สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,382,074 |
เปิดเพจ | 17,032,041 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
ชุดหนังสือ-อรรถกถาภาษาไทย-โดย-มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
อรรถกถา55เล่ม
-
เข้าชม
18,287 ครั้ง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
10/08/2020 15:45
-
รายละเอียดสินค้า
ชุดหนังสือ อรรถกถาภาษาไทย
โดย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ
ในราคามูลนิธิ 20,000 บาท (ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วไทย)
จำนวน ทั้งชุด 55 เล่ม // บรรจุหนังสือ จำนวน 4 กล่อง
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ดำเนินการจัดส่ง โดย
"ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์"
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
สามารถโทรสอบถามการจัดส่งได้ที่เบอร์086-4618505 หรือ 087-6967771
สั่งซื้อหนังสือ อรรถกถา ขยายความ จากพระไตรปิฎกภาษาไทยชุดนี้ทาง LINE
LINE : @trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---
แผนที่สำหรับเดินทาง มาด้วยตนเอง ที่
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
คัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เรียกเป็นภาษาบาลี "มหาจุฬาเตปิฎก"
มีทั้งหมด 45 เล่ม แบ่งเป็น 3 ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก 8 เล่ม ได้แก่
เล่ม 1-8 พระสุตตันตปิฎก 25 เล่ม ได้แก่เล่ม 9-33
และพระอภิธรรมปิฎก 12 เล่ม ได้แก่ 34 - 45 เล่ม
แต่ละปิฎกและแต่ละเล่มมีคัมภีร์อรรถกถา คือหนังสือคู่มือการศึกษา
พระไตรปิฎกที่โบราณจารย์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นต้นมา
ได้รจนา ขึ้น เพื่ออธิบายความหมายของคำศัพท์ที่เข้าใจยาก
และความหมายของวลี ประโยค หรือข้อความที่มีนัยสลับซับซ้อน อาจทำให้เข้าใจผิด
และแปลความหมายผิดไปจากพระพุทธประสงค์ในบริบทนั้นๆ ได้
คัมภีร์อรรถกถาเท่าที่ได้พบในขณะนี้ มีมากกว่า 50 เล่ม บางเล่ม มีอายุมากกว่า
2000 ปี เดิมโบราณาจารย์ ของไทยนำต้นฉบับที่เป็นอักษรเทวนาครีของอินเดียบ้าง
อักษรสีหลของศรีลังกาบ้าง อักษรพม่าบ้าง มาปริวรรต เป็นอักษรขอมและจาริกลง
ในใบลาน ต่อมาได้ปริวรรตจากอักษรขอมเป็นอักษรไทย และจัดพิมพ์
เป็นหนังสือครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2462 สถาบันที่รักษาและสืบทอดอรรถกถาภาษาบาลี
อักษรไทย มาได้แก่ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
(ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย)
เมื่อกาลเวลาผ่านไป คัมภีร์อรรถกถาเหล่านั้น บางส่วนก็ได้ขาดคราวไป
และที่เหลือบางส่วนก็ได้ชำรุด ด้วยเพราะเหตุกระดาษหมดอายุการใช้งานไป
และเนื่องจากการพิมพ์มาช้านาน และอีกหลายประการ ยกเว้นบางคัมภีร์ ที่ทางคณะสงฆ์
ใช้เป็นอุปกรณ์การศึกษาภาษาบาลี ซึ่งมีการจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เรื่อยๆ เช่น
คัมภีร์ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก นายพร รัตนสุวรรณ
อาจารย์ของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน
และสำนักค้นคว้าทางวิญญาณ ได้เห็นความสำคัญของคัมภีร์อรรถกถา เพราะใช้เป็นเครื่องมือ
ค้นคว้าหาความรู้ในพระไตรปิฎกอยู่สม่ำเสมอ และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะ
จัดพิมพ์คัมภีร์อรรถกถาทั้งที่ขาดคราวและชำรุดขึ้นมาใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่
ผู้ศึกษาพระไตรปิฎกต่อไป จึงได้ปรึกษากับผู้ทรงความรู้ในภาษาบาลี
ทั้งฝ่ายมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และฝ่ายมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เมื่อมีความเห็นตรงกัน จึงขออนุมัติมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แต่งตั้ง
คณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งให้ทำหน้าที่ตรวจชำระสอบทานอรรถกถา
เหล่านั้นกับต้นฉบับของพม่า มีการจัดหัวข้อและวรรคตรงกับพระไตรปิฎก
ภาษาบาลีฉบับ "มหาจุฬาเตปิฎกํ" เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นคว้า
พระไตรปิฎกฉบับดังกล่าว เมื่อตรวจชำระเสร็จแล้วได้จัดพิมพ์ในนาม
ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โดยใช้ชื่อว่า "มหาจุฬาอฏฐกถา" ปรากฏว่า คัมภีร์อรรถกถาเหล่านั้น
เป็นอุปกรณสำคัญช่วยให้การแปลพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สำเร็จลงด้วยดี และอำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกของนิสิต
มหาวิทยาลัยและพระภิกษุสงฆ์ทั่วไปได้จริง. นายพร รัตนสุวรรณ
และคณะกรรมการตรวจชำระคัมภีร์อรรถกถา จึงมีศรัทธาและกำลังใจเพิ่มขึ้น
ได้ตรวจชำระคัมภีร์อรรถกถาที่เหลืออยู่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังจัดหาคัมภีร์ อรรถกถา คัมภีร์ฏีกา
พร้อมทั้งปกรณ์วิเสส หรือสัททาวิเสสอักษรพม่า ฉบับฉัฏฐสังคายนามาปริวรรต เป็นอักษรไทย
แล้วจัดพิมพ์เผยแพร่ในนามของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เช่นเดียวกัน
คัมภีร์เหล่านี้ ล้วนเป็นสมบัติล้ำคาของมหาวิทยาลัยของชาติ และของพระพุทธศาสนา
มหาวิทยาลัยจึงขออนุโมทนา ณ ที่นี้ด้วย
ภาพครั้งงานถวาย หนังสืออรรถกถา แปลไทย ที่จัดพิมพ์โดย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เห็นว่า คัมภีร์อรรถกถา ภาษาบาลี
อักษรไทยเหล่านั้น อำนวยความสะดวกแก่นิสิตของมหาวิทยาลัย ตลอดจน พระภิกษุสามเณร และคฤหัสถ์ ผู้มี
ความรู้ ภาษาบาลีระดับสูงเท่านั้น แต่มหาวิทยาลัย ยังมีนิสิตจำนวนมากทั้งที่เป็นบรรพชิต และคฤหัสถ์ ที่ไม่มี
ความรู้ภาษาบาลีดีพอ จะอ่านคัมภีร์อรรถกถาภาษาบาลีได้ จึงไม่ได้รับประโยคจากคัมภีร์ อรรถกถาเหล่านั้น
เนื่องจากมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัย เฉพาะทางเน้นการศึกษาพระพุทธศาสนา
เป็นหลัก จึงต้องศึกษาคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา ทั้ง 3 ระดับ
คือคัมภีร์พระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถา
(อธิบายขยายความในคัมภีร์พระไตรปิฎก) และคัมภีร์ฎีกา (อธิบายขยายความในคัมภีร์อรรถกถา)
พร้อมทั้งปกรณ์วิเสส หรือ สัททาวิเสส กล่าวคือ ศึกษาโดยเทียบสูตร (พระไตรปิฎก) สุตตานุโลม (อรรถกถา)
และอาจริยวาท (ฏีกา) การศึกษาแนวนี้จะก่อให้เกิดวิจารณญาณแก่ผู้ศึกษาได้ว่า สิ่งใด เป็นธรรม ตามที่พระพุทธองค์
ทรงสั่งสอนไว้ หรือไม่ สิ่งใดเป็นวินัย ตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้หรือไม่ คือ ถ้าศึกษาเรื่องใดโดยการ
เทียบเคียงกับคัมภีร์ทั้ง 3 ระดับแล้ว พบว่าตรงกัน ลงกัน สมกัน ไม่ขัดกัน ก็ถือได้ว่า เรื่องนั้นเป็นจริง
ถูกต้องตามพระพุทธพจน์แน่นอน ถ้าไม่ตรงกัน ไม่ลงกัน ไม่สมกัน มีข้อขัดแย้งกัน ก็ถือได้ว่า เรื่องนั้น
ไม่จริง ไม่ถูกต้องตามพระพุทธพจน์แน่นอน
คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า
แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น
โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง
แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง
ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย
แต่นำเฉพาะบางศัพท์วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น
ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหา
ในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
รายการหนังสืออรรถกถาภาษาไทย
ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๕๕ เล่ม (ครบสมบูรณ์)--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๑ สมันตปาสาทิกา ภาค ๑
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๒ สมันตปาสาทิกา ภาค ๒
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๓ สมันตปาสาทิกา ภาค ๓
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๔ ทีฆนิกาย สีลักขันธวรรค (สุมังคลวิลาสินี)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๕ ทีฆนิกาย มหาวรรค (สุมังคลวิลาสินี)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๖ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (สุมังคลวิลาสินี)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๗ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ภาค ๑ (ปปัญจสูทนี)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๘ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ภาค ๒ (ปปัญจสูทนี)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๙ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (ปปัญจสูทนี)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๑๐ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ (ปปัญจสูทนี)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สารัตถัปปกาสินี ๑)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๑๒ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สารัตถัปปกาสินี ๒)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๑๓ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สารัตถัปปกาสินี ๓)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต (มโนรถปูรณี ๑)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย ทุก - จตุกกนิบาต (มโนรถปูรณี ๒)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ปัญจก - เอกาทสกนิบาต (มโนรถปูรณี ๓)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๑๗ ขุททกปาฐะ ปรมัตถโชติกา
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๑๘ ธรรมบท ภาค ๑
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๑๙ ธรรมบท ภาค ๒
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๒๐ ปรมัตถทีปนี อุทาน
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๒๑ ปรมัตถทีปนี อิติวุตตกะ
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๒๒ ปรมัตถโชติกา สุตตนิบาต ภาค ๑
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๒๓ ปรมัตถโชติกา สุตตนิบาติ ภาค ๒
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๒๔ ปรมัตถทีปนี วิมานวัตถุ
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๒๕ ปรมัตถทีปนี เปตวัตถุ
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๒๖ ปรมัตถทีปนี เถรคาถา ภาค ๑
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๒๗ ปรมัตถทีปนี เถรคาถา ภาค ๒
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๒๘ ปรมัตถทีปนี เถรีคาถา
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๒๙ ชาดก ภาค ๑ (ชาตกัฏฐกถา)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๓๐ ชาดก ภาค ๒ (ชาตกัฏฐกถา)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๓๑ ชาดก ภาค ๓ (ชาตกัฏฐกถา)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๓๒ ชาดก ภาค ๔ (ชาตกัฏฐกถา)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๓๓ ชาดก ภาค ๕ (ชาตกัฏฐกถา)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๓๔ ชาดก ภาค ๖ (ชาตกัฏฐกถา)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๓๕ ชาดก ภาค ๗ (ชาตกัฏฐกถา)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๓๖ ชาดก ภาค ๘ (ชาตกัฏฐกถา)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๓๗ ชาดก ภาค ๙ (ชาตกัฏฐกถา)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๓๘ ชาดก ภาค ๑๐ (ชาตกัฏฐกถา)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๓๙ มหานิทเทส (สัทธัมมปปชฺโชติกา)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๔๐ จูฬนิทเทส (สัทธัมมปปชฺโชติกา)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๔๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาค ๑ (สัทธัมมัปปกาสินี)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๔๒ ปฏิสัมภิทามรรค ภาค ๒ (สัทธัมมัปปกาสินี)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๔๓ อปทาน ภาค ๑ (วิสุทธชนวิลาสีนิ)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๔๔ อปทาน ภาค ๒ (วิสุทธชนวิลาสีนิ)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๔๕ พุทธวงศ์ (มธุรัตถวิลาสีนิ)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๔๖ จริยาปิฎก (ปรมัตถวิลาสีนิ)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๔๗ อัฏฐสาลินี (ธัมมสังคณี)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๔๘ สัมโมหวิโนทนี (วิภังค์)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๔๙ ปัญจปกรณ์
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๕๐ กังขาวิตรณีอัฏฐกถา
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๕๑ มังคลัตถทีปนี ภาค ๑
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๕๒ มังคลัตถทีปนี ภาค ๒
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๕๓ มิลินทปัญหา
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๕๔ วิสุทธิมรรค ภาค ๑ (ไทย)
หนังสือ อรรถกถา ภาษาไทย ลำดับที่ ๕๕ วิสุทธิมรรค ภาค ๒ (ไทย)--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ด้านล่างนี้ คือกลุ่มผลิตภัณฑ์ ตู้ที่สามารถบรรจุชุดอรรถกถา
จำนวน 55 เล่ม ชุดนี้ได้ ครบทั้งชุด
ซึ่งเป็นตู้แบบเดียวกันกับหนังสือพระไตรปิฎก45เล่มภาษาไทย
ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเช่นกัน
Tags : หนังสืออรรถกถา , พระไตรปิฎก , มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สินค้าที่ดูล่าสุด
- ชุดหนังสือ-อรรถกถาภาษาไทย... ราคา 20,000.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชนย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี45เล่มจากมหามกุฏราชวิทยาลัย
รหัส : 00000 ราคา : 500.00 ฿ อัพเดท : 02/08/2022 ผู้เข้าชม : 87,371ตู้พระไตรปิฎกไม้สักแท้และหนังสือพระไตรปิฎกมจร.พุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญ…
รหัส : ไตรปิฎกไม้สัก ราคา : 8,500.00 ฿ อัพเดท : 20/03/2012 ผู้เข้าชม : 6,463 -
ป้ายทองเหลือง บรรจุรายชื่อ ผู้ร่วมสร้างตู้พระไตรปิฎก
รหัส : ป้ายทองเหลือง ราคา : สอบถามราคากับช่างผู้แกะเนื้องาน อัพเดท : 22/07/2011 ผู้เข้าชม : 4,006ป้ายอลูมิเนียม บรรจุรายชื่อ ผู้ร่วมสร้างตู้พระไตรปิฎก
รหัส : ป้ายทองอลูมิเนียม ราคา : สอบถามราคากับช่างผู้แกะเนื้องา อัพเดท : 20/07/2011 ผู้เข้าชม : 4,932 -
หนังสือพระไตรปิฎก ทั้ง 45 เล่ม…
รหัส : มจร ราคา : 15,000.00 ฿ อัพเดท : 10/05/2022 ผู้เข้าชม : 44,036ตู้ใส่หนังสือธรรมะ ไม้สัก สีน้ำตาล-ดำเคลือบด้าน
รหัส : ตู้พระไตรปิฎก3 ราคา : 8,500.00 ฿ อัพเดท : 11/11/2011 ผู้เข้าชม : 4,679 -
พระไตรปิฎกฉบับที่ทำให้ง่ายแล้ว-โดย-วศินอินทสระ-เรียบเรียง
รหัส : 9786167149066 ราคา : 380.00 ฿ อัพเดท : 13/11/2020 ผู้เข้าชม : 22,031พระไตรปิฎกฉบับย่อความและอธิบายความ-อังคุตตรนิกาย(หมวด1-9)โดยวศินอินทสระ
รหัส : 9786167149127 ราคา : 600.00 ฿ อัพเดท : 27/09/2011 ผู้เข้าชม : 4,709 -
พระไตรปิฎกฉบับขยายความสังยุตตนิกายสคาถวรรคเล่ม15โดยวศินอินทสระ
รหัส : 9786167149202 ราคา : 650.00 ฿ อัพเดท : 27/09/2011 ผู้เข้าชม : 4,004คำบรรยายในพระไตรปิฎก-เสฐียรพงษ์วรรณปกราชบัณฑิต
รหัส : 978-616-03-0498-1 ราคา : 200.00 ฿ อัพเดท : 05/06/2012 ผู้เข้าชม : 16,474 -
พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม1-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-9099-2-5 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 09/06/2012 ผู้เข้าชม : 4,560พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม2-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-9028-23-0 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 11/06/2012 ผู้เข้าชม : 2,876 -
พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม3-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-91103-4-8 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 11/06/2012 ผู้เข้าชม : 2,469พระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า
รหัส : 978-974-364-962-2 ราคา : 3,500.00 ฿ อัพเดท : 19/11/2021 ผู้เข้าชม : 13,990 -
พระไตรปิฎกฉบับพิเศษ-คู่มือปฏิบัติธรรมตามวิถีพระพุท
รหัส : 978-974-881817-7 ราคา : 211.00 ฿ อัพเดท : 22/06/2012 ผู้เข้าชม : 4,117นวโกวาท-หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี-30บาท
รหัส : 2010010208837 ราคา : 30.00 ฿ อัพเดท : 15/01/2019 ผู้เข้าชม : 32,551