สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,383,332 |
เปิดเพจ | 17,033,351 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
ธรรมะกับการเมือง-ธรรมโฆษณ์
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
18.จแถบแดง
-
เข้าชม
2,961 ครั้ง
ยี่ห้อ
ธรรมโฆษณ์
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี ปั๊มทอง
ลิงค์
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
28/04/2011 00:00
-
รายละเอียดสินค้า
ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส
เรื่อง ธรรมะกับการเมือง
จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา
จำนวน 575 หน้า
(การนับจำนวนหน้าของหนังสือ จะนับเฉพาะส่วนหน้าหา ไม่นับส่วน คำนำ สารบาญ และส่วนท้าย)
รายชื่อหนังสือชุด ธรรมโฆษณ์
รายชื่อหนังสือ
เลขประจำเล่ม
ราคา
๑. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
๑
350
๒. อิทัปปัจยตา
๑๒
300
๓. สันทัสเสตัพธรรม
๑๓
250
๔. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๑
๓๖
250
๕. พุทธิกจริยธรรม
๑๘
250
๖. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
๓
300
๗.โอสาเรตัพพธรรม
๑๓.ก
250
๘. พุทธจริยา
๑๑
250
๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑
๑๖
250
๑๐. มหิดลธรรม
๑๗.ข
250
๑๑. บรมธรรม ภาคต้น
๑๙
250
๑๒. บรมธรรม ภาคปลาย
๑๙.ก
250
๑๓. อานาปนสติภาวนา
๒๐.ก
300
๑๔. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๑
๓๑
250
๑๕. สุญญตาปริทรรศ์ เล่ม ๑
๓๘
250
๑๖. ค่ายธรรมบุตร
๓๗
250
๑๗. ฆราวาสธรรม
๑๗.ก
200
๑๘. ปรมัตถสภาวธรรม
๑๔.ก
250
๑๙. ปฏิปทาปริทรรศน์
๑๔
250
๒๐. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๒
๓๖.ก
250
๒๑. สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒
๓๘.ก
250
๒๒. เตกิจฉกธรรม
๓๗.ง
250
๒๓. โมกขธรรมประยุกต์
๑๗.ค
250
๒๔. ศารทกาลิกเทศนา เล่ม ๑
๒๖
300
๒๕. ศีลธรรม กับ มนุษย์โลก
๑๘.ข
250
๒๖. อริยศีลธรรม
๑๘.ค
200
๒๗. การกลับมาแห่งศีลธรรม
๑๘.ก
250
๒๘. ธรรมสัจจสงเคราะห์
๑๘.ข
300
๒๙. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
๔
500
๓๐. ธรรมะกับการเมือง
๑๘.จ
300
๓๑. เยาวชนกับศีลธรรม
๑๘.ง
200
๓๒. เมื่อธรรมครองโลก
๑๘.ฉ
250
๓๓. ไกวัลยธรรม
๑๒.ก
250
๓๔. อาสาฬหบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๔
300
๓๕. มาฆบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๒
300
๓๖. พระพุทธคุณบรรยาย
๑๑.ก
400
๓๗. วิสาขบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๓
300
๓๘. ชุมนุมล้ออายุ เล่ม ๑
๔๒.ก
300
๓๙. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข
๓๙.ค
300
๔๐. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๑
๓๗.ก
300
๔๑. อะไร คือ อะไร
๓๗.ค
300
๔๒. ใคร คือ ใคร
๓๗.ข
300
๔๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น - ภาคปลาย
๒
700
๔๔. ราชภโฎวาท
๓๙.ง
300
๔๕. กข กกา ของการศึกษาพุทธศาสนา
๑๔.ค
250
๔๖. ธรรมะเล่มน้อย
๔๐
250
๔๗. ใจความแห่งคริสตธรรมเท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ
๔๔.ก
300
๔๘. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๒
๓๑.ก
300
๔๙. ฟ้าสางระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๑
๔๖.ค
300
๕๐. ฟ้าสาวระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๒
๔๖.ง
300
๕๑. ชุมนุมปาฐกถาธรรมชุด"พุทธรรม"
๓๒
250
๕๒. สมถวิปัสนาแห่งยุคปรมาณู
๑๔.ข
250
๕๓. นวกานุสาส์น เล่ม ๑
๓๙
300
๕๔. สันติภาพของโลก
๑๘.ข
250
๕๕. ธรรมะกับสัญชาตญาณ
๑๕
250
๕๖. ธรรมศาสตรา เล่ม ๑
๔๐.ก
300
๕๗. อตัมมยตาประยุกต์
๑๒.ข
300
๕๘. ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์
๑๕.ข
300
๕๙. อตัมมยตาประทีป
๑๒.ง
300
๖๐. อตัมมยตาปริทรรศน์
๑๒.ค
300
๖๑. สันทิฏฐิกธรรม
๑๓.ข
250
๖๒. พุทธธรรมประยุกต์
๑๗.จ
250
๖๓. สัมมัตตานุภาพ
๔๐.ฉ
250
๖๔. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๒
๑๖.ก
250
๖๕. โพธิปักขิยธรรมประยุกต์
๑๔.ง
300
๖๖. คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา
๔๐.ข
250
๖๗. อานาปานสติบรรยาย-อภิปราย-สัมมนา
๒๐.ค
300
๖๘. พัสสิกไตรเทศนา
๒๕.ง
250
๖๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๓
๑๖.ข
250
๗๐. คู่มือที่จำเป็นในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
๔๐.ช
250
๗๑. ธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ
๓๗.ง
300
๗๒. มนุสสธรรม
๑๗
400
๗๓. พุทธวิธีชนะความทุกข์
๑๔.จ
300
๗๔. หลักพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
๑๔.จ
300
๗๕. ปัญหาแห่งมนุษยภาพ
๑๗.ฉ
300
๗๖. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๒
๓๗.จ
400
หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด
๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.
๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.
๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.
๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.
๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.
ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.............................................................................................
สารบาญ
ธรรมะกับการเมือง
----------
๑. การเมืองกับธรรมะ หน้า ๑
๒. การเมืองคือธรรมะ " ๗๕
๓. พระเจ้าคือยอดสุดของนักการเมือง " ๑๒๓
๔. นักการเมืองของพระเจ้า " ๑๙๗
๕. ธรรมะสำหรับนักการเมือง " ๒๕๑
๖. ระบบการเมืองอย่างพุทธบริษัท " ๓๐๓
๗. ถ้ามีธรรมะก็ไม่ต้องมีการเมือง " ๓๓๑
๘. ทำอย่างไรโลกนี้จะมีการเมืองในระบบธรรมะ " ๓๗๗
๙. ระบบการเมืองที่เหมาะสมแก่ศาสนิกชนตามแบบฉบับ " ๔๒๑
๑๐. องค์ประกอบเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของพุทธบริษัท " ๔๗๑
๑๑. ปัญหาเฉพาะหน้าของมนุษย์ยุคปัจจุบัน " ๕๒๗
โปรดดูสารบาญละเอียดในหน้าต่อไป
.................................................................................................................................................................
ธรรมะกับการเมือง
- ๑ -
หินโค้ง ๓ ก.ค.๑๙
การเมืองกับธรรมะ.
ท่านสาธุชน ผู้มีความสนใจในธรรม ทั้งหลาย,
การบรรยายประจำวันเสาร์ สำหรับภาควิสาขบูชา ได้สิ้นสุดลงไปแล้ว ตั้งแต่วันเสาร์ที่
แล้วมา. วันเสาร์นี้เป็นวันเสาร์แรก ของภาคอาสาฬหบูชา ซึ่งจะได้มีเป็นลำดับไป. การบรรยายสำหรับ
ภาคอาสาฬหบูชานี้ ก็เป็นการตั้งต้นใหม่ คือเปลี่ยนเป็นเรื่องใหม่ เพราะว่ามันสิ้นสุดไปเรื่องหนึ่งแล้ว.
ในภาคนี้จะได้กล่าวโดยหัวข้อใหญ่ของเรื่อง ประจำภาคนี้ว่า ธรรมะกับการเมือง. และในวันนี้ จะมีหัว
ข้อเฉพาะตอนนี้ว่า การเมืองกับธรรมะ.
๑
๒ ธรรมะกับการเมือง
เหตุที่พูดเรื่องการเมืองในรูปบรรยายธรรมะ :
คนบางคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมจะต้องเอาเรื่องการเมืองมาพูด ในรูปของการบรร
ยายธรรมะ? และบางคนจะสงสัยไปถึงกับว่า การเมืองจะเป็นธรรมะได้อย่างไร? เกี่ยวกับข้อนี้ เราจะ
ต้องทำความเข้าใจกันให้ถึงที่สุด ในคำว่า "การเมือง" เสียก่อน ว่า โลกในปัจจุบันนี้ ไม่มีความสงบ
สุข. ที่ไม่มีความสงบสุข ก็เพราะว่ามีอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้เป็นเช่นนั้น, ทุกคนอาจจะมองเห็น
พ้องต้องกันว่า เพราะเหตุที่สิ่งสิ่งหนึ่ง คือสิ่งที่เรียกว่า การเมืองนั่นเอง ไม่เป็นไปอย่างถูกต้องใน
โลกนี้ โลกนี้จึงยุ่งยากลำบากมากขึ้นทุกที แล้วเราจะไม่สนใจในสิ่งที่เรียกว่าการเมืองนั้นได้อย่างไร.
นี้เป็นข้อแรกและเป็นข้อใหญ่ที่สุด คือข้อที่เราหาความสงบสุขไม่ได้ ก็เพราะว่าไม่มีความ
ถูกต้องทางการเมือง; อย่างน้อยก็ควรจะหยิบขึ้นมาพิจารณากันดูบ้าง แม้ยังจะไม่นึกถึงคำว่า "ธรรมะ"
ก็นึกถึงคำว่า "การเมือง" ก็แล้วกัน ก็เห็นได้ว่า การเมืองเป็นสิ่งที่ ควรหยิบขึ้นมาดู พิจารณาดู.
การเมืองยุ่งยาก เพราะคนไม่รู้จักการเมือง :
ทีนี้สำหรับคำว่า "การเมือง" นั้น มันยุ่งยากลำบาก เพราะว่ายังไม่รู้ว่าอะไรกันแน่ ด้วยซ้ำ
ไป. พวกนักศึกษาก็ยังไม่รู้ว่า การเมืองโดยแท้จริงนั้นมันคืออะไร, แล้วก็คิดนึก หรือทำไปโดยไม่ถูก
ต้องตามความเป็นจริง; นี้ก็
การเมืองกับธรรมะ ๓
เลยแก้ปัญหาต่าง ๆ ทางการเมืองไม่ได้. ทีนี้สำหรับคนทั่วไปที่ไม่เป็นนักศึกษาเป็นชาวบ้านธรรมดา ก็
ยิ่งไม่รู้ว่า การเมืองนั้นคืออะไร; รู้แต่เพียงว่าเขาพูดกันอย่างไร ก็เหมา ๆ กันเอาไปตามนั้น; มันก็
ได้แต่การเมืองชนิดที่คนทั่วไปเขารู้จัก หรือเขาพูดกัน หรือเขาสมมติกัน ก็เลยยังไม่ได้รับประโยชน์ที่
แท้จริง; ไม่สามารถจะช่วยกันแก้ไข หรือระมัดระวัง ให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องได้. บางคนจะคิด
เสียว่า เรื่องการเมืองนั้น มันเป็นเรื่องพิเศษ เฉพาะหมู่เฉพาะพวก เช่น เฉพาะพวกนักการเมือง
เป็นต้น; ไม่เกี่ยวกับชาวไร่ชาวนาชาวบ้านตามธรรมดา ไม่เกี่ยวกับพระศาสนา อะไรทำนองนี้; นี่ก็
เพราะรู้หรือเข้าใจเพียงเท่านั้น.
แต่ถึงอย่างไรก็ดี เราอยากจะเพ่งมองไปยังปัญหาที่ว่า ทั้งโลกไม่มีความสงบสุข ก็เพราะ
เหตุว่า ไม่มีความถูกต้องทางการเมือง; เหตุผลเพียงเท่านี้ก็พอแล้ว ที่เราสนใจเรื่องการเมืองง แต่จะ
ต้องหาความหมายหรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า "การเมือง" นั้น ให้ครบถ้วน; และ
ต้องเข้าใจอย่างถูกต้อง แม้ว่าเราจะทำไม่ได้ คือจัด ทำ ตามอำนาจของเราไม่ได้ก็ยังควรจะรู้ไว้ ว่า
มันจะต้องทำอย่างไร. และยังจะต้องพูดกันไว้ โดยหวังว่าให้คนชั้นหลังเขาทำได้; ฉะนั้นช่วยกัน
ออกความคิด ความเห็น ไว้ให้ครบถ้วนก็เชื่อว่า จะเป็นการดี. แต่ตามความรู้สึกของอาตมานี้ รู้สึกว่า
จำเป็นอย่างยิ่งซึ่งเราจะได้พูดกันต่อไป ในข้อที่ว่า การเมืองนั้นมันเกี่ยวอะไรกันกับสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ.
แล้วเมื่อสิ่งที่เรียกว่า "ธรรมะ" มันเป็นของพุทธบริษัทอยู่โดยตรง; ถ้าการเมืองมันเกี่ยว
กับ ธรรมะเท่าไร การเมืองมันก็ต้องเกี่ยวกับพุทธบริษัทมากเท่านั้นง นี่จึงได้ตั้งหัวข้อ สำหรับบรรยายขึ้น
มาว่า ธรรมะกับการเมือง.
๔ ธรรมะกับการเมือง
พุทธบริษัทมีเหตุผลที่ต้องสนใจการเมือง :
เราควรจะตั้งปัญหาขึ้นมาตรง ๆ ว่า พุทธบริษัทควรสนใจหรือเกี่ยวข้องกับการเมืองเพราะ
เหตุไร? ตลอดไปถึงว่า สนใจอย่างไร? และเพียงไรด้วย? ถ้าเรารู้จักสิ่งที่เรียกว่า การเมืองอย่าง
ถูกต้อง ก็จะตอบได้เองทันทีว่า เพราะเหตุไร จึงต้องสนใจการเมือง. เดี๋ยวนี้เนื่องจากยังไม่รู้ หรือ
ไม่รู้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ มันก็ต้องพูดพร้อม ๆ กันไปว่า การเมืองนั้นคืออะไร, ธรรมะนั้นคืออะไร,
และ เราพุทธบริษัทควรจะสนใจเพราะเหตุใด. ในฐานะที่เราเป็นพุทธบริษัท อาตมาก็อยากจะอิงอาศัย
พระพุทธภาษิตบ้าง เป็นธรรมดา คือจะมองโดยหลักของพระพุทธภาษิตก่อนสิ่งอื่นเสมอ.
การเมืองคืออะไร?
สำหรับคำว่า "การเมือง" จะมีรายละเอียดอย่างไรก็ตามทีเถิด; แต่เมื่อกล่าว
โดยสรุปความสั้น ๆ แล้ว มันก็เป็นการช่วยกันแก้ปัยหาของบ้านเมือง หรือของสังคมทั้งหมด หรือของ
โลกก็ได้; และมุ่งหมายโดยตรงก็คือว่า :
๑. ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากคนอยู่กันมาก ๆ เพิ่มมากขึ้นทุกที, เป็นปัญหาอย่างเดียวกันทั้งนั้น
แหละ ไม่ว่าจะในระดับเล็ก หรือระดับกลาง หรือระดับใหญ่.
การเมืองกับธรรมะ ๕
ขอให้นึกถึงคำว่า การเรือน แล้วก็การบ้าน แล้วก็การเมือง แล้วก็การโลก; ซึ่งต่อไป
อาจจะมีถึงคำว่า การจักรวาล คือทุก ๆ โลกรวมกัน มันมีปัญหาเกิดขึ้นมาอย่างเดียวกัน คือปัญหาเกิดมา
จากการที่สัมพันธ์ ติดต่อกันมากคนขึ้น. ถ้าไม่มาอยู่กันมากคน ไม่มาเกี่ยวข้องกันมากคน ปัญหาชนิดนี้ไม่
เกิด; พอเกิดมาอยู่กันมากคน มันก็เกิดปัญหาขึ้น และเพิ่มมากขึ้น. ภายในบ้านเรือนหลังหนึ่ง มันก็มีปัญหา
ที่เกิดจากการที่อยู่กันหลายคน. ถ้าจัดไม่ดี มันก็อยู่กันไม่ได้, อยู่กันด้วยความทนทรมาน; คิดดูเถอะ แม้
แต่ในบ้านเดียวแท้ ๆ ครอบครัวเดียวแท้ ๆ มันก็ยังต้องมีการจัด การทำ อะไรบางอย่างให้มันถูกต้อง
มันจึงจะอยู่กันได้โดยผาสุก.
ทีนี้ขยายออกไปถึงหมู่บ้าน มีหลายเรือน จำนวนคนก็มากขึ้นปัญหามันก็มีมากขึ้น ก็ยิ่งจัดได้
ยากขึ้นไปอีก; ต่อเมื่อจัดได้ จึงจะเรียกว่าจำนวนคนมันมากขึ้น; อย่างประเทศไทยเรานี้ ก็ได้ยินว่าตั้ง
๔๐ กว่าล้านคน แล้วปัญหาต่าง ๆ มันก็มากขึ้น มันก็ต้องจัดมากขึ้นไปอีก.
๒. คำว่า "การเมือง" มักหมายถึง ปัญหาระดับบ้านเมืองในประเทศอย่างนี้. นี่มันอยู่คน
เดียวไม่ได้ อยู่ประเทศเดียวไม่ได้ มันเกี่ยวข้องกัน; เดี๋ยวนี้ก็เรียกได้ว่า จะทุกประเทศแล้ว การเมือง
แล้วมันก็เลยขยายออกไปเป็นการโลก คือการเมืองของโลกนั่นเอง. เดี๋ยวนี้เรากู้รู้จักกันอยู่แล้วว่า
โลกมันเล็กเข้า แคบเข้า เพราะว่าการไปมาหาสู่กัน มันสะดวกยิ่งขึ้นจนจะไม่มีเหลืออยู่สำหรับให้อยู่
โดดเดี่ยวโดยไม่มีใครรู้จัก, สามารถจะไปได้ถึงทุกหนทุกแห่งในโลก; มันก็เลยเนื่องกันหมด; แล้วยัง
เห็นได้ว่า แต่ละ
d03002
๖ ธรรมะกับการเมือง
ประเทศมีความมุ่งหมาย จัดตั้งทูตของตัวไปประจำในประเทศต่าง ๆ ทุกประเทศในโลกทีเดียว ถ้าทำ
ได้, และก็ได้พยายามกระทำกันอยู่อย่างนั้น. นี่ทำให้เห็นได้ ว่าทั้งโลกนี้จะมีกี่ประเทศก็ตาม มันผูกพัน
ถึงกัน เกี่ยวเนื่องถึงกันปัญหามันก็มากขึ้น, เป็นปัญหาของโลก การโลก หรือการเมืองของโลก.
ทีนี้อยากจะพูดเลยเถิดไปหน่อยว่า นานไปวันหน้านู้น จนกระทั่งว่ามันมีความสามารถไปยัง
โลกอื่น ๆ ในจักรวาลนี้ได้; ไปมา กันเหมือนว่าเล่นแล้ว มันก็กลายเป็นปัญหาจักรวาลขึ้นมาทันที ซึ่ง
คงจะยุ่งยากลำบาก มากยิ่งกว่าที่กำลังเป็นอยู่เดี๋ยวนี้ ซึ่งเป็นเพียงในโลกนี้โลกเดียว. ขอให้มองดูการ
เมืองกันในลักษณะอย่างนี้ จะเข้าใจได้ในทางที่จะเป็นประโยชน์.
๓. ความหมายของ "การเมือง" ควรต้องเนื่องด้วยธรรมะ. นักภาษาศาสตร์ นิรุกติ
ศาสตร์ หรือแม้แต่พวกนักการเมืองเอง ก็อธิบายความหมายของคำว่า "การเมือง" ไว้อย่างนั้นบ้าง
อย่างนี้บ้าง อย่างโน้นบ้างบางอย่างก็แทบจะไม่มีประโยชน์อะไร; แต่พอจะจับใจความสำคัญได้ว่า
หมายถึงการจัด การทำ ให้คนที่อยู่กันมาก ๆ นั้นอยู่กันด้วยสันติสุขด้วยความสงบสุขอย่างแท้จริง. นี้คือ
ความหมายของคำว่า การเมือง ที่ถูกต้อง ที่บริสุทธิ์. แต่ถ้าความหมายของการเมือง มันเปลี่ยนเป็นไม่
ถูกต้องไม่บริสุทธิ์ มันก็กลายเป็นคดโกง เหมือนอย่างที่กำลังเป็นอยู่ในเวลานี้; เรื่องการเมืองก็
เลยกลายเป็นเรื่องคดโกง เรื่องเอาเปรียบกันระหว่างคนหมู่มากนั่นเอง.
ทีแรกก็ตั้งท่าไว้ดีแล้ว ว่าจะจัด จะทำ จะช่วยกันปลุกปล้ำทุกอย่างทุกประการ ให้คนทุกคนใน
โลกนี้อยู่กันอย่างผาสุก; แต่พอไปทำเข้าจริง
การเมืองกับธรรมะ ๗
มันกลายเป็นเครื่องมือสำหรับคดโกงซึ่งกันและกัน เอาเปรียบผู้อื่น จะให้เป็นสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไปแต่พวก
ของตัว เอาเปรียบผู้อื่นได้ลงคอ การเมืองเลยกลายเป็นเรื่องสกปรก.
ทีนี้เรามองดูอีกทีหนึ่ง ว่าการเมืองอย่างบริสุทธิ์ก็ดี การเมืองอย่างสกปรกก็ดี ก็ยังต้องเนื่อง
กันอยู่กับธรรมะ หรือพระธรรมอยู่นั่นแหละ; ถ้าการเมืองมันบริสุทธิ์ ก็เป็นไปตามธรรมะ เนื่องอยู่
กับธรรมะ; เพราะประกอบอยู่ด้วยธรรม. ทีนี้การเมืองสกปรก มันก็ไม่มีธรรมะ มันก็ขาดธรรมะ; มันก็
เนื่องกันอยู่กับธรรมะในข้อที่ว่า มันขาดไปเสีย หรือมันผิดไปเสียล หรือว่ากำลังต้องการธรรมะเข้ามา
ประกอบกันเข้ากับการเมืองที่สกปรก เพื่อแก้ไขให้มันหายสกปรก ให้มันกลายเป็นการเมืองบริสุทธิ์.
ทั้งการเมืองบริสุทธิ์ และการเมืองสกปรก มันก็เกี่ยวข้องกันอยู่กับโลกมนุษย์นั่นแหละ, เกี่ยว
อยู่กับประเทศชาติหนึ่ง ๆ หรือสังคมหนึ่ง ๆ กระทั่งว่าถ้าเล็กลงมา ก็เป็นเรื่องการบ้าน การเมืองเล็ก ๆ
กระทั่งการเรือน คือครอบครัวหนึ่ง. เราไม่รู้จะใช้คำจำกัดความว่าอย่างไรดี สำหรับคำคำนี้ ที่จะให้มัน
ใช้ได้กับเรือนหลังหนึ่งขึ้นไป จนถึงบ้านเรือนทุกหลังในโลก; แต่เอาเป็นว่ารวมเรียกกันไปทีก่อนว่า
การเมืองก็แล้วกัน แล้วอยู่ในระดับกลาง คือระดับของประเทศ.
สรุปเหตุผลที่ต้องสนใจ "การเมือง":
เท่าที่พูดมานี้ ต้องสรุปเอาใจความให้ได้ว่า เรื่องมนุษย์นั้นมันเป็นเรื่องที่เราหลีกไม่ได้
เพราะเราก็เป็นมนุษย์; และเรื่องของโลก
๘ ธรรมะกับการเมือง
เราก็หลีกไม่ได้ เพราะว่าเราก็เป็นคนหนึ่งในโลก; หรือว่าเรื่องของประเทศเราก็หลีกไม่ได้ เพราะ
ว่าเราเป็นพลเมืองคนหนึ่งของประเทศ; เรื่องของสังคมเราก็หลีกไม่ได้ เพราะเราก็เป็นสมาชิกหน่วย
หนึ่งของสังคม. แม้แต่ว่าหมู่บ้านนี้เราก็เป็นคนหนึ่งในหมู่บ้านนี้, กระทั่งในวัด, กระทั่งในเรือน
ของท่านแต่ละคนนั้น, มันก็เป็นสิ่งที่หลีกไม่ได้ ที่จะไม่รับรู้ ไม่รับผิดชอบ.
ฉะนั้น พุทธบริษัท ก็มีน้ำใจอย่างกับพุทธบริษัท รู้จักรับผิดชอบ; บางทีจะรู้จักกตัญญูกตเวทีต่อ
สิ่งที่มันมีประโยชน์แก่เรา หรือว่าเราได้อาศัยมาก่อนแล้ว. ถ้าพูดอย่างพุทธบริษัท ก็ต้องพูดได้ว่า
โลกนี้มันก็มีประโยชน์แก่เราแล้ว เพราะว่าเราได้เกิดมาในโลกนี้ ต้องกตัญญูกะมัน ต้องช่วยให้มันดีขึ้น
อย่างนี้เป็นต้น; นี่พุทธบริษัทมีเหตุผลอย่างกว้าง ๆ อย่างนี้ ที่ทำให้ต้องสนใจในสิ่งที่เรียกว่า การเมือง.
สินค้าที่ดูล่าสุด
- ธรรมะกับการเมือง-ธรรมโฆษณ... ราคา 300.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
หลักพระพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
รหัส : 14.ฉ-แถบแดง ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 25/04/2011 ผู้เข้าชม : 2,640