สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,382,464 |
เปิดเพจ | 17,032,438 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
I and MINE : ตัวกู-ของกู ภาษาไทย-อังกฤษ ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี โดย...ท่านพุทธทาส
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
978-616-03-0377-9
-
เข้าชม
8,987 ครั้ง
ยี่ห้อ
พุทธทาสภิกขุ
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
01/08/2011 00:00
-
รายละเอียดสินค้า
I and MINE : ตัวกู-ของกู ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี (ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ) แปล หน้าต่อหน้า
แปลโดย ดร.เจมส์ รัตนนันโท (โดย...ท่านพุทธทาส)
ขนาด : 14x20.5cm
จำนวน : 383 หน้า
วัสดุ : กระดาษปอนด์ 80 แกรม
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี
-----------------------------------------------------------------------------------------
คำนำของผู้แปล หนังสือ เรื่อง ตัวกูของ กู ไทย-อังกฤษ์
โดยทั่วไปแล้ว ชาวไทยพุทธมักมีพฤติกรรมความเชื่ออันหลากหลาย
และมีการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นประเพณี ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน ยาวนานมาแล้วที่ชาว
ไทยพุทธให้ความสำคัญในเรื่องของการประกอบพิธีกรรม การมีพิธีการต่างๆ ในศาสนา ซึ่งชาวไทย
พุทธนั้น พวกเขาก็จะไปวัดหรืออารามต่างๆ เพื่อทำบุญ โดยการถวายสิ่งของจำเป็นแด่พระภิกษุสงฆ์
ผู้ที่จะสวดมนต์ให้พรเป็นภาษาบาลีแก่พวกเขา โดยที่ไม่มีใครสนใจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของนิพพาน
ไม่มีใครที่จะมุ่งมั่นเพื่อความสงบแห่งจิต พวกเขาห่วงเฉพาะเรื่องความต้องการของตัวเองในแต่ละวัน
และสนใจเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ของพวกพ้องเท่านั้น ท่านพุทธทาสได้มองเห็นแล้ว่า สิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เกิดขึ้นกับชาวพุทธ นั่นคือ ความเชื่อแนวคิดวิธีปฏิบัติต่อศาสนา ทำให้ประชาชนชาวพุทธเกิดขึ้นในจิต
จนไม่สามารถเข้าถึงแก่นแท้ของพุทธศาสนาได้ ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นอรรถกถาจารย์ที่แตกฉาน
ในพระธรรมฝ่ายหีนยาน แต่ถึงแม้กระนั้นท่านยังคงศึกษาหาความรู้ เรื่องนิกายเซน ท่านจับเอาองค์
ความรู้ของทั้งพุทธศาสนา เถรวาท และนิทายเซน เข้ามารวมกัน
จนกลายเป็นคำสอนที่ทันสมัยและมีความสมบูรณ์ ให้ชาวไทยพุทธ ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้จาก
สิ่งที่ท่านได้กระทำ ปัจจุบันนี้พวกเราอาศัยอยู่ในโลกแห่งการแก่งแย่งแข่งขันกัน
มีเรื่องของผลประโยชน์และผลกำไร มาเป็นประเด็นสำคัญในการดำเนินชีวิต มีตัวเอง
เป็นศูนย์กลาง แห่งความต้องการ ทำทุกวิถีเพื่อประโยชน์ และเพื่อสอนงความอยากภายในจิตใจ
ถือเอาเรื่องของตัวเองเป็นใหญ่ จนไม่สนใจว่าจะกระทำสิ่งเลวร้าย หรือผิดศีลธรรมจรรยาแค่ไหน
บ่อยครั้งที่มนุษย์ทำสิ่งเลวทรามจนสุดที่จะบรรยายได้เพียงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น
คำว่า "ตัวตน" คำนี้เอง ทำให้พวกเขามีพละกำลัง
มีความทะเยอทะยาน อยากที่จะขับเคลื่อนไป เพื่อค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการ
จนไม่สนใจ และมองข้ามเรื่องของศีลธรรมไปอย่างง่ายดาย
หนังสือเรื่อง "ตัวกู ของกู "ได้อธิบายถึงความหมายของคำว่า "ตัวกู ของกู " ซึ่งท่านพุทธทาส
ได้มองเห็นแล้วว่า ควรอย่างยิ่งที่จะละทิ้งซึ่งสิ่งที่เรียกว่า "ตัวกู ของกู" อันเป็นต้นเหตุแห่งอวิชชา
ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ของมนุษย์ ท่านยังได้กล่าวถึงเรื่อง "สุญญตา" อันเป็นธรรมปฏิบัติขั้น
สูงสุด ที่ชาวพุทธควรศึกษาและปฏิบัติ เพราะใน "สุญญตา" ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "ตัวกู" และ "ของกู"
หลงเหลืออยู่ ซึ่งนั้น คือภาวะพระนิพพาน
ดร.เจมส์ รัตนนันโท
คำนำ โดย หลวงพ่อพุทธทาส ภิกขุ
เมื่อข้าพเจ้ายังรับราชการเป็นเลขานุการเอก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย
ณ กรุงไคโร ข้าพเจ้าได้สั่งซื้อหนังสือพุทธศาสนาของจีน และญี่ปุ่น ลัทธิหินยาน
นิกายเซ็น ฉบับภาษาอังกฤษ มาจากกรุงลอนดอน เป็นจำนวน ๑๐ เล่ม และใช้เวลา
ว่างงาน อ่านคำสอนของนิกายเซ็น ข้าพเจ้าเลื่อมใสในคำสอนของเขามาก เพราะการ
สอนหลักพุทธศาสนาของนิกายเซ็น ของจีน และญี่ปุ่น เป็นการสอนลัด ดังที่เขาเรียกวิธี
ปฏิบัติของเขาว่า...วิธีลัด...หรือเรียกนิกายของเขาว่า...นิกายฉับพลัน...ทั้งนี้ก็เพราะ ว่าเขา
ไม่สนใจพุทธประวัติ และเรื่องราวเป็นไปของพุทธศาสนา เขาไม่สนใจในการทำบุญให้ทาน
แบบต่างๆ เขาไม่ต้องการมีบาปและไม่ต้องการได้บุญ เพราะเขาถือว่าทั้งบุญ และบาป ก็ยังเป็น
อุปสรรคที่จำทำคนมิให้ถึงพระนิพพาน ยิ่งเรื่องการหวังเอาสวรรค์ เอาวิมานด้วยแล้ว เขาถือว่า
เป็นความปรารถนาของทารกเอาทีเดียว เขาตัดพิธีรีตองของพุทธศาสนาออกทั้งหมด เหลือ
เอาไว้แต่...หัวใจ...ของพุทธศาสนาคือ เรื่อง สุญญตา เรื่องเดียวเท่านั้น เขาจึงพร่ำสอนแต่เรื่องสุญญตา
ปฏิบัติแต่เรื่อง สุญญตา และหวังผลจากสุญญตาอย่างเดียว ทั้งนี้ก็ตรงกับพุทธดำรัสที่ว่า
"ใครได้ฟังเรื่องสุญญตา ก็จัด่าได้ปฏิบัติธรรมทั้งหมดทั้งสิ้นของพุทธศาสนา กล่าวคือ
ความพ้นทุกข์ไปตามลำดับๆ จนไม่มีึความทุกข์ใจแม้แต่น้อย ซึ่เงราเรียกว่า "นิพพาน"
เพราะหมดกิเลส หมดความเห็นแก่ตัว อย่างสิ้นเชิงนั่นเอง
ข้าพเจ้ามิใช่คนพวก "ศรัทธาจริต" กล่าวคือ ข้าพเจ้าไม่ยอมเชื่อใคร เชื่ออะไรง่ายๆ ข้าพเจ้ามีมันสมอง
มีความรู้ทั้งทางโลก และทางธรรม และได้ประสพการณืของชีวิตมา ๖๐ ปีแล้ว เคยพบคนดี คนชั่ว
คนสุจริต คนทุจริต คนพูดจริง และคนหลอกลวง
มามากต่อมาก และเพราะมีมันสมอง พอที่จะรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด นั่นเอง
ข้าพเจ้าจึงเห็น่า คำสอนของนิทายเซ็นนั้น ถูกต้องที่สุด
และไม่หลอกลวงใครเพื่อหวังประโยชน์อะไรเข้าตัว
อย่างนักบวชในนิกายอื่นๆ ได้ปฏิบัติกันอยู่ จนคนที่ไม่ใช้สติปัญญาต้องตกเป็นเหยื่อ เพราะความโลภ
อยากได้สวรรค์ เพราะความหลงงมงายในสิ่งอันศัุกดิ์สิทธิ์ คือความกลัว ฝีสางเทวดาจนต้องเสียเงิน
และเสียผู้คนหลอกลวงอย่างเต็มอกเต็มใจ
เมื่อข้าพเจ้ายังรับราชการเป็นเลขานุการเอก
ประจำสถาน เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไคโร ข้าพเจ้าได้สั่งซื้อหนังสือพุทธศาสนา ของจีนและญี่ปุ่น ลัทธิหินยาน นิกายเซ็น ฉบับภาษาอังกฤษ มา จากกรุงลอนดอน เป็นจำนวน ๑๐ เล่ม และใช้เวลาว่างงานอ่าน คำสอนของนิกายเซ็น ข้าพเจ้าเลื่อมใสในคำสอนของเขามาก เพราะ การสอนหลักพุทธศาสนาของนิกายเซ็นของจีนและญี่ปุ่นนั้น เป็นการ สอนลัด ดังที่เขาเรียกวิธีปฏิบัติของเขาว่า “วิธีลัด” หรือเรียกนิกาย ของเขาว่า “นิกายฉับพลัน” ทั้งนี้ก็เพราะว่าพวกเขาไม่สนใจพุทธ ประวัติและเรื่องราวเป็นไปของพุทธศาสนา เขาไม่สนใจในการทำบุญ ให้ทานแบบต่าง ๆ เขาไม่ต้องการมีบาปและไม่ต้องการได้บุญ เพราะ เขาถือว่าทั้งบาปและบุญก็ยังเป็นอุปสรรคที่จำทำคนมิให้ถึงพระ นิพพาน ยิ่งเรื่องการหวังเอาสวรรค์ เอาวิมานด้วยแล้ว เขาถือว่า เป็นความปรารถนาของทารกเอาทีเดียว เขาตัดพิธีรีตองของพุทธ ศาสนาออกทิ้งหมด เหลือเอาไว้แต่ “หัวใจ” ของพุทธศาสนา กล่าว คือเรื่องสุญญตา เรื่องเดียวเท่านั้น เขาจึงพร่ำสอนแต่เรื่องสุญญตา ปฏิบัติแต่เรื่องสุญญตา และหวังผลจากสุญญตาอย่างเดียว ทั้งนี้ก็ ตรงกับพุทธดำรัสที่ว่า “ใครได้ฟังเรื่องสุญญตา ก็จัดว่าได้ปฏิบัติ ธรรมทั้งหมดทั้งสิ้นของพุทธศาสนา” กล่าวคือความพ้นทุกข์ไปตาม ลำดับ ๆ จนไม่มีความทุกข์ใจแม้แต่น้อย ซึ่งเราเรียกว่า “นิพพาน” เพราะหมดกิเลส หมดความเห็นแก่ตัวอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง ข้าพเจ้ามิใช่เป็นคนพวก “ศรัทธาจริต” กล่าวคือ ข้าพเจ้า ไม่ยอมเชื่อใคร เชื่ออะไรง่าย ๆ ข้าพเจ้ามีมันสมอง มีความรู้ทั้งทาง โลกและทางธรรม และได้ประสพการณ์ของชีวิตมา ๖๐ ปีแล้ว เคย พบคนดีคนชั่ว คนสุจริต คนทุจริต คนพูดจริง และคนหลอกลวง มามากต่อมาก และเพราะมีมันสมองพอที่จะรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด นั่นเอง ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าคำสอนของนิกายเซ็นนั้นถูกต้องที่สุด และ ไม่หลอกลวงใครเพื่อหวังประโยชน์อะไรเข้าตัว อย่างนักบวชในนิกาย อื่น ๆ ได้ปฏิบัติกันอยู่ จนคนที่ไม่ใช้สติปัญญาต้องตกเป็นเหยื่อ เพราะความโลภอยากได้สวรรค์ เพราะความหลงงมงายในสิ่งอัน ศักดิ์สิทธิ์ หรือความกลัวผีสางเทวดาจนต้องเสียเงิน และเสียรู้คน หลอกลวงอย่างเต็มอกเต็มใจ ข้าพเจ้านึกอยู่เสมอว่า ทำอย่างไรหนอคำสอนของนิกายเซ็น จึงจะมาเผยแพร่ในประเทศไทยบ้าง ชาวพุทธไทยจะได้เข้าถึงธรรม โดยไม่ต้องไปเสียเวลาปฏิบัติอะไรต่ออะไรที่ไม่เป็นสาระ ไม่สมตาม ที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายจะให้แก่พุทธศาสนิกชน พวกเราถูกสอน ให้ติดตัณหาอุปาทาน ติดบุญ ติดตำราอาจารย์ ติดประเพณีรีตอง พระพุทธเจ้าสอนคนให้หมดความอยาก ความยึด และ ความยุ่ง แต่พวกเราได้รับคำสอนให้อยาก ให้ยึด และให้ยุ่ง ฉะนั้น เรื่องมรรค ผล นิพพาน จึงห่างไกลมือของพวกเราออกไปทุกวัน ๆ เลยมีคนถือกันว่าเป็นเรื่องพ้นวิสัยของมนุษย์ในสมัยนี้ไปเสียแล้ว ใคร นำเอาเรื่องนิพพานมากล่าวมาสอน ก็ถูกหาว่าเป็นคำสอนที่เหลวไหลพ้นสมัยที่ใคร ๆ จะทำได้ ใครนำเอาวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมาอธิบาย ก็ถูกนักศาสนาสมัยใหม่หาว่าเป็นการกล่าวนอกพระธรรมวินัย หรือ ผิดไปจากตำหรับตำรา คำสอนที่ถูกต้องเลยไม่มีใครสนใจและฟังกัน ไม่ได้ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฟังกันมาเสียนาน นี่แหละเป็นสถานการณ์ใน ปัจจุบัน ฉะนั้น การจะนำเอาคำสอนของนิกายเซ็น ซึ่งถึงแม้จะดีที่สุด สั้นที่สุด และหวังดีต่อประชาชนที่สุด เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย ก็ เห็นจะไม่มีใครเลื่อมใส และกลับจะมีการคัดค้านกันเป็นการใหญ่ เพราะความยึดมั่นถือมั่นในความเห็นเดิม ๆ ของตนว่าถูกต้องดีกว่า ของใคร ๆ นั่นเอง จึงมีมานะไม่ยอมฟังคำสอนของนิกายอื่น ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นอรรถกถาจารย์ที่แตกฉานในพระธรรม วินัยทั้งฝ่ายหินยานและนิกายเซ็น ท่านได้แปลสูตรของท่านเว่ยหล่าง และท่านฮวงโป ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลของนิกายเซ็น ออกมาเป็น ภาษาไทย และยังได้รวมความเห็นของฝ่ายเถรวาทกับนิกายเซ็นให้ เข้ากันได้ จนกลายเป็นคำสอนที่ทันสมัยและสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งรวม อยู่ในหนังสือเล่มนี้ ชนิดที่ใคร ๆ จะทำไม่ได้ นับว่าเป็นโชคดีของ พวกเราอย่างยิ่งที่ได้มีหนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่ต้อง ขายหน้านิกายเซ็นของฝ่ายจีนญี่ปุ่นอีกต่อไป หากคำสอนนี้จะมี โอกาสเผยแพร่ไปถึงประเทศต่าง ๆ ในยุโรป หรืออเมริกา ก็ยังเป็นที่ อุ่นใจได้ว่าจะไม่ทำให้ชาวต่างศาสนาเขายิ้มเยาะได้ว่าศาสนาพุทธ เต็มไปด้วยเรื่องอภินิหาร ของขลัง ของศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่ในเรื่อง ผีสางเทวดา หรือพิธีรีตอง อันไม่ประกอบด้วยปัญญาและหลักวิชา การ นอกจากเชื่อกันไปทำตามกันไปดังที่มีกล่าวอยู่ในคัมภีร์ หนังสือเล่มนี้ไม่ต้องอาศัย “คำนิยมชมชื่น” จากผู้ใด เพราะ ผู้ที่อ่านด้วยความพินิจพิจารณาและมีปัญญาพอสมควร ย่อมจะ นิยมชมชื่นด้วยตนเอง ซึ่งดีกว่าคำชมของผู้หนึ่งผู้ใดที่เขาเขียนให้ เพื่อให้ขายได้ดี องค์การฟื้นฟูพุทธศาสนา ฯ หวังว่าท่านทั้งหลายที่ได้อ่าน หนังสือเล่มนี้แล้ว คงจะได้ดวงตาเห็นธรรม หรืออย่างน้อยก็พอจะ มองเห็นได้ว่าเราควรจะปฏิบัติธรรมด้วยวิธีใด จึงจะเข้าถึงสัจธรรม โดยฉับพลัน ไม่ต้องไปเสียเวลาศึกษาคัมภีร์อันยุ่งยากยืดยาว ซึ่ง อย่างมากก็ทำเราให้เป็นได้แต่เพียงคนอ่านมาก จำได้มาก พูดมาก แต่ยังเต็มไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ หรือตัณหา และอุปาทาน เพราะการ ยึดมั่นถือมั่นไม่ยอมปล่อยวางในสิ่งใด ๆ และยังเต็มไปด้วยอัตตา ตัวตน
INTRODUCION.
When I was working as the first Secretary of the Thai Embassy at Vairo, I had
bought ten volumes of book from London. They were books on Chinese and
Japanese Buddhism, Hinayana Buddhism and Zen Buddhism. The books were
written in English. I spent my spare time in reading those books. I was very much
impressed by the Zen Buddhism of the Chinese and Japanese. The teaching was a
short cut to Buddish. They call their practice a short-cut practice or an expeditious
practice. They are not interested in Buddhist history. They are not concerned
with the language of Buddhism nor are they interested in their name of the various
aspects of Dhamma. They do not care much for merit-making or Dana
(offering of material gifts.) They want no sin nor.
CHAPTER ONE
: REACHING AN UNDERSTANDING 3
บทที่ ๑ : ปรับความเข้าใจ
CHAPTER TWO : WHAT BUDDHISM AIM AT 39
บทที่ ๒ : พุทธศาสนามุ่งหมายอะไร
CHAPTER THREE : ONE POINT WHICH OUGHT TO BE CORRECTED 73
บทที่ ๓ : ปมเดียวที่ควรแก้
CHAPTER FOUR : THE RISE OF ‘ATTA’ 107บทที่ ๔ : การเกิดขึ้นแห่ง ‘อัตตา’
CHAPTER FIVE : THE EXTINGUISHING OF ‘ATTA’ 153บทที่ ๕ : การดับลงแห่ง ‘อัตตา’
A N N E X : A HANDFUL OF BUDDHIST DHAMMAภาคผนวก : พุทธธรรมกำมือเดียว
: I OWE MY GRATITUDE OF ‘ADJAN’ BUDDHADASA 285ข้าพเจ้าเป็นหนี้บุญคุณท่านอาจารย์พุทธทาส
: A HANDFUL OF BUDDHIST DHAMMA 299พุทธธรรมกำมือเดียว
: THE CHANCE TO EXTINGUISH THE SUFFERING OF THE MIND 347โอกาสของการดับทุกข์ทางใจ
สินค้าที่ดูล่าสุด
- I and MINE : ตัวกู-ของกู ... ราคา 300.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
ปณิธาน ๓ ประการ (ของพุทธทาสภิกขุ)…
รหัส : 978-611-03-0141-1 ราคา : 250.00 ฿ อัพเดท : 24/04/2011 ผู้เข้าชม : 3,044handbookformankind-buddhadasa-bhikkhu
รหัส : 978-616-030-333-5 ราคา : 150.00 ฿ อัพเดท : 24/04/2011 ผู้เข้าชม : 2,768 -
PATICCASAMUPPADA (PRACTICAL DEPENDENT…
รหัส : 978-616-03-0311-3 ราคา : 100.00 ฿ อัพเดท : 24/04/2011 ผู้เข้าชม : 4,037หนังสือธรรมะ-I-and-MINE-ตัวกู-ของกู-ท่านพุทธทาส
รหัส : 978-6160-301-034 ราคา : 200.00 ฿ อัพเดท : 13/06/2011 ผู้เข้าชม : 6,358 -
หนังสือธรรมะ-HEART-WOOD-ท่านพุทธทาส
รหัส : 978-9749-813-683 ราคา : 100.00 ฿ อัพเดท : 13/06/2011 ผู้เข้าชม : 3,666I and MINE : ตัวกู-ของกู ภาษาไทย-อังกฤษ…
รหัส : 978-616-03-0377-9 ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 01/08/2011 ผู้เข้าชม : 8,987 -
สิ่งที่เรายังสนใจกันน้อยไป (ฉบับ…
รหัส : 978-9744-096-159 ราคา : 50.00 ฿ อัพเดท : 27/09/2011 ผู้เข้าชม : 3,261มหาสติปัฏฐานสูตร (พระสูตรจากพระไตรปิฎก…
รหัส : 978-6160-304-240 ราคา : 150.00 ฿ อัพเดท : 07/10/2011 ผู้เข้าชม : 11,332 -
นิพพาน-โดยพุทธทาสภิกขุ-อังกฤษ-ไทย-หนังสือ2ภาษา
รหัส : 978-616-03-0457-8 ราคา : 250.00 ฿ อัพเดท : 30/05/2012 ผู้เข้าชม : 5,646