สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,383,277 |
เปิดเพจ | 17,033,296 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
ไกวัลยธรรม
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
12.กแถบแดง
-
เข้าชม
3,123 ครั้ง
ยี่ห้อ
ธรรมโฆษณ์
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี ปั๊มทอง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
29/04/2011 00:00
-
รายละเอียดสินค้า
ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส
เรื่อง ไกลวัลยธรรม--ธรรมโฆษณ์
จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา
จำนวน 512 หน้า
(การนับจำนวนหน้าของหนังสือ จะนับเฉพาะส่วนหน้าหา ไม่นับส่วน คำนำ สารบาญ และส่วนท้าย)
www.trilakbooks.com ไตรลักษณ์ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ริมกำแพงวัดญาณเวศกวัน
.......................................................................................................................................
รายชื่อหนังสือชุด ธรรมโฆษณ์
รายชื่อหนังสือ
เลขประจำเล่ม
ราคา
๑. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
๑
350
๒. อิทัปปัจยตา
๑๒
300
๓. สันทัสเสตัพธรรม
๑๓
250
๔. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๑
๓๖
250
๕. พุทธิกจริยธรรม
๑๘
250
๖. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
๓
300
๗.โอสาเรตัพพธรรม
๑๓.ก
250
๘. พุทธจริยา
๑๑
250
๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑
๑๖
250
๑๐. มหิดลธรรม
๑๗.ข
250
๑๑. บรมธรรม ภาคต้น
๑๙
250
๑๒. บรมธรรม ภาคปลาย
๑๙.ก
250
๑๓. อานาปนสติภาวนา
๒๐.ก
300
๑๔. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๑
๓๑
250
๑๕. สุญญตาปริทรรศ์ เล่ม ๑
๓๘
250
๑๖. ค่ายธรรมบุตร
๓๗
250
๑๗. ฆราวาสธรรม
๑๗.ก
200
๑๘. ปรมัตถสภาวธรรม
๑๔.ก
250
๑๙. ปฏิปทาปริทรรศน์
๑๔
250
๒๐. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๒
๓๖.ก
250
๒๑. สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒
๓๘.ก
250
๒๒. เตกิจฉกธรรม
๓๗.ง
250
๒๓. โมกขธรรมประยุกต์
๑๗.ค
250
๒๔. ศารทกาลิกเทศนา เล่ม ๑
๒๖
300
๒๕. ศีลธรรม กับ มนุษย์โลก
๑๘.ข
250
๒๖. อริยศีลธรรม
๑๘.ค
200
๒๗. การกลับมาแห่งศีลธรรม
๑๘.ก
250
๒๘. ธรรมสัจจสงเคราะห์
๑๘.ข
300
๒๙. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
๔
500
๓๐. ธรรมะกับการเมือง
๑๘.จ
300
๓๑. เยาวชนกับศีลธรรม
๑๘.ง
200
๓๒. เมื่อธรรมครองโลก
๑๘.ฉ
250
๓๓. ไกวัลยธรรม
๑๒.ก
250
๓๔. อาสาฬหบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๔
300
๓๕. มาฆบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๒
300
๓๖. พระพุทธคุณบรรยาย
๑๑.ก
400
๓๗. วิสาขบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๓
300
๓๘. ชุมนุมล้ออายุ เล่ม ๑
๔๒.ก
300
๓๙. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข
๓๙.ค
300
๔๐. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๑
๓๗.ก
300
๔๑. อะไร คือ อะไร
๓๗.ค
300
๔๒. ใคร คือ ใคร
๓๗.ข
300
๔๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น - ภาคปลาย
๒
700
๔๔. ราชภโฎวาท
๓๙.ง
300
๔๕. กข กกา ของการศึกษาพุทธศาสนา
๑๔.ค
250
๔๖. ธรรมะเล่มน้อย
๔๐
250
๔๗. ใจความแห่งคริสตธรรมเท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ
๔๔.ก
300
๔๘. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๒
๓๑.ก
300
๔๙. ฟ้าสางระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๑
๔๖.ค
300
๕๐. ฟ้าสาวระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๒
๔๖.ง
300
๕๑. ชุมนุมปาฐกถาธรรมชุด"พุทธรรม"
๓๒
250
๕๒. สมถวิปัสนาแห่งยุคปรมาณู
๑๔.ข
250
๕๓. นวกานุสาส์น เล่ม ๑
๓๙
300
๕๔. สันติภาพของโลก
๑๘.ข
250
๕๕. ธรรมะกับสัญชาตญาณ
๑๕
250
๕๖. ธรรมศาสตรา เล่ม ๑
๔๐.ก
300
๕๗. อตัมมยตาประยุกต์
๑๒.ข
300
๕๘. ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์
๑๕.ข
300
๕๙. อตัมมยตาประทีป
๑๒.ง
300
๖๐. อตัมมยตาปริทรรศน์
๑๒.ค
300
๖๑. สันทิฏฐิกธรรม
๑๓.ข
250
๖๒. พุทธธรรมประยุกต์
๑๗.จ
250
๖๓. สัมมัตตานุภาพ
๔๐.ฉ
250
๖๔. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๒
๑๖.ก
250
๖๕. โพธิปักขิยธรรมประยุกต์
๑๔.ง
300
๖๖. คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา
๔๐.ข
250
๖๗. อานาปานสติบรรยาย-อภิปราย-สัมมนา
๒๐.ค
300
๖๘. พัสสิกไตรเทศนา
๒๕.ง
250
๖๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๓
๑๖.ข
250
๗๐. คู่มือที่จำเป็นในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
๔๐.ช
250
๗๑. ธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ
๓๗.ง
300
๗๒. มนุสสธรรม
๑๗
400
๗๓. พุทธวิธีชนะความทุกข์
๑๔.จ
300
๗๔. หลักพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
๑๔.จ
300
๗๕. ปัญหาแห่งมนุษยภาพ
๑๗.ฉ
300
๗๖. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๒
๓๗.จ
400
หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด
๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.
๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.
๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.
๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.
๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.
ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.............................................................................................
ไกวัลยธรรม- ๑ -หินโค้ง ๗ เม.ย. ๑๖ไกวัลยธรรมคือสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวงท่านสาธุชน ผู้มีความสนใจในธรรม ทั้งหลาย,การบรรยายประจำวันเสาร์ในวันนี้ เป็นการเริ่มภาคใหม่ คือ ภาควิสาขบูชา. ในภาคที่แล้วมา เราได้บรรยายถึงเรื่องปรมัตถสภาวธรรมรวม ๑๓ ครั้ง; เป็นที่สังเกตเห็นได้ว่า ในหนึ่งภาคคือ ๓ เดือนนั้น จะมี ๑๓ วันเสาร์เป็นส่วนใหญ่. สำหรับคราวนี้ก็เป็นภาควิสาขบูชา ๓ เดือนซึ่งก็จะมี ๑๓ วันเสาร์เช่นเดียวกันอีก; นี้ขอให้ถือว่า วันนี้เป็นวันแรกหรือเป็นการบรรยายครั้งแรกของภาควิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๑๖ นี้ ซึ่งจะขึ้นเรื่องใหม่ ชุดใหม่ โดยจะให้ชื่อว่า "ไกวัลยธรรม"๒ ไกวัลยธรรมเพียงได้ยินแต่ชื่อ ท่านทั้งหลายก็คงจะงง คงจะสงสัย, บางคนก็ไม่เคยได้ยินด้วยซ้ำไปว่าอะไร ? เดียวก็จะได้วินิจฉัยกันในส่วนนั้น.[ปรารภเหตุของการบรรยายวันเสาร์]เราควรจะปรารภกันถึงประโยชน์ ของการบรรยายในวันเสาร์ เป็นการทบทวนกันอีกครั้งหนึ่ง. เดี๋ยวนี้เริ่มภาคใหม่ บางคนอาจจะลืมไปแล้วก็ได้ว่าบรรยายวันเสาร์นี้บรรยายทำไมกัน?ถ้ายังจำได้ก็จะนึกได้ว่า ส่วนสำคัญนั้นต้องการจะให้พุทธบริษัทรู้เรื่องที่ควรรู้ ไม่งมงาย อย่างที่กำลังงมงายอยู่เป็นส่วนใหญ่; เพราะว่า ไม่ได้ยิน ไม่ได้ฟัง สิ่งที่ควรจะได้ยินได้ฟัง ซึ่งบางทีก็มีชื่อแปลกออกไปหรือถึงกับมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป, ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ควรจะรู้ขึ้นไปตามลำดับ จึงจะสมกับการที่เป็นพุทธบริษัท; การบรรยายในวันเสาร์ มุ่งหมายในส่วนนี้ยิ่งกว่าอย่างอื่น. ขอให้ทำในใจต่อไปในข้อนี้ว่าเพื่อจะเขยิบฐานะของความเป็นพุทธบริษัททั้งในส่วนวิชาความรู้ และทั้งในส่วนการปฏิบัติ; ส่วนผลของการปฏิบัตินั้นย่อมจะตามมาเองโดยสมควรแก่สัดส่วนของการปฏิบัติดังนั้น เราจะต้องพูดกันวันเสาร์ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเพียงพอสำหรับการยกสถานะของพุทธบริษัท.... .... .... ....สิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวงทีนี้ก็จะได้กล่าวถึง สิ่งที่เป็นหัวข้อสำหรับการบรรยายในภาคนี้ คือสิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม"; สิ่งที่มีชื่อแปลกประหลาดนี้ ที่จริงมันก็ไม่ควร๓จะแปลกประหลาด, ไม่ควรจะเป็นสิ่งที่แปลกประหลาด เพราะว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ตลอดเวลา และมีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง และก็จะต้องมีอยู่หลังสิ่งทั้งปวงด้วย; นี้เรียกว่าพูดภาษาธรรมดาสามัญที่สุดแล้ว.ท่านทั้งหลายลองนึกเอาเอง ว่าถ้ามันมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งหลายทั้งปวงหมดก่อนสิ่งใดทั้งหมด แล้วมันก็ยังมีอยู่จนกระทั่งบัดนี้ แล้วมันก็จะมีเหลืออยู่ หลังสิ่งทั้งปวงหมดอีกเหมือนกันแล้วมันควรจะเป็นอะไร? คือว่ามีสิ่งหนึ่งซึ่งไม่รู้จักเปลี่ยนแปลงไป ไม่รู้จักสิ้น ไม่รู้จักหมด มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวงแล้วจะอยู่หลังสิ่งทั้งปวง จนกว่าสิ่งทั้งปวงจะกลับมาอีก มันก็ยังอยู่.สิ่งทั้งปวงจะเปลี่ยนแปลงสูญหายไป มันก็ยังเหลืออยู่, ให้สิ่งทั้งปวงกลับมาอีก มันก็ยังอยู่และอยู่อย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง. ลองทายเดาดูเอาเองว่า ควรจะเรียกว่าอะไร? หรือเคยได้ยินได้ฟังมาว่า เรียกว่าอะไร?ถ้าผู้ที่เคยฟังเรื่องปฏิจจสมุปบาทเข้าใจ คงจะเดาออก, ว่าสิ่งนั้นเรียกในที่นั้นว่าอะไร?แต่ถ้าฟังเรื่องปฏิจจสมุปบาทแล้ว ลืมหมดแล้ว มันก็เลิกกันเพราะว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้นได้บรรยายแล้วตั้งแต่ปีกลายโดยละเอียด. เอาละ, ทีนี้เป็นอันว่า เราจะตั้งต้นกันใหม่ก็ได้ เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีชื่อแปลกประหลาดนี้ว่า "ไกวัลยธรรม"ในชั้นแรกมานึกถึงคำว่า "ไกวัลยธรรม" พอได้ใจความก่อน. คนที่อ่านหนังสือหรือกาพย์กลอนมาก คงจะอ่านพบสักครั้งหนึ่งกระมังว่า ไกวัลย์,๔ ไกวัลยธรรมทั่วไกวัลย์ นั่นน่ะคือคำว่า ไกวัลยะ; แต่คำว่าไกวัลย์ในภาษาไทยชนิดนั้นมันมีเนื้อความไม่หมด มันแคบนิดเดียว. ทั่วไกวัลย์ คล้ายๆ กับว่าทั่วประเทศทุกหนทุกแห่งไม่ยกเว้นที่ไหน; แต่แท้จริงคำว่าไกวัลย์นั้น มันมากว่านั้นจนไม่มีคำพูดให้ครบถ้วนได้เหมือนกัน จึงต้องค่อยๆ ศึกษาไป, และเราอาจจะต้องพูดกันถึง ๑๓ ครั้ง ด้วยคำๆ นี้เพียงคำเดียว คือคำว่าไกวัลย์นี้ มันจะหมายถึงอะไร?ถ้าเป็นภาษาบาลี ก็ชินกันอยู่กับคำคำนี้ว่า เก-ว-ล; เก วะ ละ แปลว่าสิ้นเชิง ก็มีความหมายแต่เพียงว่า สิ้นเชิงหรือหมดสิ้นไม่มีอะไรเหลือ, ก็มีความหมายที่แคบนิดเดียว. คำว่า เกวะ ละ มันมีความหมายมากกว่านั้นซึ่งก็จะต้องพูดพร้อมกันไป เพราะมันเป็นคำเดียวกันกับคำว่าไกวัลย์ ไกวัลยะหรือ เก วะ ละ ก็ตามเป็นคำคำเดียวกัน. เราเคยได้ยินแต่คำว่า ทั้งหมด ทั้งสิ้นหรือสิ้นเชิง หรือทั่วไป นั้นเป็นภาษาธรรมดา, ภาษาพูดตามธรรมดา; ถ้าภาษาธรรมะ มันมีความหมายกว้าขวางมากทีนี้จะบอกว่า ในปทานุกรม คำว่า เก วะ ละ หรือไกวัลยะนี้นั้นทีแรกเช่นที่มาในคาถาที่ ๘ ของอภิธานปทีปิกา เป็นต้น ก็หมายถึงนิพพาน. คำว่า เกวละ แปลว่าสิ้นเชิง หรืออย่างเดียวนั้น มันหมายถึงนิพพาน.ส่วนที่มาในคาถาอื่น ที่แสดงความหมายไม่จำกัดนั้น มันแปลได้หลายอย่าง : เก วะลังสิ้นเชิงหรือทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ แปลว่าความเต็มไปหมด ไม่มีที่ว่าง อย่างนี้ก็มี, แล้วแปลว่าความเดี่ยวโดดที่สุด อย่างนี้ก็มี, แปลว่า ความแบ่งแยก ซอยถี่ยิบละเอียดออกไปเลยก็มี, แล้วความแข็ง เป็นดุ้นเป็นก้อนเดียว๕ก็มี, ความไม่รู้จักพอ คือจะเอาอะไรมาใส่ให้เท่าไร มันก็ไม่รู้จักเต็มไม่รู้จักพออย่างนี้ก็มี. นี่ลองคิดดูว่ามันจะยุ่งหัวสักเท่าไรถ้าจะพูดไปตามตัวหนังสือเหล่านี้; แต่เราก็ต้องค่อยทนฟัง คิดนึก ศึกษากันต่อไป ในวันหลังๆ.ในวันนี้ต้องการแต่จะให้รู้เพียงข้อเดียว ว่า "สิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง"; หมายความว่าการบรรยายในครั้งนี้, ตลอดทั้งครั้งนี้จะพูดกันถึงความหมายของคำว่า "สิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง"เป็นชื่อของการบรรยายตอนนี้.แต่แล้วอย่าลืมว่า มันมีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง แล้วมันต้องเก่งขนาดที่มีอยู่ตลอดไป แล้วอยู่หลังสิ่งทั้งปวง แล้วสิ่งทั้งปวงกลับมาอีก มันก็อยู่ก่อนสิ่งทั้งปวงอีก กระทั่งมันอยู่ตลอดไป จนกระทั่งเหลืออยู่หลังสุดท้ายของสิ่งทั้งปวงอีก; จะเป็นอย่างนี้เรื่อยไป. เก-งะ-ลัง นั้นคือสายที่ยืดยาว ที่ไม่เปลี่ยนแปลงเรียกว่าไกวัลยะ ภาษาสันสกฤต, เรียกว่า เก วะ ละ เป็นภาษาบาลี. ทั่วไกวัลย์นั้น มันต้องทั่วอย่างนี้; แต่หนังสือคำกลอนของคนที่ไม่รู้จักสิ่งนี้แต่ง แล้วมันก็หมายแค่ไกวัลย์ใกล้ๆ นี้เองว่า ทั่วแผ่นดินทั่วโลก ทั่วอะไรทำนองนี้.ส่วนคำว่า "ไกวัลย์"นั้นมันไม่รู้จะตั้งต้นอย่างไร? ที่ตรงไหน? มันมีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง ไม่รู้ว่ามาตั้งแต่เมื่อไร? มันไม่มีจุดตั้งต้น ว่าก่อนสิ่งทั้งปวงนั้นก่อนเมื่อไร? แล้วมันอยู่หลังสิ่งทั้งปวงก็อีก;มันก็ไม่มีจุดตั้งต้นว่า มันอยู่หลังได้อย่างไร? เพราะสิ่งทั้งปวงมัวแต่เวียนไปเวียนมา : เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป, เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป, ในสิ่งที่เรียกว่า ไกวัลยะนั้น๖ ไกวัลยธรรมขอให้เข้าใจ ความหมายดดยสังเขปของสิ่งนี้ ไว้อย่างนี้ก่อน แล้วก็จะค่อย ๆ เห็นว่ามันเป็นอะไร, จนมันเป็นอะไรกันแน่, จะบัญญัติความหมายว่าอย่างไร? ท่านจึงบัญญัติความหมายไว้มากมาย จนตีกันเองยุ่งไปหมด; เช่นความหมายคู่แรกว่า ความเต็ม ทั่วไปหมด ไม่มีที่ว่างเว้น, แล้วก็ความโดดเดี่ยวเต็มไปหมดไม่มีที่ว่างเว้นมันก็เป็นลักษณะหนึ่งของไกวัลย์; แล้วความโดดเดี่ยวก็หมายความว่า มันอยู่อย่างโดดเดี่ยว เพราะว่ามันไม่มีอะไรเปรียบเทียบ ไมมีอะไรแตะต้องได้.แล้วก็ความแยกได้ละเอียดแหลกไปหมด มันก็แยกได้; แต่แล้วความเป็นก้อนเดียวดุ้นเดียว แข็งเป๊กนี้มันก็เรียกได้.แล้วความไม่รู้จักเต็ม เอาอะไรมาใส่ได้ ก็ไม่เต็ม ไม่รู้จักพอ; เหมือนกับเอาอะไรมาให้กินมันก็กินหมด อย่างกับไฟอย่างนี้ เอาเชื้อเพลิงมาใส่เท่าไร มันก็กินหมด ไม่รู้จักอิ่มด้วยเชื้อเพลิงสิ่งที่เรียกว่าไกวัลย์นี้ก็เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" คือเรื่องที่จะพูดกันวันนี้..... .... .... ....ศึกษา ในข้อทีว่า "มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง"ทีนี้พูดในแง่แรกที่จะศึกษา ก็คือว่า สิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวงมันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ไม่ใช่มีอยู่อย่างสิ่งทั้งปวง. สิ่งทั้งปวงมิได้มีอยู่จริง เพราะ๗เดี๋ยวมันเกิดขึ้นแล้ว มันตั้งอยู่แล้ว มันหายไป, มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หายไป, นี้เรียกว่าสิ่งทั้งปวงหรือสังขารทั้งปวง. แต่สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลย์" นั้นไม่เป็นอย่างนั้น ; การมีอยู่ของมัน จึงไม่เหมือนกับารมีอยู่ของสิ่งทั้งปวง หรือสังขารทั้งปวง. นี่เราเตรียมที่จะศึกษา เข้าใจ รู้จัก สิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวงนี่คือหัวข้อย่อๆ ของเรื่องที่เราจะพูดกันตลอดภาควิสาขบูชานี้.ทีนี้ก็คงจะมีผู้สงสัย หรืออยากจะทราบบ้างว่า ทำไมจะต้องไปรู้จักสิ่งนี้ให้มันเสียเวลาให้มันยุ่งยาก, หรือว่ามันจะมีประโยชน์อะไร?ข้อนี้มันเป็นเรื่องที่ตอบยาก บางคนก็ไม่อาจจะรู้อะไรมากไปกว่าแต่ที่จะรู้ว่าเปิบข้าวเข้าปากอย่างไร; นี่ รู้เท่านี้ก็พอ. แต่บางคนต้องการจะรู้มาก ไมมีที่สิ้นสุด กระทั่งไปรู้ว่ามีสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง ในฐานะเป็นสิ่งที่เหมือนกับเป็นรากฐาน พื้นฐานของสิ่งทั้งปวง. สิ่งทั้งปวงออกมาจากสิ่งนั้นได้ ไม่ทำให้สิ่งนั้นหมดสิ้นไป, หรือว่าสิ่งทั้งปวง จะแตกสลายลงไปในสิ่งนั้น สิ่งนั้นก็จะไม่รู้จักเต็ม มันพร่องก็ไม่เป็ฯ มันเต็มก็ไม่ได้; มันมีลักษณะอย่างนี้จะมีประโยชน์อะไร?ยกตัวอย่างว่า สิ่งนี้มันมีอยู่ตลอดเวลากระทั่งบัดนี้แล้วมันก็อยู่หลังเขาทั้งหมด. เดี๋ยวนี้เรากำลังร้อน แล้วก็บ่นว่าร้อน อากาศมันร้อน; ถ้าใครสามารถจะเอาความร้อนออกไปเสียได้, ถ้ามีอะไรเหลือยู่เอาออกไปเสียอีก, ต้นเหตุแห่งความร้อนก็เอาออกไปเสียอีก; ที่สุดมันก็จะเหลือแต่ไกวัลย์ที่ว่านี้แล้วเราก็จะหายร้อน. นี่ใครสามารถเอาความร้อน และเหตุของความร้อนซึ่งเป็นเพียงสิ่งทั้งปวง ที่เป็นสังขารออกไปเสีย, ออกไปเสียให้ได้, แล้วจะมีอะไรเหลืออยู่? มันก็คือไม่ร้อน.๘ ไกวัลยธรรมนี่ถ้าสิ่งทั้งปวงมันไม่เที่ยง เอาออกไปเสียก็ได้มันก็จะเหลือแต่สิ่งที่เที่ยง, ถ้าสิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ มันก็เอาออกไปเสียได้ มันก็เหลือแต่ไม่ทุกข์ไม่มีความทุกข์.ถ้าว่าสิ่งทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน เอาออกไปเสียก็ได้ มันก็จะเหลือแต่สิ่งที่มีลักษณะเป็นตัวตน;แต่ข้อที่ใครจะเรียกว่าตัวตน; หรือไม่เรียกว่าตัวตนนั้นมันอีกปัญหาหนึ่ง. นี้กล่าวแต่ในแง่ที่ให้เห็นว่าสิ่งนี้มันจะต้องตรงกันข้ามกับสิ่งทั้งปวงเสมอไป จึงควรจะรู้จักสิ่งนี้ ซึ่งมันตรงกันข้ามจากสิ่งที่มันรบกวนบีบคั้น หรือทรมานเรา.ท่านต้องนึกถึงสิ่งนี้หรือต้องการจะศึกษาถึงสิ่งนี้ในฐานะที่มันเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามจากสิ่งที่มันเป็นข้าศึกแก่เรา เช่นว่า ความทุกข์มันเป็นข้าศึกแก่เรา ก็มีสิ่งนี้เท่านั้น ที่จะไม่เป็นข้าศึกแก่เรา.ฉะนั้นจึงถูกต้องแล้ว ที่ในปทานุกรมท่านบัญญัติคำแปล ของคำว่า เก-วะ-ละ นี้ไว้ว่านิพพาน; แต่เมื่อสิ่งที่เรียกว่านิพพาน ก็ยังไม่รู้ว่าอะไรอีก ก็ยากที่จะเข้าใจความหมายต่อๆ กันไปกระทั่งถึงคำว่า ไกวัลยะ เป็นต้นที่จริงคำว่า นิพพาน, นิพพาน, นี้ก็แปลว่าดับหมดแห่งสิ่งที่ปรุงขึ้นมาหรือความร้อน มันก็เย็นอีกเหมือนกัน.ทีนี้ไกวัลยะแท้จริงนั้น เมื่อเอาสิ่งทั้งหลายออกไปเสียหมด มันก็เหลือแต่สิ่งนี้ซึ่งก็ไม่ร้อนอีกเหมือนกัน. นี่ไปๆ มาๆ ก็จะไปเป็นสิ่งเดียวกันที่เรียกว่า อสังขตะ หรือนิพพาน หรือสุญญตา ก็แล้วแต่จะเรียก.๙นี่จะน่าศึกษาหรือไม่น่าศึกษา? ก็ขอให้ลองคิดดู. หรือว่าถ้าเรารู้เรื่องนี้ ความเป็นพุทธบริษัทของเราจะค่อยน่าดูขึนบ้าง หรือไม่? ก็ไปคิดเอาเองก็แล้วกัน; ความเป็นพุทธบริษัทของเรามันกำลังอยู่ในฐานะที่ตกต่ำคือมันหลับ; เมื่อพุทธะแปลว่า ตื่น แล้วเราก็หลับอยู่เรื่อย; มันจะมีความเหมาะสมอย่างไร?. เราจะต้องทำให้มันตื่น จึงจะสมกับคำว่า "พุทธะ" คือตื่นไม่หลับ.เอาละ,เราดูกันไป ทีละนิดละหน่อย จนกว่าจะรู้จักสิ่งนี้ ในแง่ที่กล่าวว่ามันมีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง, และมันจะมีประโยชน์ในข้อที่ว่า เราจะได้รู้จักสิ่งที่มีหรือที่เป็น อยู่ตลอดเวลา และตลอดสถานที่ทั้งปวงมันมีอยู่ตลอดเวลา และมีอยู่ตลอดพื้นที่ คือ space ทั้งปวง, แล้วมันยังเป็นตัวเวลา และเป็นตัว space ทั้งปวงที่นั้นด้วย; แต่เราไม่มอง หรือว่าไม่ศึกษากัน ในแง่ของวิทยาศาสตร์ธรรมดาสามัญ จะมองกันในแง่ของธรรมะ : ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์ ก็วิทยาศาสตร์อย่างธรรมะ อย่างพุทธบริษัทเพื่อให้รู้ว่ามันมีสิ่งอยู่สิ่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่หรือเป็นอยู่ตลอดเวลา และตลอดเนื้อที่ทั้งปวง ไม่ยกเว้นอะไร.คำว่า "เวลา" มันก็แสดงความไม่มีที่สิ้นสุดอยู่แล้ว นี้เข้าใจง่าย. ถ้าว่า "เวลา" นี้เป็นสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด เราจะคาดคะเนเอาด้วยความโง่ก็ได้ ว่า"เวลา"นี้ไม่มีที่สิ้นสุด, ถึงจะคาดคะเนเอาด้วยปัญญา สติปัญญา มันก็เห็นได้ว่ามันไม่มีที่สิ้นสุด๑๐ ไกวัลยธรรมทีนี้เมื่อพูดถึงพื้นที่ ถ้าเราเอากันแต่ "พื้นที่" ที่เรารู้สึกได้ มันก็อาจจะสิ้นสุด; เช่นว่าโลกนี้, แล้วก็อยู่ในสุริยจักรวาลนี้, แล้วก็มีสุริยจักรวาลอื่น; รวมกันหมดนั้นแล้ว เราออกไปไม่ได้เราคำนวณไปไม่ถึงอย่างนี้ก็เรียกว่ามันนิดเดียว. ไกวัลย์นั้นมันมากกว่านั้น จะเรียกว่า สามหมื่นโลกธาตุ คือสามหมื่นระบบสุริยจักรวาล หรือสามหมื่นอะไรก็สุดแท้ มันก็ยังไม่หมด มันยังมากกว่านั้น.นั่นแหละขอให้เข้าใจโดยประมาณ หรือโดยอนุมานว่า มันมีสิ่งหนึ่งซึ่งมันมีอยู่ตลอดเวลาและตลอดพื้นที่ และมันเป็นตัวสิ่งนั้น ๆ อยู่ตลอดเวลาและตลอดพื้นที่.ที่ว่า"สิ่งทั้งปวง" มันอาศัยสิ่งนี้มันก็เพียงแต่ว่า ได้มาปะทะเข้ากับสิ่งนี้ ก็เกิดปฏิรกิริยาอะไรขึ้นมา แล้วก็เป็น"สิ่งทั้งปวง"; แต่ว่าไม่ได้ทำให้สิ่งนั้นร่อยหรอไป. เรารู้จักแต่สิ่งที่ไปกระทบแล้วเกิดขึ้น แล้วตั้งอยู่ แล้วดับไปแล้วร่อยหรอไป แล้วก็นั่งร้องไห้ นั่งหัวเราะอยู่ เฉพาะแต่อาการของสิ่งใหม่ ๆ นี้ทั้งนั้น; ฉะนั้นถ้าเรารู้จักสิ่งนี้กันบ้าง ก็เรียกว่าหูตาคงจะสว่างขึ้นบ้าง สมกับความเป็นพุทธบริษัท..... .... .... ....มนุษย์จะเป็นมิตรกันหมด ถ้ารู้จัก "ไกวัลย์".ทีนี้อยากจะพูดเอาเปรียบหน่อย โดยพูดต่อไปว่า ถ้ามนุษย์รู้จักสิ่งนี้เข้าถึงสิ่งนี้บ้าง ตามสัดส่วนแห่งสติปัญญาของตนแล้ว มนุษย์นี้จะเปลี่ยนแปลงd03304๑๑ไปมากทีเดียว, คือมนุษย์จะเข้าใจซึ่งกันและกัน ในทางที่จะเป็นมิตร มีความเมตตาต่อกัน ไม่ข่มเหงกันไม่มุ่งร้ายกัน เหมือนอย่างมนุษย์ในโลกเวลานี้ : แบ่งกันเป็นพวก ๆหมายมั่นแต่ที่จะทำลายกัน,แบ่งเป็นประเทศนั้น เป็นประเทศนี้ เป็นของเรา เป็นของเขา คอยแต่จะแสวงหาประโยชน์ของตนเองโดยไม่คิดถึงผู้อื่น, หรือว่าทำลายผู้อื่น ก็ยังเห็นว่าเป็นการถูกต้องอยู่นั่น; เพราะมันไปเห็นของนิดเดียว ว่ามีค่ามากมายสูงสุด. แต่ถ้ามันไปเห็นของที่ใหญ่โตกว่านั้นมากมายเหลือประมาณ มีค่ามากมายเหลือประมาณแล้ว มันก็คงจะหายโง่ในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ หรือว่ายึดมั่นในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ นั้นได้.นี้เรียกว่าจะทำให้มนุษย์เปลี่ยนไปมากทีเดียว ถ้ามาเกิดรู้จักสิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยะ"นี้ขึ้นมา.หรือว่าถ้าเกิดเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยะ"นี้แล้ว ยังจะทำให้ศาสนาทุกศาสนาในโลกนี้ เข้าใจซึ่งกันและกัน และมองกันและกันด้วยมิตรภาพ คือด้วยสายตาของมิตรภาพ.เดี๋ยวนี้แม้แต่สิ่งที่เรียกว่า ศาสนา, ศาสนานั่นแหละมองกันด้วยสายตาแห่งยักษ์มาร ศัตรูข้าศึก มุ่งจะทำลายกันในระหว่างศาสนา; แม้แต่ศาสนาเดียวกัน ก็ยังมุงทำลายระหว่างนิกายกันเป็นอย่างนี้ทุกศาสนา ยิ่งปรากฎชัดยิ่งขึ้นทุกที; ขออย่าให้ต้องออกชื่อเลย มันกระทบกระเทือน. แต่ก็จะเข้าใจมองเห็นได้ด้วยกันทุกคนว่า กำลังมุ่งมาดคิดร้ายกันระหว่างศาสนา แล้วในวันหนึ่งศาสนาที่แยกกันเป็นนิกาย ๆ ก็มุ่งมาดคิดร้ายกันในระหว่างนิกาย.แต่ถ้าหากเป็นไปได้ว่า คนเหล่านั้นเกิดรู้จักสิ่งที่เรียกว่าไกวัลยะ คือความเป็นอันเดียวกันทั้งหมดนี้จริงๆแล้ว ศาสนาก็จะเลิกเป็นข้าศึกแก่กัน๑๒ ไกวัลยธรรมหรือว่านิกายส่วนย่อยของศาสนา ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะเข้าใจสิ่งๆหนึ่งตรงกันหมด ระหว่างบุคคลระหว่างนิกาย ระหว่างศาสนา, หรือว่าถ้าจะมีโลกอื่นอีกมันก็ระหว่างโลก ระหว่างทุกอย่างไปเลยในบรรดาสิ่งทั้งหลาย ที่มันอาศัยอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า สิ่งเดียว คือไกวัลยะ นี้.หรือจะพูดกันอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าเกิดเข้าถึงไกวัลยะนี้แล้วคำพูดอื่น ๆ จะไม่เป็นหมันเหมือนที่พูดกันอยู่เดี๋ยวนี้แล้วเป็นหมัน; เช่นว่าเข้าถึงธรรมอย่างนี้ถ้าไม่เข้าถึงไกวัลยะนี้แล้ว ป่วยการที่จะพูดว่า "เข้าถึงธรรม" หรือว่าจะพูดว่า"เข้าถึงพระเจ้า เป็นอยู่กับพระเจ้า" อย่างนี้ป่วยการ,ถ้าไม่เข้าถึงสิ่งเหล่านี้. หรือบางพวกทีเขาถือ อัตตา ตัวตน มีอาตมัน มีปรมาตมัน ก็อย่างเดียวกันอีก;ถ้าไม่เข้าถึงสิ่ง ๆนี้ ก็ไม่มีทางที่จะเรียกว่าเข้าถึงปรมาตมัน เป็นต้น.นี่มันจะทำให้ความมุ่งหมายของศาสนาทุกศาสนา หรือทุกลัทธิของมนุษย์ ที่จะถือหลักเกณฑ์ของตนอย่างไรนั้น ได้เป็นความมุ่งหมายที่มีความจริง มีประโยชน์. พุทธบริษัทเราเมื่อรู้จักสิ่งนี้ ก็คือรู้จักพุทธศาสนาจริง; ถ้าพุทธบริษัทรู้จักสิ่งที่เรียกว่าไกวัลยธรรมนี้ ก็คือ จะรู้จักพุทธศานาจริง, จะไม่ยกหูชูหางอีกต่อไป.เดี๋ยวนี้มีพุทธบริษัท ที่ตั้งตัวเป็นนักปราชญ์เป็นผู้รู้นี่เที่ยวยกหูชูหางว่าศาสนาพุทธเท่านั้นถูกศาสนาอื่นผิด หรือว่าศาสนาอื่นไปได้แค่ครึ่งๆกลางๆ อยู่ที่โคนต้นไม้ หรือตีนเขา ศาสนาพุทธเท่านั้นไปได้สุดยอด; อย่างนี้มันก็พูดได้ ถ้ามองกันในวงจำกัด. แต่ถ้ามองให้ลึกซึ้งถึงสิ่งที่เรียกว่าไกวัลย์นี้แล้ว๑๓มันก็ไม่มีทางที่ว่า จะไปดูถูกคนอื่นอย่างนั้นได้; เพราะสิ่งนี้มันจะมีอยู่ทั่วไป ในที่ทุกแห่ง ในทุกเวลาคือในทุกศาสนานั่นเอง.เพราะฉะนั้นถ้าพุทธบริษัทเข้าใจ สิ่งที่เรียกว่าเกวะละหรือไกวัลย์นี้แล้วก็จะง่ายขึ้นมากทีเดียว ที่จะเข้าถึงสุญญตา หรือจะเข้าถึงนิพพาน หรือจะเข้าถึงอสังขตธรรมอย่างนี้เป็นต้น.นี่เป็นเหตุผลตัวอย่าง หรือตัวอย่างแห่งเหตุผล ว่าเราควรจะสนใจกับสิ่งๆนี้ในฐานะที่ว่ามันเป็นสิ่งที่มีอยู่ได้เอง ตลอดอนันตกาล แล้วอนันตเทศ. อนันตกาลคือเวลาอันไม่สิ้นสุด, อนันตเทศคือพื้นที่อันไม่สิ้นสุด, หรือราวกับว่า มันเป็นมารดาแห่งสิ่งทั้งปวง. สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นลูก เป็นหลานเป็นแหลน ที่ออกมาจากสิ่งที่เรียกว่าไกวัลยะนี้เรียกว่ามันเป็นแม่; ถ้าเป็นธรรมะก็เป็นธรรมะแม่นอกนั้นมันเป็นสิ่งที่ออกมาจากแม่ แล้วก็ไม่มีโอกาสจะใหญ่โตเป็นแม่ได้; เพราะว่าแม่มันเป็นแม่เสียเองคนเดียวเรื่อย คือไกวัลยธรรม; นอกนั้นก็เป็นเพียงเหมือนกับว่าฟองน้ำที่เกิดจากผิวน้ำเมื่อลมมากระทบมันจะเกิดขึ้นชั่วคราว แล้วมันก็ดับไป มันจะกลายเป็นตัวน้ำไปไม่ได้.ถ้าจะเรียกสิ่งนี้ว่าธรรม ก็เรียกว่าไกวัลยธรรม แล้วก็เป็นเหมือนกับธรรมแม่, ธรรมะแม่เป็นที่ออกมาแห่งธรรมะลูกทั้งหลาย แล้วก็ดับหายไป-ดับหายไป-ดับหายไป; ส่วนธรรมะแม่นี้ ไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง.ถ้าจะเรียกว่าพระเจ้า ก็ต้องเล็งถึงสิ่งนี้ เพราะว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง; สิ่งทั้งปวงออกมาจากสิ่งนี้ อาศัยสิ่งนี้ตั้งอยู่. นี่ถ้าว่าพวกฮินดูเขา๑๔ ไกวัลยธรรมเรียกของเขาว่าปรมาตมัน; มันก็คือตัวใหญ่ ตัวเดียวทั้งหมด ในเวลาอันไม่สิ้นสุด ในพื้นที่อันไม่สิ้นสุด.ถ้าใครเข้าถึง ก็เรียกว่าเข้าถึงพรเจ้าจริงๆ, เข้าถึงธรรมะจริงๆ. ถ้ามนุษย์รู้จักสิ่งนี้แล้ว มนุษย์จะแก้ปัญหาของมนุษย์ได้หมด. เดี๋ยวนี้มนุษย์ไม่รู้จักสิ่งนี้ จึงได้เต็มไปด้วยความยึดมั่นถือมั่น เห็นแก่ตัว สร้างปัญหาขึ้นมาในโลกนี้ไม่มีที่สิ้นสุด, แล้วก็คิดว่าจะแก้ แล้วแก้ได้แค่ ไม่รู้จะเปรียบด้วยอะไรดี แค่ผิวหนังก็ยังมากไป. มนุษย์แก้ปัญหาของมนุษย์ได้แค่ผิวหนังมันก็ยังมากไป; มันเหมือนกับไม่ได้แก้อะไร แล้วบางทีก็จะเป็นโรคมากขึ้นอีกเพราะว่ามนุษย์เดี๋ยวนี้ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้นไปอีก.ขอให้ฟังให้ดี ไม่มีทางจะแก้ได้ เว้นไว้แต่จะมารู้จักสิ่งนี้กันเสียเท่าน้นคือ รู้จักธรรมะให้จริง ให้ถูก ให้ตรง ให้ถึงที่สุด แล้วจิตใจมันจะเปลี่ยนไปเองจากการที่จะเป็นผู้เห็นแก่ตัว แล้วสร้างปัญหานานาชนิดขึ้นมา.เดี๋ยวนี้ที่เรียกว่ามนุษย์นั้น มันยังไมใช่มนุษย์ อย่างมาก็เป็นเพียงสักว่าคนมีความรู้สึกเอร็ดอร่อยทางเนื้อ ทางหนัง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เป็นต้น; แล้วมันก็สาละวนอยู่แต่เพียงเท่านี้น มันไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น. มนุษย์อุตส่าห์เรียน ก็เพื่อจะได้เงิน หรือได้กำลังปัจจัยแห่งการซื้อ ที่เรียกว่าเงิน, แล้วมันก็มาสร้าง มาหา มาสะสมสิ่งที่จะให้ความเอร็ดอร่อยแก่ ตาหู จมูก ลิ้น กาย ก็มีเท่านั้น, มันมีเพียงเท่านี้; แล้วมนุษย์จะแก้ปัญหาของมนุษย์ได้อย่างไร.๑๕ยิ่งโลภมาก ก็ยิ่งมีความทุกข์มาก, ยิ่งยึดถือมาก มันก็ยิ่งมีความทุกข์มาก. เดี๋ยวนี้มันแสวงหามา เก็บรักษาไว้ บริโภคอยู่ด้วยความยึดถือทั้งนั้น; ดังนั้นจึงเป็นความทุกข์. นี้ก็เป็นปัญหาส่วนตัว แล้วมันก็ขยายออกไป เป็นปัญหาส่วนของสังคม คือระหว่างบุคคลกับบุคคลเรื่อยออกไป; อย่างที่ทะเลาะวิวาทกันอยู่ในระหว่างสังคม หรือว่ารวมกันเป็นหมู่ใหญ่ ๆ เป็นประเทศชาติ เป็นค่ายประชาธิปไตย หรือค่ายคอมมูนิสต์ อะไรก็สุดแท้ ก็ล้วนแต่ยื้อแย่ง สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นเพราะว่าเขาไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่า"ธรรม"ในทีนี้ ซึ่งเราจะเรียกว่าไกวัลยธรรม คือธรรมที่จะเป็นทั้งหมดของทุกสิ่ง ที่จะแก้ปัญหาได้สำหรับมนุษย์.พระศาสดาทรงทรงเรื่องนี้ทั้งหมด แต่ทรงเอามาสอนเฉพาะที่จำเป็นอย่างที่ทรงเปรียบเทียบไว้ด้วยอุปมา ว่ามาสอนนี้เท่ากับใบไม้กำมือเดียว ที่รู้แล้วไม่ได้สอน ไม่ได้เอามาบอกนั้นเท่ากับใบไม้ทั้งหมดที่มีอยู่ทั่วไปในป่า; ฉะนั้นจึงมีคำกล่าวไว้ชัดว่า พระองค์ทรงสอนอะไรบ้าง ซึ่งเราจะได้พูดกันต่อไป. เดี๋ยวนี้พูดพอให้เห็นว่า มันมีความสมควรแล้ว มีความจำเป็นแล้วที่จะรู้เรื่องนี้คือเรื่องไกวัลยธรรมนี้..... .... .... ....
สินค้าที่ดูล่าสุด
- ไกวัลยธรรม ราคา 300.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
หลักพระพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
รหัส : 14.ฉ-แถบแดง ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 25/04/2011 ผู้เข้าชม : 2,640