สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,382,975 |
เปิดเพจ | 17,032,986 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
สันติภาพของโลก-ธรรมโฆษณ์
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
18.ซแถบแดง
-
เข้าชม
1,152 ครั้ง
ยี่ห้อ
ธรรมโฆษณ์
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี ปั๊มทอง
ลิงค์
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
28/04/2011 00:00
-
รายละเอียดสินค้า
ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส
เรื่อง สันติภาพของโลก
จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา
จำนวน 422 หน้า
(การนับจำนวนหน้าของหนังสือ จะนับเฉพาะส่วนหน้าหา ไม่นับส่วน คำนำ สารบาญ และส่วนท้าย)
รายชื่อหนังสือชุด ธรรมโฆษณ์
รายชื่อหนังสือ
เลขประจำเล่ม
ราคา
๑. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
๑
350
๒. อิทัปปัจยตา
๑๒
300
๓. สันทัสเสตัพธรรม
๑๓
250
๔. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๑
๓๖
250
๕. พุทธิกจริยธรรม
๑๘
250
๖. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
๓
300
๗.โอสาเรตัพพธรรม
๑๓.ก
250
๘. พุทธจริยา
๑๑
250
๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑
๑๖
250
๑๐. มหิดลธรรม
๑๗.ข
250
๑๑. บรมธรรม ภาคต้น
๑๙
250
๑๒. บรมธรรม ภาคปลาย
๑๙.ก
250
๑๓. อานาปนสติภาวนา
๒๐.ก
300
๑๔. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๑
๓๑
250
๑๕. สุญญตาปริทรรศ์ เล่ม ๑
๓๘
250
๑๖. ค่ายธรรมบุตร
๓๗
250
๑๗. ฆราวาสธรรม
๑๗.ก
200
๑๘. ปรมัตถสภาวธรรม
๑๔.ก
250
๑๙. ปฏิปทาปริทรรศน์
๑๔
250
๒๐. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๒
๓๖.ก
250
๒๑. สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒
๓๘.ก
250
๒๒. เตกิจฉกธรรม
๓๗.ง
250
๒๓. โมกขธรรมประยุกต์
๑๗.ค
250
๒๔. ศารทกาลิกเทศนา เล่ม ๑
๒๖
300
๒๕. ศีลธรรม กับ มนุษย์โลก
๑๘.ข
250
๒๖. อริยศีลธรรม
๑๘.ค
200
๒๗. การกลับมาแห่งศีลธรรม
๑๘.ก
250
๒๘. ธรรมสัจจสงเคราะห์
๑๘.ข
300
๒๙. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
๔
500
๓๐. ธรรมะกับการเมือง
๑๘.จ
300
๓๑. เยาวชนกับศีลธรรม
๑๘.ง
200
๓๒. เมื่อธรรมครองโลก
๑๘.ฉ
250
๓๓. ไกวัลยธรรม
๑๒.ก
250
๓๔. อาสาฬหบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๔
300
๓๕. มาฆบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๒
300
๓๖. พระพุทธคุณบรรยาย
๑๑.ก
400
๓๗. วิสาขบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๓
300
๓๘. ชุมนุมล้ออายุ เล่ม ๑
๔๒.ก
300
๓๙. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข
๓๙.ค
300
๔๐. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๑
๓๗.ก
300
๔๑. อะไร คือ อะไร
๓๗.ค
300
๔๒. ใคร คือ ใคร
๓๗.ข
300
๔๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น - ภาคปลาย
๒
700
๔๔. ราชภโฎวาท
๓๙.ง
300
๔๕. กข กกา ของการศึกษาพุทธศาสนา
๑๔.ค
250
๔๖. ธรรมะเล่มน้อย
๔๐
250
๔๗. ใจความแห่งคริสตธรรมเท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ
๔๔.ก
300
๔๘. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๒
๓๑.ก
300
๔๙. ฟ้าสางระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๑
๔๖.ค
300
๕๐. ฟ้าสาวระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๒
๔๖.ง
300
๕๑. ชุมนุมปาฐกถาธรรมชุด"พุทธรรม"
๓๒
250
๕๒. สมถวิปัสนาแห่งยุคปรมาณู
๑๔.ข
250
๕๓. นวกานุสาส์น เล่ม ๑
๓๙
300
๕๔. สันติภาพของโลก
๑๘.ข
250
๕๕. ธรรมะกับสัญชาตญาณ
๑๕
250
๕๖. ธรรมศาสตรา เล่ม ๑
๔๐.ก
300
๕๗. อตัมมยตาประยุกต์
๑๒.ข
300
๕๘. ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์
๑๕.ข
300
๕๙. อตัมมยตาประทีป
๑๒.ง
300
๖๐. อตัมมยตาปริทรรศน์
๑๒.ค
300
๖๑. สันทิฏฐิกธรรม
๑๓.ข
250
๖๒. พุทธธรรมประยุกต์
๑๗.จ
250
๖๓. สัมมัตตานุภาพ
๔๐.ฉ
250
๖๔. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๒
๑๖.ก
250
๖๕. โพธิปักขิยธรรมประยุกต์
๑๔.ง
300
๖๖. คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา
๔๐.ข
250
๖๗. อานาปานสติบรรยาย-อภิปราย-สัมมนา
๒๐.ค
300
๖๘. พัสสิกไตรเทศนา
๒๕.ง
250
๖๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๓
๑๖.ข
250
๗๐. คู่มือที่จำเป็นในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
๔๐.ช
250
๗๑. ธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ
๓๗.ง
300
๗๒. มนุสสธรรม
๑๗
400
๗๓. พุทธวิธีชนะความทุกข์
๑๔.จ
300
๗๔. หลักพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
๑๔.จ
300
๗๕. ปัญหาแห่งมนุษยภาพ
๑๗.ฉ
300
๗๖. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๒
๓๗.จ
400
หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด
๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.
๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.
๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.
๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.
๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.
ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.............................................................................................
ทำไมจึงปรารภเรื่องสันติภาพ
ท่านสาธุชน ผู้มความสนใจในธรรม ทั้งหลาย,
การบรรยายประจำวันเสาร์ในวันนี้ เป็นวันแรกของภาคอาฬหบูชา การบรรยายในภาควิสาขบูชา
สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่วันเสาร์ก่อน. วันเสาร์นี้เราจึงเริ่มภาคใหม่ในวันนี้เป็นวันแรก เป็นครั้งที่หนึ่งของ
การบรรยาย วันเสาร์ประจำภาคนี้, ในการเปลี่ยนภาคใหม่นี่ อาตมาก็จะเปลี่ยนเรื่องใหม่ขอให้ตั้งใจฟัง
ให้ดี ให้สำเร็จประโยชน์ต่อไป.
การเปลี่ยนเรื่องใหม่นี่จะมีหัวชื่อของเรื่องว่า เรื่องสันติภาพของโลก, สันติภาพของโลก ทำไมจึง
พูดถึงเรื่องนั้ มันก็มีเหตุผลหลายอย่าง. ปีนี้เขาสมมุติกันเป็นปีสันติภาพของโลกด้วย, แต่เขาจะสมมติ มัน
ไม่สำคัญ. เรื่องสันติภาพ นั้นมัน สำคัญอยู่ในตัวมันเองคือจำเป็นสำหรับชีวิต ทุกชนิดด้วยซ้ำไป ไม่ว่า
ชีวิตในระดับไหน ล้วนแต่ต้องการสันติภาพ หรือมันอยู่ได้ด้วยความมีสันติภาพ.
(๑)
๒
สันติภาพนี้จะแจกเป็นส่วนบุคคล เป็นสันติภาพของบุคคลแต่ละคนๆนี้ก็ได้, เป็นสันติภาพส่วนบุคคล
หรือจะเป็นสันติภาพของสังคมของหมู่คณะก็ได้ ซึ่งต้องการสันติภาพ, มีสันติภาพหมู่คณะแล้ว แล้วก็จะอยู่กัน
เป็นสุข หรือจะเป็นสันติภาพของทั้งหมด คือของทั้งโลก ทั้งโลกเลย, หรือจะกล่าวว่าทุก ๆ โลกทั่ว
สากลจักรวาลก็ยิ่งดีมันก็มีอยู่. ถ้าทุก ๆ โลกมีสันติภาพ สากลจักรวาลก็มีสันติภาพ ไม่ว่าจะในระดับ
ไหนล้วนแต่ต้องการสันติภาพ.
ท่านทั้งหลาย แต่ละคน ก็ต้องการสันติภาพส่วนตน ซึ่งจะต้องช่วยสร้างสรรค์ขึ้นมา หรือว่าปรุง-
แต่งขึ้นมาก็ได้, จะปล่อยไปตามธรรมชาติธรรมดานั้น มันก็จะไม่ได้อย่างที่เราต้องการ, นี้ก็ต้องมีสติ-
ปัญญาจึงจะปรุงแต่งขึ้นมาได้; เมื่อแต่ละคนมีสันติภาพ ก็มีหมู่คณะที่มีสันติภาพ เพราะว่าหมู่คณะมันรวมขึ้น
มาด้วยบุคคล, ถ้าคณะทุกคณะมีสันติภาพ โลกทั้งโลกมันก็มีสันติภาพ, มันเนื่องกันอยู่อย่างนี้ และเป็นสิ่งที่
พึ่งประสงค์ตลอดกาล ตลอดเวลา ตลอดกาลนิรันดร, ไม่ใช่ชั่วครั้งชั่วคราวนับว่าเป้นเรื่องใหญ่ที่สุดสำ-
หรับสิ่งที่มีชีวิต ถ้าไม่มีสันติภาาพ สิ่งที่มีชีวิตก็เดือดร้อนมันก็อยู่ไม่ได้, จะเรียกว่าตายเสียยังดีกว่า ถ้ามัน
อยู่ด้วยความทุกข์ทรมารโกลาหลวุ่นวายเต็มไปด้วยวิกฤตการณ์; นี่เราจึงมองกันในแง่ที่ว่า เป็นสิ่งที่จำ-
เป็นอย่างยิ่งสำหรับสิ่งที่มีชีวิต.
ตามปรกติไม่มีอะไรรบกวนความสงบสุข เรียกว่าสันติภาพ; จะเรียกว่าสันติสุขก็ได้ มันเป็นภาวะ
ของสิ่งที่มีชื่ออย่างนั้น, มีสันติหรือมีความสุข นี้มันก็ชัดอยู่แล้ว. ภาวะแห่งความมีสันติหรือมีความสุข นี่ก็
เป็นภาวะ เราเลยเรียกว่า สันติภาวะหรือสันติภาพ นี้คือสิ่งที่เราจะพูดกัน.
d05504
๓
ดูอีกทีหนึ่งว่า ทำไมเราจะต้องพูดกันถึงเรื่องสันติภาพ? เหตุผลที่จำกัดเข้ามามันก็มีอยู่ว่า โลก
กำลังไร้สันติภาาพมากยิ่งขึ้นทุกที; มิใช่ว่ายิ่งเจริญแล้วยิ่งมีสันติภาพ, กลายเป็นว่า ยิ่งเจริญแล้วยิ่งวุ่นวาย
ยิ่งยุ่งยากยิ่งโกลาหล จนจะไม่เป็นโลกของมนุษย์อยู่แล้ว แต่ก็ไม่รู้จะเรียกว่าโลกของอะไร มันก็ยังมีคน
หรือมนุษย์อยู่ในโลก อันวุ่นวายนี้ ไม่รู้จะหนีไปไหน. เพราะเหตุที่ว่าโลกไม่มีสันติภาพยิ่งขึ้น เห็นชัด
ปรากฎอยู่ เราก็ทนไม่ได้ จึงมาปรึกษาหารือกัน. พุทธบริษัทนี่มีส่วนรับผิดชอบอยู่ตามธรรมชาติ เพราะว่า
เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า. พระพุททธเจ้าทรงประสงค์สันติภาพ หรือความสุขแก่โลก, พระองค์เกิดขึ้น
มาเพื่อประโยชน์แก่ความสุขเกื้อกูลแก่มหาชนทั้งเทวดาและมนุษย์, ท่านจึงตรัสว่า เพื่อประโยชน์ทั้งแก่
เทวดาและมนุษย์; ก็หมายความว่าแม้แต่ เทวดาก็ยังไม่มีสันติภาพ ยิ่งเล็งถึงสันติภาพภายในจิตใจด้วย
แล้วจะยิ่งไม่มี, เพราะว่ามีเรื่องมัวเมาเพลิดเพลินอะไรมากไปกว่ามนุษย์.
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน; ผู้รู้ ก็รู้เรื่องสันติภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความ
ดับทุกข์ แล้วก็เป็นผู้ตื่นจากความไม่รู้ ความหลับคือความไม่รู้ ก็แปลว่า สลัดความหลับออกไปได้หมด เป็น
ผู้ตื่นหรือเป็นผู้รู้, ครั้นแล้วก็เป็นผู้เบิกบาน, เบิกบานตามความหมายของคำว่า เบิกบานเหมือนดอกไม้
บาน เป็นสุขร่าเริงสงบสุข นี่ก็เป็นผลของมันคือมีสันติภาพ, มีสันติภาพ ก็เบิกบาน.
นี้เราเป็น สาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน; ต้องเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.
ขอท่านทั้งหลายจงถือหลักเกณฑ์อันนี้ ดำเนินตนอยู่ในหลักเกณฑ์ดังนี้ คือจะเป็นผู้ตื่น ผู้รู้ ผู้เบิกบาน,จะ
ต้องรู้ที่ควรจะรู้, บรรดาสิ่งที่ควรจะรู้แล้วควรจะรู้ให้ครบ. ที่เป็นปัญหาใหญ่ของมนุษย์ ก็คือเรื่องไม่มี
สันติภาพ, เรื่องมีแต่สิ่งตรงกันข้าม เราเรียกว่าวิกฤตการณ์; ฉะนั้นเราต้องรู้เรื่องของสันติภาพ
๕
และสิ่งตรงกันข้าม คือวิกฤตการณ์ว่ามันมีอยู่อย่างไร มันเกิดมาเพราะเหตุไร, เราจะมีความสำเร็จใน
การมีสันติภาพได้อย่างไร, เรียกว่ารู้สิ่งที่ควรรู้, แล้วก็ตื่น ตื่นจากความไม่รู้ ตื่นเสียจากความผิดพลาด
ลุ่มหลงงมงายในเรื่องนั้นๆ ก็หมายความว่า ละความผิดพลาดได้ มีแต่ความถูกต้อง, แล้วก็มาเป็นผู้
เบิกบาน ตามอย่างพระพุทธเจ้า.
ทั้งโลกจำเป็นต้องมีสันติภาพ.
ทีนี้ถ้าเราจะมองดูกันทั่วโลก ก็จะเห็นว่า มันจำเป็นที่จะต้องมีสันติภาพทั้งโลก, และว่ามันเป็นสิ่ง
ที่เนื่องกันอยู่ทั่วโลก คือเราจะมองดูโลกนี้ ในแง่ของธรรมชาติล้วนๆ, ธรรมชาติล้วน ๆ เมื่อมนุษย์ไม่
เข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นธรรมชาติล้วน ๆ มันก็ต้องมีสันติภาพ และมันก็มีสันติภาพตามแบบของธรรมชาติ
ล้วน ๆ.
ทีนี้ถ้าจะมองในเรื่องของการเมือง คือการที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เข้าไปจัดเข้าไปทำ
กับธรรมชาติเหล่านั้นจนเปลี่ยนแปลงไป; ถ้าว่ามันถูกต้อง มันก็ควรจะมีสันติภาพยิ่งขึ้นไป. แต่เดี๋ยวนี้มัน
ไม่เป็นอย่างนั้น มันกลับตรงกันข้าม ยิ่งมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องมากเท่าไร ธรรมชาติก็สูญเสียปรกติภาวะ
เดิมของมันมากเท่านั้น, แล้วมันก็ไม่ได้กลายเป็นสันติภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไป มันมากกลายเป็นความเลวร้ายที่
เรียกว่าวิกฤตกราณ์; เพราะว่าคนนี่เข้าไปเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของกิเลส ตัณหา, แล้วมันทำไปตาม
อำนาจของกิเลสตัณหา เพื่อดึงเอามาเป็นประโยชน์แก่กิเลสตัณหา มันเลยสันติภาพไม่ได้, เพราะถูก
เกี่ยวข้องด้วยกิเลสตัณหาของมนุษย์.
เรามองให้ดีว่า สันติภาพนี่มันควรจะมีทั้งโดยธรรมชาติ, และมีทั้งโดยที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง
ผิดจากธรรมชาติ. ทีนี้มันไม่ได้เป็นไปอย่างนั้น มันกลับกันอยู่ถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติ ยังจะมีสันติภาพ
๕
มากกว่า; นี่ก็เป็นความผิดของมนุษย์ที่มีกิเลสตัณหา แล้วก็ใช้กิเลสตัณหาเข้าไปเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ,
ทำลายปรกติภาวะของธรรมชาติ แต่แล้วมนุษย์ก็เรียกว่าความก้าวหน้า ความเจริญการพัฒนา.
ธรรมชาติแหลกหลาญไปเท่าไร มนุษย์ก็ยิ่งเห็นเป็นสิ่งเจริญก้าวหน้าเป็นการพัฒนา มันจึงเป็นปัญหาที่
แก้กันไม่ตก ไม่รู้จักจบจักสิ้น เพราะมันไปทำตนเป็นศัตรูผู้ล้างผลาญต่อสิ่งที่เรียกว่าธรรมชาตินั้นเอง.
เราจึงต้องคิดกันใหม่ในเรื่องนี้ ว่า จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับธรรมชาติอย่างไร จึงจะไม่เป็นการทำให้
ธรรมชาติสูญเสียความสงบ หรือคุณสมบัติดั้งเดิมของธรรมชาติ. ดูให้ดีก็จะมีหนทางที่จะพิจารณากันต่อไป.
สันติภาพขึ้นอยู่กับจิตใจของมนุษย์.
ทีนี้ก็ย้อนมาดูข้างใน คือในฝ่ายมนุษย์ ในตัวมนุษย์, โลกนี้มันขึ้นอยู่กับมนุษย์ เพราะมนุษย์
ประกอบกันขึ้นเป็นโลก มนุษย์เป็นอย่างไรโลกมันก็เป็นอย่างนั้น, มนุษย์ดีโลกมันก็ดี มนุษย์บ้าโลกมันก็
บ้า, โลกมันขึ้นอยู่กับมนุษย์ โลกจะเป็นอย่าางไรก็ต้องแล้วแต่มนุษย์. ทีนี้ดูถึงมนุษย์ มนุษย์เองก็ขึ้นอยู่กับ
จิตใจของมนุษย์ จิตใจของมนุษย์เป็นอย่างไรมนุษย์มันก็เป็นอย่างนั้น จิตใจดีมนุษย์ก็ดี จิตใจบ้ามนุษย์
ก็บ้า มนุษย์ก็ขึ้นอยู่กับจิตใจของมนุษย์อีกทีหนึ่ง; ดังนั้นจิตใจของมนุษย์นี่แหละเป็นเรื่องสำคัญ
เป็นเรื่องต้นตอของความเปลี่ยนแปลงทั้งปวง จะสันติภาพหรือวกฤตการณ์มันขึ้นอยู่กับจิตใจของมนุษย์
ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาจิตใจของมนุษย์ ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาจิตใจของมนุษย์ คือปรับปรุงจิตใจของมนุษย์
ให้ถูกต้อง.
ฟังดูอีกทีหนึ่งว่า โลกนี้มันขึ้นอยู่กับมนุษย์ แล้วมนุษย์ขึ้นอยู่กับจิตใจของมนุษย์ ดังนั้นเราจึงต้อง
พัฒนาที่จิตใจ ควบคุมแก้ไขที่จิตใจ จึงจะต้อง
๖
พัฒนาจิตใจของมนูษย์ให้เป็นไปในทางของสันติภาพ ทำจิตใจของมนุษย์ให้เป็นไปในทางของสันติภาพได้
แล้ว มนุษย์ก็เป็นมนุษย์ที่มีสันติภาพ มนุษย์มีสันติภาพแล้ว โลกทั้งโลกมันก็เป็นโลกที่มีสันติภาพ ดังนั้น
การปรับปรุงจิตใจของมนุษย์ ก็คือการปรับปรุงโลกนั่นเอง อย่าเห็นเป็นอย่างอื่นไปเลย. การที่เรา
ช่วยกันปรับปรุงจิตใจของเราแต่ละคน ๆ ให้ดีให้ถูกต้อง นั่นแหละคือการปรับปรุงโลกทั้งหมด นับว่าเป็น
สิ่งที่ควรสนใจอย่างยิ่งกว่าสิ่งใด; เราจะมีทรัพย์สมบัติไปทำไม ถ้าไม่มีสันติภาพ นี่ควรจะตายเสียดี
กว่าถ้ามันไม่มีสันติภาพ.
สินค้าที่ดูล่าสุด
- สันติภาพของโลก-ธรรมโฆษณ์ ราคา 250.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
หลักพระพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
รหัส : 14.ฉ-แถบแดง ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 25/04/2011 ผู้เข้าชม : 2,639