สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,384,844 |
เปิดเพจ | 17,034,903 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข (ระดับมหาวิทยาลัย)-ธรรมโฆษณ์
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
39.คแถบน้ำเงิน
-
เข้าชม
2,825 ครั้ง
ยี่ห้อ
ธรรมโฆษณ์
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี ปั๊มทอง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
29/04/2011 00:00
-
รายละเอียดสินค้า
ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส
เรื่อง ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข (ระดับมหาวิทยาลัย)-ธรรมโฆษณ์
จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา
จำนวน 351 หน้า
(การนับจำนวนหน้าของหนังสือ จะนับเฉพาะส่วนหน้าหา ไม่นับส่วน คำนำ สารบาญ และส่วนท้าย)
www.trilakbooks.com ไตรลักษณ์ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ริมกำแพงวัดญาณเวศกวัน
หรือดูรายละเอียดหนังสือชุึดธรรมโฆษณ์ เพิ่มเติม อีก ได้ที่ http://trilakbooks.blogspot.com/
.......................................................................................................................................
รายชื่อหนังสือชุด ธรรมโฆษณ์
รายชื่อหนังสือ
เลขประจำเล่ม
ราคา
๑. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
๑
350
๒. อิทัปปัจยตา
๑๒
300
๓. สันทัสเสตัพธรรม
๑๓
250
๔. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๑
๓๖
250
๕. พุทธิกจริยธรรม
๑๘
250
๖. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
๓
300
๗.โอสาเรตัพพธรรม
๑๓.ก
250
๘. พุทธจริยา
๑๑
250
๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑
๑๖
250
๑๐. มหิดลธรรม
๑๗.ข
250
๑๑. บรมธรรม ภาคต้น
๑๙
250
๑๒. บรมธรรม ภาคปลาย
๑๙.ก
250
๑๓. อานาปนสติภาวนา
๒๐.ก
300
๑๔. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๑
๓๑
250
๑๕. สุญญตาปริทรรศ์ เล่ม ๑
๓๘
250
๑๖. ค่ายธรรมบุตร
๓๗
250
๑๗. ฆราวาสธรรม
๑๗.ก
200
๑๘. ปรมัตถสภาวธรรม
๑๔.ก
250
๑๙. ปฏิปทาปริทรรศน์
๑๔
250
๒๐. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๒
๓๖.ก
250
๒๑. สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒
๓๘.ก
250
๒๒. เตกิจฉกธรรม
๓๗.ง
250
๒๓. โมกขธรรมประยุกต์
๑๗.ค
250
๒๔. ศารทกาลิกเทศนา เล่ม ๑
๒๖
300
๒๕. ศีลธรรม กับ มนุษย์โลก
๑๘.ข
250
๒๖. อริยศีลธรรม
๑๘.ค
200
๒๗. การกลับมาแห่งศีลธรรม
๑๘.ก
250
๒๘. ธรรมสัจจสงเคราะห์
๑๘.ข
300
๒๙. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
๔
500
๓๐. ธรรมะกับการเมือง
๑๘.จ
300
๓๑. เยาวชนกับศีลธรรม
๑๘.ง
200
๓๒. เมื่อธรรมครองโลก
๑๘.ฉ
250
๓๓. ไกวัลยธรรม
๑๒.ก
250
๓๔. อาสาฬหบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๔
300
๓๕. มาฆบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๒
300
๓๖. พระพุทธคุณบรรยาย
๑๑.ก
400
๓๗. วิสาขบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๓
300
๓๘. ชุมนุมล้ออายุ เล่ม ๑
๔๒.ก
300
๓๙. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข
๓๙.ค
300
๔๐. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๑
๓๗.ก
300
๔๑. อะไร คือ อะไร
๓๗.ค
300
๔๒. ใคร คือ ใคร
๓๗.ข
300
๔๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น - ภาคปลาย
๒
700
๔๔. ราชภโฎวาท
๓๙.ง
300
๔๕. กข กกา ของการศึกษาพุทธศาสนา
๑๔.ค
250
๔๖. ธรรมะเล่มน้อย
๔๐
250
๔๗. ใจความแห่งคริสตธรรมเท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ
๔๔.ก
300
๔๘. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๒
๓๑.ก
300
๔๙. ฟ้าสางระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๑
๔๖.ค
300
๕๐. ฟ้าสาวระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๒
๔๖.ง
300
๕๑. ชุมนุมปาฐกถาธรรมชุด"พุทธรรม"
๓๒
250
๕๒. สมถวิปัสนาแห่งยุคปรมาณู
๑๔.ข
250
๕๓. นวกานุสาส์น เล่ม ๑
๓๙
300
๕๔. สันติภาพของโลก
๑๘.ข
250
๕๕. ธรรมะกับสัญชาตญาณ
๑๕
250
๕๖. ธรรมศาสตรา เล่ม ๑
๔๐.ก
300
๕๗. อตัมมยตาประยุกต์
๑๒.ข
300
๕๘. ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์
๑๕.ข
300
๕๙. อตัมมยตาประทีป
๑๒.ง
300
๖๐. อตัมมยตาปริทรรศน์
๑๒.ค
300
๖๑. สันทิฏฐิกธรรม
๑๓.ข
250
๖๒. พุทธธรรมประยุกต์
๑๗.จ
250
๖๓. สัมมัตตานุภาพ
๔๐.ฉ
250
๖๔. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๒
๑๖.ก
250
๖๕. โพธิปักขิยธรรมประยุกต์
๑๔.ง
300
๖๖. คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา
๔๐.ข
250
๖๗. อานาปานสติบรรยาย-อภิปราย-สัมมนา
๒๐.ค
300
๖๘. พัสสิกไตรเทศนา
๒๕.ง
250
๖๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๓
๑๖.ข
250
๗๐. คู่มือที่จำเป็นในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
๔๐.ช
250
๗๑. ธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ
๓๗.ง
300
๗๒. มนุสสธรรม
๑๗
400
๗๓. พุทธวิธีชนะความทุกข์
๑๔.จ
300
๗๔. หลักพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
๑๔.จ
300
๗๕. ปัญหาแห่งมนุษยภาพ
๑๗.ฉ
300
๗๖. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๒
๓๗.จ
400
หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด
๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.
๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.
๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.
๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.
๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.
ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.............................................................................................
สารบาญ
ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข
(ระดับมหาวิทยาลัย ๑๐ ชั่วโมง)
หน้า
ปฐมนิเทศ ๑
๑. สิ่งที่เป็นคู่ชีวิต ๒๓
๒. ทิศทั้งหก ๕๗
๓. นรกกับสวรรค์ ๙๒
๔. นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ ๑๒๖
๕. โพธิหรือกิเลส ๑๖๐
๖. ตัดต้นเหตุทันเวลา ๑๙๒
๗. มัชฌิมา คือหนทาง ๒๒๕
๘. ความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ๒๕๗
๙. พบชีวิตจริง ๒๘๖
๑๐. ทุกสิ่งอยู่เหนือปัญหา ๓๑๓
- ปัจฉิมนิเทศ ๓๓๘
โปรดดูสารบาญละเอียดในหน้าต่อไป
ปฐมนิเทศ
ท่านที่เป็นภิกษุราชภัฏ ผู้ที่จะต้องลาสิกขา ทั้งหลาย,
ผมยินดีที่ได้พบท่านทั้งหลาย และจะมีโอกาสพูดสิ่งที่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่จะลาสิกขา ผม
ประมาณว่า เราพูดกันสัก ๑๐ ชั่วโมงก็ได้. แต่วันนี้พูดในแบบที่เรียกว่า เตรียมทำความเข้าใจใน
เบื้องต้น ที่เขามักจะเรียกกันว่า ปฐมนิเทศ หรืออะไรทำนองนั้นมากกว่า แล้ววันหลังถึงจะพูดด้วย
เรื่องตัวธรรมะโดยตรง.
๒
อารัมภกถา.
วันนี้เรา มาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการกระทำ ที่จะกระทำต่อไปนี้ให้เป็นผลดี.
ผมเรียกเอาเองว่า เราจะเปิดมหาวิทยาลัย ๑๐ ชั่วโมง, คือชั่ว ๑๐ ชั่วโมงเท่านั้น. แล้วทำไม
จึงเรียกว่า มหาวิทยาลัย? เพราะว่ามันเป็นเรื่องความรู้ที่สูง ของพระพุทธศาสนา สูงกว่าความรู้
ธรรมดาในโลก. ความรู้แค่หมาหางด้วย เขาก็ยังเรียกว่า การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย; เดี๋ยวนี้
เรามันมากกว่านั้น อยากจะเรียกว่า บรมมหาวิทยาลัย มากกว่า.
ระบบการศึกษาในโลก แม้ระดับที่เรียกกันว่า มหาวิทยาลัย ยังเป็นเหมือนกับหมาย
หางด้วน คือสอนกันแต่หนังสือกับวิชาชีพ. นี่ท่านทั้งหลายก็ได้ผ่านมาแล้วว่า ยังมีอะไรบ้างที่สอน
ความเป็นคน, และสอนความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์, ว่ายังขาดความรู้เรื่องความเป็นคนหรือเป็นมนุษย์ที่
สมบูรณ์. นี่แหละมันเหมือนกับหมาหางด้วน.
นี้เราดู ทั่วทั้งโลก สอนกันแต่หนังสือ กับวิชาชีพ; จะเป็นวิชาเทคโนโลยีแขนงไหนก็
ตามเถอะ มันก็เป็นเพียงเพื่ออาชีพ ไม่เป็นไปทางจิต ทางวิญญาณ. ผมจึงอยากจะพูดว่า สิ่งที่ยัง
ขาดอยู่ นั่นแหละ จะต้องช่วยกันทำ.
ฉะนั้นการศึกษาของคน ที่ยังขาดอยู่อย่างไร เราจะมาช่วยกันทำให้มันสมบูรณ์; จะ
เรียกมหาวิทยาลัย ๑๐ ชั่วโมงของเรานี้ ว่า เป็นการต่อหางหมา จะดีกว่า คือ ความรู้อะไรที่พวก
คุณยังขาดอยู่ ผมช่วยต่อให้.
๓
ฉะนั้น เราพูดกัน ๑๐ ชั่วโมงนี้ จึงเป็นเหมือนกับต่อหางหมา คือคุณจะต้องเอาไปต่อ
กันเข้ากับความรู้ที่คุณมีอยู่แล้ว ในเรื่องหนังสือและอาชีพ; โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บวชเข้ามานี้ มันก็
เป็นโอกาส ที่จะศึกษาส่วนที่มันยังขาดอยู่.
เรานึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงความรู้ คำสอนของพระพุทธเจ้า ว่ามีอยู่อย่างไร,
หรือเท่าไร; แล้วลองเอามาเปรียบกันดู กับความรู้ของโลกปัจจุบันก็จะเห็นได้ว่า มันอยู่กันคนละ
ระดับ. ความรู้ของพระพุทธเจ้า นั่นแหละ คือความรู้ประเภทที่ยังขาดอยู่ จึงเอามาชนกันให้มันเต็ม.
ฉะนั้น การที่จะมาพูดอะไรกันบ้าง ที่ผมจะเรียกว่า มหาวิทยาลัย ๑๐ ชั่วโมง ของ
เรานี้ คงจะไม่เหนื่อยเปล่า คงจะมีผลคุ้มค่า. แล้วนอกไปจากการบรรยายตามธรรมดา เราก็
ยังมีการฝึกฝนอย่างอื่นด้วย คือว่าระหว่างนี้ เราก็จะมีการบรรยาย คราวละชั่วโมงสัก ๑๐ ชั่วโมง.
เป็นอยู่แบบสวนโมกข์.
ทีนี้ ระหว่างอยู่ที่นี่ จะต้องมีอะไรเพิ่ม ให้เป็นการศึกษาไปเสียให้หมด; เช่นว่าการ
เป็นอยู่ประจำวัน ถ้าเป็นอยู่อย่างแบบของสวนโมกข์มันก็จะเป็นบทเรียนเต็มที่อยู่ในตัวของมันเอง.
เราชอบพูดกันว่า อยู่ที่นี่นั้นกินข้าวจานแมว อาบน้ำในคู นอนในกุฏิเล้าหมู แล้วก็ฟังยุงร้องเพลง.
กินข้าวจานแมว คือฉันในบาตร, ในลักษณะอาหารของภิกษุในพระพุทธศาสนา; ไม่
เรียกว่าเนื้อ ไม่เรียกว่าผัก. แต่เรียกว่า อาหารที่บริสุทธิ์ถูกต้องตามแบบฉบับของภิกษุในพระ
พุทธศาสนา, คือกินแต่อาหารที่ถูกต้องตามแบบฉบับของภิกษุในพุทธศาสนา; จะไม่เรียกว่า กินเนื้อ หรือ
๔
กินผัก. ชิ้นไหนจะเป็นเนื้อ หรือจะเป็นผักก็ตาม ที่มันไม่ควรจะกิน ก็อย่าไปกิน, คือชิ้นที่มัน
ยั่วกิเลส หรือว่ามันจะทำให้มีผลร้ายแก่ร่างกาย นี้ก็ไม่ต้องกิน, แล้วยังจะต้องกินชนิดที่เรียกว่า
หยอดน้ำมันเพลาเกวียน หรือกินเนื้อลูกกลางทะเลทรายด้วย; มันก็เหมือนกับกินข้าวใส่จานให้แมวกิน
กินด้วยจิตใจของภิกษุ นี่เป็นบทที่ต้องฝึก.
อาบน้ำในคู นั้นหมายความว่า อยู่ตามธรรมชาติ. เมื่ออาบน้ำในลำธาร คุณจะมี
ความรู้สึกจิตใจแตกต่างออกไป จากการอาบน้ำก๊อก หรือห้องน้ำที่สวยงาม. นี่เรียกว่า อาบน้ำ
ในคู: ความหมายของมัน ก็คือ อยู่ตามธรรมชาติ.
นอนในกุฏิเท่าเล้าหมู หมายถึง กุฏิคนเดียว ๆ ที่เรามีอยู่ทั่ว ๆ ไปนี้.
แล้วในป่ามันมียุง มันก็จะต้องฟังเสียงยุง เหมือนกับฟังเสียงเพลง. ถ้าใครไปโกรธยุง
ก็หมดความเป็นพระ ดังนี้เป็นต้น.
นี่เรียกว่า การเป็นอยู่ในสวนโมกข์นี้ เป็นมหาวิทยาลัยของพระพุทธเจ้า ในทางจิตใจ.
วัตรปฏิบัติบางอย่างก็มี ซึ่งมันเป็นเครื่องทดสอบจิตใจอยู่มากทีเดียว หรือฝึกฝนให้มัน
เข้มแข็งขึ้น; เช่นว่า เราต้องตื่นกันดึก ๆ อย่างนี้ ก็ไม่ค่อยมีใครชอบดอก : ตื่นก่อนตี ๔ แล้วมา
สวดมนต์ทำวัตรตี ๔ หนาวเยือกไปหมดอย่างนี้; วัตรปฏิบัติเหล่านี้ มุ่งหมายเพื่อจะฝึกฝนความ
เข้มแข็ง ทั้งนั้นเลย.
๕
ทีนี้ยังมีอย่างอื่นอีก เช่น มีวันกรรมกร สำหรับจะทำบทเรียน คือการทำอะไรที่ไม่ใช่
เพื่อตัวเองเลย. ก่อนนี้เราเคยทำอะไร ๆ มากเหมือนกันแต่เพื่อตัวเองทั้งนั้น; ฉะนั้นขอให้มีการ
กระทำอะไรก็ได้ ที่มิใช่เพื่อตัวเองเลย, ก็เพื่อผู้อื่นนั่นแหละ. เพราะว่าประโยชน์ นั้นก็ได้รับแก่
ส่วนรวม แก่ผู้อื่นแก่ศาสนา; ถ้าเหงื่อออกมา ก็ขอให้ถือว่า เหงื่อนี้มันออกมาล้างความเห็นแก่ตัว
ก็จะต้องมีสำหรับภิกษุเรา.
ทีนี้ที่ละเอียดประณีตที่สุด ของการอยู่ที่นี่ ก็คือ สัมผัสธรรมชาติได้ง่าย. ลองอยู่ให้ตาม
แบบฉบับของที่นี่เถอะ มันจะเป็นการสัมผัสธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา. ในธรรมชาตินี้มันมีอะไรดีนักหนา;
คุณจะต้องเข้าใจในข้อนี้ เพราะว่า ธรรมชาติ นั่นแหละ คือต้นเหตุ ต้นตอ จุดตั้งต้น แห่งปัญหา
หรือการแก้ปัญหา. เราจะเรียกสั้น ๆ ว่าธรรมะ, ธรรมะนั้นเป็นเรื่องของธรรมชาติ. นี่ช่วยจำคำ
นี้ไว้ก็แล้วกัน ว่า ธรรมะเป็นเรื่องของธรรมชาติ. เราแบ่งธรรมะนี้ออกเป็น ๔ ความหมาย จำ
ไว้ได้จะสะดวกในอนาคต ที่จะศึกษาเรื่องของธรรมะต่อไป.
ธรรมะ คือ ตัวธรรมชาติ.
ธรรมะ คือ ตัวกฎของธรรมชาติ.
ธรรมะ คือ หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ.
ธรรมะ คือ ผลที่ออกมาจากการปฏิบัติหน้าที่.
จะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติทั้งนั้น ตัวธรรมชาติ ก็ดี ตัวกฎของธรรมชาติ ก็ดี
หน้าที่ต่อธรรมชาติ ก็ดี ผลของมัน ก็ดี มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ
๖
ฉะนั้น ถ้าเราอยู่กันอย่างใกล้ชิดธรรมชาติ มันก็มีความง่าย ในการที่จะรู้ธรรมะ ดัง
นั้นพระศาสดาทั้งหลาย จนกล่าวได้ว่า ทุกศาสนา ท่านตรัสรู้กันในท่ามกลางธรรมชาติ; เช่นในป่า
ในดง ในถ้ำ ในเขา ก็สุดแท้ ไม่เคยตรัสรู้บนตึกมหาวิทยาลัย เป็นต้นเลย.
ระหว่างที่อยู่ที่นี่ ขอให้ใช้ประโยชน์จากการสัมผัสธรรมชาตินี้ให้มากที่สุด. นี้ก็จะเป็น
การเรียน เป็นการศึกษา รวมอยู่ในคำว่า มหาวิทยาลัยชั่ว ๑๐ ชั่วโมง; จะพูดกัน ๑๐ ครั้ง ครั้งละ
ชั่วโมง วันนี้ครั้งนี้ไม่นับ เป็นการทำความเข้าใจในเบื้องต้น หรือปฐมนิเทศ ซึ่งจะต้องทำความ
เข้าใจกันตามสมควร.
เช่น ผมจะทำความเข้าใจกับท่านทั้งหลายว่า การพูดจา เรื่องที่จะเอามาพูดนี้ ชั่วเวลา
๑๐ ชั่วโมงนี้ จะพูดให้ครบหมดในหลักของพุทธศาสนา, แล้วให้สูงที่สุด ตั้งแต่ต่ำที่สุด จนถึงสูงที่สุด
ตามหลักของพระพุทธศาสนา. จะสรุปให้สั้นที่สุด ในเมื่อจะต้องสรุป และมัน อาจจะเป็นว่าดูต่ำ
เป็นคำพูดต่ำ ๆ ง่าย ๆ ของชาวบ้านธรรมดา และดูธรรมดาไปเสียอีก; แล้วก็ไม่อยากจะฟัง
เห็นเป็นเรื่องธรรมดาไปเสีย.
ฉะนั้น ขอให้สนใจฟังที่เรียกว่า "เป็นธรรมดา" นี่. เราต้องการให้เป็นสันทิฏฐิโก
คือ เข้าใจได้ด้วยความรู้สึก; ไม่ใช่ว่าจำ, จำคำพูดเหล่านี้ไว้ได้. นี้ไม่พอ ต้องมองเห็นด้วยจิตใจ
ของตนจริง ๆ; ในบทว่า สันทิฏฐิโกนั้น ก็ต้องพูดด้วยคำธรรมดา, ให้เป็นเรื่องธรรมดา, ให้เข้าไป
ในจิตใจ จึงจะสำเร็จประโยชน์.
๗
คุณคงจะเคยได้ทราบว่า ผมนี่ ถูกคนพวกหนึ่งเขารุมกันด่า. คำด่านั้นก็ไม่มีอะไร นอก
จากหาว่า เอาธรรมะมาพูดให้ต่ำ หรือทำลายพุทธศาสนาไปเสียเลย. นี่เราต้องการจะพูดให้เป็น
สันทิฏฐิโก ให้เป็นเอหิปัสสิโก ไปเสียทุกเรื่อง ก็เลยต้องพูดให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาในใจให้ได้;
เช่นเรื่อง นรกก็ดี สวรรค์ก็ดี นิพพานก็ดี ต้องพูดกันในลักษณะที่รู้สึกได้ด้วยจิตใจ ที่นี่ และเดี๋ยวนี้.
ที่เขาทำกันมาจนเป็นประเพณีนั้น เขาใช้คำสูง ๆ, คำบาลีสูง ๆ, คำธรรมะสูง ๆ,
แล้วก็พูดด้วยโวหารสำนวนไพเราะ ตามแบบเทศนา หรือแบบอะไรก็ตามก็ได้ยินกันมาแต่อย่างนั้น.
พอได้ยินคำธรรมดา ๆ, พูดอย่างธรรมดา, สำนวนโวหารอย่างธรรมดา เขาก็ไม่อยากฟัง ก็เลย
ไม่สำเร็จประโยชน์ในการพูด.
ฉะนั้น ถ้ารู้สึกอย่างนี้ ก็อยากจะขอร้องว่า อย่าเพ่ออย่างนั้น, อย่าเพ่อเห็นอย่างนั้น,
อย่าเพ่อท้อใจ อย่าเพ่อขี้เกียจฟัง. ขอให้ทนฟังคำธรรมดา เรื่องธรรมดา โวหารพูดธรรมดา
ให้สำเร็จประโยชน์. นี่เรียกว่า ทำความเข้าใจในเบื้องต้น อย่างนี้.
ที่นี้ ก็ จะพูดเรื่อง การบวช ๓ เดือน หรือ ผู้บวช ๓ เดือน และตามประเพณีด้วย.
บวช ๓ เดือนควรได้ชีวิตเย็น.
นี้เป็นที่รู้กันแล้ว นี่ ว่าเราไม่ได้บวชเพื่อออกไปหาความดับทุกข์ตลอดชีวิต, เสวยสุขใน
ธรรมะตลอดชีวิต. เราบวชชั่ว ๓ เดือน แล้วยังบวชตามประเพณีด้วย; หมายความว่า ไม่ได้
เห็นลึกซึ้งในเรื่องของโลก ของชีวิต ของการบวช ของอะไร จนถึงกับว่าอยากบวชออกไปเลย
ตามที่ในครั้งโบราณ ครั้งพุทธกาลเขาทำกัน. แม้ว่าเราจะบวช ๓ เดือน และตามประเพณี; ถ้า
ว่าเราทำให้ดี ให้ถึงที่สุด แม้เพียง ๓ เดือน ก็จะได้ประโยชน์อย่างมหาศาล.
คนยังเข้าใจผิดกันอยู่มาก ว่าฆราวาสกับบรรพชิตนี่ มันคนละเรื่องกัน. เขามักจะ
เข้าใจอย่างนั้น แล้วก็จัดสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นอย่างนั้น.
ฉะนั้นขอให้ดูกันเสียใหม่ ว่ามันไม่ใช่คนละเรื่องนะ; บรรพชิตกับฆราวาสนี่ยังเป็น
เรื่องเดียวกัน, คือเรื่องดับทุกข์ด้วยวิธีเดียวกัน. ความทุกข์ของมนุษย์ดับอย่างไร ก็เป็นวิธีเดียวกัน
ทั้งบรรพชิตและฆราวาส; เพียงแต่ว่า ถ้าเป็นบรรพชิตนั้นสะดวกที่จะดับทุกข์ มันง่ายในการที่ดับทุกข์
เพราะการเป็นอยู่อย่างบรรพชิตนั้นมันสะดวก หรือมันง่าย ในการจะศึกษา ในการจะปฏิบัติ. ถ้า
เป็นฆราวาสครองเรือน. มันก็อึดอัดขัดข้องไปหมด, มันหนักอึ้งไปหมด, ต้องการจะดับทุกข์ ก็ยากลำ
บาก. ฉะนั้นจึงมาบวชเพื่อศึกษา เพื่อปฏิบัติ; ถ้าบวชเลยไป มันก็ได้ผลถึงที่สุด.
ทีนี้ เราชั่ว ๓ เดือนนี้ เราทำให้ดีที่สุด ให้ได้ผลเพียงพอที่จะไปเป็นฆราวาสที่พิเศษ
คือ มีจุดตั้งต้นของการดับทุกข์ที่ถูกต้อง, แล้วก็พยายาม
๙
ดับไปเรื่อย ๆ; แต่นั่นไม่สำคัญ, สำคัญอยู่ที่ว่า ในระหว่างนั้น จะเป็นคนทีมีชีวิตที่เป็น เป็นความ
หมายของนิพพาน.
ชีวิตนี้ เป็นได้ ๒ อย่าง คือชีวิตร้อน หรือชีวิตเย็น. พูดเพียงเท่านี้คุณก็คงจะนึกออก
เพราะเคยร้อนกันมาแล้วเป็นส่วนมาก; นั้นก็เรียกว่า ชีวิตร้อน เพราะทำผิด พูดผิด คิดผิด อะไร
ก็ตาม; ถ้าทำถูก พูดถูก คิดถูก มันก็เป็นชีวิตเย็น.
ฉะนั้น เราต้องการเพียงชีวิตเย็น จนตลอดชีวิต ด้วยการลงทุนศึกษาดูเพียง ๓ เดือน
ก็เรียกว่าได้ประโยชน์คุ้มค่า หรือมหาศาลนั้น. ฉะนั้นจึงต้องทดสอบดูว่า ที่บวชมาแล้ว กำลังจะ
สึกอยู่หยก ๆ นี้ เราได้ความรู้เหล่านั้นแล้วหรือยัง? ได้ความรู้เหล่านั้นเพียงพอแล้วหรือยัง? ถ้า
เพียงพอแล้วก็ดีไป. ผมจะสันนิษฐานว่า มันยังมีอะไรบางอย่าง ที่ยังไม่ได้, ไม่รู้, ไม่เพียงพอ
ก็จะเอามาพูดในส่วนนั้นแหละ.
แต่เนื่องจากว่ามีมากคนด้วยกัน เพราะฉะนั้นคงไม่เหมือนกัน ปัญหามันไม่เหมือนกัน
สิ่งที่ยังขาด หรือเกิน อะไรก็ตาม มันไม่เท่ากัน; ผมก็ช่วยไม่ได้. ผมจะต้องพูดไปตามแนว
ตามหลัก ที่มันมีอยู่; จะขาดสำหรับใคร, จะขาดสำหรับใคร, จะเกินสำหรับใคร ก็ไปพิจารณา
เอาเอง, ไปปรับปรุงเอาเอง. ขอแต่ว่าออกไปนี้ ให้ได้ประโยชน์คุ้มค่า หรือว่าเกินค่า.
ถ้าทำให้ดีจริง ๆ ถูกจริง ๆ มันจะมีประโยชน์เกินค่า. จะลาสิกขาออกไปนี้ ควรจะ
ได้อะไรออกไป, ได้อะไรออกไป ในการลาสิกขา จากเพศ
๑๐
บรรพชิตไปสู่เพศฆราวาส? มัน ก็ต้องได้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ความเป็นฆราวาส ซึ่งจะสรุปเรียก
อย่างที่เรียกมาแล้วว่า คือ ชีวิตที่เย็น.
ชีวิตที่ร้อนนั้นไม่ต้องพูด ไม่มีใครต้องการ แล้วคงจะเอือมระอากันมาแล้วด้วย. ทีนี้ต่อไป
ควรจะได้ชีวิตที่เย็น คือเป็นชีวิตที่ว่า มีความสุขเป็นเดิมพัน, เย็นเป็นเดิมพัน; แล้วเราจะทำ
อะไรต่อไปอีกกี่อย่างก็ทำได้ดี เพราะว่ามันอยู่ด้วยความสุข ความเย็น; จะทำอะไรให้สูง ให้ยิ่ง
ขึ้นไป หรือให้เย็นให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้ ก็ต้องทำได้.
ฉะนั้น เราจะต้องได้ สิ่งที่จะทำให้เราเป็นฆราวาสที่ดี หรือสมบูรณ์แบบ ตามแบบของ
ชาวพุทธ. พุทธบริษัทที่ดี ในฐานะที่เป็นฆราวาสจะต้องมีอะไรบ้าง? หรือว่าจะต้องทำอะไรได้บ้าง
นี้เราจะมี และเราจะทำได้.
เพศฆราวาสอาจปฏิบัติถึงขั้นพระอริยเจ้า.
ตามหลักของพุทธศาสนา ที่รู้กันอยู่เป็นที่แน่นอนว่า เพศฆราวาสนั้นอาจจะเป็นพระ
อริยเจ้าได้ จนถึงขั้นที่เรียกว่า พระอนาคามี น้อง ๆ พระอรหันต์เลยทีเดียว และมันยังมากกว่า
นั้นอีกนะ คือว่าถ้า ทำถูกต้องที่สุด ก็เป็นพระอรหันต์ได้; แต่แล้วชีวิตมันต้องเปลี่ยน หรือมันเปลี่ยน
โดยอัตโนมัติ จากความเป็นฆราวาส. อย่างที่เขาพูดกันอย่างน่าหัวว่า เป็นพระอรหันต์แล้วไม่ไป
บวชเสียจะตายภายใน ๗ วัน. อย่างนี้มันเป็นการพูดที่มีความหมายซ่อนเร้น เข้าใจไม่ได้; มันก็
คือเข้าใจผิด จะพูดอย่างโง่ก็ได้, ไม่รู้ใครพูด. แต่ผมก็ไม่อยากจะด่าใคร; แต่ก็มองเห็นว่า
อาจจะเป็นการพูดอย่างโง่เขลาก็ได้.
d03903
๑๑
เพราะว่า พอเป็นพระอรหันต์ ก็หมดความเป็นฆราวาสทันที; อะไร ๆ มันจะหมดจาก
ความเป็นฆราวาสทันที, แล้วมันจะหมดความเป็นมนุษย์, เหนือความเป็นมนุษย์, ยิ่งขึ้นไปกว่าความ
เป็นมนุษย์ด้วย, แล้วจะตายภายใน ๗ วันได้อย่างไร.
ที่เขาพูดไว้เป็นอุปมาว่า ฆราวาสจะเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา ก็มีจีวรบ้าง บาตรบ้าง ลอย
มาจากทิศทางต่าง ๆ มาสวมให้เอง. นี่เขาพูดเป็นอุปมาอย่างนี้; แต่ความจริงนั้นคือว่า จิตใจ
มันเปลี่ยน ไม่อาจจะเป็นฆราวาสได้. พระอรหันต์ไม่อาจจะอยู่ในเพศฆราวาสได้ แล้วก็จะยิ่งกว่า
เพศบรรพชิตเสียด้วย.
เรามันโง่เอง เอาแต่ที่เห็นด้วยตาเป็นหลัก ดูด้วยตาเป็นหลักก็ว่าพระอรหันต์ก็เป็น
บรรพชิต. ถ้าคุณศึกษารู้ถึงที่สุดแล้ว คุณจะรู้ว่า ความเป็นพระอรหันต์นั้น ยิ่งกว่าความเป็นบรรพชิต
ไปเสียอีก; มันพ้น มันเหนือนั่นไปเสียอีก.
นี้ก็เป็นได้ถึงกับว่า มีการก้าวหน้าทางจิตใจ เป็นพระอรหันต์เกิดขึ้นในบ้านเรือน ก็
เลิกความเป็นฆราวาส เลิกความเป็นบ้านเรือน, เป็นไปตามยถากรรม ของความเป็นพระอรหันต์.
เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องเสียใจดอก หรือไม่ต้องน้อยใจว่า ที่เราจะต้องไปเป็นฆราวาส
อีกต่อไปนี้ อย่าเสียใจว่าไปลด ลดต่ำลง. ถ้ายังมีการปฏิบัติถูกต้องตามหลักธรรมะอยู่, ยังมีการ
ก้าวหน้าทางจิตใจ แม้จะมีศีลอย่างฆราวาส ก็มีความหมายเดียวกันกับศีลของบรรพชิต. ฉะนั้นเป็น
ฆราวาสที่ดีที่มีศีล
..........................................................................................
พุทธทาส จักอยู่ไปไม่มีตาย
พุทธทาสจักอยู่ไปไม่มีตาย
แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็นร่างกายไปไม่ลำเอียง
นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลาพุทธทาสคงอยู่ไปไม่มีตาย
ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบกายใจรับใช้มา
ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลยพุทธทาสยังอยู่ไปไม่มีตาย
อยู่รับใช้เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย
โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายแม้ฉันตายกายลับไปหมดแล้ว
แต่เสียงสั่งยังแจ้วแว่วหูสหาย
ว่าเคยพรอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย
ก็เหมือนฉันไม่ตายกายธรรมยังทำกับฉันอย่างกะฉันนั้นไม่ตาย
ยังอยู่กับท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้ให้กันฟัง
เหมือนฉันนั่งร่วมด้วยช่วยชี้แจงทำกับฉันอย่างกะฉันไม่ตายเถิด
ย่อมจะเกิดผลสนองหลายแขนง
ทุกวันนัดสนทนาอย่าเลิกแล้ง
ทำให้แจ้งที่สุดได้เลิกตายกัน.....................................................................................................................................
สินค้าที่ดูล่าสุด
- ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข (ระ... ราคา 300.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
หลักพระพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
รหัส : 14.ฉ-แถบแดง ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 25/04/2011 ผู้เข้าชม : 2,640