สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,382,046 |
เปิดเพจ | 17,032,013 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
พุทธธรรม-ฉบับปรับขยาย-พจนานุกรม-โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
974-575-492-7
-
เข้าชม
74,573 ครั้ง
ยี่ห้อ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รุ่น
ปกแข็ง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
18/08/2021 20:00
-
รายละเอียดสินค้า
หนังสือพระไตรปิฎก และ หนังสือพุทธธรรม มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
#พระไตรปิฎก เป็นประดุจดั่งคลังบันทึกคำสอนอันมากมายของ #พระพุทธเจ้า ผ่านการเวลานับพันปี
ยากที่คนยุคหลังจะเข้าใจได้ #พุทธธรรม ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ.ปยุตฺโต จึงเป็นดั่ง
อรรถาธิบายไขข้อสงสัย แห่งพระไตรปิฎก ให้มีชีวิตชีวา และสื่อความหมายทั้งในแง่จริยธรรม
และศาสนธรรมในโลกสมัยใหม่
สรุปความสัมพันธ์ คือ
@ หนังสือพระไตรปิฎก คือ หลักแห่งพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า
@หนังสือพุทธธรรม คือ หนังสือ อรรถาธิบาย (อธิบายขยายความ) เนื้อความในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้นจัดพิมพ์โดย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหนังสือ ปกแข็ง หุ้มหนังอย่างดี เย็บกี่
กระดาษ ถนอมสายตาสีครีม
จำนวน 1360 หน้า
จัดพิมพ์ครั้งที่ 39 พ.ศ. 2557
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
ราคามูลนิธิ 700 บาท ลดพิเศษเหลือ 665
+จัดส่งเคอรี่ทั่วไทย 140 บาท
= 805 บาท
ในกรณี ที่ ผู้สั่งหนังสือ มากกว่า 1 เล่ม
สามารถ LINE แจ้งจำนวนเล่ม กับเจ้าหน้าที่
เพื่อให้ได้ค่าจัดส่ง ที่ถูกลง
(ถ้าสั่งหลายเล่มในคราวเดียวกัน) ครับ📱โทร.สอบถามการจัดส่งทั่วประเทศ
086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---
#สำหรับท่านที่ประสงค์จะมาเยี่ยมชมด้วยตนเอง
#ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์
แผนที่สำหรับเดินทาง Google maps🚙
ศูนย์ เผยแพร่พระไตรปิฎกพุทธมณฑลสาย4
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2
พระไตรปิฎก มีคำศัพท์ เป็นจำนวนมาก หมายถึงในเนื้อหา ทั้ง 45 เล่ม
ที่จัดพิมพ์โดย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มีคำศัพท์ ที่เป็นดรรชนี ที่เป็นคำศัพท์ ที่มีความหมายไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์ ที่เป็นศัพท์ธรรมะ คำศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะ
คำศัพท์ที่เป็นอสาธารณนาม ที่เป็นบุคคล สถานที่ สิ่งของ เครื่องใช้ มีมากกว่า 18,000 ศัพท์ในหนังสือพุทธธรรมนี้ จะเป็นหนึ่งในกุญแจ ที่ช่วยอธิบายขยายความ ความหมาย
คำศัพท์ที่ยาก ช่วยให้เกิดความกระจ่างได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
หนังสือ พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย นี้ ก็คือ พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ นั่นเอง แต่ในการพิมพ์ครั้งใหม่นี้ ได้ตัดปรับชื่อให้สั้สเข้า เพื่อจำง่ายเรียกได้สะดวก
นับแต่คณะระดมธรรม และธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พิมพ์หนังสือนี้ขึ้นมาเป็นครั้ง
แรก เสร็จเมื่อวันวิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๒๕ ถึงบัดนี้ เกือบเต็ม ๓๐ ปีแล้ว ระหว่างการที่ผ่านมา ได้มีการพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง แต่พิมพ์ได่เพียงซ้ำตามเดิม และการพิมพ์มีคุณภาพด้อย เนื่่องจากเมื่อพิมพ์ครั้งแรก
นั้น การพิมพ์อย่างก้าวก้าวหน้าที่สุด มีเพียงระบบคอมพิวเตอร็กราฟฟิก ที่จัดทำเป็นแผ่นอาร์ตเวิร์ค ซึ่งคงอยู่
ไม่นานก็ผุพังไป แล้วต่อจากนั้น ต้องใช้วิธีถ่ายภาพจากหนังสือเล่มเก่า โดยเลือกหนังสือที่เห็นว่าอ่าน
ชัดที่สุดเท่าที่จะหาได้มาถ่ายแบบพิมพ์ใช้กันอย่างพอให้เป็นไป
ระหว่างนั้น ผู้ศรัทธามีน้ำใจหลายท่าน หลายคณะ ได้พยายามนำข้อมูลหนังสือ พุทธธรรม
ฉบับปรับปรุงและขยายความ นั้น จัดพิมพ์เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ และก้าวไปได้มาก แต่มีข้อติดขัดที่
ซับซ้อนบางอย่าง ที่ทำให้ไม่ลุล่วง จนกระทั่งวันหนึ่ง ได้ทราบว่า นายแพทย์ณรงค์ เลาหวิรภาพ กำลัง
ดำเนินการนำข้อมูลหนังสือนี้ลงในคอมพิวเตอร์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ แม้ว่าต่อมา สำนักคอมพิวเตอร์
มหาลัยมหิดลจะได้นำข้อมูล พุทธธรรมฯ ลงในโปรแกรมพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์ BUDSIR VI
เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วใน พ.ศ. ๒๕๕๐ แต่คุณหมอณรงค์ก็ยังทำงานของตนเป็นอิสระต่อไป
ในที่สุด ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ขณะที่ผู้เขียนพำนักอยู่ที่่สถานพำนักสงฆ์สหธรรม
วาสี อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี นายแพทย์ณรงค์ เลาหวิรภาพ ได้เดินทางไปกับคุณสุรเดช พรทวีทัศน์
(ผู้ต้นคิดสายนี้) และคุณนริศ จรัสจรรยาวงศ์ นำข้อมูลคอมพิวเตอร็ของหนังสือ พุธธรรม ฉบับ
ปรับปรุงขยายความ ที่จัดเรียงครบจบเล่มแล้ว พร้อมทั้งดัชนี ไปถวาย
เวลาผ่านมา เมื่อผู้เขียนพำนักอยู่ศาลากลางสระ สถานพำนักสงฆ์สายใจธรรม เขาสำโรงดง
ยาง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ติดต่อกันอีก ๒ พรรษา หลังสิ้นพรรษาแรกแล้ว ถึงวันที่ ๒๙
ธันวาคา ๒๕๕๓ จึงได้มีโอการเริ่มงานตรวจชำระข้อมูลคอมพิวเตอร์ของหนัง พุทธธรรมฯ ที่ได้รับ
ถวายไว้ครึ่งปีเศษแล้วนั้น และเพื่อมเติมจัดปรับให้พร้อมที่จะพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ
ประจวบว่าตลอดช่วงเวลาทำงานนี้ อาการอาพาธโรคต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่ ได้รุงแรงขึ้น กับทั้ง
โรคติดเชื้อในกระแสโลหิตที่ค่อนข้างเสี่ยงชีวิต ก็แทรกซ้อนเข้ามา เป็นเหตุให้งานไม่ราบรื่นบ้างในบาง
ช่วง แต่ในที่สุด งานตรวจชำระเนื้อหนังสือก็เสร็จจบเล่มเมื่อขึ้นเดือนกันยายน ๒๕๕๔ และได้ส่ง
ข้อมูลเนื้อหนังสือไปให้คุณหมอณรงค์จัดปรับ (update) ดัชนีให้ลงบตัว
โดยทั่วไป เนื้อหนังสือ พุทธธรมมฯ นี้ ก็คงตามเดิม แต่เมื่อทำงานตรวจชำระและใช้ข้อมูล
คอมพิวเตอร์ เป็นโอกาศที่จะจัดปรับได้สดวก จึงได้จัดรูปให้อ่านง่ายขึ้น โดยเฉพาะซอยย่อหน้าถี่ขึ้น
อย่างมาก และได้แทรกเพิ่มคำอธิบายในที่ต่างๆ ตามสมควร
ที่ควรสังเกตุคือ ได้นำ "บทความประกอบ" ทั้งหมดของภาค ๑ แยกออกไปจัดรวมไว้ต่างหาก
เป็นภาค ๓ คืออยู่ท้ายเล่ม และได้เพิ่มบทความประกอบอีก ๑ บท (บทความประกอบที่ ๖: ความสุข
๒: ฉนั้นประมวณความ) เป็นบทสุดท้าย ทำให้หนังสือนี้มีจำนวนบททั้งเล่มเพิ่มจาก ๒๒ เป็น ๒๓ บท
อนึ่ง ใน พุทธธรรมฯ นี้ มีตารางและภาพหลายแห่ง เมื่อถ่ายภาพจากหนังสือเก่า ก็ไม่ชัด พระ
ชัยยศ พุทฺธิวโร จึงได้เขียนตารางและภาพเหล่านั้นแทนให้ ๒๔ หน่วย อีกทั้งต่อมาได้มาพักไม่ไกลกัน
บนภูเขา เมื่อเห็นภาพใดไม่ชัด ก็ทำใหม่ให้ และเมื่อเนื้อหนังสือเสร็จ ก็ได้ช่วยอ่านพิสูจน์อักษรด้วย
ในที่สุด เมื่อมองรวมทั้งเล่มชื่อเดิมของหนังสือที่ว่า พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ
นั้นยืดยาวเกินไป จึงเรียกใหม่ให้ง่ายและสดวกขึ้นเป็น พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย
มีความประจอบพอดีเป็นศรีศุภกาล ที่ทุกอย่างจำเพาะมาลงตัวกันเองให้หนังสือ พุทธธรรม
ฉบับปรับขยาย นี้เสร็จ ในช่วงแห่งมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ใน
วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔
โดยเฉพาะงานนี้ ดังที่กล่าวแล้ว เป็นการจัดการเนื้อหนังสือที่เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้อง
อาศัยอุปกรณ์การทำงานที่มีราคาสูงเป็นหมื่นๆ บาท คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งส่วนชุดคำสั่ง
หรือซอฟต์แวร์ จำเพาะว่า ในปี ๒๕๕๓ ทั้งตัวที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้ใช้มาก็เสีย คงหมดอายุ และ
ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ก็ล้าสมัยมาก ใช้ทำงานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่คุณหมอณรงค์จัดทำและนำมาถวาย
ไม่ได้ จึงได้อาศัยไวยาวัจกรคือลูกศิษย์ ผู้ถือบัญชีนิตยหลวง จัดจ่ายได้อุปกรณ์ ๒ อย่างนั้นมา
เป็นอันให้ทำงานเสร็จได้ด้วยพระบรมราชูปถัมภ์ที่สืบมาตามราชประเพณี จึงถือความสำเร็จแห่ง
หนังสือธรรมทานนี้ เป็นการถวายพระพรอนุโมทนาพระราชกุศล ในมหามงคลสมัยอันพิเศษที่มาถึง
การทำหนังสืออันเป็นสาระของงาน สำเร็จช่วงมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๗
รอบ ดังได้กล่าว ส่วนการพิมพ์หนังสืออันเป็นขั้นที่จะทำสาระนั้นให้ปรากฏและบังเกิดประโยชน์แก่
มหาชน เป็นภารกิจต่างหาก ซึ่งสืบต่อออกไปจากความเสร็จของสาระนั้น และการพิมพ์นั้นมา
ลุล่วงใน พ.ศ. ๒๕๕๕ อันเป็นกาละที่บรรจบ ๒๖ ศตวรรษแห่งการประดิษฐานพระพุทธธรรม ที่นับ
แต่การบรรลุโพธิญาณ และการทรงแสดงปฐมเทศนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การพิมพ์หนังสือ พุทธธรรมฯ อันใช้ข้อมูลที่ตรวจจัดในคอมพิวเตอร์นี้ เป็นธรรมทานครั้งพิเศษ
ซึ่งสำเร็จด้วยทุนบริจากตามพินัยกรรมของ น.ส. ชมพูนุท กมลโชติ ในกองทุน ป. อ. ปยุตฺโต เพื่อ
เชิดชูธรรม ที่คุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ ได้ตั่งไว้ และทุนบริจากตามมฤดกปณธานของ
น.ส. ชุณหรัชน์ สวัสดิฤกษ์ ทั้งนี้ เป็นกุศลกิริยาของผู้ศรัทธา ที่ได้ขวนขวายสนองบุญเจตนาของท่าน
ผู้ที่ได้ตั้งมโนปณิธิไว้ นับว่าเป็นความร่วมใจในการทำกุศลใหญ่ครั้งสำคัญ
บัดนี้ ในวาระลุปริโยสานแห่งงานธรรมทานที่ตั้งไว้ ขอทุกท่านผู้เกื้อหนุนในบุญการ จงเจริญ
ด้วยความเกษมสันต์และสรรพกุศล ขอศัทธรรมจงรุ่งเรืองแผ่ไพศาล เพื่อความเจริญไพบูลย์แห่ง
ประโยชน์สุขของปวงประชาตลอดการยืนนาน
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
ปัจจุบันท่านดำรงค์สมณสักดิ์ เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
มส.’เลื่อน-ตั้ง’สมณศักดิ์พระเถระ 159 รูป พระพรหมคุณาภรณ์’วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม ขึ้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ซึ่งท่านเจ้าคุณประยุทธ์ สมเด็จรูปสุดท้ายในรัชกาลที่ 9
พระพรหมคุณาภรณ์(ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นนักปราชญ์คนสำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นพระนักวิชาการนักคิดนักเขียนผลงานทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ ได้รับการยกย่องทั้งในประเทศและทั่วโลก มีผลงานโดดเด่นในหนังสือวิชาการพระพุทธศาสนาจำนวนมาก ที่เป็นที่รู้จัก เช่น พุทธธรรม เป็นต้น ด้วยผลงานของท่านทำให้ได้รับรางวัลและดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบันทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education) นอกจากนี้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ท่านได้รับรวมมีมากกว่า 15 สถาบัน ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ไทยที่ได้รับการยกย่องให้ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มากที่สุดในปัจจุบัน ปัจจุบันพระพรหมคุณาภรณ์ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม
พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย โดยสมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิมพ์เผยแพร่
หนังสือ ปกแข็ง หุ้มหนังอย่างดี เย็บกี่
กระดาษ ถนอมสายตาสีครีม
จำนวน 1360 หน้า
จัดพิมพ์ครั้งที่ 39 พ.ศ. 2557
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จำนวน 15,000 เล่ม
📱โทร.สอบถามการจัดส่งทั่วประเทศ
086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771
👨🏻💻 LINE : @trilakbooks หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---
แผนที่สำหรับเดินทาง 🚙 มาด้วยตนเอง ที่
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2
---อนุโมทนา---
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันหลักที่ได้ตีพิมพ์หนังสือ
พุทธธรรมเผยแพร่มาตั้งแต่ระยะแรก เริ่มด้วยพิมพ์ พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ
ในพ.ศ.2529 อันเป็นครั้งที่ ๓ จนถึงวาระล่าสุดใน พ.ศ.2511 อันเป็นครั้งที่ 11
บัดนี้ หนังสือพุทธธรรมนั้นได้พัฒนาขึ้นมาเป็นฉบับที่ใช้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และตีพิมพ์
ในชื่อที่ตัดสั้นลงให้เรียกง่ายขึ้นว่า พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย
ณ โอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แจ้งว่า หนังสือพุทธธรรม
ที่พิมพ์เผยแพร่ครั้งก่อนนั้น หมดไปแล้ว จึงประจงค์จะตีพิมพ์ขึ้นใหม่ เพื่อมอบ
เป็นธรรมบรรณาการแก่ผู้มีอุปการคุณของมหาวิทยาลัย และเพื่อจัดจำหน่ายต่อไป
ขออนุโมทนากัลยาณฉันทะของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ในการส่งเสริมการศึกษา ช่วยกันแผ่ขยายความรู้เข้าใจธรรม อันจะมีผลเป็นการดำรงรักษาสืบ
อายุพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเป็นปัจจัยเสริมสร้างประโญชน์สุข
แห่งมหาชน ให้แพร่หลายเพิ่มพูน เพื่อสัมฤทธิ์ความไพบูลย์ ทั้งอามิสไพบูลย์ และธรรมไพบูลย์
ยั่งยืนนานสืบไป
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
1 พฤษภาคม 2557
.........................................................
............................................................
บทสัมภาษณ์ : พุทธธรรม’ นำชีวิต : โดย : พระไพศาล วิสาโล
............................................................
ต้อนรับคอลัมน์ใหม่ ด้วยหนังสือดีในชีวิตของพระไพศาล วิสาโล พระนักคิด นักเขียน
และนักอ่านผลงานเขียนของท่านมีมากมายกว่า 90 เล่ม
ทั้งในนามพระไพศาล วิสาโล และในนามปากกาอื่น ๆ ซึ่งล้วนแต่มีธรรมะเป็นหลักในการถ่ายทอด
‘พุทธธรรม’ ของพระพรหม-คุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) คือหนังสือที่พระไพศาลยกย่อง ถึงขั้นที่ว่าถ้ามี
หนังสือเพียงเล่มเดียวที่สามารถติดตัวไปได้ในชีวิต ‘พุทธธรรม’ คือเล่มที่ท่านเลือก
“หนังสือเล่มนี้อาตมาอ่านจบช่วงเข้าพรรษาสมัยที่เป็นฆราวาส เมื่อ พ.ศ. 2525 ตั้งใจว่าอ่านให้ได้วันละ 10 หน้า
ก็อ่านได้ทุกวัน พรรษาหนึ่งประมาณ 90 กว่าวัน หนังสือมีความหนาประมาณพันกว่าหน้า
อ่านตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายก็พอดี เป็นการฝึกความเพียรและวินัยด้วย บางทีเรา
เดินทางไปต่างจังหวัดก่อนหน้านั้นวันหนึ่งจะต้องอ่านเพิ่มอีก 10 หน้าเพื่อชดเชยกับวันที่ต้องเดินทาง”
นอกจากความเพียรในการอ่านแล้ว ช่วงนั้นพระไพศาลซึ่งเป็นเพียงเด็กหนุ่มที่เพิ่งจบมหาวิทยาลัย
ยังได้รับความเมตตาจากพระราชวรมุนี (พระพรหมคุณาภรณ์) อนุญาตให้เข้าพบเป็นประจำทุกเดือน
เพื่อสนทนาธรรมสอบถามข้อสงสัยจากหนังสืออีกด้วย
“อ่านหนังสือแล้วไปถามท่านเราก็ได้ความกระจ่างเยอะ ถือเป็นความโชคดีในฐานะนักอ่าน
ยิ่งได้คุยกับท่านยิ่งรู้ว่า ท่านเป็นผู้มีสติปัญญาล้ำเลิศ ถ้าจัดเรตให้ต้องถือว่าเฟิร์สตเรต อัศจรรย์มาก”
พุทธธรรมเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนา ที่ได้รับการยอมรับว่าแสดงหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
เถรวาทอย่างซื่อตรงต่อพระไตรปิฎกเป็นอย่างยิ่ง นำเสนอหลักการและสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา
อย่างครบถ้วน และเป็นระบบอย่างชัดเจน พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525
ผู้เขียนได้ปรับปรุงและขยายความเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหนังสือเล่มใหญ่หนาเป็นพันหน้า
“อ่านไปก็อดทึ่งคนเขียนไม่ได้ว่าทั้งฉลาดทั้งมีความเพียรสูง ค้นข้อมูลมามากทีเดียวกว่าจะเขียนได้อย่างนี้
คือไม่ใช่แค่สรุปความย่อความเหมือนหนังสือบางเล่ม แต่เป็นการเขียนขึ้นมาใหม่ โดยมีพระไตรปิฎก
เป็นพื้นฐาน นำเสนอด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ด้วยวิธีคิดของคนสมัยใหม่ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เราจะไม่
เจอแบบนี้ในงานเขียนพระพุทธศาสนา บางทีเคยไปเจอหนังสือเกี่ยวกับสาระพระไตรปิฎก
เขียนโดยฆราวาสที่เคยบวชพระมาจะเห็นว่าลีลาสไตล์การเขียนแตกต่างกัน บางทีก็แค่ย่อความมาให้เราดู
การย่อความก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ท่านเจ้าคุณทำได้มากกว่านั้น จึงนำมาเสนอใหม่ ด้วยชนิดที่เรียกว่า
สามารถจะสื่อสารกับเราด้วยภาษาของเราได้ และพยายามโยงให้เข้าถึงปัญหาสังคมสมัยใหม่โดยใช้มุมมองแบบพุทธ
ซึ่งสมควรแล้วที่คนจะพูดว่าเป็นเล่มที่ดีที่สุดในยุครัชกาลที่ 9 และถือว่าเป็นเล่มที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งของรัตนโกสินทร์”
อาตมายกให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือดีของชีวิต ประการที่หนึ่งเพราะนำเสนอพุทธธรรมอย่าง
เป็นระบบและรอบด้านที่สุดภายในเล่มเดียว คือมีหลายท่านพูดถึงพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง
แต่พูดเป็นบางแง่ อย่างท่านพุทธทาสก็พูดเป็นบางแง่ เช่น ปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา
แต่เล่มนี้พูดครบทุกแง่อย่างเป็นระบบ ทุกแง่ทุกมุมอยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้ว ขอให้ค้นให้เป็น
อาตมาเคยพูดนะว่าหนังสือเล่มนี้มี 3 มิติ ทั้งลึก กว้าง ไกล
ลึกคือทำให้เราเข้าใจความจริงที่ลึกซึ้งของตัวเอง
และทำให้เราเห็นกว้าง เห็นโลกและสังคมได้อย่างกว้าง เล่มนี้จะพูดถึงสังคมสมัยใหม่ไว้พอสมควร
ทำให้เราได้เห็นมิติด้านไกล นั่นคือได้เห็นว่าการสอนพุทธศาสนานี้ผ่านการตีความมายังไงบ้าง
ประการต่อมาคือใช้ภาษาที่งดงามสละสลวย ภาษาท่านงดงามมาก และสามารถสื่อได้ตรงใจผู้เขียน
แม้ว่าเนื้อหาจะลึกซึ้ง คือทุกวันนี้แม้ตัวเองจะอ่านงานท่านเจ้าคุณมาเยอะ เวลาจะสื่ออะไรบางอย่าง
เรารู้สึกว่าเราจนต่อถ้อยคำ ไม่สามารถจะเขียนให้สุดความคิดได้ แต่หนังสือเล่มนี้ท่านเจ้าคุณสามารถ
บรรยายให้สุดความคิดได้ อาตมาคิดว่าเป็นแบบอย่างของงานเขียนในทางศาสนาและงานวิชาการได้
คือมีทั้งอรรถและรส อรรถคือเนื้อหา รสคือรสของภาษา”
ซึ่งพระไพศาลยอมรับว่าได้รับอิทธิพลจากพระพรหม-คุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) และท่านพุทธทาส
ในการใช้ชีวิตและเขียนหนังสือพอสมควร โดยเฉพาะจากหนังสือพุทธธรรมนั้นมีอิทธิพลต่องาน
เขียนและการค้นคว้าทางพุทธศาสนาอย่างมาก
“ถ้ามีเล่มเดียวที่สามารถติดไปได้ในชีวิตก็เล่มนี้แหละ ถึงแม้จะหนักหน่อยก็ตาม อาตมายังรู้สึกเลยนะว่าหนังสือเล่มนี้ทำให้เราภูมิใจที่เป็นคนไทย การที่คุณเป็นคนไทยแล้วได้อ่านหนังสือเล่มนี้ถือว่า
โชคดีและคุ้มค่าในการที่ได้เป็นคนไทยแล้ว บางทีเราก็รู้สึกว่าเป็นฝรั่งโชคดีนะ ได้อ่านหนังสือที่ลึกซึ้ง
หนังสือเยอะแยะหลากหลาย แต่พุทธธรรมนี่แหละที่ทำให้เราสามารถเป็นที่อิจฉาของฝรั่งได้ เพราะฝรั่งอ่านเล่มนี้ไม่ได้
แต่คนไทยอ่านได้ ฉะนั้นถ้าในแง่ชาวพุทธและในแง่ความเป็นคนไทย หนังสือเล่มนี้จะทำให้เราภูมิใจ
และรู้สึกโชคดีที่ได้เป็นคนไทย ที่อ่านภาษาไทยออก”
และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีหนังสือพุทธธรรมในครอบครอง แต่ยังไม่เคยเปิดอ่าน
พระไพศาลบอกว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะรสชาติของหนังสือเล่มนี้แตกต่างจากหนังสือทั่ว ๆ ไป
“อ่านแล้วจะทำให้เกิดความพิศวงและความปีติเมื่อได้พบความจริง” ... นั่นคือพุทธธรรม
เครดิต คัดลอกบทความ จาก : นิตยสารขวัญเรือน
........................................................
ควรทราบก่อนอ่าน (บทคัดย่อ)
หนังสือนี้เรียงเนื้อหาตามลำดับหลักธรรม แต่อาจเลือกอ่านที่ใดๆ ตามที่ง่ายหรือสนใจ
เนื้อหาของหนังสือนี้ได้เรียงตามลำดับหลักวิชาทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าได้จัดไว้อย่างเป็นระบบ
จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการหาคามรู้เกี่ยวกับธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง
หรือศึกษาพุทธศาสนาอย่างเป็นวิชาการ แต่สำหรับผู้สนใจในทางปฏิบัติ ไม่จำเป็นต้องอ่านทุกส่วน
โดยตลอดหรือต้องอ่านไปตามลำดับ ตรงข้าม จะเลือกอ่านส่วนใดตอนใด
และก่อนหลับกันอย่างไรก็ได้ สุดแต่สนใจหรือเห็นว่าเข้าใจง่าย
เช่นผู้ใหม่ อาจเริ่มด้วย บทที่ 22 (บทสรุป : อริยสัจ 4)
หรือผู้สนใจเรื่องสมาธิอาจอ่านเฉพาะบทที่ 21 ซึ่งว่าด้วยสมาธิ ดังนี้เป็นต้น
........................................................................................................................................................................
สารบาญ
ภาค 1 มัชเฌนธรรมเทศนา หลักความเป็นจริงตามธรรมชาติ หรือ ธรรมที่เป็นกลาง
ความนำ-สิ่งที่ควรเข้าใจก่อน-ลักษณะทั่วไปของพุทธรรม-พุทธธรรม หรือ กฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต
สิ่งที่ควรเข้าใจก่อน
ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรม
ตอน 1 ชีวิตคืออะไร : ก.ชีวิตตามสภาพของมันเอง
บทที่ 1 ขันธ์ 5 : ส่วนประกอบ 5 อย่างของชีวิต ตัวสภาวะสัญญา-สติ-ความจำ
สัญญา-วิญญาณ-ปัญญา
ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่างๆ
ขันธ์ 5 กับ อุปทานขันธ์ 5 หรือ ชีวิต กับ ชีวิตซึ่งเป็นปัญหา
คุณค่าทางจริยธรรม
บันทึกพิเศษท้ายบท : ความรู้ประกอบเกี่ยวกับ ขันธ์ 5
ตอน 1 ชีวิตคืออะไร : ข.ชีวิตตามความหมายของมนุษย์ และโดยสัมพันธ์กับโลก
บทที่ 2 อายตนะ 6 : แดนรับรู้และเสพเสวยโลก ตัวสภาวะ-ประเภทและระดับของความรู้ ก.จำแนกโดยสภาวะ
ข.จำแนกโดยทางรับรู้
ค.จำแนกโดยพัฒนาการทางปัญญา
ง.จำแนกโดยกิจกรรมและผลงานของมนุษย์ หน้า 53 -ความถูกต้องและผิดพลาดของความรู้
ก.สัจจะ 2 ระดับ
ข.วิปลาส 3
-พุทธพจน์เกี่ยวกับอายตนะ
-คุณค่าทางจริยธรรม
ตอน 2 ชีวิตเป็นอย่างไร ? : ไตรลักษณ์ ลักษณะโดยธรรมชาติ 3 อย่างของสิ่งทั้งปวงบทที่ 3 ตัวกฎหรือตัวสภาวะ
ตอน 3 ชีวิตเป็นอย่างไร ? : ปฏิจจสมุปบาท - การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมี
บทที่ 4 ตัวกฎหรือตัวสภาวะบทที่ 5 กรรม ในฐานะหลักธรรม ที่เนื่องอยู่ในปฏิจจสมุปบาท
ตอน 4 ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ? :
บทที่ 6 วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพานบทที่ 7 ประเภท และ ระดับ แห่ง นิพพาน และ ผู้บรรลุนิพพาน
บทที่ 8 ข้อควรทราบ เพิ่มเติม เพื่อเสริมความเข้าใจ : สมถะ-วิปัสสนา, เจโตวิมุตติ - ปัญญาวิมุตติ
บทที่ 9 หลักการสำคัญ ของการบรรลุนิพพาน
บทที่ 10 บทสรุปเกี่ยวกับเรื่อง นิพพาน
บทที่ 11 บทความประกอบที่ 1 : ชีวิตและคุณธรรมพื้นฐานของอารยชน
บทที่ 12 บทความประกอบที่ 2 : ศีล กับ เจตนารมณ์ ทางสังคม
บทที่ 13 บทความประกอบที่ 3 : ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร
เรื่อง เหนือสามัญวิสัย : ปาฏิหารย์ - เทวดา
บทที่ 14 บทความประกอบที่ 4 : ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ
บทที่ 15 บทความประกอบที่ 5 : ความสุข
ตอน 5 ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ? :
บทที่ 16 มัชฌิมาปฏิปทา ต่อเนื่องจาก มัชเฌนธรรมเทศนาบทที่ 17 บุพภาคของการศึกษา หรือ บุพนิมิตแห่ง มัชฌิมาปฏิปทา ปรโตโฆษะที่ดี- กัลยาณมิตร
บทที่ 18 บุพภาคของการศึกษา 2 โยโสมนสิการ-วิธีการแห่งปัญญา
บทที่ 19 องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา 1 : หมวดปัญญา
บทที่ 20 องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา 2 : หมวดศึล
บทที่ 21 องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา 3 : หมวดสมาธิ
บทที่ 22 บทสรุป : อริสัจ 4
.........................................................................................
สารบาญพิศดาร
คำปรารภ
อักษรย่อชื่อคัมภีร์
สารบาญ
สารบาญพิศดาร
ความนำ
สิ่งที่ควรเข้าใจก่อน
ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรม
ภาค 1 มัชเฌนธรรมเทศนา
หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ หรือ ธรรมที่เป็นกลาง
ตอน 1 ชีวิตคืออะไร ?
บทที่ 1 ขันธ์ 5 : ส่วนประกอบ 5 อย่างของชีวิต
-ตัวสภาวะ
สัญญา-สติ-ความจำ
สัญญา-วิญญาณ-ปัญญา
-ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่างๆ
-ขันธ์ 5 กับอุปทานขันธ์ 5 หรือ ชีวิตกับชีวิตซึ่่งเป็นปัญหา
-คุณค่าทางจริยธรรม
-บันทึกพิเศษท้ายบท : ความรู้ประกอบเกี่ยวกับขันธ์ 5
บทที่ 2 อายตนะ 6 : แดนรับรู้และเสพเสวยฌลก
-ตัวสภาวะ
-ประเภทและระดับของความรู้
ก.จำแนกโดยสภาวะธรรม หรือโดยธรรมชาติของความรู้
ข.จำแนกโดยทางรับรู้
ค.จำแนกโดยพัฒนาการทางปัญญา
ง.จำแนกโดยกิจกรรมและผลงานของมนุษย์
-ความถูกต้องและผิดพลาดของความรู้
ก.สัจจะ 2 ระดับ
ข.วิปลาส 3
-พุทธพจน์เกี่ยวกับอายตนะ
-คุณค่าทางจริยธรรม
ตอน 2 ชีวิตเป็นอย่างไร ?
บทที่ 3 ไตรลักษณ์ : ลักษณะโดยธรรมชาติ 3 อย่าง ของสิ่งทั้งปวง
-ตัวกฎหรือตัวสภาวะ
-คุณค่าทางจริยธรรม
ตอน 3 ชีวิตเป็นไปอย่างไร ?
บทที่ 4 ปฏิจจสมุปบาท : การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน ๆ จึงเกิดมี
-ตัวกฎหรือตัวสภาวะ
1.ฐานะและความสำคัญ
2.ตัวบทและแบบความสำพันธ์ในปฏิจจสมุปบาท
3.การแปลความหมายหลักปฏิจจสมุปบาท
4.ความหมายโดยสรุป เพื่อความเข้าใจเบื้องต้น
5.คำอธิบายตามแบบ
ก.หัวข้อและโครงรูป
ข.คำจำกัดความองค์ประกอบหรือหัวข้อตามลำดับ
ค.ตัวอย่างคำอธิบายแบบช่วงกว้างที่สุด
6.ความหมายในชีวิตประจำวัน
-ความหมายเชิงอธิบาย
-คำอธิบายแสดงความสัมพันธ์อย่างง่าย
-ตัวอย่างกรณีปลีกย่อยในชีวิตประจำวัน
7.ความหมายลึกซึ้งขององค์ธรรมบางข้อ
-ปฏิจจสมุปบาทในฐานะมัชเฌนธรรมเทศนา
-ปฏิจจสมุปบาทในฐานะปัจจยาการทางสังคม
-หมายเหตุ : การตีความเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท
-บันทึกพิเศษท้ายบท
บันทึกที่ 1 : ตัวเรา ของเรา ตัวกู ของกู
บันทึกที่ 2 : เกิดและตายแบบปัจจุบัน
บันทึกที่ 3 : ปฏิจจสมุปบาทแนวอภิธรรม
บันทึกที่ 4 : ปัญหาการแปลคำว่า "นิโรธ"
บันทึกที่ 5 : ความหมายย่อขององค์ธรรมในปฏิจจสมุปบาท
บทที่ 5 กรรม ในฐานะหลักธรรมที่เนื่องอยู่ในปฏิจจสมุปบาท
-ความนำ
-กฎแห่งกรรม
-ความหมายและประเภทของกรรม
-ปัญหาเกี่ยวกับความดี-ความชั่ว
ก.ความหมายของกุศลและอกุศล
ข.ข้อควรทราบพิเศษเกี่ยวกับกุศลและอกุศล
1.กุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่กันได้
2.บุญและบาป กับ กุศลและอกุศล
ค.เกณฑ์วินิจฉัยกรรมดี-กรรมชั่ว
-ปัญหาเกี่ยวกับการให้ผลของกรรมดี-กรรมชั่ว
-ผลกรรมในช่วงกว้างไกล
-ข้อควรทราบพิเศษเพื่อป้องกันความเข้าใจผิด
1.สุขทุกข์ ใครทำให้ ?
2.เชื่ออย่างไรผิดหลักธรรม ?
3.กรรมชำระล้างได้อย่างไร ?
4.กรรมกับอนัตตา ขัดกันหรือไม่ ?
-คุณค่าทางจริยธรรม
-บันทึกพิเศษท้ายบท : กรรม 12
ตอน 4 ชีวิตควรเป็นอย่างไร ?
บทที่ 6 วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน : ประโยชน์สูงสุดที่ควรจะได้จากชีวิตนี้
-กระบวนธรรมดับทุกข์ หรือปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร
-ภาวะแห่งนิพพาน
-ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน
1.ภาวะทางปัญญา
2.ภาวะทางจิต
3.ภาวะทางความประพฤติ หรือการดำเนินชีวิต
บทที่ 7 ประเภทและระดับแห่งนิพพานและผู้บรรลุนิพพาน
1.ประเภทและระดับของนิพพาน
1.สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
2.อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
นิโรธ 5
2.ประเภทและระดับของผู้บรรลุนิพพาน
คำว่า "อริยะ"
คำว่า "ทักขิไณย"
แบบที่ 1 : ทักขิไณยบุคคล 8 หรืออริยบุคคล 8
สังโยชน์ 10
พระเลขะหรือสอุปาทิเสสบุคคล และพระอเสขะหรืออนุปาทิเสสบุคคล
แบบที่ 2 : ทักขิไณยบุคคล 7 หรืออริยบุคคล 7
พระเลขะหรือสอุปาทิเสสบุคคล และพระอเสขะหรืออนุปาทิเสสบุคคล
พระอรหันต์ประเภทต่างๆ
-บันทึกพิเศษท้ายบท
บันทึกที่ 1 : สอุปาทิเสส และอนุปาทิเสส
บันทึกที่ 2 : ความหมายของ ทิฏฐธัมมิกะ และสัมปรายิกะ
บันทึกที่ 3 : จริมจิต
บันทึกที่ 4 : สีลัพพตปรามาส
บันทึกที่ 5 : ความหมายของ "ฌาน"
บทที่ 8 ข้อควรทราบเพิ่มเติมเพื่อเสริมความเข้าใจ
1.สมถะ-วิปัสสนา
2.เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ
-บันทึกพิเศษท้ายบท : ความเข้าใจเกี่ยวกับอนัตตาและนิพพาน
บทที่ 9 หลักการสำคัญของการบรรลุนิพพาน
ก.หลักทั่วไป
ข.หลักมาตรฐานด้านสมถะ
ค.หลักมาตรฐานด้านวิปัสสนา
ง.หลักการปฏิบัติที่จัดเป็นระบบ (สรุปความวิสุทธิมัคค์ 951 หน้า)
-บันทึกพิเศษท้ายบท
บันทึกที่ 1 : คำว่า "บรรลุนิพพาน"
บันทึกที่ 2 : ในฌาน เจริญวิปัสสนา หรือบรรลุมรรคผล ได้หรือไม่
บันทึกที่ 3 : เนวสัญญานาสัญญายตนะ ใช้ทำวิปัสสนาไม่ได้ ?
บันทึกที่ 4 : ขณะจิตที่บรรลุมรรคผล
บทที่ 10 บทสรุปเรื่องเกี่ยวกับนิพพาน
-คุณค่าและลักษณะที่พึงสังเกตเกี่ยวกับนิพพาน
1.จุดหมายสูงสุดของชีวิตเป็นสิ่งที่อาจบรรลุได้ในชาตินี้
2.นิพพานเป็นจุดหมายที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่จำกัดชาติชั้น หญิงชาย
3.นิพพานอำนวยผลที่ยิ่งกว่าลำพังความสำเร็จทางจิตจะให้ได้
-จุดที่มักเขว หรือเข้าใจพลาดเกี่ยวกับนิพพาน
1.ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น
2.ลักษณะที่ชวนให้สับสนหรือหลงเข้าใจผิด
3.ความสุขกับความพร้อมที่จะมีความสุข
-ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับนิพพาน
1.นิพพานกับอัตตา
2.พระอรหันต์สิ้นชีวิตแล้วเป็นอย่างไร
บทที่ 11 บทความประกอบที่ 1 : ชีวิตและคุณธรรมพื้นบ้านของอารยชน
-ข้อความทั่วไป และคุณสมบัติโดยสรุป
ก.คำเรียก คำแสดงคุณลักษณะ และไวพจน์ต่างๆ ของบุคคลโสดาบัน
ข.คุณสมบัติทั่วไป
ค.คุณสมบัติในแง่ละได้
ง.คุณสมบัติและข้อปฏิบัติก่อนเป็นโสดาบัน
-ความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติสำคัญของบุคคลโสดาบัน
-บันทึกพิเศษท้ายบท :
บันทึกที่ 1 : ความหมายของ สุตวา อริยสาวก และอริยธรรม เป็นต้น
บันทึกที่ 2 : เหตุที่คนให้ทาน
บทที่ 12 บทความประกอบที่ 2 : ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
ศีลที่เป็นธรรมกับศีลที่เป็นวินัย
สำนึกในการรักษาศีล หรือปฏิบัติตามศีล
วัตถุประสงค์ของการบัญญัติวินัย
การแสดงความเคารพ
การอวดอุตริมนุษยธรรม
สังฆทาน
-สรุปความ
ความเคารพในสงฆ์ การถือสงค์ และประโยชน์สุขส่วนรวมเป็นใหญ่
ระเบียบชีวิต ระบบสังคม และหลักการแห่งธรรมวินัย
-บันทึกพิเศษท้ายบท
บันทึกที่ 1 :แสดงธรรม บัญญัติวินัย
บันทึกที่ 2 :ศีล วินัย ศีลธรรม
บันทึกที่ 3 :ความหมายบางอย่างของวินัย
บันทึกที่ 4 :การปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของพหูสูตร
บันทึกที่ 5 :เคารพธรรม เคารพวินัย
บันทึกที่ 6 :การเคารพตามอายุสมาชิกภาพ
บทที่ 13 บทความประกอบที่ 3 อิทธิปาฏิหาริย์ และเทวดา
-อิทธิปาฏิหาริย์
-เทวดา
-สรุปวิธีปฏิบัติ
-บันทึกพิเศษท้ายบท
บันทึกที่ 1 : อิทธิปาฏิหาริย์ในคัมภีร์
บันทึกที่ 2 : การช่วยและการแกล้งของพระอินทร์
บันทึกที่ 3 : สัจกิริยา ทางออกที่ดีสำหรับผู้ยังหวังอำนาจดลบันดาล
บันทึกที่ 4 : พระพุทธ เป็นมนุษย์หรือเทวดา
บทที่ 14 บทความประกอบที่ 4 : ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ
-ความเข้าใจเบื้องต้น เพื่อแก้และกันความสับสน
-แรงจูงใจในพุทธธรรม : ตัณหา-ฉันทะ
ตัณหา
ฉันทะ
ตัวอย่างแสดงความแตกต่างระหว่าง ตัณหา กับฉันทะ
ผลแตกต่างทางจริยธรรม ระหว่างตัณหากับฉันทะ
ความต้องการในการกินและการสืบพันธุ์
-ข้อพิจารณาเชิงซับซ้อน
เมตตา
ตัณหา-เสน่หา ฉันทะ-เมตตา
ฉันทะอยากทำชั่ว ตัณหาอยากทำดี มีหรือไม่
ฉันทะกับตัณหา เกิดแทรกสลับเป็นปัจจัยแก่กันได้
วิธีปฏิบัติต่อฉันทะและตัณหา-บทสรุป
พระอรหันต์สิ้นตัรหาแล้ว จะมีอะไรเป็นแรงจูงใจ
ตารางเปรียบเทียบ ตัณหา กับฉันทะ
ตัวอย่างพฤติกรรมที่เนื่องด้วยตัณหาและฉันทะ
บทที่ 15 : บทความประกอบที่ 5 : ความสุข
-ความสำคัญของความสุข ในหลักพุทธธรรม
-ขั้นหรือประเภทต่างๆของความสุข
กามสุข
โทษของกาม
เหตุใดผู้ประสบสุขประณีตจึงไม่เห็นคุณของกามสุข
ฌานสุข และข้อบกพร่องของฌานสุข
สุขที่ไม่เป็นเวทนา
การเข้าถึงความสุขที่สูงขึ้นไปๆ
เปรียบเทียบกามสุขกับสุขประณีต และสรุปขั้น-ประเภทของความสุข
-บทสรุป : วิธีปฏิบัติต่อความสุข
-บันทึกพิเศษท้ายบท :
บันทึกที่ 1 : ความสุขจัดเป็นคู่ๆ
บันทึกที่ 2 : ความสุขจัดเป็นสามระดับ (อีกแบบหนึ่ง)
ภาค 2 มัชฌิมาปฏิปทา
ข้อปฏิบัติที่เป็นกลางตามกฎธรรมชาติ หรือ ทางสายกลาง
ตอน 5 ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร
บทที่ 16 บทนำของมัชฌิมาปฏิปทา
-มัชฌิมาปฏิปทาต่อเนื่องจากมัชเฌนธรรมเทศนา
จากกระบวนการของธรรมชาตินิโรธ สู่การปฏิบัติของมนุษย์ในมรรค
กระบวนธรรมแห่งความดับทุกข์แบบต่างๆ
1.จากปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร สู่มัชฌิมาปฏิปทาหรือมรรค
2.กระบวนการกุศลธรรมนำสู่วิมุตติ
3.กระบวนการปฏิบัติแบบลำดับขั้นตอน
ธรรมเป็นอาหารอุดหนุนกัน
พรหมจรรย์ที่สำเร็จผล
วิสุทธิ 7
จรณะ 15 และวิชชา 3
อนุบุพพสิกขา หรืออนุบุพพปฏิปทา
ธรรมจริยา หรือกุศลกรรมบถ 10
-ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับมัชฌิมาปฏิปทา
มรรคในฐานะมัชฌิมาปฏิปทา
มรรคในฐานะข้อปฏิบัติ หรือทางชีวิตทั้งของบรรพชิตและคฤหัสถ์
มรรคในฐานะหลักปฏิบัติที่ต่อเนื่องด้วยสังคม
มรรคในฐานะทางให้ถึงความสิ้นกรรม
มรรคในฐานะอุปกรณ์สำหรับใช้ มิใช่ยึดถือหรือแบกโก้ไว้
มรรคในฐานะพรหมจรรย์ หรือพุทธจริยธรรม
มรรคในฐานะมรรคาสู่จุดมุ่งหมายขั้นต่างๆของชีวิต : อรรถะ 3 สองแบบ
มรรคในฐานะไตรสิกขา หรือระบบการศึกษาสำหรับสร้างอารยชน
จากมรรคสู่ไตรสิกขา
ระบบของมัชฌิมาปฏิปทา
ความก้วหน้าในมรรคา
-บันทึกพิเศษท้ายบท 4 เรื่อง
บันทึกที่ 1 : การจัดธรรมจริยาเข้าในไตรสิกขา
บันทึกที่ 2 : การเรียกชื่อศีล 5 และธรรมจริยา 10
บันทึกที่ 3 : ความหมายของคำว่าศีลธรรม
บันทึกที่ 4 : ความหมายตามแบบแผนของไตรสิกขา
บทที่ 17 บุพภาคของการศึกษา หรือบุพนิมิตแห่งมัชฌิมาปฏิปทา 1 : ปรโตโฆสะที่ดี
-ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ 2
-ปรโตโฆสะกัลยาณมิตร
-คุณสมบัตรของกัลยาณมิตร
สัตบุรุษ
บัณฑิต
กัลยาณมิตรธรรม
พระสงฆ์ในฐานะกัลยาณมิตร และกัลยาณมิตรอย่างสูง
-การทำหน้าที่ของกัลยาณมิตร : จากปรโตโฆสะ สู่โยนิโสมนสิการ
สัมมาทิฏฐิ 2
-หลักศรัทธาโดยสรุป
-พุทธพจน์แสดงหลักศรัทธา
กาลามสูตร
สัจจานุรักษ์ ไม่ผูกขาดสัจธรรม
ตรวจสอบพระศาสดา
ขีดจะกัดของศรัทธา
ไม่ต้องมีศรัทธา-ปัญญาแทน
บทที่ 18 บุพภาคของการศึกษา หรือบุพนิมิตแห่งมัชฌิมาปฏิปทา 2 : โยนิโสมนสิการ
-โยนิโสมนสิการ : วิธีแห่งปัญญา (องค์ประกอบภายใน)
-ความสำคัญของโยนิโสมนสิการ
-ความหมายของโยนิโสมนสิการ
-วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ
1.วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย (แบบอิทัปปัจจยตา หรือแบบปัจจยาการ)
2.วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
3.วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ (แบบรู้เท่าทันธรรมดา)
4.วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ (แบบแก้ปัญหา)
5.วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ (แบบหลักการและความมุ่งหมาย)
6.วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก (แบบอัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ)
7.วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม
8.วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม (แบบกุศลภาวนา)
9.วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน
10.วิธีคิดแบบวิภัชชวาท
เตรียมเข้าสู่มัชฌิมาปฏิปทา
-พระรัตนตรัย
-บันทึกพิเศษท้ายบท
บันทึกที่ 1 : วิธีคิดแบบแก้ปัญกา : วิธีคิดแบบอริยสัจ กับวิธีคิดแบบวิทยาศาตร์
บทที่ 19 องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา 1 : หมวดปัญญา
1.สัมมาทิฏฐิ
ความสำคัญของสัมมาทิฏฐิ
คำจำกัดความของสัมมาทิฏฐิ
ข้อควรทราบทั่วไปเกี่ยวกับสัมมาทิฏฐิ
1.โลกียสัมมาทิฏฐิ
2.โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิการศึกษา
2.สัมมาสังกัปปะ
คำจำกัดความ
ข้อวิจารย์เรื่องทำไมดีจึงแค่ปฏิเสธชั่ว
ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับเมตตา
หมายเหตุ : จริยธรรมขั้นความคิด กับจริยธรรมขั้นปฏิบัติการ
บทที่ 20 องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา 2 : หมวดศีล
3.-4.-5.สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ : คำจำกัดความและความหมาย
-เหตุใดความหมายของศีลจึงมีรูปลักษณะเป็นคำปฏิเสธ
-ศีลสำหรับประชาชน
ก.ศีลพื้นฐาน
ข.ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิตและสังคม
-หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสัมมาอาชีวะ
ก.การแสวงหาและรักษาทรัพย์
ข.ความสุขอันชอบธรรมที่คฤหัสถ์ควรมี
ค.การใช้จ่ายทรัพย์
ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับ ทรัพย์ ชีวิตที่ดีงาม สังคม ชีวิตพระ ชีวิตคฤหัสถ์
บทที่ 21 องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา 3 : หมวดสมาธิ
6.สัมมาวายามะ
-คำจำกัดความและความหมาย
-ความสำคัญและขอบเขตความสำคัญของความเพียร
-การปฏิบัติธรรมอาศัยสภาพแวดล้อม
7.สัมมาสติ
-คำจำกัดความ
-สติในฐานะอัปปมาทธรรม
-สติพิจารณาโดยคุณค่าทางสังคม
-บทบาทของสติในกระบวนการพัฒนาปัญญา หรือการกำจัดสวกิเลส
-สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ
-สาระสำคัญของสติปัฏฐาน
ก.กระบวนการปฏิบัติ
ข.ผลของการปฏิบัติ
-เหตุใดสติที่ตามทันปัจจุบัน จึงเป็นหลักสำคัญของวิปัสสนา
8.สัมมาสมาธิ
ก.ความหมาย
ข.ระดับของสมาธิ
ค.สิ่งที่ไม่ใช่สมาธิ หรือศัตรูของสมาธิ
ง.ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ
จ.ความมุ่งหมายและประโยชน์ของสมาธิ
ฉ.วิธีเจริญหรือฝึกสมาธิ
1.การเจริญสมาธิตามวิธีธรรมชาติ
2.การเจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท หรือฝึกสมาธิด้วยงาน
3.การเจริญสมาธิอย่างสามัญ หรือฝึกสมาธิโดยใช้สตินำ
4.การเจริญสมาธิอย่างเป็นแบบแผน
ปลิโพธ
กรรมฐาน 40
จริยาและจริต 6
นิมิต 3 และ ภาวนา 3
ช.ตัวอย่างวิธีเจริญสมาธิ : อานาปานสติ-สาระสำคัญ
1.เตรียมการ
2.ขั้นปฏิบัติ คือ ลงมือกำหนดลมหายใจ
ญ.ผลสำเร็จและขอบเขตความสำคัญของสมาธิ
ฎ.องค์ประกอบต่างๆที่ค้ำจุน เกื้อหนุน และเสริมประโยชน์ของสมาธิ
1.ฐาน ปัฏฐาน และที่หมายของสมาธิ
2.องค์ประกอบร่วมของสมาธิ : องค์ฌาน
3.เครื่องวัดความพร้อม : อินทรีย์
4.สนามปฏิบัติการทางปัญญา : โพชฌงค์
5.ความพร้อมเพรียงขององค์มรรค : ธรรมสามัคคี
ปฏิปทา 4
สรุปบทธรรม
-บันทึกพิเศษท้ายบท
บททึกที่ 1 : การเจริยสติปัฏฐาน คือการอยู่อย่างไม่มีทุกข์ที่จะต้องดับ
บทสรุป
บทที่ 22 อริยสัจ 4
-ฐานะและความสำคัญของอริยสัจ
-ความหมายของอริยสัจ
-อริยสัจกับปฏิจจสมุปบาท
-กิจในอริยสัจ
-แนวอธิบายอริยสัจโดยสังเขป
พระรัตนตรัย
ไตรสิกขา
-วิธีแก้ปัญหาแบบพุทธ
-คุณค่าที่เด่นของอริยสัจ
-สรุปพุทธธรรมลงในอริยสัจ
-บันทึกพิเศษเสริมบทสรุป : ข้อสังเกตบางประการในการศึกษาพุทธธรรม
บันทึกของผู้เขียน
บรรณานุกรม
ดัชนี
แทรกเพิ่ม
บทที่ 3
-คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์
-คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
-พุธพจน์เกี่ยวกับไตรลักษณ์
บทที่ 4
บันทึกที่ 6 : ความหมายของภวตัณหาและวิภวตัณหา
ดัชนีภาคผนวก
....................................................................
คำปรารภ-ฉบับก่อนหน้านี้
หนังสือพุทธรรม เป็นผลงานค้นคว้าชิ้นเอกของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ซึ่งพิมพ์ออกเผยแพร่ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยโครงการตำราสังคมศาสตร์และ
มนุษย์ศาสตร์ จัดพิมพ์ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านผู้เรียบเรียง ได้ปรับปรุงขยายความ
และได้มอบให้คณะระดมธรรมและธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่า เป็นการพิมพ์
ครั้งแรก และคณะระดมธรรม ได้จัดพิมพ์อีกเป็นครั้งที่ สอง
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่ สาม พระเดชพระคุณผู้เรียบเรียงได้
เมตตามอบให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิมพ์เผยแพร่ตลอดไป พระทั้ง
หนังสือพจนานุกรมศาสตร์ฉบับประมวลธรรม, พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
และธรรมนูญชีวิต
หนังสือพุทธธรรม ได้จัดพิมพ์มาแล้วถึง สิบครั้ง ปรากฎว่าได้รับความสนใจจากครู
อาจารย์ นิสิตนักศึกษา และสาธุชน เป็นอันมาก จนหมวดในเวลาไม่นานนัก
ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้จัดพิมพ์อีกเป็นครั้งที่ สิบเอ็ด จำนวน ๑๕,๐๐๐ เล่ม
และได้รับความเมตตาอนุญาติจากท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เช่นเคย
จึงขอกราบขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ เป็นอย่างสูง
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และผลแห่งกุศลธรรมวิทยาทาน อันประเสริฐนี้
จงเป็นพลังปกป้อง ให้พระเดชพระคุณมีสุขภาพ และ พลานามัย แข็งแรง
สมบูรณ์ สามารถบำเพ็ญศาสนกิจเป็นหิตานุหิตประโยชน์ต่อพหูชน เป็นธงชัย
ของมวลศิษย์และพุทธศาสนิกชน ตลอดกาลนาน
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๒๙ มกราคม ๒๕๕๒
...................................................................................................................
International Buddhist Studies College
เป็นวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
อำเภอวังน้อยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประเทศไทย IBSC
ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้นักเรียนจากทั่วทุกมุมโลกที่สนใจในพระพุทธศาสนา
ได้รับโอกาสในการศึกษาค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา และ
#มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถานที่จัดพิมพ์
หนังสือพระไตรปิฎก ภาษาไทย 45 เล่ม ให้พระภิกษุสงฆ์
และประชาชน ผู้สนใจในพระไตรปิฎก ฉบับครบถ้วน
ได้ศึกษาหลักแห่งพระพุทธศาสนา
โดย มีศูนย์จัดส่งพระไตรปิฎก "ไตรลักษณ์" เป็นผู้จัดส่ง ทั่วประเทศ...................................................................................................................
ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรม
ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรมนั้น สรุปได้ 2 อย่าง คือ
1. แสดงหลักความจริงสายกลาย ที่เรียกว่า "มัชเฌนธรรม" หรือ เรียกเต็มว่า "มัชเฌนธรรมเทศนา"
ว่าด้วยความจริงตามแนวของเหตุผลบริสุทธิ์ ตามกระบวนการของธรรมชาติ นำมาแสดงเพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติในชีวิตจริงเท่านั้น
ไม่ส่งเสริม ความพยายามที่จะเข้าถึงสัจธรรมด้วยวิธี
ถกเถียง สร้างทฤษฎีต่างๆ ขึ้นแล้วยึดมั่นปกป้องทฤษฎีนั้นๆ ด้วยการเก็งความจริงทางปรัชญา
2. แสดงข้อปฏิบัติสายกลาย ที่เรียกว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" อันเป็นหลักการครองชีวิตของผู้ฝึกอบรมตน
ผู้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงมงาย มุ่งผลสำเร็จ คือ ความสุข สะอาด สว่าง สงบ เป็นอิสระ ที่สามารถ มองเห็นได้ในชีวิตนี้
ในทางปฏิบัติ ความเป็นสายกลายนี้ เป็นไปโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ
เช่น สภาพชีวิตของบรรพชิต หรือคฤหัสถ์ เป็นต้น (คัดลอกจากหนังสือ พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย หน้าที่ 6)
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งการกระทำ (กรรมวาท และกิริยวาท) เป็นศาสนาแห่งความเพียร พยายาม
(วิริยวาท) ไม่ใช่ศาสนาแห่งการอ้อนวอนปรารถนา หรือศาสนา แห่งความห่วงกังวล.
พุทธธรรม คือ ธรรมะ ที่เป็นคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีถึง 84,000 พระธรรมขันธ์(กอง) ที่พระองค์ได้ศึกษาค้นพบเกี่ยวกับความจริง
ตามธรรมชาติของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต และได้นำออกมาเผยแผ่เปิดเผยแก่ชาวโลก
ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นมาบนโลกนี้ หรือ ไม่อุบัติขึ้นบนโลกนี้ก็ตามความจริง ตามธรรมชาตินั้นๆ ก็มีอยู่แล้ว สาขาวิชา ชีวิตและความตาย
เป็นสาขาวิชาเดียวและเป็นสาขาแรกที่เปิดในประเทศไทยที่ให้ความสนใจศึกษาพุทธธรรมที่สามารถนำไปใช้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตและความตาย
มส.’เลื่อน-ตั้ง’สมณศักดิ์พระเถระ 159 รูป พระพรหมคุณาภรณ์’วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม ขึ้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ซึ่งท่านเจ้าคุณประยุทธ์ สมเด็จรูปสุดท้ายในรัชกาลที่ 9
พระพรหมคุณาภรณ์(ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นนักปราชญ์คนสำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นพระนักวิชาการนักคิดนักเขียนผลงานทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ ได้รับการยกย่องทั้งในประเทศและทั่วโลก มีผลงานโดดเด่นในหนังสือวิชาการพระพุทธศาสนาจำนวนมาก ที่เป็นที่รู้จัก เช่น พุทธธรรม เป็นต้น ด้วยผลงานของท่านทำให้ได้รับรางวัลและดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบันทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education) นอกจากนี้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ท่านได้รับรวมมีมากกว่า 15 สถาบัน ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ไทยที่ได้รับการยกย่องให้ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มากที่สุดในปัจจุบัน ปัจจุบันพระพรหมคุณาภรณ์ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม
หนังสือ : ธรรมนูญชีวิต 45 บาท
พร้อมแทรกข้อความฟรี 1 หน้าจัดส่งทั่วไทย
หนังสือ : ถ้ารู้จักพระพุทธศาสนาฯ 20 บาท
พร้อมแทรกข้อความฟรี 1 หน้า จัดส่งทั่วไทย
หนังสือ : ความสุขที่สมบูรณ์ 19 บาท
พร้อมแทรกข้อความฟรี 1 หน้า จัดส่งทั่วไทย
หนังสือธรรมะ : ก้าวไปในบุญ 20 บาท
พร้อมจัดพิมพ์ข้อความฟรี 1 หน้า จัดส่งทั่วไทย
หนังสือธรรมะ : ทำอย่างไรจะหายโกรธ 20 บาท
พร้อมจัดพิมพ์ข้อความฟรี 1 หน้า จัดส่งทั่วไทย
หนังสือ: โพชฌงค์ + บทสวดโพชฌงค์ 19 บาท
พร้อมจัดพิมพ์ข้อความฟรี 1 หน้า จัดส่งทั่วไทย
หนังสือ : เล่าเรียน-ทำงานกันไป ฯ ราคา 25 บาท
พร้อมจัดพิมพ์ข้อความฟรี 1 หน้า จัดส่งทั่วไทย
พระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้ 27 บาท
พร้อมจัดพิมพ์ข้อความฟรี 1 หน้า จัดส่งทั่วไทย
หนังสือ : พรตลอดปี ชีวิตดีตลอดไป 27 บาท
พร้อมจัดพิมพ์ข้อความฟรี 1 หน้า จัดส่งทั่วไทย
คุณบิดามารดา สุดพรรณนามหาศาล 25 บาท
จัดพิมพ์ข้อความฟรี 1 หน้า พร้อมจัดส่งทั่วไทย--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
แนะนำหนังสือ ที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กันกับหนังสือเล่มนี้
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
หนังสือ : วิสุทธิมรรค // พระพุทธโฆสเถร : รจนา
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
มิลินทปัญหา-ฉบับเเปลในมหามกุฏุราชวิทยาลัย-ราคา300บาท
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
หนังสือ สัตตปัพพบุพพสิกขา และ บุพพสิกขาวรรณนา 400.00 บาท
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
วิมุตติมรรค-อธิบาย ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา-ราคาเล่มละ300บาท
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
Tags : พุทธธรรม , หนังสือพุทธธรรม
สินค้าที่ดูล่าสุด
- พุทธธรรม-ฉบับปรับขยาย-พจน... ราคา 665.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
รู้หลักก่อน แล้วศึกษาและสอนให้ได้ผล
รหัส : 978-974-389-0987 ราคา : 100.00 ฿ อัพเดท : 08/12/2010 ผู้เข้าชม : 3,495 -
พุทธธรรม-ฉบับปรับขยาย-พจนานุกรม-โดยพระพรหมคุณาภรณ์…
รหัส : 974-575-492-7 ราคา : 665.00 ฿ อัพเดท : 18/08/2021 ผู้เข้าชม : 74,573พจนานุกรมพุทธศาสน์-ฉบับประมวลศัพท์…
รหัส : 978-616-0301805 ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 10/06/2019 ผู้เข้าชม : 9,569 -
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม…
รหัส : ประมวลธรรม ราคา : 250.00 ฿ อัพเดท : 10/06/2019 ผู้เข้าชม : 8,066พุทธธรรม-ฉบับเดิม-สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
รหัส : 978-616-030-9054 ราคา : 200.00 ฿ อัพเดท : 20/03/2020 ผู้เข้าชม : 11,469 -
อายุยืนอย่างมีคุณค่า ปาฐกถาธรรมเพื่อความมีชีวิตที่สงบเย็นและเป็นสุขอย่างยิ่ง
รหัส : อายุยืน-25 ราคา : 25.00 ฿ อัพเดท : 10/01/2019 ผู้เข้าชม : 6,091กรรม นรกสวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่…
รหัส : 978-974-841-751-6 ราคา : 100.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 4,460 -
จากจิตวิทยา สู่ จิตภาวนา โดยพระพรหมคุณาภรณ์…
รหัส : 974-453-366-8 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 05/12/2011 ผู้เข้าชม : 5,726จากสุขในบ้าน สู่ความเกษมศาสนติ…
รหัส : 978-974-453-743-0 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 1,737 -
เพิ่มพลังชีวิต โดยพระพรหมคุณาภรณ์
รหัส : 978-974-453-882-6 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 2,536ภูมิธรรมชาวพุทธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์…
รหัส : 978-974-453-744-7 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 2,799 -
พระพุทธศาสนา กับโลกธุรกิจ (การใช้หลักพุทธธรรมในการทำธุรกิจ)…
รหัส : 974-9973-96-8 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 4,460พัฒนาการ แบบองค์รวมของเด็กไทย…
รหัส : 978-974-453-367-6 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 2,294 -
นรกสวรรค์ในพระไตรปิฎกนรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ท่าทีของพระพุทธศานาต่อเรื่องนรกสวรรค์โดยพระพรหม
รหัส : 978-974-453-424-8 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 2,998ทุกข์สำหรับเห็นสุขสำหรับเป็นหัวใจพุทธศาสนาแก่นแท้ของพุทธศาสนาแก่ธรรมเพื่อชีวิต
รหัส : 978-974-453-426-2 ราคา : 70.00 ฿ อัพเดท : 29/03/2011 ผู้เข้าชม : 1,994