สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,383,100 |
เปิดเพจ | 17,033,113 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
ธรรมปาฏิโมกข์เล่ม1--ธรรมโฆษณ์
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
31แถบน้ำเงิน
-
เข้าชม
4,703 ครั้ง
ยี่ห้อ
ธรรมโฆษณ์
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี ปั๊มทอง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
29/04/2011 00:00
-
รายละเอียดสินค้า
ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส
เรื่อง ธรรมปาฏิโมกข์เล่ม1--ธรรมโฆษณ์
จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา
จำนวน 516 หน้า
(การนับจำนวนหน้าของหนังสือ จะนับเฉพาะส่วนหน้าหา ไม่นับส่วน คำนำ สารบาญ และส่วนท้าย)
รายชื่อหนังสือชุด ธรรมโฆษณ์
รายชื่อหนังสือ
เลขประจำเล่ม
ราคา
๑. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
๑
350
๒. อิทัปปัจยตา
๑๒
300
๓. สันทัสเสตัพธรรม
๑๓
250
๔. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๑
๓๖
250
๕. พุทธิกจริยธรรม
๑๘
250
๖. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
๓
300
๗.โอสาเรตัพพธรรม
๑๓.ก
250
๘. พุทธจริยา
๑๑
250
๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑
๑๖
250
๑๐. มหิดลธรรม
๑๗.ข
250
๑๑. บรมธรรม ภาคต้น
๑๙
250
๑๒. บรมธรรม ภาคปลาย
๑๙.ก
250
๑๓. อานาปนสติภาวนา
๒๐.ก
300
๑๔. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๑
๓๑
250
๑๕. สุญญตาปริทรรศ์ เล่ม ๑
๓๘
250
๑๖. ค่ายธรรมบุตร
๓๗
250
๑๗. ฆราวาสธรรม
๑๗.ก
200
๑๘. ปรมัตถสภาวธรรม
๑๔.ก
250
๑๙. ปฏิปทาปริทรรศน์
๑๔
250
๒๐. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๒
๓๖.ก
250
๒๑. สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒
๓๘.ก
250
๒๒. เตกิจฉกธรรม
๓๗.ง
250
๒๓. โมกขธรรมประยุกต์
๑๗.ค
250
๒๔. ศารทกาลิกเทศนา เล่ม ๑
๒๖
300
๒๕. ศีลธรรม กับ มนุษย์โลก
๑๘.ข
250
๒๖. อริยศีลธรรม
๑๘.ค
200
๒๗. การกลับมาแห่งศีลธรรม
๑๘.ก
250
๒๘. ธรรมสัจจสงเคราะห์
๑๘.ข
300
๒๙. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
๔
500
๓๐. ธรรมะกับการเมือง
๑๘.จ
300
๓๑. เยาวชนกับศีลธรรม
๑๘.ง
200
๓๒. เมื่อธรรมครองโลก
๑๘.ฉ
250
๓๓. ไกวัลยธรรม
๑๒.ก
250
๓๔. อาสาฬหบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๔
300
๓๕. มาฆบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๒
300
๓๖. พระพุทธคุณบรรยาย
๑๑.ก
400
๓๗. วิสาขบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๓
300
๓๘. ชุมนุมล้ออายุ เล่ม ๑
๔๒.ก
300
๓๙. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข
๓๙.ค
300
๔๐. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๑
๓๗.ก
300
๔๑. อะไร คือ อะไร
๓๗.ค
300
๔๒. ใคร คือ ใคร
๓๗.ข
300
๔๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น - ภาคปลาย
๒
700
๔๔. ราชภโฎวาท
๓๙.ง
300
๔๕. กข กกา ของการศึกษาพุทธศาสนา
๑๔.ค
250
๔๖. ธรรมะเล่มน้อย
๔๐
250
๔๗. ใจความแห่งคริสตธรรมเท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ
๔๔.ก
300
๔๘. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๒
๓๑.ก
300
๔๙. ฟ้าสางระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๑
๔๖.ค
300
๕๐. ฟ้าสาวระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๒
๔๖.ง
300
๕๑. ชุมนุมปาฐกถาธรรมชุด"พุทธรรม"
๓๒
250
๕๒. สมถวิปัสนาแห่งยุคปรมาณู
๑๔.ข
250
๕๓. นวกานุสาส์น เล่ม ๑
๓๙
300
๕๔. สันติภาพของโลก
๑๘.ข
250
๕๕. ธรรมะกับสัญชาตญาณ
๑๕
250
๕๖. ธรรมศาสตรา เล่ม ๑
๔๐.ก
300
๕๗. อตัมมยตาประยุกต์
๑๒.ข
300
๕๘. ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์
๑๕.ข
300
๕๙. อตัมมยตาประทีป
๑๒.ง
300
๖๐. อตัมมยตาปริทรรศน์
๑๒.ค
300
๖๑. สันทิฏฐิกธรรม
๑๓.ข
250
๖๒. พุทธธรรมประยุกต์
๑๗.จ
250
๖๓. สัมมัตตานุภาพ
๔๐.ฉ
250
๖๔. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๒
๑๖.ก
250
๖๕. โพธิปักขิยธรรมประยุกต์
๑๔.ง
300
๖๖. คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา
๔๐.ข
250
๖๗. อานาปานสติบรรยาย-อภิปราย-สัมมนา
๒๐.ค
300
๖๘. พัสสิกไตรเทศนา
๒๕.ง
250
๖๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๓
๑๖.ข
250
๗๐. คู่มือที่จำเป็นในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
๔๐.ช
250
๗๑. ธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ
๓๗.ง
300
๗๒. มนุสสธรรม
๑๗
400
๗๓. พุทธวิธีชนะความทุกข์
๑๔.จ
300
๗๔. หลักพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
๑๔.จ
300
๗๕. ปัญหาแห่งมนุษยภาพ
๑๗.ฉ
300
๗๖. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๒
๓๗.จ
400
หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด
๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.
๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.
๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.
๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.
๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.
ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.............................................................................................
ภาคนำธรรมปาฏิโมกข์
1. ธรรมปาฏิโมกข์ คือ อะไร
ปรารภ เรื่อง ธรรมปาฏิโมกข์
การพูดกันที่นี่ ในวันเช่นนี้ ผู้ที่ไม่เคยฟังมาก่อน คงจะยังไม่ทราบเรื่อง จึงขอให้ตั่งใจฟัง ให้
เข้าใจเสียก่อน. การพูดนี้เราเรียกว่า ธรรมปาฏิโมกข์; ปาฏิโมกข์ทางวินัยนั้น กระทำทุกวัน
15 ค่ำ, ส่วนปาฏิโมกข์ทางธรรม ไม่ได้ทำกันเลย, เห็นว่ายังไม่ถูกเรื่อง น่าจะทำกันบ้าง. แม้ว่า
พระพุทธเจ้าจะไม่ได้บัญญัติปาฏิโมกข์ทางธรรมไว้โดยตรง; แต่เราพิจารณาดูจะเห็นได้ว่า ได้ทรง
บัญญัติไว้โดยอ้อมอย่างยิ่ง เช่นในข้อธรรมะตรัสไว้ว่า "ให้ประชุมกันเนืองนิจ, ให้ศึกษาสอบสวนทบ
ทวนอะไรกันอยู่เนืองนิจ" นี่แหละคือ ปาฏิโมกข์ทางธรรม
หน้า 2
ทางวินัยเรียกว่า ปาฏิโมกข์ ก็คือ เอาสิขาบท วินัยล้วน ๆมาอ่าน มาทบทวนสอบสวน อยู่เสมอทุก ๆ 1
5 วัน อย่าให้เฝือได้ ส่วนทางธรรมนี้ยังมากกว่านั้นอีก ถ้าไม่ทบทวนไว้แล้วจะเฝือยิ่งกว่านั้นอีก เพราะ
ธรรม ไม่ใช่ของบัญญัติเฉพาะ แต่เป็นของที่ปล่อยไปตามความคิดเห็นได้ ยิ่งเฝือได้ง่ายฉะนั้น จึงควร
ต้องทำปาฏิโมกข์ในทางธรรมเสียบ้าง 7 วัน หรือ 15 วัน ครั้งหนึ่งก็ยังดี ด้วยเหตุนี้จึงหาทางมาพบ
กันที่นี่ ทำปาฏิโมกข์ทางธรรมกันอีกชั่วโมงหนึ่ง ต่อจากปาโมกข์ทางวินัย.
เรื่องทำปาฏิโมกข์ทางธรรมนี้ อาจจะมีวัดไหนทำบ้างก็ไม่ทราบ ยังไม่เคยได้ยิน สำหรับ ที่
นี่ประสงค์จะทำปาฏิโมกข์ทางธรรมกันเสียบ้าง หรือทำกันเสียเป็นประจำเลย 7 วันครั้งหนึ่ง
คือเอาหลักธรรมที่สำคัญ ๆ มาทบทวน สอบสวนซักซ้อม ทำซ้ำ ๆ ซ้ำ ๆ อยู่เสมอ อย่าให้เลื่อนได้
อย่าให้เผื่อได้ เช่นเดียวกับที่เราสวดปาฏิโมกข์ทุก ๆ 15 วันนั้น ฉะนั้นจังมีการ มานั่งพูดที่นี่
คุยกันที่นี่เย็น ๆ ในวันพระ หรือวันอุโบสถ ราว 7 วันครั้ง หรือ 8 วันครั้ง 7วันก็ลงปาฏิโมก
ข์ธรรมะเสียสักครั้งหนึ่ง เพราะธรรมปาฏิโมกข์นั้น มีมากกว่าปาฏิโมกข์วินัยมีหัวข้อธรรมะอะไร
ที่ควรจะพูดซักซ้อมกันไว้เรื่อย ๆ ก็จะได้นำมาพูด บางทีก็มีชาวบ้านมาร่วมฟัง
นี่เรียกว่าความมุ่งหมาย ที่มานั่งคุยกันที่นี่ เย็น ๆ ถ้ามีแขกพิเศษมาเยี่ยมจะมีความคิดเห็นอะไร
มาพูดบ้างก็ได้ หรือเราเห็นว่า ผู้ใดมีความคิดเห็นอะไรบ้าง จะให้พูดแทน ก็ได้ เพราะมีประโยชน์
เหมือนกัน จะได้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พระเณรควรจะได้ฟัง ความคิดเห็น ที่แปลกออกไปบ้าง ถ้าใครมา
เป็นพิเศษก็จะได้เชิญให้พูด อย่างวันนี้ มีผู้มาเยี่ยมที่นี่ใหม่ ๆ ก็จะเชิญให้พูดบ้าง
หน้า 3
วันก่อนครูผู้สูงอายุผู้หนึ่ง มาพักอยู่ที่นี่หลายวัน พอถึงวันนี้มานั่งด้วยก็เลยให้พูด ได้ความดี พูด
ตลอดโปรแกรมตามความคิดเห็น นับว่าดีมาก ได้เล่าถึงวิธีการที่รู้จักตัวเองอย่างไร ควบคุมจิตใจตัวเอ
งอย่างไร ฟังแล้วรู้สึกว่าเขาเป็นคนที่ทำได้ดี เขาเป็นคนช่างสังเกต กล่าวถึง ความอดกลั้น
อดทน ตามวิธีของคนโบราณ ในการสังคมนั้น ก็ดีมาก ถ้าหากเราใช้วิธีนั้น ๆ กันอยู่ บ้าน
เมืองจะดีกว่านี้ จะมีความสงบเสงี่ยม มีความอดทนมีความคิดพิจารณามาก คนแต่ก่อน กว่าที่จะพูด
จะทำอะไร เขารอได้ ทนได้ คอยได้ ไม่คิดตัดสั้น ๆ ว่ามันอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้น เร็วนัก เขา
ต้องดูไปนาน ๆ พระเณรหนุ่มๆสมัยนี้ ไม่ค่อยทำ หรือทำไม่เป็นอย่างนั้น มักจิตใจวู่วาม พูดกันเองก็ยัง
ไม่ได้ดี ครูผู้หญิงอายุเจ็ดสิบเศษผู้นั้นยังพูดได้ดีกว่า ในสังคมเราจำเป็นอย่างนี้อยู่บ้าง ควรจะมีผู้ใหญ่
เป็นที่ปรึกษา ที่แนะนำ พิเศษออกไปแนะให้สังเกตเรื่องราวเป็นพิเศษอย่างนั้นบ้าง.
ธรรมะที่เรียนรู้ ใช้ประโยชน์ ได้เพียงไร หรือไม่
ธรรมะต่าง ๆ ที่พระเณรรู้กันอยู่แล้ว ดูจะไม่เป็นประโยชน์อะไร รู้กันมากเสียเปล่า ทั้งนี้ก็เรา
พะขาดส่วนปลีกย่อย ขาดวิธีการปลีกย่อยที่สำคัญนั่นเอง เมื่อไม่รู้จักอดทนพอ ก็ใช้ธรรมะให้เป็นประ
โยชน์ไม่ได้ ถ้าไม่อดทน ไม่ใจเย็นพอ แม่แต่จะเลือกธรรมะมาใช้ก็ทำไม่ถูก ครั้นนำมาใช้แล้ว ยัง
ไม่ทันจะมีผลก็เปลี่ยนเสียแล้ว เปลี่ยนเลิกไปเป็นอย่างอื่นเสียแล้ว เรียกว่าคนสมัยนี้ไม่มีความ
อดทน รอไม่ได้ คอยไม่ได้ จิตใจวู่วาม จึงเป็นเหตุให้ธรรมะของพระพุทธเจ้าเข้าไม่ถึง หรือเข้ายาก
ไม่เหมือคนสมัยโบราณโน้น ซึ่งเยือกเย็นกว่า
เรื่องนี้คงจะเป็นปัญหาเถียงกันบ้าง บางคนก็ว่ามัว "เย็น" อยู่ไม่ได้ โดยอ้างเหตุผลบางประการ
หรือเขาไม่นิยมหลักเกณฑ์ที่ว่าเยือกเย็นนี้ ไม่นิยมการอดทนไม่นิยมการให้อภัย
หน้า 4
ไม่นิยมว่า แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร หลักเกณฑ์อย่างนี้เขาไม่นิยมกัน ธรรมะทำหน้าที่ของ
ธรรมะ ไม่ได้ อยู่มาก เพราะเหตุนี้ผู้ที่จะทำการใหญ่ เขาก็ไม่ค่อยจะเอา ไม่ยอมใช้วิธีของ
ธรรมะเสียแล้ว เราควรมาพิจารณากันบ้าง ว่าจะจริงไหม ที่ว่าธรรมะใช้ไม่ได้เสียแล้วสมัยนี้
นี่ก็เป็นการทบทวน สังคายนาเกี่ยวกับธรรมะให้ชัดเจนดีอยู่
มีปัญหาน่าคิดที่ว่า หลักธรรมแท้ ๆ ก็ยังเข้าใจกันได้ ไม่สมบูรณ์ เพราะมันหลายซับหลายซ้อน
หลายชั้นหลายเชิง แล้วเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าคนชั้นหลังไปทำให้มันมากขึ้น ทำให้มันมากวิธีการ
มากความหมาย หรือว่ามากหลักเกณฑ์ ยิ่งขึ้นอย่างที่เห็นได้ง่าย ๆ เช่น เรื่องโลกิยะกับโลกุตตระนี้
พระพุทธเจ้าไม่เคยแบ่งคำสอนของพระองค์เป็นโลกิยะพวกหนึ่ง เป็นโลกุตตระพวกหนึ่ง ไปค้นดู
เถอะที่เป็นพระพุทธภาษิต จะไม่มีคำสอนแยกชั้นกัน มีแต่หลักธรรมกันอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นหลัก
พุทธศาสนา แล้วใครปฏิบัติได้เท่าไรก็ปฏิบัติเท่านั้น ตามความสามารถ ให้สุดความสามารถ ไม่
มีโลกิยะไม่มีโลกุตตระ คนชั้นหลังไปแบ่งเข้าเอง เดี๋ยวนี้ยิ่งตัดขาดออกจากกันเลย ธรรมะจะเป็น
โลกิยะโลกุตตระได้อย่างไร เพราะปรากฏว่า พระอริยเจ้า พระโสดาบัน พระสกิทาคามีนั้น ๆ
เป็นฆราวาสครองเรือน มีลูกมีหลานเยอะแยะก็มี
ตัวอย่างคนที่รู้จักกันดี เช่น อนาถปิณฑิกะ นางวิสาขา ก็อยู่กะลูกกะหลานอยู่อย่างชาวบ้าน อยู่อย่างสังคม
จัดที่สุด อย่างนางวิสาขานี้ได้ยินว่า ไม่เว้นสังคมไหน ถ้ามีงานอันมีเกียรติที่ไหนเขาจะต้องมาเชิญตัวไป
เป็นที่ปรับทุกข์ ปรับร้อน เป็นที่ยิบยืม เป็นที่อะไรทุกอย่างสารพัด แล้วแกก็เป็นฆราวาส แล้วจะเลือก
การเป็นอยู่อย่างนั้นว่าโลกิยะอย่างไรได้ พวกฆราวาสเป็นโสดาบันมากกว่าที่เป็นพระเสียอีก จะเอา
โลกิยะไปให้ฆราวาสล้วน ๆ เอาโลกุตตระไปให้พระล้วน ๆนั้น ทำไม่ได้ มันผิดไปหมด
หน้า 5
เพราะว่า พระที่ไม่มีประสีประสาต่อโลกุตตระ แล้วกลับเป็นโลกิยะ ยิ่งกว่าฆราวาสเสียก็มี เพราะ
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านไม่ตัดแยกเป็นโลกิยะโลกุตตระท่านว่า หลักธรรมมีอยู่อย่างนี้ ก็ปฏิบัติไปก็
แล้วกัน เช่น มรรคมีองค์แปดนี้ ใครปฏิบัติได้เท่าไร ก็ได้ผลเท่านั้น.
ฆราวาสควรสนใจ โลกุตตรธรรมด้วย
ปัจจุบันนี้คนเข้าข้างตัว ไม่อยากปฏิบัติธรรม คนก็เร่หาไปทางที่ต่ำ ๆ ไว้เรื่อย ต่ำไว้
เรื่อย ต่ำไว้เรื่อย จะไปสนใจเรื่องที่เป็นคิหิปฏิบัตินั้น สูตรบางสูตรเรื่องคิหิปฏิบัติกล่าวถึงเรื่องคนทำ
มาหากินควรต้องมีธรรมะอย่างไร บอกไว้ ๆ แล้วก็ไปยกมาว่า นี้เป็นพุทธศาสนาโลกิยะ อย่างนี้ก็ไม่ถูก
พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้รวมสิ่งเหล่านี้ในฐานะเป็นตัวพุทธศาสนา เว้นแต่ว่าเมื่อมีใครถามท่านบ้าง ถึง
เรื่องทำมาหากิน เรื่องหลักเกณฑ์ของชาวบ้าน ท่านก็พูดไปได้เหมือนกัน ตามความนิยมตามความรู้สึก
ของท่าน แต่แล้วในที่สุดจงดูให้ดีเถอะ ท่านไม่ได้สอนให้ยิ่งโลภมากยิ่งยึดมั่นถือมั่นมากเลย
คำสอนในสิงคาโลวาทสูตร หรือสูตรอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ทั้งหลายนั้นไม่มีแง่ไหนที่สอนให้คน
โลภมาก หรือเป็นฆราวาทต้องยิ่งโลภ ยิ่งมีกิเลสมาก ยิ่งถือมั่นมาก กำหนัดมาก อย่างนี้ไม่มี มีแต่เรื่อง
สอนให้บรรเทาทั้งนั้น แล้วมีอยู่ว่าการทำมาหากินนั้น อาชีพชนิดไหนก็ตาม การสังคมชนิดไหนก็ตาม
ต้องประกอบด้วยธรรมะที่เป็นความอดกลั้น อดทน ให้อภัย ไม่ยึดมั่นถือมั่น ทั้งนั้นจึงจะไม่
ขัดกับหลักที่วางไว้เดิม ที่พูดว่า โลกิยะตรงกันข้ามจากโลกุตตระนี้ผิด ผิดอย่างน่าใจหายเลย จะ
เป็นข้างหนึ่งส่งเสริมกิเลส ข้างหนึ่งบรรเทากิเลสนี้มันไม่ถูกได้ มันต้องบรรเทากิเลสทั้งนั้น ถ้าถูก
ต้องแล้ว ต้องบรรเทากิเลสได้และต้องเป็นเรื่องควบคุม หรือบรรเทาความยึดมั่นถือมั่น.
หน้า 6
พวกอื่นเขาสอนให้ ฆราวาสมีพื้นฐานที่ไม่บรรเทากิเลส ไม่บรรเทาความยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้ว เรา
ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปสอนให้บรรเทาอย่างนั้นอีกหรือไปส่งเสริมเข้า แต่ก็มีหน้าที่ ที่จะสอนให้ฆราวาส
ที่ต้องทำหน้าที่ของฆราวาสนั้นแหละ ให้มีความทุกข์น้อย หรือความทุกข์ครอบงำไม่ได้ ฆราวาสทำ
หน้าที่ทำมาหากินตามแบบของฆราวาสเต็มที่อยู่ส่วนหนึ่งแล้ว ก็ต้องประกอบด้วยธรรมะชนิด
ที่อย่าให้การงานนั้นเป็นทุกข์ขึ้นมา เพราะฉะนั้น คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เกี่ยวกับโลกิยธรรม ที่เรียกกันเดียวนี้ว่าโลกียธรรม มัน ก็ไม่ผิดไปจากเรื่อง โลกุตตรธรรม
เป็นแนวเดิม เป็นหลักธรรมเดิม แต่ว่าลดระดับลงมา ให้พวกฆราวาสปฏิบัติได้โดยสะดวก
พร้อมกันไปกับการทำงาน นี่เราก็เลยแนะให้ใช้การปฏิบัติธรรมในการงาน หรือให้การงานเป็นการ
ปฏิบัติธรรมไปเสียเลย มันจะได้ไม่ต้องลำบาก
มองดูอีกทางหนึ่งซึ่งน่านึกเหมือนกันว่า โลกุตตรธรรมนั้นยิ่งจำเป็นสำหรับฆราวาส
เพราะว่าโลกิยธรรมยังทำให้ร้อน โลกุตตรธรรมนั้นทำให้เย็นที่นี้ฆราวาสนั้นร้อนเหลือที่จะร้อน
อยู่แล้วย่อมต้องการโลกุตตรธรรมมากว่าพวกบรรพชิตที่อยู่ป่า ตามวัดตามวา พวกบรรพชิตไม่มาก
เหมือนพวกฆราวาสเขาไม่ต้องรีบด่วนในเรื่องเย็น เรื่องโลกุตตรธรรม มากเหมือนพวกฆราวาสด้วย
ซ้ำไปเปรียบเหมือนว่าคน ๆ หนึ่งมีไฟอยู่ที่ตัว แล้วอีกคนหนึ่งไฟไม่ได้ไหม้อยู่ที่ตัวนี้ ใครต้องการน้ำ
ดับไฟก่อนกว่าใคร มันก็ต้องคนที่กำลังร้อนเป็นไฟอยู่นั่นแหละฉะนั้น ฆราวาสจึงต้องสนใจ
เรื่องโลกุตตรธรรม เรื่องอย่างนี้จะมีปรากฏชัดในพระบาลีในพระไตรปิฎก ซึ่งเล่าไว้ว่า
สุญญตา เป็นโลกุตตรธรรม ที่เป็นประโยชน์แก่ฆราวาส
ฆราวาสพวกหนึ่งมาเฝ้าพระพุทธเจ้า มาทูลขอหลักการปฏิบัติธรรมไปปฏิบัติว่า ของพระองค์จง
แสดงธรรมะที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกฆราวาสโดยตรง
หน้า 7
แล้วพวกเขาทูลเล่าเรื่องว่า ฆราวาสอยู่ด้วยบุตรภรรยา ขอให้แสดงธรรมเป็นประโยชน์แก่
ฆราวาสตลอดกาลนี้ พระพุทธเจ้าทรงยกเรื่องสุญญตาขึ้นมาเลยแล้วก็ทรงย้ำด้วยว่าเป็น
โลกุตฺตรา ตถาคตภาสิตา ถ้าเช่นนั้น ท่านต้องสนใจเรื่อง สุญญตาซึ่งเป็นโลกุตตรธรรม ที่
ตถาคตกล่าว นี้มีคำกำกับอยู่ในตัวว่า ตถาคตกล่าวแต่เรื่องโลกุตตรธรรม หรือสุญญตา ตรง
กันข้ามนั้นไม่กล่าวเห็นชัดอยู่อย่างนั้น
ทีนี้พวกฆราวาสพวกนี้ ผู้เป็นหัวหน้าบอกว่า สูงนัก สูงเกินไปไม่สามารถปฏิบัติได้พระพุทธเจ้าก็
ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นก็เอาธรรมะ 4 ประการ คือ ความศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระพุทธหนึ่ง ในพระ
ธรรมหนึ่ง ในพระสงฆ์หนึ่ง อริยกันตศีลหนึ่ง 4 อย่างนี้เหมาะสำหรับฆราวาส ฆราวาสเหล่านั้น
ก็ทูลขึ้นว่า 4 อย่างนี้ปฏิบัติอยู่แล้ว ปฏิบัติอยู่อย่างเต็มที่แล้ว
สูตรนั้นจบลงเสีย โดยไม่ต้องบอกต่อไปว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป พอแสดงความพอใจในพระพุทธ
เจ้าแล้วก็จบเรื่องเสีย ก็เลยเกิดเป็นปัญหาที่เถียงกันขึ้นในหมู่นักคิด ว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่
สุญญตา โลกุตตรา นี่เหมาะสำหรับฆราวาสหรือไม่ ควรแก่ฆราวาสหรือไม่ คนพวกหนึ่งเห็น
ว่าไม่สมควรถือว่าตรงกันข้ามกันเลยมันใช้กันไม่ได้เลย เรื่องโลลกุตตรสุญญตานี้
ใช้กับฆราวาสไม่ได้ แต่พวกเราเยอะแยะ ยังมองเห็นว่า ต้องใช้ได้ตามเดิม ตามที่พระพุทธ
เจ้าท่านตรัส โดยพิจารณาว่าเมื่อมีฆราวาสมาทูลถาม ให้แสดงธรรมที่มีประโยชน์แก่ฆราวาส ทำไมพระ
องค์จึงไปยกเอาเรื่องสุญญตาโลกุตตราขึ้นมาเช่นนี้ เราจะหาว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้สะเพร่า เป็นผู้งม
งายไม่รู้ประสีประสาอะไร พูดโพล่งๆ อย่างนั้นแหละหรือ อย่างนี้ก็ไม่ถูก มันต้องเป็นหลักและเป็น
ความประสงค์ของพระพุทธเจ้าที่จะให้ฆราวาสรู้เรื่องสุญญตาโลกุตตรานี้
หน้า 8
การที่ฆราวาสพวกหนึ่งเขาว่าสูงนัก ไม่แสดงความสนใจหรือซักถามอะไรเลยเพื่อให้ทำได้นั้น
เขามิได้ซักถาม พระพุทธเจ้าก็ง่ายที่จะบอกอันอื่นให้เลย นี้เป็นเพราะเหตุไร ลองสังเกตดู
ธรรมะ 4 ประการนี้เป็นหลักสำคัญ มีมากในสังยุตตนิกาย เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ แล้วก็มี
อริยกันตศีลคือมีศีลบริสุทธิ์ เสนอ ธรรม 4 ประการนี้ ขึ้นมาเป็นอันดับรองจากสุญญตา
เราต้องพิจารณาว่า 4 อย่างนี้ เป็นโลกิยธรรมไหม ตรงกันข้ามกับสุญญตาไหม หรือเป็นเพียงยกระดับ
ลงมา ในสังยุตตนิกายนั้นเองก็พูดถึงธรรมะ 4 อย่างนี้อยู่มาก แล้วให้ชื่อว่าโสตาปัตติยังคะ
โสตาปัตติยังคะ ก็คือธรรม 4 ประการที่ตรัสนั้น
โสตาปัตติยังคะ แปลว่า องค์แห่งความเป็นพระโสดาบัน คือองค์แห่งการบรรลุความเป็น
โสดาบัน มี 4 อย่าง นี้หมายความว่าครบองค์แห่งการเป็นโสดาบัน โสตา แปลว่า
โสดา ปัตติ แปลว่า การถึง อังคะ ว่า องค์ องค์แห่งการถึงพระ
โสดาบัน ผู้ใดมีครบ 4 ก็คือถึงความเป็นพระโสดาบัน ถ้าอย่างนี้ละก็ไม่ใช่โลกิยะ เพราะว่า
พระโสดาบันไม่ใช่โลกิยะ นี้หมายความว่าพระพุทธเจ้ายังได้มอบโลกุตตรธรรม ที่ลดระดับลงมา
หน่อยให้ไปอีก
ทีนี้ ถ้าพวกนั้นปฏิบัติอยู่แล้ว ก็หมายความว่าพวกนั้นเป็นพระโสดาบันแล้วโดยไม่รู้สึกตัว
พวกที่มาเฝ้าถามนั้น ตนอาจเป็นพระโสดาบันอยู่แล้วโดยไม่รู้สึกตัว ก็เป็นไปได้ เพราะเรื่องนี้ก็เป็น
เรื่องธรรมดา ผู้บรรลุมรรคผลชั้นไหนเจ้าตัวไม่รู้ก็ได้ บรรลุมรรคผลชื่ออะไร ชั้นไหนไม่รู้ รู้แต่เพียง
ว่าเดี๋ยวนี้เรามีความสุขอย่างไร มีความทุกข์เท่าไร มากน้อยเพียงไรอย่างนี้ก็รู้ แต่ที่จะรู้ว่าระดับนี้
ลักษณะนี้ เขาเรียกชื่อว่า โสดา หรือ สกิทาคานี้ไม่รู้ เพราะเขาไม่สอนไม่เรียนกันในทำนองนี้
ฉะนั้น พวกธัมมทินนะอุบาสกคณะนั้น เป็นพระโสดาบันมาก่อนแล้วเต็มที่เลยก็ได้
หน้า 9
สำหรับการเป็นพระโสดาบันนั้นยังละกิเลสไม่ได้อีกมาก ยิ่งเป็นฆราวาสก็ยังมีความทุกข์
ความร้อน เช่นว่า ลูกหลานตายก็ยังร้องไห้ นี้ก็เป็นปกติของโสดาบัน เพราะฉะนั้น เขาจึงต้องการ
ธรรมะที่จะดับความร้อนอยู่มาก จึงไปเฝ้า ฉะนั้น จึงสรุปการที่ธัมมทินนนะบอกว่าข้อธรรมนั้นสูงนัก แล้ว
พระพุทธเจ้าตรัส 4 อย่างนี้ให้ เช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าพระพุทธเจ้าท่านเพิกถอนเรื่องสุญญตา
แก่ฆราวาส ไม่ได้เพิกถอนโลกุตตรธรรมแก่ฆราวาส เพียงแต่ลดระดับลงมาเท่านั้นแล้วต่อมาก็มี
พวกที่เข้าผิดถือเอาว่า 4 อย่างนี้เป็นโลกิยะธรรมไปเลย แล้วยังถือผิดเลยเตลิดต่อไปอีกว่า มันเป็น
เรื่องส่งเสริมให้ไปยึดมั่นถือมั่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไปเลย เลยอธิบายไปในทำนองเตลิด
เปิดเปิง ไม่เป็นธรรมไปในที่สุด
อย่าเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า ทรงสอน ให้ยึดมั่นถือมั่น
ใครมีศรัทธาไม่หวั่นไหว ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ ไม่ใช่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ถ้าสอน
ให้เลิกยึดมั่นด้วยอุปาทานแล้ว มันต้องอีกอย่างหนึ่ง อุปาทานต้องมาจากอวิชา การที่จะมีศรัทธา
ขนาดไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้น ต้องมีปัญญา ไม่ใช่ยึดมั่นด้วยอวิชา ที่ว่าคน
เราจะยึดมั่นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยอวิชานั้นมันมีได้เหมือนกันคือคนที่แรก ๆ พบอะไร ได้ยิน
ข่าวเล่าลือแตกตื่นอะไร นี้ยึดมั่นทำนองอวิชาอุปาทานอย่างนี้ก็ได้เหมือนกัน แต่อย่างนั้นไม่เรียก
ว่าอเวจจัปปสัทธาในที่นี้ อเวจจัปปสัทธา ในที่นี้ต้องมีปัญหา จึงจะไม่คลอนแคลน มาตั้งแต่รากฐาน
ศรัทธานั้นจะไม่คลอนแคลนมาตั้งแต่รากฐาน
คำว่า อเวจจัปปสัทธา ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี้ ไม่ใช่มีความยึดมั่นถือมั่น
ด้วยอุปาทานในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ว่ามีความรู้ความเข้าใจ พอยึดถือเอาเป็นสรณะ
ด้วยปัญญา
หน้า 10
ทีนี้คนที่เขาอยากจะยึดมั่นถือมั่นเขาก็มีช่องพูดตอนนี้แหละ ว่าแม้แต่เราจะถือพระพุทธ พระธรรม พระ
สงฆ์ เราต้องมีความยึดมั่นถือมั่น นี้มันเกิดเป็นปัญหาทางภาษาขึ้นมาทันที "ยึดมั่น ถือมั่น" ภาษา
ไทย อาจจะใช้ได้แก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ในภาษาบาลีใช้ไม่ได้ จะเอาคำว่าอุปาทานนี้ไป
ใช้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้เป็นไปไม่ได้ ต้องใช้ตำอย่างอื่น เช่นถึงไตรสรณาคมน์ ถึง
สรณะนี้ ซึ่งไม่ใช่ประกอบไปด้วยอุปาทานทำนองนั้น
อย่าลืมว่า อุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นในภาษาบาลี ต้องมาจากอวิชาเสมอไปส่วนที่จะถึง
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ถูกต้องนี้มาจาก "วิชชา" ตรงกันข้ามกับอวิชา ฉะนั้น จึงไม่ใช่อุปา
ทาน ดังนั้น อเวจจัปปสัทธา ใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ไม่ใช่อุปาทาน เหมือนที่คนไทย
เราพูดกันแล้วฟังเข้าใจผิด เพราะคำพูดว่า "ยึดมั่นถือมั่น" ในภาษาไทยนี้มันใช้ได้ทั้งสองอย่าง
ใช้ได้ทั้งในทางวิชชา ใช้ได้ในทางอวิชชา
ต้องไปทำความเข้าใจให้ถูกกันเสียใหม่ ในเรื่องเกี่ยวกับ ภาษาพูด ภาษาคน ภาษาธรรม
อะไรนี้ ถ้ายึดมั่นถือมั่นต้องเป็นอวิชชา จึงจะถูกต้องตามความหมายเดิม ทีนี้ ไทยเรามันใช้คำกำกวม
ถึงหรือ ถือนี้ ใช้คำว่าถึงหรือถืออย่างนี้ละก็ มันก็มีความหมายได้ทั้งนั้น ถึง และ ถือ
ผิดด้วยอุปาทาน หรือว่าถึง และถือ ด้วยปัญญาฉะนั้น ขอให้ทุก ๆคนจำไว้ให้ดีว่า คำพูดคำเดียว
มีสองความหมายได้อย่างนี้แหละ และเป็นตัวเหตุตัวการของความยุ่งยากของปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้ถก
เถียงกัน ตกลงกันไม่ได้ทะเลาะวิวาทกันเพราะเหตุนี้มาแล้ว ตั้งแต่พุทธกาลจนกระทั่งบัดนี้ จนกระทั่ง
เวลานี้ซึ่งจะรุนแรงยิ่งขึ้นเพราะเรานิยมยึดมั่นด้วยคำพูดอะไรกันมากขึ้น ผูกมัดกันด้วยคำพูด อายัติกัน
ด้วยคำพูดนี้มากขึ้น เรื่องนี้ต้องระวังให้ดี ไม่จำเป็นจะต้องเถียงกัน ควรจะทำความเข้าใจกันได้
หน้า 11
อย่าได้ไปเข้าใจ พระพุทธเจ้าให้ฆราวาสยึดมั่นถือมั่น แม้ในกรณีใดเลย ยังคงสอนให้ทำ
ลาย หรือบรรเทา ความยึดมั่นถือมั่นอยู่นั่นเอง ชั้นรอง รอง ๆ ลงมา เช่น ศรัทธาในพระพุทธ พระ
ธรรม พระสงฆ์ นี้ก็ ถอนความยึดมั่นในตัวตน อริยกันตศีลนี้ก็ ถอนความยึดมั่นถือมั่นใน
ตัวตน และความเห็นแก่ตน
เรื่องที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้ก็แปลว่า ฆราวาสพวกนั้น ได้ธรรมะที่เป็นสุญญตา หรือโลกุตตราใน
อันดับต้นไปเท่านั้นเอง ถ้าเขาไม่เป็นพระโสดาบันมาก่อน เขาก็ได้ข้อปฏิบัติเพื่อเป็นโสดาบันนั่น
เอง หรือถ้าเขาเป็นพระโสดาบันอยู่แล้วโดยไม่รู้สึกตัว ก็หมายความว่าเขาก็มีธรรมะที่
เป็นสุญญตาโลกุตตราในระดับหนึ่งอยูั่แล้วโดยไม่รู้ตัว แล้วข้อความในพระสูตรก็มีเพียงเขากลับไปเฉย ๆ
ก็แปลว่าจะต้องไปประพฤติข้อนั้นแหละต่อไปอีก ยิ่งขึ้นไปอีก หรือรักษาไว้ในลักษณะที่เป็นพระโสดาบัน
ซี่งเป็นโดยหลักทั่วไปอยู่แล้ว โดยหลักทั่วไป เราก็รู้กันอยู่แล้วว่าพระโสดาบันนั้นไม่ถอยหลังกลับ คำว่า
โสตะ,โสตา+อาปันนะ แปลว่า ถึงแล้วซึ่งกระแสหรือเกลียว คือถอยกลับไม่ได้ มีแต่จะไปตาม
เกลียวตามกระแสนั้น ก็เป็นอันว่าปลอดภัยสำหรับผู้นั้น
ถ้าจะอาศัยเรื่องนี้ แล้วสันนิษฐานว่าพระพุทธเจ้าเพิกถอนหลักเกณฑ์เรื่องสุญญตา ไม่สอนแก่ฆรา
วาส อย่างนี้คนนั้นก็บ้าเอง จะต้องเข้าใจไว้เสมอว่า หลักของพระพุทธเจ้าเปลี่ยนไม่ได้ ในข้อสำคัญ
ที่สุดคือไม่ยึดมั่นถือมั่น ทุกคนต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้มากเท่าที่จะทำได้ ตามสัดตามส่วนของตน ข้อ
นี้ไม่ต้องกลัวบางทีจะพบว่า ความยึดมั่นถือมั่นมันเกิดมากเกินต้องการอยู่เรื่อยไป ฉะนั้น เราไม่ต้อง
กลัวว่าเราจะไม่ยึดมั่นถือมั่น มันยึดมั่นถือมั่นจนให้เป็นทุกข์อยู่เสมอไป ฉะนั้นเราก็บรรเทาเสียเท่าที่เรา
จะบรรเทาได้ ก็เท่านั้นเอง
เรื่องศีลก็บรรเทาความยึดมั่นถือมั่น เรื่องสมาธิก็บรรเทาความยึดมั่นถือมั่น เรื่อง
ปัญญาก็บรรเทาความยึดมั่นถือมั่น มรรค ผล นิพพาน ก็คือ ผลของการที่ตัดความยึดมั่นได้ตัดสัดตามส่วน
หน้า 12
ทีนี้แม้แต่ที่สุด เราจะเริ่มนับถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ต้องเพื่อบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นที่
เห็นแก่ตัวการที่เราไปเห็น "เห็นแก่" พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ไม่ใช่ไปยึดมั่นถือมั่น
ด้วยอวิชชาอุปาทาน แต่ไปยึดมั่นเพื่อจะเอามาเป็นหลักเกณฑ์ สำหรับบรรเทาความยึดมั่นถือในตัวกู-
ของกู ให้เบาบางไป นี้คือเราเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาเป็นเครื่องมือทำลายตัวกู-ของ
กูในตัวเรา ต้องเป็นหลักอย่างนี้เสมอกันทั้งฆราวาสทั้งบรรพชิต
เรื่องการปฏิบัติธรรม ไม่มีพระ ไม่มีฆราวาส
นี่เราเห็นได้อยู่แล้วว่าพระภิกษุ พระสงฆ์นี่ บางรูปมีตัวกู-ของกู จัดกว่าพวกฆราวาสบางคนบาง
หมู่ตั้งไหน ๆ ฆราวาสบางคนบางหมู่ บางเหล่า ตัวกู-ของกูน้อยกว่าพระเณรในวัดตั้งไหน ๆ คำพูดนี้
ขยายความออกไปได้ถึงนอกวง นอกวงของพุทธของไทย ไปถึงพวกจีน พวกฝรั่ง พวกแขก อะไรได้
ทั้งนั้น ที่โดยเหตุอะไรก็ตาม โดยการศึกษาชนิดไหนของเขาก็ตาม แม้เหล่านั้น คนต่างชาติ ต่างศาสนา
เหล่านั้นบางคน มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวกู-ของกู น้อยกว่าคนไทยส่วนมากเสียอีกคนไทยที่กำลัง
เปลี่ยนหลักการ กำลังทะเยอทะยานไปตามวัตถุนิยมอย่างโลก ๆ ซึ่งจะมีความยึดมั่นถือมั่นมากขึ้น
ส่วนพวกชาวต่างประเทศที่ไม่ถือศาสนาพุทธ เขาถือศาสนาอื่นนั้น บางคนกลับจะอยู่ในสภาพที่มีความ
ยึดมั่นถือมั่นน้อยกว่า แต่ว่ามันต้องมีจำนวนน้อยคนเป็นธรรมดา ที่ว่านี้ไม่ใช่ทั้งหมด
เดี๋ยวนี้เกือบจะเฉลี่ยกันไปหมดแล้วทั้งโลกนี้ โดยอาศัยหลักที่ว่าเห็นแก่ตัวหรือไม่เห็นแก่ตัว
ใครไม่เห็นแก่ตัวมากเท่าไรก็เป็นพุทธบริษัทโดยไม่รู้ตัวมากเท่านั้น เขาจะถือศาสนาอะไรอยู่
หรือว่าประกาศตัวเป็นชาติไหนภาษาไหนก็ตาม
หน้า 13
ถ้าเขาถือหลักไม่เห็นแก่ตัวได้มากเท่าไร เขา เป็นพุทธบริษัทโดยไม่รู้สึกตัวมากเท่านั้น
ฉะนั้น เราจึงไปพบคนที่ยึดมั่นถือมั่นน้อยในพวกอื่น ที่ถือศาสนาอื่นก็ได้ นี่พูดอย่างเป็นธรรมดาที่สุด ซึ่ง "
พวกนั้น" เขาไม่ยอม เขายังพูดว่ามีแต่พุทธ หรือว่ามีแต่คนไทย หรือมีแต่อะไรกัน แล้วก็มีแต่พระภิกษุ
นี้เท่านั้น ฆราวาสมีไม่ได้อย่างนี้ไม่จริง
ธรรมะไม่มีพระ ไม่มีฆราวาส ใครปฏิบัติเข้าก็ต้องเป็นไปตามกฎของธรรมะนั้น ธรรมะ
ไม่มีพระไม่มีฆราวาส เพราะเหตุนี้ธรรมะจึงไปมีได้แม้ในฆราวาสและสูงกว่าที่อยู่ในพระเณรบางคน
หรือพูดว่าพระเณรส่วนมากจะสูงกว่าฆราวาสก็ตามใจ แต่ว่าธรรมะในฆราวาสบางคนนั้นมีมากกว่า และ
มีสูงกว่าพระเณรบางคนก็ได้นี่คือคำอธิบายที่เรียกว่าธรรมะนั้นไม่เป็นฆราวาส ไม่เป็นบรรพชิตได้
ธรรมะเป็นกฎของธรรมชาติ ใครมี คนนั้นก็เป็นพระ เพราะฉะนั้น เป็นพระอยู่ในเพศ
ฆราวาสที่บ้านที่เรือนก็มีเยอะแยะไปหมด แล้วมาบวชอยู่ในวัดในวา ในป่า ในดงไม่เป็นพระหรือ
เป็นพระน้อยก็มี มีมากหรือไม่เป็นเลยก็มี นั้นมันเป็นเรื่องแบบฟอร์มข้างนอกเท่านั้น
จงเข้าใจให้ดีว่า ธรรมะนี้ไม่มีฆราวาส ไม่มีบรรพชิต และไม่อาจแบ่งแยกเป็นโลกิยะ
โลกุตตระ สำหรับพุทธศาสนาไม่มีแบ่งแยก ทีหลังมาเกิดมีการแบ่งแยก ก็โดยอาศัย
หลักที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้บางอย่าง เช่นว่า "ถ้ายังเป็นไปเพื่อเกิดอีกละก็ไม่ไหว นี้ยังเป็นโลก
ถ้าเป็นไปเพื่อไม่เกิดอีกนี้เป็นโลกุตตระ เลยได้หลักอันนี้มาสำหรับแบ่งแยกเป็นโลกิยะ
โลกุตตระ ถ้ายังอยากเกิดอีก ก็ทำไปด้วยความเกิดอีก อยากมีอีก เป็นโลกิยะ ถ้าเพียง
เท่านี้ไม่เป็นไร ยังพอใช้ได้ แต่ถ้าไปเพิ่มเติมเข้าว่า ที่อยากเกิดอีกนั้นต้องมีโลภมาก มีอะไรมาก
มีความยึดมั่นถือมั่นมากแล้ว ไม่ได้ ผิดเลย ผิดหมดเลยแม้แต่อยากเกิดอีก
หน้า 14
ก็ต้องเป็นไปในทางที่ดีขึ้น มีธรรมะสูงมีจิตใจสูง มีความทุกข์น้อย มีความยึดมั่นถือมั่นน้อยอยู่ตามเดิม
ไม่ใช่กลับไปตรงกันข้าม นั่นมันจะไปลงนรกเลย
ขอให้เข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ไว้ให้ดีๆ อย่าไปหลงตามความคิดเห็นของคนบางคน
ว่าโดยเหตุที่อุบาสกคณะนั้น ที่ทูลว่าสุญญตาสูงนัก พระพุทธเจ้าจึงลดลงมาเหลือเพียงโสดาปัตติยังคะ 4
แล้วจะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าเลิกสุญญตา เลิกโลกุตตระ สำหรับฆราวาสไปเลย นี้ไม่ถูกหลักพระ
พุทธศาสนามีเพียงอย่างเดียวคือว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดว่าเป็นตัวของตัวตนของตนเท่านั้น
ที่นี้ฆราวาสก็ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้ว ฉะนั้น ก็บรรเทาลงไปตามส่วนเท่าที่จะบรรเทาได้เป็นพระเป็นเณร
ก็บรรเทาให้มากกว่านั้นอีก จึงจะสมกับที่เป็นพระเป็นเณร
การบรรลุมรรคผล ก็คือ ความยึดมั่นถือไม่ได้
การบรรลุมรรคผล เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี นี้ หมายความว่าจิตเข้าระดับ เข้า
ระดับที่ยึดมั่นถือมั่นได้ถูกละไป ถึงสัดส่วนที่ว่าจะกลับเพิ่มอีกไม่ได้ มีแต่จะหายหมดไป หมดไป หมดไป
ฉะนั้น หมดไปบางส่วนแค่นั้น ๆ ก็เรียกว่าพระโสดาบัน หรือหมดถึงขนาดนั้นก็เรียกว่าเป็นพระสกิทาคา
มีอนาคามีหมดเลยก็คือเป็นพระอรหันต์ หมดความยึดมั่นถือมั่น เพราะเหตุนี้เขาจึงได้มีหลักว่า พระ
โสดาบันละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐินั้นแหละคือยึดมั่นถือมั่น พระโสดาบันจะ
ต้องละ จึงเป็นพระโสดาบันได้ ส่วนบุคคลปุถุชนนั้นยังมีอยู่ปุถุชนเป็นพระก็ได้เป็นฆราวาสก้ได้ ถ้ายัง
มีสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สัลัพพตปรามาสเต็มที่อยู่ ก็เลยเป็นปุถุชน ถ้าละความยึดมั่นถือมั่นที่เรียก
ชื่อว่า สักกายทิฏฐฺิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้ตามส่วนที่วางไว้ ก็เรียกว่าเป็นพระโสดาบัน
ละสักกายทิฏฐิ คือละความยึดมั่นถือมั่นที่เป็นตัวกู-ของกู วิจิกิจฉานี้ ยึดมั่นถือมั่นไป
ในทางทิฏฐิ ความคิดความเห็นที่เคลือบแคลงสงสัย ส่วน สีลัพพตปรามาสนั้น ยึดมั่นถือมั่นในการ
ปฏิบัติที่กระทำมาแล้วอย่างงมงายตลอดเวลา. เมื่อละความยึดมั่นถือมั่นทำนองตัวกู-ของกูเสียตามส่วน
แม้ไม่ใช่ละได้หมดเลย, แล้วก็ละความยึดมั่นเรื่องทิฏฐิผิด ๆ ที่ทำให้สงสัยลังเลกังขาอะไรอย่างนี้ตาม
ส่วนเสียส่วนหนึ่ง, ละยึดมั่นถือมั่นในความงมงาย ปฏิบัติอย่างงมงาย เชื่ออย่างงมงายมาแต่ก่อนเสีย
ตามส่วน, ทำได้อย่างนี้ก็เป็นพระโสดาบัน. ทีนี้ก็เพิ่มมากขึ้น ๆ จนสูงขึ้นไปจนหมดเลย ก็เป็นพระอรหันต์.
ฆราวาสก็มีความยึดมั่นถือมั่นครบอยู่ได้, ปุถุชนที่เป็นฆราวาสก็ถือว่ามีกันครบอยู่ในเรื่องที่จะต้องละ
ก็ไม่มีอะไรที่จะไปตำหนิเขา. ทีนี้ถ้าให้ดีกว่านั้นแล้วไม่มีทางอื่น, ถ้าจะให้ดีกว่านั้น ก็ต้องมาทางนี้ : ใน
ทางที่ละการยึดมั่นถือมั่น ๓ ประการ นั้นก่อน จึงจะมาเข้าเขตเรื่องแรกของโลกุตตระ คือพ้นจากทุกข์
เป็นพระโสดาบัน. นี้จะจัดพวกที่ต่ำกว่าพระโสดาบัน คือพวกปุถุชนธรรมดาว่าเป็นโลกิยะก็ได้เหมือนกัน;
แต่อย่าไปเหมา อย่าไปเข้าใจ ว่าต้องสอนให้เขายึดมั่นถือมั่นมากขึ้น. ถ้าสอนปุถุชนฆราวาสให้ยึดมั่นถือ
มั่นมากขึ้น มันผิดเลย, ผิดหมดเลย.
ทุกคนต้องมุ่งหน้าไปทางนิพพาน
ที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องแค่ "ยอมให้" เท่านั้นแหละ ที่จะให้ปุถุชนเป็นโลกิยะ. ถ้าถือหลักว่ายังมีการ
เกิดอีก พระโสดาบันก็มีการเกิดอีก; ยังเป็นไปในโลกอีก แต่โดยเหตุที่ว่าพระโสดาบันนั้นแน่นอนที่จะพ้น
จากโลก จึงถือว่าเป็นโลกุตตระ, ถึงอย่างไรก็เป็นโลกุตตระตลอดสาย คือว่าฆราวาสก็หวังที่จะข้ามขึ้น
จากโลก จากความทุกข์, ส่วนพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี คือผู้ที่ข้ามขึ้นไปได้ตามลำดับ. ฉะนั้น
ทุกคนต้องบากหน้าไปทางนิพพานทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นปุถุชน หรือพระอริยเจ้าก็ตาม ต้องบากหน้าไป
ทางนิพพาน ปุถุชนก็เปรียบเหมือนอยู่หลังหน่อย อยู่ไกลหางแถวปลายแถวหน่อยเท่านั้น นอกนั้นไปได้
ใกล้แล้ว เดินนำหน้าไปแล้ว.
หน้า 16
สูตรเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็มีอยู่ชัดเหมือนกัน ว่าด้วยเรื่องจมทะเล เรือแตกอยู่ในทะเล เวียนว่ายอยู่
ในทะเลนี้ : พวกหนึ่งจมหายไปเลย, พวกหนึ่งจมแล้วผุดขึ้นมาอีก, พวกหนึ่งว่ายน้ำเข้ามาหาฝั่ง, พวก
หนึ่งก็ว่ายเข้ามาใกล้มากแล้ว, พวกหนึ่งก็มาถึงเขตน้ำตื้นหยั่งเท้าถึงดินแล้ว, พวกหนึ่งก็มาถึงเดินน้ำแค่
เข่าแล้ว, พวกหนึ่งก็ไปนั่งสบายอยู่บนบกแล้ว, อย่างนี้ก็มี. ทุกคนต้องบากหน้าไปหาฝั่งทั้งนั้น ไม่มีการ
สอนให้บากหน้าไปหากลางมหาสมุทร; ฉะนั้น การที่จะไปสอนให้ฆราวาสมีความยึดมั่นถือมั่นนั้น ก็
เหมือนกับสอนให้เขาบากหน้าไปสู่กลางมหาสมุทร ไม่บากหน้ามาหาฝั่ง ซึ่งนั่นย่อมผิดด้วยประการทั้งปวง.
ไม่มีทางที่จะสอนใครให้ยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นหลักโลกิยะสำหรับฆราวาส; ถ้าสอนอย่างนั้นเป็นเรื่อง
ผิดโดยประการทั้งปวง. นี่ที่เป็นหลักอย่างนี้ พอจะถือได้ว่าเป็นหลักปาฏิโมกข์ฝ่ายธรรมะข้อหนึ่งด้วย
เหมือนกัน; อย่าให้เฝือได้. ส่วนคำอธิบายปลีกย่อยอย่างอื่น ๆ เอามาประกอบกันเข้าให้ชัดเจน ให้
ละเอียดลออออกไป; แต่ว่าโดยหลักต้องเป็นอย่างนี้ : คือทุกคนต้องบากหน้าไปยังสิ่งที่เรียกว่านิพพาน,
แล้วก็ไปตามนั้น ตามเป็นหางกันไปเท่าที่จะทำได้. ทุก ๆ ระดับต้องบรรเทาความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเกิด
อยู่เองแล้ว มีเต็มที่อยู่ก่อนแล้ว; จะไปเพิ่มเข้าอีกนั้นไม่ควร ฉะนั้น ถ้าเรียกว่าดี ก็ต้องหมายความว่า
ยึดมั่นถือมั่นน้อยลง ไม่ใช่ยึดมั่นถือมั่นมากขึ้นอย่าเข้าใจว่าดีแล้ว ต้องยึดมั่นถือมั่นน้อยลง ไม่ใช่ยึดมั่นถือ
มั่นมากขึ้น. อย่างเข้าใจว่าดีแล้ว ต้องยึดมั่นถือมั่นมากขึ้น; ดีต้องหมายความว่ายึดมั่นถือมั่นน้อยลง, มี
ความเลว ความชั่ว ความทุกข์อะไรน้อยลง, นั้นจึงจะเรียกว่าดีขึ้น ๆ ดีขึ้น ๆ.
ถ้าไปพูดแยกกันเป็น โลกิยะ โลกุตตระ, แล้วสอนฆราวาสให้ยึดมั่นในนั่นนี่หนักเข้า แม้กระทั่ง
ยึดมั่นในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส; อย่างนี้ทำลายพุทธศาสนายิ่งกว่าคอมมูนิสต์, คือว่าทำลายหัวใจของ
พุทธศาสนายิ่งกว่าคอมมูนิสต์.
หน้า 17
คอมมูนิสต์จะทำลายได้ก็เพียงแต่เปลือกของศาสนาเท่านั้น ไม่ทำลายหัวใจของพุทธศาสนาได้;
แต่พวกพุทธบริษัทกันเองที่สอนผิด ๆ นี้ ทำลายหัวใจของพุทธศาสนาหมดเลย; ฉะนั้นจึงถือว่าทำลาย
พุทธศาสนายิ่งกว่าพวกคอมมูนิสต์; จงระวังให้ดี.
การศึกษาธรรมมีมากขึ้น เดี๋ยวนี้ทำให้คนมีความรู้กันมากขึ้น ก็มีคนที่มีความคิดความเห็นแตกต่าง
กันมากขึ้น; เพราะฉะนั้น จึงต้องวินิจฉัย วิพากษ์วิจารณ์กันมากขึ้น แตกต่างกันมากขึ้น. เราจะต้องระวัง
; อย่าไปพลอยหลงผิด หรือไปพลอยฟั่นเฝือกับเขา; หลักเกณฑ์มีอยู่อย่างไรก็ต้องซักซ้อมให้ถูกต้อง ให้
แม่นยำอยู่เสมอ โดยที่เรียกว่าลงปาฏิโมกข์ในทางธรรม คู่ ๆ กันกับปาฏิโมกข์ทางวินัย.
เรื่องโลกิยะโลกุตตระนี้ทำยุ่ง มาว่ากันเองทีหลัง, แล้วบัญญัติให้ผิด ๆ, แล้วพอมาถึงสมัยนี้ คน
เขาถือเอาเองผิด ๆ ยิ่งขึ้นไปอีก จนเป็นว่าโลกิยะต้องยิ่งยึดมั่นถือมั่น. พระพุทธเจ้าไม่ได้แบ่งหลักอัน
นี้เลย อาจจะเพิ่งพบคำสอนคำนี้ในอภิธรรม ในอภิธรรมที่เป็นคัมภีร์รุ่นหลังนี้, โลกิยา ธมมา ใน
อภิธรรมนั้น ไม่ได้หมายความว่าให้คนเพิ่มความยึดมั่นถือมั่น. แต่เดี๋ยวนี้คนเขามาหลงในเรื่องสิ่งที่ยั่วยวน
ก็เลยเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เสียใหม่ ให้โลกิยะนี้ยึดมั่นถือมั่นมากขึ้น ในสิ่งที่จะทำให้สวย ให้รวย ให้
สบายเป็นสุข ให้อะไรอย่างนั้น. ระวังให้ดี จะทำลายพุทธศาสนาหมดไม่มีเหลือ. โดยไม่รู้สึกตัว และ
ยิ่งกว่าคอมมูนิสต์ เหมือนกับที่ว่ามาแล้ว.
หน้า 18
ศึกษาจริง ปฏิบัติจริง รู้จริง แล้วพุทธศาสนาจะอยู่ได้
อยากจะบอกให้ทราบอีกอย่างหนึ่งว่า เรื่องความคิดเห็นนี้จะห้ามกันไม่ได้. มันเป็นประชาธิปไตย;
เพราะเป็นเรื่องความคิดเห็น ใครจะไปบังคับใครได้ ทีนี้เราจะไปให้ทั้งหมู่ทั้งคณะถือเหมือนกันก็ไม่ได้
เพราะหมู่คณะนั้นเป็นเรื่องโลก. โลกนี้ต้องเป็นไปตามผู้มีอำนาจ; ผู้มีอำนาจเข้าใจผิด โลกก็ต้องเข้าใจ
ผิด; ช่วยไม่ได้; เพราะคำว่า "โลก" ต้องเป็นไปตามผู้มีอำนาจเสมอ. ฉะนั้นมาถือธรรมะกันดีกว่า
ซึ่งไม่เป็นไปตามโลก และไม่เป็นไปตามอำนาจ แต่เป็นไปตามความจริง.
ยกตัวอย่างเช่น คณะสงฆ์หรือมหาเถระสมาคม ท่านมีความคิดเห็นอย่างไหน ก็ต้องเป็นไป
อย่างนั้น; ท่านมีความคิดเห็นเรื่องโลกิยะเรื่องโลกุตตระอย่างไรก็ต้องเป็นไปอย่างนั้น. เราก็ไม่เคย
ฟังท่านพูดเรื่องนี้ แล้วดูเหมือนท่านจะไม่กล้าพูด ถ้าท่านมีสติสัมปชัญญะพอ คงไม่มีองค์ไหนกล้วพูดยืนยัน
เอาความคิดเห็นไปบังคับประชาชน. ถ้าทำอย่างนั้นจะเป็นเสมือนศาสนาคริสเตียน ที่ออกกฎต่าง ๆ
เป็นบัญญัติของโป๊ปของอะไรมาเป็น dogmatism บัญญัติอย่างนั้นอย่างนี้ออกมานี้ก็เป็นอย่างคริสเตียนไป.
ถ้ายังเป็นพุทธอยู่ก็ต้องปล่อยไปตามความอิสระ ให้มองเห็นด้วยตนเอง ให้เห็นในภายในของตนเอง
ให้เห็นด้วยตนเอง แล้วก็ปฏิบัติด้วยตนเองทั้งนั้น ท่านจึงเงียบกริบในเรื่องหลักธรรมะแท้ ๆ นี้. ท่านมี
อำนาจหน้าที่แต่ในเรื่องการปกครอง เรื่องระเบียบ เรื่องอธิกรณ์ เรื่องอะไรอย่างนั้น. เมื่อไรท่านมา
ออกกฎอย่างนี้ทางธรรมะก็จะกลายเป็นอย่างคริสเตียน บังคับกันในทางความคิดเห็น; ถ้าสมมติว่าท่านผิด
ละก็
หน้า 19
ฉิบหายหมดเลย. ถ้าสมมุติว่าท่านประชุมกันออกมาผิดละก็ฉิบหายหมดเลย พุทธศาสนาจะไม่มีอะไร
เหลือ; เพราะฉะนั้นการที่ท่านไม่ออกกฎในทางความคิดเห็นหรือบัญญัติเกี่ยวกับหลักธรรมะนี้ เป็นการดี
เป็นการถูกต้อง ที่พระพุทธศาสนาจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง.
ทางรอดมีอยู่ว่า ทุกคนนี้พยายามศึกษาจริง ๆ ปฏิบัติจริง ๆ ได้ผลจริง ๆ รู้ด้วยตนเองจริง ไม่
ต้องเชื่อคนอื่น นั้นแหละจะเอาพุทธศาสนาไว้ได้.
หัวข้อปาฎิโมกข์ธรรมะวันนี้ มีว่าอย่างนี้ : นี้ว่าโดยหลักเกณฑ์อันเดียวเท่านั้น ที่เป็นพุทธศาสนาว่า
สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย - สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทุกสิ่งไม่ใช่สิ่งที่ควรจะไปสำคัญมั่นหมายว่าตัวเรา
หรือของเรา. พยายามปฏิบัติตามหลักนี้เรื่อยไป ทั้งฆราวาสทั้งบรรพชิต ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้อง
ปลาย; ไม่มีหลักเกณฑ์อันไหนที่จะสอนให้ใครยึดมั่นถือมั่น.
ต้องรู้ว่าโลกิยะหรือโลกุตตระก็ตามต้องเป็นไปเพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นทั้งนั้น แต่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่ากัน
สูงกว่ากัน; มีเส้นทางสายเดียวกันบากหน้าไปยังพระนิพพาน. ทุกคนมีแนวดิ่งไปตามแนวนั้น เหมือนดัง
ข้อความบาลี ในมหาสติปัฏฐานสูตร, และอีกบางสูตร ที่ว่า เอกายโน ภิกฺขเว มคฺโค - ทางนี้เป็น
ทางสายเดียว สำหรับบุคคลเดียว เดินไปสู่จุดหมาย เพียงอย่างเดียว. สำหรับผมแปลอย่างนี้ : คำว่า
เอกายโน แปลเป็น ทางสายเดียวสำหรับบุคคลเดียว เดินไปสู่จุดหมายเพียงอย่างเดียว. เอกายโน
ภิกฺขเว มคฺโค นี้คือตัวพุทธศาสนา. หนทางนี้คือตัวศาสนา, มคฺโค - ทาง คือ ตัวศาสนา, เอกายโน -
เป็นเส้นเดียวสำหรับบุคคลเดียว เดินไปสู่จุดหมายเพียงอย่างเดียว; เรียกว่าไปสู่ความหมดจากความ
ยึดมั่นถือมั่น.
หน้า 20
อย่าไปทำให้หลายเส้นหลายทาง แล้วมีบางทางย้อนกลับ อย่างนี้เป็นเรื่องผิดเหลือที่จะผิด; ต้อง
ไปข้างหน้าไปสู่จุดหมายปลายทางเพียงอย่างเดียวคือนิพพาน. คำว่า "นิพพาน" ก็เหมือนกัน พวกที่เข้า
ใจผิดอย่างที่ว่ามาแล้ว ก็จะต้องปฏิเสธทันทีว่า นิพพานไม่ใช่สำหรับชาวบ้าน ไม่ใช่สำหรับพวกอยู่ในโลก
; อย่างนี้เข้าใจผิดอย่างโง่เขลาที่สุด, แล้วอวดดี.
รู้จัก คำว่านิพพาน ให้ถูกต้อง
คำว่า นิพพาน ของพระพุทธเจ้า หรือของภาษา ในประเทศอินเดียแล้ว เขาดีมากจนใช้ได้กับคน
ทุกคนทุกพวก คือ ดับ เย็น; พวกฆราวาสเต็มที่ก็ต้องการความดับเย็น, พวกพระบรรพชิตก็ต้องการ
ดับเย็น, และใคร ๆ ก็ต้องการความดับเย็น, แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ต้องการความดับเย็น, แม้แต่วัตถุ
ที่ไม่มีชีวิตมันก็ต้องการความดับเย็น. ฉะนั้น จึงมีข้อความอธิบายคำว่า นิพพานไว้ในพวกสังยุตตนิกายบาง
แห่งพอให้เราเข้าใจได้; ไม่ใช่คำพูดตรง ๆ แต่ว่าพอให้เราเข้าใจได้ว่า คำว่า "นิพพาน" นี้หมายหมด
เลยทั้งทางวัตถุ ทั้งแก่สัตว์เดรัจฉานและทั้งแก่มนุษย์ โดยถือเอาภาษาบาลีเป็นหลัก.
คำว่า นิพพาน หรือ ปรินิพพาน นิพพุติ หรือ ปรินิพพุติ อะไรก็ตาม แปลว่า ดับเย็น. วัตถุร้อน ๆ
เย็นลงไปก็เรียกว่า มันปรินิพพุติ, เช่น เหล็กแดง ๆ เย็นลงไป ก็เรียกว่าเหล็กนี้ปรินิพพุติ. ถ่านไฟแดง
ๆ เย็นลงจนดำ นี้ก็เรียกว่า มันปรินิพพุติ คือปรินิพพาน. แม้แต่อาหารตักออกมาจากในหม้อร้อน ๆ
แล้วก็มาวางจนให้เย็นลง จนกินได้; นี้ก็เรียกว่า มันปรินิพพุติ. แม้แต่มีคำพูดในครัวในบ้านในเรือน
ในครัว เด็ก ๆ คนหนึ่งร้องตะโกนว่าข้าวต้มนิพพานแล้วโว้ย มากินกันเสียที. นี้มิใช่เป็นคำจำอวด
ตลกอะไร เป็นคำธรรมดาของภาษาในขณะนั้น เวลานั้น, สำหรับของร้อนที่เย็นลง. แล้วสูงขึ้นมา คำว่า
นิพพาน หมายถึงหมดร้อน.
สินค้าที่ดูล่าสุด
- ธรรมปาฏิโมกข์เล่ม1--ธรรมโ... ราคา 250.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
หลักพระพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
รหัส : 14.ฉ-แถบแดง ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 25/04/2011 ผู้เข้าชม : 2,640