็จะเป็นการตั้งต้นที่ตรงจุด ถูกต้องรวดเร็ว คุ้มกับที่ว่ามีโอกาสบวชเพียง
สามเดือน. ถ้าจะให้ไปเรียนอย่างที่เขากำหนดไว้เรียนธรรมะเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วก็เรียนคิหิปฏิบัติ ใน
เดือนสุดท้ายนั้น อย่างนี้ผมไม่เห็นด้วย,
๕
แต่ไม่ต้องออกชื่อ เดี๋ยวจะเป็นการกระทบกระเทือน , ผมถือเสียว่า คิหิปฏิบัติอย่างนี้บางคนก็มีอยู่แล้ว ,
แล้วไปอ่านเอาเองก็ได้ ไม่ต้องมาพูดมาเรียนมาอะไรให้เสียเวลาที่มีค่า, อย่างที่เราบวชเพียงสาม
เดือนนี้ ต้องถือว่าเป็ฯเวลาที่มีค่า เป็นทองคำ, ถ้าไปเรียนเรื่องที่ไม่จำเป็น ก็น่าเสียดาย. ฉะนั้นจึง
มีความเห็นว่า ชั่วบวชเพียงสามเดือนนี้ ต้องรีบเรียนเรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่น โดยตรง. แล้วก็ให้พอเหมาะ
สมแก่ระดับ.
คำว่า "เรียน" ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าเรียนอ่านอย่างเดียวแต่เป็นการเรียนทำ, เป็นการ
เรียนกระทำ.
ให้ถือไว้เป็นหลักว่า ในพุทธศาสนา เมื่อพูดว่า ศึกษาหรือเล่าเรียนเขาหมายถึงการกระทำทั้งนั้น
การกระทำลงไปเลย นั่นแหละคือการเล่าเรียน , ฉะนั้นเราต้องถือโอกาสทำเลย โดยไม่ต้องเรียนชื่อ
เรียนเสียง หรือเรียนทฤษฎีอะไรกันมากนัก. ให้รีบตั้งต้นเสียเลย ในการกระทำที่ว่านี้ โดยมีหัวข้อง่าย
ๆ ว่า : เมื่อก่อนบวชจนกระทั่งวันบวชนี้ ทำอะไร ๆ เพื่อตัวเองทั้งนั้น, แต่พอบวชเข้ามาแล้วอย่างนี้
ต้องเปลี่ยน เปลี่ยนอย่างกลับหลัง ต้องทำอะไร ๆ เพื่อไม่ใช่ตัวเอง จะเรียกว่าเพื่อความว่างก็ได้,
แต่ว่าฟังมันสูงไป ถ้าเรียกว่า เพื่อผู้อื่น มันค่อยยังชั่ว . แต่ถ้าเพื่อผู้อื่น ก็เปรียบได้ว่า ไม่ใช่เพื่อตัวเอง
อยู่เหมือนกัน.
นับแต่บวชเข้ามาแล้วนี้ เราต้องเปลี่ยนกลับหลังตรงกันข้ามในข้อที่ว่า เคยทำเพื่อตัวเองนั้น จะ
ต้องเปลี่ยนเป็นทำเพื่อผุ้อื่น. เมื่อก่อนนี้มีอาชีพ ตามความสามารถของตน ๆ หาเงินหาชื่อเสียง หา
อะไรก็ตาม เพื่อตัวเองทั้งนั้น, เพื่อผู้อื่นก็แต่ปากเท่านั้น, ที่จริงมันก็เพื่อตัวเอง หาเงินไว้ให้มาก
อย่างนั้น ซึ่งก็เป็นเรื่องของฆราวาส มันก้อยู่อีกส่วนหนึ่ง, หรือว่าอย่างนั้นมันก็เป็นเรื่องที่แล้วไปแล้ว ,
เดี๋ยวนี้ย่างเข้ามาในการบวชนี้มันก้ต้องตรงข้าม, หัวข้อใหญ่มีอยู่อย่างนี้.
๖
ต่อไปนี้ ตลอดเวลาก็ให้ทำทุกอย่างไม่ใช่เพื่อตัวเอง, พูดตามภาษาธรรมดาก็คือ : ให้ทำเพื่อ
ผู้อื่น เพื่อสิ่งอื่น เพื่อส่วนรวม เพื่อศาสนา เพื่ออะไรก็ตาม, แล้วในระดับที่สูงสุดก็เพื่อความว่าง, ทำ
ด้วยจิตว่าง เพื่อความว่าง, ว่างจากตัวกู-ว่างจากของกูนั่นแหละ. คุณจะต้องเข้าใจคำนี้เป็นเบื้องต้น
เป็นวันแรก, เป็นบทเรียนข้อแรก, เป็นการพูดกันครั้งแรก, นี้คือเรื่องรีบด่วน.
งานก็ยังคงมีให้ทำ แม้เรามาอยู่ในสภาพอย่างนี้, หรือแม้ที่สุด แต่กำลังเดินทางอยู่กลางทาง
มันก็มีงานทำ ถ้าอยากทำสิ่งที่เป็นประโยชน์. อย่างเราเดินทางไกลนี้ พบศาลาเข้าหลังหนึ่ง นั่งพักร้อน,
ก็ช่วยรักษาความสะอาด ทำความสะอาด ทำความเรียบร้อย ทำอะไรก็เพื่อผุ้อื่นทั้งนั้น, เสร็จแล้วเรา
จากไป. สำหรับทีนี่อยากจะให้มีชีวิตแบบพักแรก แต่ก็ยังทำอะไรได้ , เมื่อที่ไหนกินอาหารได้ ที่นั่นก็
ทำงานได้, ต้องมีการทำงาน แล้วก็เพื่อผู้อื่น ซึ่งไม่ใช่ตัวเอง, แล้วในที่สุดในระดับสูงบสุดก็เพื่อความ
ว่าง ซึ่งไม่ใช่เราเอง หรือไม่ใช่ใครด้วย. คือไม่ใช่เพื่ออะไรทั้งหมด.
เมื่อพูดอย่างนี้ ฟังดูคล้ายกับเรื่องสูงสุดเลย คือเรื่องนิพพานไปเลย, มันก็จริงเหมือนกัน. แต่
นิพพานก็ปฏิบัติได้ แม้ในหมู่คนที่ยังเป็นฆราวาสด้วยซ้ำไป. ฆราวาสนั้นยากที่จะทำ เพราะว่ามีอะไรผูก
มัดมาก, ที่เป็น ๆ มาแล้ว ก็ปรากฏอยู่แล้วว่า ทำไม่ได้, ถือกันว่าทำไม่ได้, หรือทำได้น้อยเต็มที, ที่จะ
ทำเพื่อผู้อื่น หรือทำเพื่อความว่าง มันทำได้น้อยเต็มที เพราะมันไม่เป็นอิสระแก่ตัว.
ทีนี้พอมาเป็นนักบวช ก็เป็นอิสระแก่ตัวเหมือนกับนกมีแต่ปีก บินไปไหนก็ไปได้ แล้วก็เป็นการสละหมด
, ตอนที่บวชนี้ต้องเป็นการสละหมด. ขอบอกให้รู้ไว้ว่า : จะเป็นลูกหรือเป็นเมีย หรือเป็นทรัพย์สมบัติ
เป็นบิดามารดาอะไรก็ตาม,
๗
ความหมายของคำว่าบวช คือสละสิ่งเหล่านั้นหมด, ไม่ใช่เรื่องทารุณหรือโหดร้ายต่อใคร, แต่ว่าการบวช
มันหมายความว่าอย่างนั้น. เดี๋ยวนี้เราเป็นคนฟรีจากความผูกพัน เป็นอิสระจากความผูกพัน, ดังนั้น
ต้องทำอะไรได้มากอย่างตรงกันข้ามกับเมื่อก่อนบวช.
ถ้าเราตั้งใจว่าจะบวชสามเดือน ก็เป็นการแสดงอยู่ในตัวแล้วว่า จะเป็นการฝึกหัด, เป็นการ
ฝึกหัด ชั่วบวชสามเดือนนี้ เป้นการเรียนบทใหม่บทหนึ่ง, ฉะนั้นมันต้องไม่เหมือนกับที่ไม่ได้บวช ถ้าเหมือน
กันเสียแล้วมันจะมีประโยชน์อะไรในการที่มาบวช, ป่วยการ. ดังนั้นจึงต้องมีบทเรียนใหม่ ชนิดที่ไม่
เหมือนกันชนิดที่ตรงข้ามเลย.
การบวชจะมีประโยชน์อะไร? ตอบว่ามีประโยชน์มาก แล้วจำเป็นด้วย, เพราะว่าเราทำเพื่อตัว
ทำด้วยความเห็นแก่ตัวนั้นมันมากนัก, มากเกินควรทั้งนั้น.
อย่างที่คุณมีครอบครัว, มีการงาน , มีอะไร แล้วมาบวชนี้ ยิ่งแสดงชัดเลยว่า มันมากเกินควร.
ส่วนที่เป็นหนุ่ม ยังไม่มีครอบครัว ก็เห็นกันอยู่ว่า : ตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งหนุ่มนี้ ก็ล้วนแต่ทำเพื่อตัวเอง
ทั้งนั้น, ไม่เคยทำบทเรียนเพื่อผู้อื่น หรือเพื่อสละออกไปเพื่อความว่างเลย.
ทีนี้ เราก็เป็นผู้ขาดความรู้ในส่วนเพื่อผู้อื่น, แล้วก็เกินมากในความรู้ส่วนที่เห็นแก่ตัว. ความรู้
ฝ่ายที่จะทำเพื่อตัวนั้น มันเฟ้อ หรือเหลือ เกินมากไป, ดังนั้นเราก้ต้องมาเรียนความรู้ประเภทที่ไม่เห็น
แก่ตัวนี้ชดเชย , หรือเอาไปเป็นเครื่องถ่วง เครื่องควบคุมความเห็นแก่ตัว ต่อไปข้างหน้า, เมื่อสึก
กลับออกไป จะได้
๘
ความรู้เหล่านี้ไปควบคุมความเห็นแก่ตัว, และจะได้ผลดีด้วย. แต่ถ้าไม่สึกมันก็จะยิ่งถูก, เพราะเรื่อง
บวชนี้มีแต่เรื่องเดินออกไปสู่ความหมดตัว. ดังนั้นการตั้งต้น ทำบทเรียน ที่ทำลายความเห็นแก่ตัวนี้เป็น
เรื่องถูก , ถูกที่สุดเลย, ดังนั้นจึงเป็นอันว่าถูกทั้งผู้ที่จะสึก และถูกทั้งผู้ที่จะอยู่ต่อไป.
ขอให้ถือว่า ที่แล้วมานั้นมีความรู้ฝ่ายที่เห็นแก่ตัว อย่างเกินขอบเขตเกินความพอดี จนเป็นอันตราย
, จนบางคนก็เริ่มปวดหัว เริ่มเป็ฯโรคเส้นประสาทเสียแล้ว จึงมาบวช. บางคนบวชไม่ได้ ก็ต้อง
อุตส่าห์มาที่วัดเพื่อไต่ถาม เพื่อศึกษาเรื่องนี้, นี่ก็เพราะโทษของความเกิน ในความรู้เรื่องเห็นแก่ตัว
เรื่องการกระทำเพื่อตัว . บัดนี้เราจำต้องมีบทเรียนที่กลับตรงกันข้าม คือบทเรียนทำเพื่อผู้อื่นเพื่อไม่ใช่ตัว.
แต่ก็มีปัญหาอยู่ที่ว่า กลัวว่าทุกคนจะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย จะเห็นว่าบทเรียนนี้เป็นเรื่อง
เล็กน้อย ไม่มีความสำคัญ. ที่จริงบทเรียนนี้จะช่วยชีวิตในอนาคตให้มีค่า หรือให้มีความสุข หรืออะไร
อย่างนั้น แล้วก็ปล่อย ๆ ให้มันเลือน ๆ ไป, หัวเราะเสียมากกว่า, ในวันหนึ่งคืนหนึ่งมีแต่เรื่องหัวเราะ
เสียมากกว่า , ถ้าทำก็ทำเพื่อหัวเราะ หรือว่าทำเพื่อเห็นแก่ตัวอีกปริยายหนึ่ง.
เห็นแก่ตัวอีกปริยายหนึ่ง หมายความว่าทำให้เขารัก ทำให้เขาชอบใจ ให้เขายกย่อง ให้เขา
เห็นว่าเป็นคนเก่ง, ถ้าอย่างนี้ก็ยังไม่พ้นไปจากความเห็นแก่ตัว. ฉะนั้นใครจะทำอะไรหน้าที่ไหนก็ตาม
อย่างในวัดเรานี้มีหน้าที่มากมายหลายหน้าที่, ใครจะทไหน้าที่ไหนก็ตาม ระวังอย่าไปย้ำหมุดย้ำหัวตะปู
เรื่องความเห็นแก่ตัวเข้าอีก มันจะถอนไม่ขึ้น. ขอให้มีสติสัมปชัญญะ ระวังอยู่ทุกกระเบียดนิ้ว
๙
ว่าทุกอย่าง, การเคลื่อนไหวทุกอย่างนี้ เพื่อถอนความเห็นแกตัว. การงานโดยตรงก็ดี หรือการงาน
โดยอ้อมก็ดี, หน้าที่ของภิกษุสามเณรก็ดี จะต้องเพื่อทำลายความเห็นแก่ตัวทั้งนั้น, ให้เต็มอยู่ด้วย
สติสัมปชัญญะ มีสติสัมปชัญญะอย่างยิ่ง มีความไม่ประมาทอย่างยิ่งอยู่ตลอดเวลา.
ยกตัวอย่างเช่นว่า : หน้าที่ของภิกษุสามเณรจะต้องไปบิณฑบาตอย่างนี้ ต้องมีความสำนึกในการ
ที่ทำลายความเห็นแก่ตัวแสมอ : กล่าวคือทำลายความรู้สึกที่ถือว่า ตัวดีวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้, ให้รู้สึก
ว่าขณะนี้ตัวเป็นคนขอทานแล้ว เป็นเปรตชนิดหนึ่งแล้ว . เมื่อเดินไปบิณฑบาตนั้น ปัจจเวกขณ์. ให้รู้
สึกว่าเดี๋ยวนี้เราเป็นเปรตชนิดหนึ่ง คือขอทาน ตามที่เขาจะให้, ชีวิตนี้เป็นอยู่ด้วยผุ้อื่น ก็จะลดความ
เย่อหยิ่งจองหอง ลดความทะนงตัว ลดอะไรได้หมด เพราะเราเป็นคนขอทาน. นี้เป็นตัวอย่าง ว่าแม้
แต่ทำงานบิณฑบาตตามหน้าที่ของภิกษุนี้ ก็ยังทำเพื่อทำลายความเห็นแก่ตัว.
เดี๋ยวนี้ผมเคยเห็นทั่ว ๆ ไป เดินสูบบุหรี่กันไปพลาง คุยกันไปพลางหัวเราะกันไปพลาง บิณฑบาต
กันไปพลาง มันไม่มีลักษณะที่ว่า ประพฤติธรรมะเหลืออยู่เลย. ฉะนั้นจึงยกมาเป็นตัวอย่าง ว่าเรานี้ไป
บิณฑบาตอย่างขอทาน, สำนึกอยู่ในฐานะของผู้ไม่มีความทะนงตัว, แล้วก็ปัจจเวกขณ์อย่างสูงสุดคือ "
ยถาปจฺจยํปวตฺตมานํ ธาตุมตฺตเมเวตํ ฯลฯ" นั้นอยู่ โดยเนื้อความโดยความรู้สึกว่ากำลังไม่มีตัว : ผู้
ที่กำลังเดินไปขอนี้ก็ไม่ใช่ตัว, ข้าวที่ได้มา ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเรียกว่าตัว หรือว่ามาสนับสนุนตัว, ทั้งผู้ใส่บาจร
ผู้รับบาตร ของที่ใส่บาตรอะไรก็ตามให้ดูโดยความเป็นของว่างจากตัวอยู่เสมอ, เพียงเท่านี้จะมีผลสูง
สุดในการบวช เหลือที่จะพูด.
๑๐
ถ้าคุณเดินสูบบุหรี่กันไปพลาง คุยกันไปพลาง หัวเราะกันไปพลาง มันก็แย่, แล้วบางทียิ่งกว่านั้น
มีทางจะเกิดกิเลสอีกมากมาย : บิณฑบาตบ้านนี้ สกปรกบ้าง หรือว่าอะไรบ้าง, หรือว่าอยากจะได้
ของดี ๆ บ้าง, หรือถ้าเป็นเรื่องอย่างที่เหมือนทางกรุงเทพฯ แย่งชิงกันเลยอย่างนี้บ้าง มีเรื่องโกรธ
เรื่องทะเลาะวิวาทกัน ในระหว่างผู้ที่ไปบิณฑบาตนั้นก็มี, อย่างนี้เรียกว่าหมดเลย, "ตัวตน" มันออก
มาถึงขนาดทะเลาะวิวาทกันทั้ง ๆ ที่ยังถือบาตรอยู่. นี่แหละการงานหรือหน้าที่ของพระแท้ ๆ ก็ต้องทำไป
เพื่อความไม่มีตัว. นี้เป็นตัวอย่าง อย่างหนึ่งในหลาย ๆ อย่างของแบบในการทำตามหน้าที่ของนักบวช.
ทีนี้ส่วนที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง เช่นในวัดเราก็มีงานเหน็ดเหนื่อยเหงื่อไหลไคลย้อย เพื่องานของ
วัดก็มี, แล้วก็ยังมีงานเพื่อสงเคราะห์กันเป็นส่วนตัวก็มี, เพราะเมื่ออยู่ร่วมกันอย่างนี้ ก็ย่อมมีการชอบ
พอกัน ระหว่างคนนั้นคนนี้เป็นส่วนตัว แล้วก็มีการช่วยเหลือกันตามความสามารถ. แม้อย่างนี้ก็ต้อง
เรียกว่า ต้องระวัง อย่าให้เป็นไปเพื่อ เพิ่มตัว เพิ่มความทะนงตัว. อย่าทำไปเพื่อแสดงความสามารถ
ให้เขายกย่อง , อย่าทำไปเพื่อให้เกิดความผูกพัน เป็นประโยชน์, หรืออย่าทำอะไรอย่านั้น. ให้ระวัง
ไว้เสมอว่า ช่วยฟรี, ช่วยฟรี, ช่วยอย่างไม่เอาอะไรกลับเข้ามา, ให้ความเหน็ดเหนื่อยของเรา,
หรือความลำบากของเรานี้ เป็นประโยชน์แก่ผุ้อื่นโดยที่เราไม่เอาอะไร นอกจากการทำลายความเห็น
แก่ตัว. ถ้าเราไปเกิดอยากเอาอะไรเข้ามันไม่ทำลายความเห็นแก่ตัว, เราก็ขาดทุนยุบยับเลย.
ขออย่าไปอวดดีว่า เราไปช่วยเขา แล้วให้เขาขอบใจ, แล้วเราก็ดีแล้ว, อย่างนี้มันไม่ถูก ,
มันยังไม่ดี , มันไปเหมือนกับชาวบ้านเขาทำ. เมื่อเราเป็นพระเราก็ต้องเอาแต่ความไม่เห็นแก่ตัว
ทำเพื่อ ผู้ได้รับความช่วยเหลือได้รับไปก็แล้วกัน ไม่หวังความผูกพันฉันท์มิตร ฉันท์เพื่อน ที่จะต้องช่วย
เหลือตอบแทนซึ่งกันและกัน.
๑๑
ไม่ต้องการคำขอบใจ ไม่ต้องการคำยกย่องสรรเสริญ. ต้องทำอย่างนี้ จึงจะเป็นเรื่องที่ตรงกับเรื่อง
ของการบวช, ถ้าไม่อย่างนั้นจะเป็นเท่าเดิม เท่าเมื่ออยู่ที่บ้าน, อยู่ที่บ้านทำอะไรให้ใคร ก็หมาย
ความว่า เพื่อผูกพัน เพื่อขอบใจ เพื่อเกียรติ เพื่ออะไร ไปตามเรื่อง. อยู่ที่นี่เวลาสามเดือน บวช
สามเดือนของคุณจะมีไม่พอ, ระวังให้ดี ๆ , ฉะนั้นให้รีบหัดเสียแต่แรก แม้ที่ช่วยกันเป็ฯส่วนตัว. งาน
ที่มนุษย์จะต้องช่วยกันเป็ฯส่วนตัว ก็ยังต้องระวัง ให้เป็นเรื่องทำลายความเห็นแก่ตัวไปเรื่อย.
เมื่อพูดถึงงานของวัด ที่เหน็ดเหนื่อยเหงื่อไหลไคลย้อย มีอยู่หลาย ๆ พวก หลาย ๆ ชนิด เป็น
ประจำวันนี้ ยิ่งสำคัญมาก, ทำผิดนิดเดียว ก็จะวกไปเพิ่มการทะนงตัวได้เหมือนกัน. ฉะนั้นระวังให้ดี
ให้เป็นเรื่องทำลายความทะนง ความมีตัว ความเห็นแก่ตัวไว้เรื่อยไป, จนกระทั่งว่า ใช้วิธีที่ปลอดภัย
คือนิ่งเงียบ ไม่พูด, แบบไม่ให้ใครรู้ แบบปิดทองหลังพระ นั่นแหละยิ่งดี . การปิดทองหลังพระนั้นได้บุญ
มากกว่าปิดทองหน้าพระ, เพราะว่า การปิดทองที่หน้าพระ มันเพิ่มตัว, เพิ่มความเห็นแก่ตัว ความทะนง
ตัว.
การปิดทองหลังพระนั้น ได้บุญมากกว่าที่ปิดทองหน้าพระเพราะว่า การปิดทองที่หน้าพระมันเพิ่มตัว
มันเพิ่มความเห็นแก่ตัว ความทะนงตัว.
การปิดทองหลังพระนั้น อย่างไร ๆ มันก็ต้องไม่เพิ่มความทะนงตัว , ไม่เพิ่มความอะไรที่เป็นตัว
ๆ , ไม่เพิ่มความเห็นแก่ตัว. ฉะนั้นเรายิ่งต้องระวังมาก เพราะว่าวันหนึ่งก็มีหลายชั่วโมง ในการทำ
งานอาจจะเผลอได้มาก เผลอได้หลาย ๆ ครั้ง. แบบฝึกหัด หรือบทเรียนที่ดีที่สุดนรั้น จึงอยู่ที่เมื่อทำงาน
, ไม่ใช่อยู่ในโรงเรียนนักธรรม หรือในโรงเรียนบาลี หรือในโรงเรียนอะไรก็ตาม , แม้กระทั่งการ
มานั่งพูด
๑๒
กันอยู่อย่างนี้. บทเรียนที่แท้จริง ที่ดีที่สุดนั้นอยู่เมื่อขณะที่ทำงาน คือเมื่อประสบอารมณ์. พูดภาษาธรรมะ
หน่อยก็ว่า เมื่ออารมณ์มากระทบ, พูดภาษาธรรมดา ๆ ก็ว่าเมื่อทำงาน.
ขอบอกว่า เมื่อทำงานนั่นแหละ เป็นบทเรียนที่ดี เป็นการสอบไล่ที่ดี, เพราะเวลานั้นแหละ คือ
เป็นเวลาที่อารมณ์กระทบ, อารมณ์มากชนิดจะกระทบ . แม้แต่ตัวงานนั้นก็เป็นอารมณ์, ตัวงานที่เราทำ
นั่นแหละ ตามภาษาธรรมะก็ต้องเรียกว่าอารมณ์, ตัวงานที่เราทำนั่นแหละ ตามภาษาธรรมะก็ต้อง
เรียกว่า อารมณ์ชนิดหนึ่งเข้ามาเกี่ยวข้อง.
ทีนี้ เราต้อนรับงานนั้นด้วยลักษระอย่างไร? ต้อนรับอารมณ์นั้นด้วยลักษณะอย่างไร? ก็คือต้อนรับ
โดยลักษณะที่จะไม่เกิดตัวกู-ของกูนั่นแหละ. เมื่อทำงานก็ต้องมีบุคคลที่ ๒ ที่ ๓ ผู้เกี่ยวข้องนั่นและจะทำ
ให้เกิดกระทบอารมณ์ที่ร้ายกาจยิ่งขึ้นไปอีก, มันเต็มไปด้วยอารมณ์ เต็มไปด้วยการกระทบของอารมณ์
เต็มไปด้วยบทเรียนและการสอบไล่.
สำหรับทางนามธรรม ทางธรรมนี้ มีบทเรียนที่ไหน ก็มีการสอบไล่ทันที พร้อมไปในตัว, ไม่
เหมือนเรื่องทางโลก ๆ เรียนหลาย ๆ เดือนสอบไล่กันทีหนึ่ง ครบปีสอบไล่กันทีหนึ่ง นั้นเรียกว่ามันเป็น
เรื่องเหลวไหลมาก. ถ้าเป็นเรื่องธรรมะแล้ว ขณะที่ลงมือเรียน ก็เป็นการสอบไล่ทันที. เมื่อคุณกระทบ
อารมณ์อย่างนี้คุณจะต้องทำอย่างไรกับมัน, นั่นแหละเป็นบทเรียน, แล้วการทำผิดหรือทำถูกก็เป็นการ
สอบไล่, แล้วภายในหนึ่งนาทีนั่นแหละ มันเกิดตัวกู-ของกู เป็นทุกข์เหมือนตกนรกขึ้นมาก็ได้, มันเป็นการ
สอบไล่ทันควัน.
เราจะต้องระวัง ให้เป็นการกระทำที่ถูกต้อง คือเป็นบทเรียนหรือการสอบไล่ที่ดี ที่ทำลายตัวกู
อยู่เสมอ , ทีนี้ก็ไม่มีอะไร ที่จะไม่ทำอย่างนี้ . อย่าง
๑๓
สมมุติว่ากิจวัตรการไหว้พระสวดมนต์ ก็เหมือนกันอีก, แปลว่า ทุกอิริยาบถที่เคลื่อนไหวไปในรูป เดิน ยืน
นั่ง นอน อะไรก็ตาม ล้วนแต่เป็นบทเรียนไปหมด, กระทั่งว่าจะต้องระวัง แม้แต่เมื่อทำกรรมฐานนั่น
แหละ, ทำสมาธิ ทำวิปัสสนา ทำกรรมฐาน, ทำอะไรก็ตาม , เมื่อนั้นแหละจะเกิดตัวกู-ของกู ได้
เหมือนกัน, ก็เป็นเวลาที่ต้องระวังเหมือนกัน.
การทำกรรมฐาน ทำวิปัสสนาก็ดี ต้องรู้ว่าทำด้วยความมุ่งหมายอะไร? ด้วยความต้องการอะไร?
ที่ทำด้วยความโง่ ทำเพ้อ ๆ ไปก็มี, บางทีก็ทำด้วยความอยากเด่น อยากจะอวดคนอย่างนี้ก็มี, ถึงแม้
แต่จะพูดว่าทำเพื่อนิพพาน นี้มันก็ไม่พ้นที่ว่าทำให้ดีกว่าคนอื่น ๆ , ทำเพื่อดีกว่าคนอื่น อย่างนี้จะฉิบหาย
หมดเหมือนกัน. แต่ถ้าว่าเขาทำด้วยความรู้สึกว่า โอ๊ย อ้ายโรคตัวกู - ของกู มัรบกวนนักแล้วโว้ย,
ไม่มีทางอื่นแล้ว ต้องทำ , อย่างนี้แล้วคือทำวิปัสสนานี้. เมื่อทำเข้ามันจึงจะบรรเทาตัวกูของกู มันก็
เป็นวิปัสสนาจริง เป็นกรรมฐานจริง. เดี๋ยวนี้มันไม่เป็นอย่างนั้น โดยมากเขาทำวิปัสสนาเพื่อหลอกตัว
เอง ว่าได้ดี ได้ของวิเศษ, มีหวังว่าจะไปนิพพานอย่างนี้. บางทีก็ทำเพื่อลาภสักการะ ให้เข่บูชา,
บางทีก็แต่งหนังสือ อะไรก็เพื่อเอาปริญญา เกี่ยวกับการแต่งหนังสือเรื่องพุทธศาสนา นั่นเอง.
ถ้าคุณนึกออกว่า ยังมีอะไรอยู่อีกก็ลองนึกดู. ผมสามารถที่จะพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า ทุกอย่างเป็น
โอกาสที่จะเกิดตัวกู-ของกู ยิ่ง ๆ ขึ้นไป, หรือเกิดความทะนงตัวยิ่ง ๆ ขึ้นไป. ดังนั้นจึงขอให้กลัวให้
มาก : ให้ยิ่งกว่ากลัวเสือกลัวอะไรไปเสียอีก, ให้กลัวการเกิดแห่งตัวกูนี้ กลัวยิ่งกว่ากลัวอะไร ยิ่ง
กว่ากลัวเชื้อโรค, ยิ่งกว่าผีสาง ยิ่งกว่าเสือ ยิ่งกว่าโจร ยิ่งกว่าอะไรหมด.
๑๔
นี่แหละคือเรื่องรีบด่วนฝ่ายธรรมะที่ต้องพูดกัน เราก็บวชเข้ามาตั้ง ๖-๗ วันแล้ว, เรื่องบุพภาค
บุพกิจ อะไรมันก็พอจะเสร็จ ๆ ไปแล้ว.
ทีนี้ก็ขอให้ตั้งต้นเรื่องที่เป็นหัวใจของการบวช , ซึ่งเป็นเรื่องเนื้อหาจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องบุพกิจ,
ฉะนั้นจะต้องพูดน้อย จะต้องนิ่งมาก คิดมาก แล้วก็ระวังมาก.
แต่ที่บวชกันมานี้ยังไม่เป็นอย่างนั้น, สังเกตดูไม่ค่อยจะเป็นอย่างนั้น, มีการพูดมาก แล้วก็พูด
เรื่องอื่น มักจะคุยไม่มีหยุด , แม้ไม่ใช่เรื่องพูดเพียงแต่หัวเราะก็เถอะยังใช้ไม่ได้. และถ้าเป็นการ
พูดเรื่องอื่นแล้ว ก็ไม่ช่วยให้จิตใจลดตัวกูลง, หรือว่าไม่ช่วยให้จิตใจอยู่ในภาวะที่สงบ หรือเหมาะสมที่จะ
เข้าใจเรื่องหัวใจของการบวช.
เดี๋ยวนี้พูดกันมากเกินไป แล้วก็อ่านหนังสือที่ไม่มีประโยชน์มากเกินไป, นี่ก็คิดดูเถอะว่ามันเสีย
เวลาไปเท่าไร. ที่โรงฉันนั่นแหละ ได้ยินคุยกันในเรื่องไม่จำเป็นกันมาก, หรือว่านั่งรอกันอาบน้ำ ก็คุย
กันในเรื่องไม่มีสาระ, มารอตักอาหารบิณฑบาตที่โรงฉัน ก็ไม่ได้คุยกันในเรื่องที่มีสาระ คือเรื่องทำลาย
ตัวกู-ของกู แต่ไปคุยกันแต่ละเรื่อง ๆ ชนิดที่ส่งเสริมเรื่องความทะนงแห่งตัวกู , อย่างนี้มันก็แย่,
แล้วจะไม่ให้ผมเรียกว่า มันเป็นเรื่องรีบด่วนอย่างไร. มันเป็นเรื่องรีบด่วนเหมือนกับคนกำลังจะตาย
จะต้องไปตามหมอมาให้ทันท่วงที, มิฉะนั้นมันตาย.
นี่ก็ขอให้ระวังในเรื่องบวชใหม่นี้ แล้วเวลาก็มีเพียงสามเดือน ถ้าจัดไปไม่ดี ใช้ไปไม่ดีจะไม่คุ้มกัน
, เว้นเสียแต่จะไปถืออย่างละเมอตามเขาว่า : บวชแล้วมันก็ได้แล้ว บวชแล้วมันก็ได้แล้ว ได้บวช
เหลือง ๆ แดง ๆ แล้วมันก็ได้แล้ว
จากไตรลักษณ์ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ริมกำแพงวัดญาณเวศกวัน www.trilakbooks.com
สินค้าที่ดูล่าสุด
- สุญญตาปริทรรศน์-ธรรมโฆษณ์ ราคา 300.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
หลักพระพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
รหัส : 14.ฉ-แถบแดง ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 25/04/2011 ผู้เข้าชม : 2,640