ให้ทานอย่างไร จึงจะได้ทำบุญอย่างสมบูรณ์
ทีนี้ก็มาดูว่า บุญนั้นแค่ไหน การทำบุญ ท่านเรียกว่า บุญ
กิริยา หรือเรียกยาวว่า บุญกิริยาวัตถุ คือ เรื่องของการทำบุญ ญาติโยม
ที่คุ้นวัดจะนึกออกว่า บุญกิริยาวัตถุ มี ๓ อย่าง คือ
๑ ทาน การให้ เผื่อแผ่ แบ่งปัน
๒ ศีล การประพฤติสุจริต ีความสัมพันธ์ดีงาม ไม่เบียดเบียนกัน
๓ ภาวนา ฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ เจริญปัญญา
ทาน ก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง ศีล ก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง ภาวนา ก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง
และสูงขึ้นไปตามลำดับด้วย
ศีล เป็นบุญที่สูงกว่าทาน ภาวนา เป็นุญที่สูงกว่าศีล แต่เราสามารถ
ทำไปพร้อมกันทั้ง ๓ อย่าง
เหตุใดจึงเรียกการถวายของแก่พระที่วัดว่าเป็นการทำบุญ
แต่ให้แก่ชาวบ้านเรียกว่าทานเฉยๆ เรื่องนี้อาจเกิดจากการที่ว่า
๑ เวลาเราไป ถวายแก่พระที่วัด เราไม่ใช่ถวายทานอย่างเดียวเท่านั้น
คือในเวลาที่เราไปถวายสิ่งของเครื่องไทยธรรม หรือทำอะไรที่วัดนั้น
นอกจากทานเป็นอย่างที่ ๑ แล้ว
๒ ศีล เราก็ได้รักษาไปด้วย คือเราต้องสำรวมกายวาจาอยู่ในระเบียบ
สำรวมกายวาจาอยู่ในระเบียบแบบแผนวัฒนธรรมประเพณี เรื่อง
มารยาทอากัปกิริยา และการสำรวมวาจาต่างๆ นี้ เป็นศีลทั้งสิ้น
และเวลานั้นเรางดเว้นความไม่สุจริตทางกายวาจา ควาไม่เรียบร้อย
การเบียดเบียนทุกอย่างทางกายวาจา เราละเว้นหมด เราอยู่ในกายวาจาที่ดีงาม
ที่ประณีต ที่สำรวม ที่ควบคุม นี่คือเป็นศีล
๓ ในด้านจิตใจ จะด้วยบรรยากาศการทำบุญก็ตามหรือด้วยจิตใจที่เรามีควา
เลื่อมใสตั้งใจด้วยศรัทธาก็ตาม จิตใจของเรามีความเลื่อมใสตั้งใจ
ด้วยศรัทธา จิตใจของเราก็ดีงามด้วย เช่น มีความสงบ มีความสดชื่น
เบิกบานผ่องใส มีความอิ่มใจ ตอนนี้เราได้ภาวนาไปด้วย
ยิ่งถ้าพระได้อธิบายให้เข้าใจในเรื่องการทำทานนั้นว่า ทำเพื่ออะไร
มีประโยชน์อย่างไร สัมพันธ์กับบุญหรือการปฏิบัติธรรมอื่นๆ อย่างไร
เรามองเห็นคุณค่าประโยชน์นั้นๆ และมีความรู้ความเข้าใจธรรม
เข้าใจเหตุผลต่างๆ มากขึ้น เราก็ไดปัญญาด้วย
ด้วยเหตุที่ว่ามานี้ จึงกลายเป็นว่า เมื่อเราไปที่วัดนั้น แ้จะไปถวายทานอย่างเดียว
แต่เราได้หมดทุกอย่าง ทานเราก็ทำ ศีลเราก็พลอยรักษา
ภาวนาเราก็ได้ ทั้งภาวนาจิตใจ และภาวนาด้านปัญญา
เพราะฉะนั้น เมื่อเราไปที่วัด ถ้าเราปฏิบัติถูกต้อง เราจึงไ่ได้ถวายทานอย่างเดียว
แต่เราได้มาครบ
ตอนแรกเราตั้งใจไปถวายทานอย่างเดียว แต่เมื่อไปแล้ว เราได้มาครบทั้งสามอย่าง
ทีนี้เราจะบอกว่า เราไปถวายทานมา เราก็พูดไม่ครบ เลยพูดว่า
"เราไปทำบุญ" เพราะเราได้ครบทั้งสามอย่างนั่นเอง