สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,382,191 |
เปิดเพจ | 17,032,162 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
มิลินทปัญหา-ฉบับเเปลในมหามกุฏุราชวิทยาลัย-ราคา300บาท
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
103-001-007-446-2
-
เข้าชม
29,610 ครั้ง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
09/04/2021 13:37
-
รายละเอียดสินค้า
ชื่อเรื่องหนังสือ มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย
กระดาษถนอมสายตา
โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย
ขนาด 15.3 x 23 cm
ราคา 300 บาท
จำนวนหน้า 564 หน้า
📱โทร.สอบถามการจัดส่งทั่วประเทศ
086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771
👨🏻💻 LINEสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้โดยตรงที่ : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---
แผนที่สำหรับเดินทาง 🚙 มาด้วยตนเอง ที่
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2
………………………………………………………………………………………………
มิลินทปัญหา เป็นปุจฉาวิสัชนาระหว่างพระเจ้ามิลินท์กับพระนาคเสนเถระ
หนังสือมิลินทปัญา เล่มนี้ เป็นปกรณ์สำคัญ
และมีชื่อเสียงมากปกรณ์หนึ่งในพระพุทธศาสนา
แสดงอธิบายธรรม ด้วยวิธีปุจฉา-วิสัชนา
สาธกข้อที่ยากให้เห็นชัดได้ด้วยอุปมานานัปประการ
ยุติด้วยหลักฐานเหตุผลปฏิภาณและภาษาอันไพจิตร
เป็นที่นับถือ ยกย่องของบัณฑิตทั้งหลายทุกกาลสมัย
..........................................................................................................
ดังในช่วงตอนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ว่า
ลำดับนั้น พระเจ้ามิลินท์ เสด็จเข้าใกล้พระนาคเสนเถรเถรเจ้าแล้ว ทรงทำ
พระราชปฏิสันถารกับพระเถรเจ้า ด้วยพระวาจาปราศรัยควรเป็นที่ตั้งแต่ความยินดี
และควรที่เป็นที่ให้ระลึกอยู่ในใจเสร็จแล้ว เสด็จประทับส่วนข้างหนึ่ง แม้
พระเถรเจ้า ก็ทำปฎิสันถารด้วยวาจาปราศรัย อันเป็นเครื่องทำพระหฤทัยของพระเจ้า
มิลินท์ ให้ยินดีเหมือนกัน
ครั้นแล้ว พระเจ้ามิลินท์ ตรัสถามพระเถรเจ้าว่า "ชนทั้งหลายเขารู้จัก
พระผู้เป็นเจ้าว่าอย่างไร, พระผู้เป็นเจ้ามีนามว่าอย่างไร."
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ชนทั้งหลายเขารู้จักอาตมภาพว่า นาคเสน
ถึงเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ก็เรียกอาตมาว่า นาคเสน แต่โยมตั้งชื่อว่า
นาคเสน บ้าง สูรเสน บ้าง ว่า วีรเสน บ้าง ว่า สีหเสน บ้าง ก็แต่คำว่า นาคเสน นี้
เป็นเพียงชื่อที่นับกัน ที่รู้กัน ที่ตั้งกัน ที่เรียกกัน เท่านั้น ไม่มีตัวบุคคลที่จะ
ค้นหาได้ในชื่อนั้น" .........
..........................................................................................................
อารัมภคาถา
พระเจ้าแผ่นดินในสาคลราชธานี อันทรงพระนามว่ามิลินท์ ได้เสด็จไปหาพระนาคเสน
เหมือนน้ำในโครงการไหลไปสู่มหาสมุทรฉะนั้น ครั้งพระองค์เสด็จถึงแล้วได้
ตรัสถามปัญหาอันละเอียดในเหตุที่ควรและไม่ควรเป็นอันมากกับพระนาคเสน-
ซึ่งเป็นผู้กล่าวแก้ไพเราะ มีปัญญาสามารถที่จะบรรเทาความหลง ดุจส่องคบเพลิง
บรรเทามืดเสียฉะนั้นทั้งคำปุจฉาและวิสัชนาล้วนอาศัยอรรถอันลึกซึ้ง
หน้าเป็นที่พึงใจและให้เกิดสุขแก่โสตประสาทเป็นอัศจรรย์ให้ชูชันโลมชาติของผู้สดับ
ถ้อยคำของพระนาคเสนเถระเจ้าไพเราะโดยอุปมาและในอย่างลงในพระอภิธรรม
และพระวินัยประกอบด้วยพระสูตรของท่านทั้งหลายจงส่งยานไปทำอัธยาศัย
ให้ร่าเริงยินดีในกถามรรคนั้นแล้ว จงสดับปัญหาซึ่งเป็นเครื่องทำลายเหตุที่ตั้ง
แห่งความสงสัยอย่างละเอียดนี้เทอญ
..........................................................................................................
มิลินทปัญหา เป็นปกรณ์ที่เก่าแก่และสำคัญปกรณ์หนึ่งในพระพุทธศาสนา
ไม่ปรากฎว่าท่านผู้ใดเป็นผู้รจนา เชื่อว่ารจนาขึ้นในราว พุทธศักราช ๕๐๐ ปรากฏตาม
มธุรัตถปกาสินี ฏีกาแห่งมิลินทปัญหา ซึ่งรจนา โดยพระมหาติปิฏกจุฬาภัย ว่า
พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นผู้แต่งนิทานกถาและนิคมกถาประกอบเข้า ส่วนตัวปัญหา
ท่านหาได้กล่าวว่าผู้ใดแต่งไม่
มิลินทปัญหา แบ่งออกเป็น หกส่วน คือ บุพพโยค ว่าด้วยบุพพกรรมและประวัติ
ของพระนาคเสนและพระเจ้ามิลินท์ มิลินทปัญหาว่าด้วยเงื่อนเดียวเมณฑกปัญหา
ว่าด้วยปัญหาสองเงื่อน อนุมานปัญหา ว่าด้วยเรื่องที่รู้โดยอนุมานลัขณปัญหา
ว่าด้วยลักษณะแห่งธรรมต่างๆ อุปมากถาปัญหา ว่าด้วยเรื่องจะพึงทราบด้วยอุปมาในหกส่วนนี้
บางส่วนยกเป็นมาติกา บางส่วนไม่ยกเป็นมาติกา จัดรวมไว้ในมาติกาอื่น คือ ลักขณปัญหารวมอยู่ในมิลินทปัญหา
อนุมานปัญหารวมอยู่ในเมณฑฏปัญหา เพราะฉะนั้น เมื่อจะจัดระเบียบให้เป็นหมวดหมู่ สะดวกแก่การค้นดู
ต้องแบ่งเป็นสี่ส่วน เรียงลำดับดังนี้ บุพพโยค ซึ่งเรียกว่า พาหิรกถา หนึ่ง มิลินทปัญหา หนึ่ง เมณฑกปัญหา
หนึ่ง และอุปมากถาปัญหา หนึ่ง
เกี่ยวกับระยะเวลาแห่งการรจนามิลินทปัญหาปกรณ์นี้ สมเด็จพระสังฆราช (อุฏฺฐายิมหาเถร)
ทรงสันนิฐานไว้ว่า ในพุทธโฆสัปปวัตติกถา ท้ายคัมภีร์ วิสุทธิมัคค์ กล่าวว่า
พระพุทธโฆษาจารย์เกิดเมื่อพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษา
ในพาหิรกถาแห่งมิลินทปัญหากล่าวว่า พระเจ้ามิลินท์ ทรงสมภพเมื่อ
พุทธศักราช ๕๐๐ ปี แต่ไม่ปรากฏว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงครองราชสมบัติในสาคลนคร เมื่อพระพุทธศักราชล่วงแล้วเท่าไร ปรากฏแต่เพียงว่า
พระเจ้ามิลินท์ ทรงชอบรุกรานถามปัญหาธรรม จนไม่มีใครสามารถจะวิสัชนาได้
สมณพราหมณ์ จึงต่างพากันหนีออกไปหมด
สาคลนครว่างเปล่าจากสมณพราหมณ์ ผู้เป็นบัณฑิตอยู่ถึง ๑๒ ปี
พระนาคเสนจึงได้อุบัติขึ้น และบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๗ ขวบ อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๐ ปีเต็ม
บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จึงได้เรียนพระพุทธวจนะในสำนักของพระพุทธรักขิตเถระ ที่อโสการาม
เมืองปาฏีบุตร เรียนพระไตรปิฎกใช้เวลาในการเรียน ๓ เดือน
และพิจารณาอรรถแห่งพระพุทธวจนะที่เรียนแล้วอีก ๓ เดือนจึงจบ
พร้อมทั้งได้บรรลุพระอรหัตแล้วจึงกลับสู่สังเขยยบริเวณ จนถึงได้พบกับ
พระเจ้ามิลินท์ กระทำปุจฉาวิสัชนากะกันและกัน ระยะกาลตั้งแต่พระนาคเสนอุปสมบทแล้ว
ถึงวิสัชนาปัญหากับพระเจ้ามิลินนี้ อนุมานดูไม่แน่ว่ากี่ปี แต่ก็คงได้ความว่า
พระนาคเสนเกิดภายหลังพระเจ้ามิลินท์หลายสิบปี
คงในราวพระพุทธศักราช ๕๓๐ จะอ่อนแก่ไปบ้างก็คงไม่มากนัก
มิลินทปัญหานี้คงคิดขึ้นในราว ๕๕๐ ปี ขึ้นไป
เพราะฉะนั้น เมื่อประมวลหลักฐานที่มาทั้ง ๓ สถานประกอบกันเข้า
แล้วคงได้ความว่า ตัวมิลินทปัญหาเกิดขึ้นราวพุทธศักราช ๕๕๐ ปี
และพระพุทธโฆษาจารย์ได้แต่งนิทานถกถากับนิคมมถาประกอบเข้า
ให้บริบูรณ์ ได้ลักษณะแห่งปกรณ์ในระหว่างพุทธศักราช ๙๕๖ ถึง ๑๐๐๐ ปี ฯลฯ
เพื่อเทิดพระเกียรติวงศ์คุณองค์พระบูรพาจารย์
บูรพาจารย์ผู้สร้างสรรค์และเผยแพร่ปกรณ์สำคัญในพระพุทธศาสนา
มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้พิมพ์หนังสือเล่มนี้อนึ่ง มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัยนนี้ แปลจากต้นฉบับภาษาบาลี
อักษรโรมัน ดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นแล้ว จึงปรากฏว่าข้อความบางตอนไม่มีในฉบับ
ภาษาบาลีอักษรไทย ฉบับที่มหามกุฏราชวิทยาลัยตรวจชำระพิมพ์ดังกล่าวแล้วเช่นกัน
และอสาธารณนามหลายแห่งไม่ตรงกัน เช่น ชื่อพระสูตรต่างๆ แม่น้ำสำคัญต่างๆ เป็นต้น
เพราะฉบับภาษาบาลีอักษรโรมันกับอักษรไทยนั้น มีข้อความคลาดเคลื่อนกันหลายแห่ง
บางแห่งที่สงสัยและตรวจพบว่าต่างกัน ก็ทำเชิงอรรถไว้ .
กำเนิดพระนาคเสน
ในสมัยนั้น พระโรหณะผู้มีอายุ
นั่งอยู่ที่วัตตนิยเสนาสน์ ทราบปริวิตก
แห่งจิตของนาคเสน ด้วยวารจิตของตนแล้ว, ครองผ้าตามสมณวัตรแล้ว, ถือ
บาตรจีวร อันตรธานจากวัตตนิยเสนาสน์, มาปรากฎที่หน้าบ้านกชังคลคาม.
นาคเสนยืนอยู่ที่ซุ้มประตูแลเท็นพระเถรเจ้ามาอยู่แต่ไกล, ก็มีใจยินดี
รำาเริงบันเทิงเกิดปีติโสมนัส, ดำริว่า "บางทีบรรพชิตรูปนี้จะรู้วิทยาที่เป็นแก่นสาร
บ้างกระมัง" จึงเข้าไปใกล้แล้ว, ถามว่า "ท่านผู้นิรทุกข์, ท่านเป็นอะไร จึงโกน
ศีรษะและนุ่งห่มผ้าย้อมด้วยน้ำฝาดเช่นนี้?"
ร. "เราเป็นบรรพชิต."
น. "ท่านเป็นบรรพชิต, ด้วยเหตุอย่างไร ?"
ร. "เราเว้นจากกิจการบ้านเรือน เพื่อจะละมลทินที่ลามกเสียแล้ว,
เราจึงชื่อว่าเป็นบรรพชิต."
น. "เหตุไฉน ผมของท่านจึงไม่เหมือนของเขาอื่นเล่า ?"
ร. "เราเห็นเหตุเครื่องกังวลสิบหกอย่าง เราจึงโกนเสีย, เหตุเครื่องกังวล
สิบหกอย่างนั้น คือ
- กังวลด้วยต้องหาเครื่องประดับหนึ่ง,
- กังวลด้วยต้องแต่งหนึ่ง.
- กังวลด้วยต้องทาน้ำมันหนึ่ง,
- กังวลด้วยต้องสระหนึ่ง,
- กังวลด้วยต้องประดับดอกไม้หนึ่ง,
- กังวลด้วยต้องทาของหอมหนึ่ง,
- กังวลด้วยต้องอบกลิ่นหนึ่ง,
- กังวลด้วยต้องหาสมอ (สำหรับสระ) หนึ่ง,
- กังวลด้วยต้องหามะขามป้อม (สำหรับสระ)
- กังวลด้วยจับเขม่าหนึ่ง,
- กังวลด้วยต้องเกล้าหนึ่ง,
- กังวลด้วยต้องหวีหนึ่ง,
- กังวลด้วยต้องตัดหนึ่ง,
- กังวลด้วยต้องสางหนึ่ง,
- กังวลด้วยต้องหาเหาหนึ่ง,
- และเมื่อผมร่วงโกร๋น เจ้าของย่อมเสียดายหนึ่ง:
รวมเป็นเหตุเครื่องกังวลสิบหกอย่าง
คนที่กังวลอยู่ในเหตุสิบหกอย่างนี้
ย่อมทำศิลปะที่สุขุมยิ่งนักให้ฉิบหายเสียทั้งหมด."
น. เหตุไฉน ผ้านุ่งห่มของท่าน จึงไม่เหมือนของเขาอื่นเล่า ?"
ร. ผ้าที่กิเลสกามอิงอาศัย เป็นที่ใคร่ของคน เป็นเครื่องหมายเพศ คฤหัสถ์:
ภัยอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นเพราะผ้า,
ภัยนั้นมิได้มีแก่ผู้ที่ นุ่งห่มผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด:เหตุนั้น ผ้านุ่งห่มของเราจึงไม่เหมือนของเขาอื่น."
น. "ท่านรู้ศิลปศาสต์อยู่บ้างหรือ ?"
ร. "เออ เรารู้, แม้มนต์ที่สูงสุดในโลกเราก็รู้."
น. "ท่านจะให้มนต์นั้นแก่ข้าพเจ้าได้หรือ ?"
ร. "เออ เราจะให้ได้."
น. ถ้าอย่างนั้น ท่านให้เถิด."
ร. เวลานี้ยังไม่เป็นกาล เพราะเรายังกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่."
ลำดับนั้น นาคเสนรับบาตรจากหัตพระเถรเจ้าแล้ว, นิมนต์ให้เข้าไปใน
เรือนแล้ว, อังคาสด้วย ขัชชะโภชชาหารอันประณีต ด้วยมือของตนจนอิ่มแล้ว.
พูดเตือนว่า "เวลานี้ท่านให้มนต์นั้นเถิด."
พระเถรเจ้าตอบว่า "ท่านจะขอให้มารดาบิดาอนุญาตแล้ว ถือเพศบรรพชิต
ที่เราถืออยู่นี้ เป็นคนไม่มีกังวลได้เมื่อใด, เราจะให้แก่ท่านเมื่อนั้น"
นาคเสน จึงไปหา มารดาบิดา “บรรพชิตรูปนี้ พูดอยู่ว่า รู้มนต์ที่สูงสุด
ในโลก แต่ก็ไม่ยอมให้แก่ผู้ที่ไม่ได้บวชในสำนักของตน ฉันจะขอบวชเรียน
มนต์นั้น ในสำนักของบรรพชิตผู้นี้”
มารดบิดาสำคัญใจว่า ลูกของคน บวชเรียนมนต์นั้นแล้ว จักกลับมา
จึงอนุญาตว่า “เรียนเถิดลูก” ครั้นมารดาบิดาอนุญาต ให้นาคเสนบวชแล้ว
พระโรหณะ ผู้มีอายุก็พานาคเสนไปสู่วัตตนิยเสนาสน์ และ วิชัมภวัคตถุเสนาสน์แล้ว
พักอยู่ที่วิชัมภวัตถุเสนาสน์ ราตรีหนึ่งแล้ว ไปสู่พื้น ถ้ำรักขิคูหาแล้ว บวชนาคเสน
ในท่ามกลาง พระอรหันต์เจ้า ร้อยโกฏิ ณ ที่นั้น เอง.
………………………………………………………………………………………………
บริการจัดพิมพ์หนังสือธรรมะเป็นธรรมบรรณาการ เนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆจัดส่งทั่วประเทศ
📱โทร.สอบถามการจัดส่งทั่วประเทศ
086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771
👨🏻💻 LINEสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้โดยตรงที่ : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
แนะนำหนังสือ ที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กันกับหนังสือเล่มนี้
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
หนังสือ : วิสุทธิมรรค // พระพุทธโฆสเถร : รจนา
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
มิลินทปัญหา-ฉบับเเปลในมหามกุฏุราชวิทยาลัย-ราคา300บาท
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
หนังสือ สัตตปัพพบุพพสิกขา และ บุพพสิกขาวรรณนา 400.00 บาท
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
วิมุตติมรรค-อธิบาย ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา-ราคาเล่มละ300บาท
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...
ชุดหนังสือ วิสุทธิมรรค-และ-วิมุตติมรรค-900บาท
เป็นหนังสือที่มีความเกี่ยวเนื่องล้อกันอยู่ถึงแม้จะถูกรจนาขึ้นต่างยุคต่างสมัยก็ตาม
จำนวน 2 เล่ม นี้จึงเป็นที่นิยมใช้ และนำไปเป็นหลักอ้างอิงเชิงพระพุทธศึกษาในวงกว้าง
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
Tags : มิลินทปัญหา , พระนาคเสนเถระ , หนังสือมิลินทปัญหา , มหามกุฏราชวิทยาลัย
สินค้าที่ดูล่าสุด
- มิลินทปัญหา-ฉบับเเปลในมหา... ราคา 300.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชนย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี45เล่มจากมหามกุฏราชวิทยาลัย
รหัส : 00000 ราคา : 500.00 ฿ อัพเดท : 02/08/2022 ผู้เข้าชม : 87,371ตู้พระไตรปิฎกไม้สักแท้และหนังสือพระไตรปิฎกมจร.พุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญ…
รหัส : ไตรปิฎกไม้สัก ราคา : 8,500.00 ฿ อัพเดท : 20/03/2012 ผู้เข้าชม : 6,463 -
ป้ายทองเหลือง บรรจุรายชื่อ ผู้ร่วมสร้างตู้พระไตรปิฎก
รหัส : ป้ายทองเหลือง ราคา : สอบถามราคากับช่างผู้แกะเนื้องาน อัพเดท : 22/07/2011 ผู้เข้าชม : 4,006ป้ายอลูมิเนียม บรรจุรายชื่อ ผู้ร่วมสร้างตู้พระไตรปิฎก
รหัส : ป้ายทองอลูมิเนียม ราคา : สอบถามราคากับช่างผู้แกะเนื้องา อัพเดท : 20/07/2011 ผู้เข้าชม : 4,932 -
หนังสือพระไตรปิฎก ทั้ง 45 เล่ม…
รหัส : มจร ราคา : 15,000.00 ฿ อัพเดท : 10/05/2022 ผู้เข้าชม : 44,036ตู้ใส่หนังสือธรรมะ ไม้สัก สีน้ำตาล-ดำเคลือบด้าน
รหัส : ตู้พระไตรปิฎก3 ราคา : 8,500.00 ฿ อัพเดท : 11/11/2011 ผู้เข้าชม : 4,679 -
พระไตรปิฎกฉบับที่ทำให้ง่ายแล้ว-โดย-วศินอินทสระ-เรียบเรียง
รหัส : 9786167149066 ราคา : 380.00 ฿ อัพเดท : 13/11/2020 ผู้เข้าชม : 22,032พระไตรปิฎกฉบับย่อความและอธิบายความ-อังคุตตรนิกาย(หมวด1-9)โดยวศินอินทสระ
รหัส : 9786167149127 ราคา : 600.00 ฿ อัพเดท : 27/09/2011 ผู้เข้าชม : 4,709 -
พระไตรปิฎกฉบับขยายความสังยุตตนิกายสคาถวรรคเล่ม15โดยวศินอินทสระ
รหัส : 9786167149202 ราคา : 650.00 ฿ อัพเดท : 27/09/2011 ผู้เข้าชม : 4,004คำบรรยายในพระไตรปิฎก-เสฐียรพงษ์วรรณปกราชบัณฑิต
รหัส : 978-616-03-0498-1 ราคา : 200.00 ฿ อัพเดท : 05/06/2012 ผู้เข้าชม : 16,474 -
พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม1-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-9099-2-5 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 09/06/2012 ผู้เข้าชม : 4,560พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม2-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-9028-23-0 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 11/06/2012 ผู้เข้าชม : 2,876 -
พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม3-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-91103-4-8 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 11/06/2012 ผู้เข้าชม : 2,469พระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า
รหัส : 978-974-364-962-2 ราคา : 3,500.00 ฿ อัพเดท : 19/11/2021 ผู้เข้าชม : 13,990 -
พระไตรปิฎกฉบับพิเศษ-คู่มือปฏิบัติธรรมตามวิถีพระพุท
รหัส : 978-974-881817-7 ราคา : 211.00 ฿ อัพเดท : 22/06/2012 ผู้เข้าชม : 4,117นวโกวาท-หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี-30บาท
รหัส : 2010010208837 ราคา : 30.00 ฿ อัพเดท : 15/01/2019 ผู้เข้าชม : 32,551