สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,383,055 |
เปิดเพจ | 17,033,066 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
ฟ้าสางระหว่าง50ปีที่มีสวนโมกข์-ตอน1--ธรรมโฆษณ์
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
46.คแถบน้ำเงิน
-
เข้าชม
2,660 ครั้ง
ยี่ห้อ
ธรรมโฆษณ์
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี ปั๊มทอง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
29/04/2011 00:00
-
รายละเอียดสินค้า
ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส
เรื่อง ฟ้าสางระหว่าง50ปีที่มีสวนโมกข์-ตอน1--ธรรมโฆษณ์
จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา
จำนวน 489 หน้า
(การนับจำนวนหน้าของหนังสือ จะนับเฉพาะส่วนหน้าหา ไม่นับส่วน คำนำ สารบาญ และส่วนท้าย)
www.trilakbooks.com ไตรลักษณ์ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ริมกำแพงวัดญาณเวศกวัน
.......................................................................................................................................
รายชื่อหนังสือชุด ธรรมโฆษณ์
รายชื่อหนังสือ
เลขประจำเล่ม
ราคา
๑. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
๑
350
๒. อิทัปปัจยตา
๑๒
300
๓. สันทัสเสตัพธรรม
๑๓
250
๔. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๑
๓๖
250
๕. พุทธิกจริยธรรม
๑๘
250
๖. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
๓
300
๗.โอสาเรตัพพธรรม
๑๓.ก
250
๘. พุทธจริยา
๑๑
250
๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑
๑๖
250
๑๐. มหิดลธรรม
๑๗.ข
250
๑๑. บรมธรรม ภาคต้น
๑๙
250
๑๒. บรมธรรม ภาคปลาย
๑๙.ก
250
๑๓. อานาปนสติภาวนา
๒๐.ก
300
๑๔. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๑
๓๑
250
๑๕. สุญญตาปริทรรศ์ เล่ม ๑
๓๘
250
๑๖. ค่ายธรรมบุตร
๓๗
250
๑๗. ฆราวาสธรรม
๑๗.ก
200
๑๘. ปรมัตถสภาวธรรม
๑๔.ก
250
๑๙. ปฏิปทาปริทรรศน์
๑๔
250
๒๐. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย เล่ม ๒
๓๖.ก
250
๒๑. สุญญตาปริทรรศน์ เล่ม ๒
๓๘.ก
250
๒๒. เตกิจฉกธรรม
๓๗.ง
250
๒๓. โมกขธรรมประยุกต์
๑๗.ค
250
๒๔. ศารทกาลิกเทศนา เล่ม ๑
๒๖
300
๒๕. ศีลธรรม กับ มนุษย์โลก
๑๘.ข
250
๒๖. อริยศีลธรรม
๑๘.ค
200
๒๗. การกลับมาแห่งศีลธรรม
๑๘.ก
250
๒๘. ธรรมสัจจสงเคราะห์
๑๘.ข
300
๒๙. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
๔
500
๓๐. ธรรมะกับการเมือง
๑๘.จ
300
๓๑. เยาวชนกับศีลธรรม
๑๘.ง
200
๓๒. เมื่อธรรมครองโลก
๑๘.ฉ
250
๓๓. ไกวัลยธรรม
๑๒.ก
250
๓๔. อาสาฬหบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๔
300
๓๕. มาฆบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๒
300
๓๖. พระพุทธคุณบรรยาย
๑๑.ก
400
๓๗. วิสาขบูชาเทศนา เล่ม ๑
๒๓
300
๓๘. ชุมนุมล้ออายุ เล่ม ๑
๔๒.ก
300
๓๙. ธรรมบรรยายต่อหางสุนัข
๓๙.ค
300
๔๐. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๑
๓๗.ก
300
๔๑. อะไร คือ อะไร
๓๗.ค
300
๔๒. ใคร คือ ใคร
๓๗.ข
300
๔๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น - ภาคปลาย
๒
700
๔๔. ราชภโฎวาท
๓๙.ง
300
๔๕. กข กกา ของการศึกษาพุทธศาสนา
๑๔.ค
250
๔๖. ธรรมะเล่มน้อย
๔๐
250
๔๗. ใจความแห่งคริสตธรรมเท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ
๔๔.ก
300
๔๘. ธรรมปาฎิโมกข์ เล่ม ๒
๓๑.ก
300
๔๙. ฟ้าสางระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๑
๔๖.ค
300
๕๐. ฟ้าสาวระหว่าง ๕๐ ปี ตอน ๒
๔๖.ง
300
๕๑. ชุมนุมปาฐกถาธรรมชุด"พุทธรรม"
๓๒
250
๕๒. สมถวิปัสนาแห่งยุคปรมาณู
๑๔.ข
250
๕๓. นวกานุสาส์น เล่ม ๑
๓๙
300
๕๔. สันติภาพของโลก
๑๘.ข
250
๕๕. ธรรมะกับสัญชาตญาณ
๑๕
250
๕๖. ธรรมศาสตรา เล่ม ๑
๔๐.ก
300
๕๗. อตัมมยตาประยุกต์
๑๒.ข
300
๕๘. ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์
๑๕.ข
300
๕๙. อตัมมยตาประทีป
๑๒.ง
300
๖๐. อตัมมยตาปริทรรศน์
๑๒.ค
300
๖๑. สันทิฏฐิกธรรม
๑๓.ข
250
๖๒. พุทธธรรมประยุกต์
๑๗.จ
250
๖๓. สัมมัตตานุภาพ
๔๐.ฉ
250
๖๔. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๒
๑๖.ก
250
๖๕. โพธิปักขิยธรรมประยุกต์
๑๔.ง
300
๖๖. คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา
๔๐.ข
250
๖๗. อานาปานสติบรรยาย-อภิปราย-สัมมนา
๒๐.ค
300
๖๘. พัสสิกไตรเทศนา
๒๕.ง
250
๖๙. ตุลาการิกธรรม เล่ม ๓
๑๖.ข
250
๗๐. คู่มือที่จำเป็นในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
๔๐.ช
250
๗๑. ธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ
๓๗.ง
300
๗๒. มนุสสธรรม
๑๗
400
๗๓. พุทธวิธีชนะความทุกข์
๑๔.จ
300
๗๔. หลักพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
๑๔.จ
300
๗๕. ปัญหาแห่งมนุษยภาพ
๑๗.ฉ
300
๗๖. เทคนิคของการมีธรรมะ เล่ม ๒
๓๗.จ
400
หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด
๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.
๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.
๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.
๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.
๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.
ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.............................................................................................
ฟ้าสางทางสุคติ.
ท่านสาธุชน ผู้มีความสนใจในธรรม ทั้งหลาย,
การบรรยายประจำวันเสาร์ แห่งภาคอาสาฬหบูชา เป็นครั้งที่ ๑ ในวันนี้อาตมาก็ยังคง
กล่าวในชุด ฟ้าสางระหว่างห้าสิบปีที่มีสวนโมกข์ ต่อไปตามเดิม; แต่ในวันนี้มีหัวข้อเฉพาะว่า ฟ้าสาง
ทางสุคติ และสิ่งอื่นที่เนื่องในเครือเดียวกัน คือเรื่องสุคติและเรื่องอื่นที่เนื่องในเครือเดียวกัน.
ที่ท่านทั้งหลายได้ยินได้ฟังอยู่เป็นประจำ ก็เช่นคำว่า โลกพระศรีอาริย์ โลกิยสุข มนุษย์
สมบัติ สวรรค์สมบัติ เป็นต้น. เรื่องโลกพระศรีอาริย์ ก็คือเรื่องสุคติ, เรื่องโลกิยสุขก็คือสุคติ,
เรื่องมนุษย์สมบัติก็คือสุคติ, เรื่องสวรรค์สมบัติก็คือเรื่องสุคติ. อาตมาถือว่าเป็นเรื่องในเครือเดียวกัน
เอามาพูดรวม ๆ กัน ในคราวเดียวนี้โดยใช้หัวข้อเรื่องว่า ฟ้าสางทางสุคติ และสิ่งที่เนื่องในเครือ
เดียวกัน.
๒
ฟ้าสางทางสุคติ.
จะพูดถึงคำว่า สุคติ เป็นข้อแรก คำว่า สุคติ นี้ ก็แปลว่า ไปดี หรือ ถึงดี สุ แปลว่า
ดี, คติ แปลว่า ไป หรือว่า ถึง. คำว่าสุคติ สุคติ นี้เข้าใจว่าเป็นคำเก่าแก่มาก เป็นคำเก่ามาแต่
ยุคเก่าก่อนพุทธกาลก็ได้ นี้เป็นเรื่องสันนิษฐานว่า คำนี้มนุษย์รู้จักพูดกันมาแล้วตั้งแต่ก่อนยุคพุทธกาลก็ได้
นี้เป็นเรื่องสันนิษฐานว่า คำนี้มนุษย์รู้จักพูดกันมาแล้วตั้งแต่ก่อนยุคพุทธกาลก็ได้, ครั้นมาถึงยุคพุทธกาลก็
ยังใช้กันอยู่, แล้วบัดนี้ในเวลานี้ก็ยังใช้กันอยู่ ; เรียกว่า สุคติ, สุคติคู่กันกับทุคติ. ทุคติ แปลว่า
ไปชั่ว หรือ ถึงชั่ว หมายความว่า เป็นทุกข์, สุคติ แปลว่า ไปดี หรือ ถึงดี ก็คือเป็นสุข.
แต่ที่เขาพูดกันมาแต่ก่อนนั้น มักจะมีความหมายไปในทางว่า เป็นเรื่องที่จะมีจะได้ต่อ
ตายแล้ว คือหลังจากตายแล้ว จึงจะไปสุคติหรือจะไปทุคติ. นี่ขอให้เข้าใจกันไว้ด้วยว่า เขาถือกันมา
อย่างนี้ เขาเชื่อกันมาอย่างนี้; มิหนำซ้ำยังเป็นเรื่องสับสนยิ่งขึ้นไปอีกทางหนึ่ง คือว่าในปัจจุบันนี้
มนุษย์เรา พวกมนุษย์ พุทธบริษัทส่วนใหญ่, ส่วนที่ตามธรรมเนียมตามประเพณีนั้น ก็ถือว่าเราไปสุคติกัน
ที่เทวโลกหรือเมืองสวรรค์ มนุษย์ที่นี่ถือว่า เราไปสุคติกันในเมืองเทวดา เมืองสวรรค์หรือเทวโลก;
แต่พวกเทวดาในสวรรค์นั้น ก็มีเรื่องกล่าวไว้ในพระบาลีว่า เขามาสุคติกันที่เมืองมนุษย์ หรือมนุษย์โลก.
บางคนอาจจะไม่เคยได้ฟัง ก็อยากจะเล่าให้ฟังว่า ตามพระบาลีนั้น เมื่อเทวดาตนหนึ่งจะ
ต้องจุติ คือตาย ก็มีปัญหาว่าจะไปไหน ตายแล้วจะไปหาสุคติกันที่ไหน, เป็นเทวดาแล้วจะจุติแล้ว
ก็เที่ยวถามหาว่าไปสุคติกันที่ไหน. พวกเทวดาก็บอกว่า ไปสุคติกันที่มนุษยโลก เพราะในเมืองมนุษย์
นั้นมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หาได้ง่าย, เป็นที่เกิดแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, แล้วเขา
ก็พูดกันแต่เรื่องพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เหมือนในเมืองเทวดา ซึ่งพูดถึงกันแต่เรื่องอะไรก็
ไม่รู้ จะเป็นเรื่องบ้า
๓
สมบัติสวรรค์, ไม่พูดกันถึงเรื่องพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มากเหมือนในเมืองมนุษย์. ถ้าเราไม่
เกิดในเมืองมนุษย์ เราก็จะได้ใกล้ชิดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มากกว่า, มีโอกาสที่จะศึกษา
ธรรมะปฏิบัติธรรมะมากกว่า.
เป็นอันว่าพวกเทวดาเขายุติกันอย่างนี้ว่า ไปสุคติกันที่เมืองมนุษย์. ส่วนพวกมนุษย์ที่นี่ จะ
ไปสุคติกันที่เมืองสวรรค์ หรือเทวโลก, มันเป็นการเล่นซ่อนหากันอยู่อย่างน่าหัวเราะ. สังเกตดู
ให้ดี : พวกมนุษย์จะไปสุคติที่เมืองเทวดา พวกเทวดาจะมาสุคติกันที่เมืองมนุษย์ นี่มันเป็นเรื่องสับสน
นอกจากว่าไปถึงกันต่อตายแล้ว แล้วก็ยังเป็นเรื่องที่สับสน ไขว้กันอยู่ว่ายังไม่รู้ที่ไหนแน่.
ทีนี้ เราอยากจะให้ฟ้าสางในทางสุคติ คือให้รู้เรื่องสุคตินี้อย่างที่ว่ามีประโยชน์ หรือเป็น
แสงสว่างส่องทาง.
คนทั้งหลายไม่เคยคิดกันว่า สุคติหรือทุคตินี้ เป็นสิ่งที่มีในขณะจิตที่ถัดไปจากการกระทำกรรม
โดยเฉพาะก็คือมโนกรรม กระทำมโนกรรม, ดีก็ตามชั่วก็ตาม เมื่อจิตที่เป็นตัวกรรมนั้นดับไปแล้ว จิต
ถัดมานั่นแหละ คือเรื่องที่ได้รับผลเป็นสุคติหรือทุคติ, มันอาจจะเร็วแวบเดียวก็ได้ ทำมโนกรรมเสร็จ
มันก็เป็นทุคติหรือเป็นสุคติไปแล้ว แล้วแต่ว่ามโนกรรมนั้นทำอย่างไร คือทำอย่างดีหรือทำอย่างชั่ว.
นี่ใครเคยคิดอย่างนี้บ้าง ถ้าไม่เคยคิดก็อยากจะให้คิดอย่างนี้ว่า เรามาเอาสุคติที่มันเอื้อมถึง
กันเดี๋ยวที่นี่.
จิตคิด - ทำ, คิดแล้วกระทำมโนกรรม มโนกรรม ก็คือการคิด คิดดีคิดชั่วพอการคิดนี้
เสร็จดับไป จิตที่ถัดมานั่นแหละคือผลของมัน ก็เรียกว่าอยู่ที่นั่น ติด ๆ กันไปนั่น คิดดีเป็นสุคติ คิดชั่วก็
เป็นทุคติ. อย่างนี้มันเป็นอย่างไร, ขอให้ลองคิดดู.
๔
มันไม่ต้องรอนี่ ไม่ต้องรอต่อตายแล้วนี่, แล้วมันยังดีมากก็ตรงที่ว่าบังคับได้. เราบังคับมันได้ เรา
บังคับสุคติหรือทุคติเอาได้ตามชอบใจเรา คืออย่าไปทำชั่ว อย่าไปคิดชั่ว, อย่าไปคิดชั่วสิ มันก็จะมี
แต่สุคติ แล้วก็ทันทีทันใจ.
ให้รู้สึกกันสักอย่างหนึ่งว่า ชีวิตนี้เป็นสิ่งที่เดินทางอยู่ตลอดเวลา จริงหรือไม่ ? ท่านลอง
คิดดูว่า ชีวิตนี้เป็นการเดินทางอยู่ตลอดเวลา, ไม่ได้หมายความว่าเดินด้วยเท้า, ไม่ได้หมายความว่า
เดินด้วยเท้าหรือเดินด้วยยานพาหนะอะไร. ชีวิตนี้มันเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา, มันเปลี่ยนไปตามอำนาจ
เหตุปัจจัยอยู่ตลอดเวลา. สิ่งทั้งหลายมีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งอยู่ ชีวิตนี้ก็มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งอยู่ ดังนั้น
มันจึงเปลี่ยนอยู่ตามเหตุตามปัจจัยนั้น, เราจึงเห็นว่า ชีวิตนี้มันเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา; เช่นเมื่อวานนี้
วานซืนนี้ มันก็ไม่เหมือนกับวันนี้, แล้วในวันนี้ เดี๋ยวนี้เป็นตอนบ่าย มันก็ไม่เหมือนกับเมื่อตอนเที่ยง
หรือตอนเช้า มันเป็นอย่างอื่น, ตอนเช้าเป็นอย่างอื่น, ตอนสายเป็นอย่างอื่น ตอนเที่ยงเป็นอย่างอื่น,
ตอนบ่ายเป็นอย่างอื่น. นี่มันเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา.
แล้วยิ่งกว่านั้น ในตอนเช้าหรือตอนไหนก็ตาม ชั่วโมงหนึ่ง ชั่วโมงหนึ่งมันก็ไม่เหมือนกัน
มันเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา, แล้วในชั่วโมงหนึ่ง ๆ ชีวิตนั้นมันก็เปลี่ยนอยู่ทุก ๆ นาที ทุก ๆ วินาที จะ
ทุกวินาที กระทั่งว่าทุกขณะจิต ซึ่งมันเร็วกว่าวินาทีไปเสียอีกมันเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา. นั่นแหละ เรียก
ว่ามันเดินทางอยู่ตลอดเวลา, ให้เห็นว่ามันเป็นพฤติของจิต ที่เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา.
คำว่า พฤติ คือความเป็นไป พฤติ หรือวุตฺติ หรือประพฤติก็ตามแปลว่าความเป็นไป การ
เป็นไป, พฤติของจิต คือการเป็นไปของจิต เปลี่ยนอยู่ทุกขณะจิต, เปลี่ยนอยู่ทุกขณะจิตเลย. ฉะนั้น
จึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนอยู่ แล้วเมื่อเปลี่ยนอยู่ก็ถือว่ามันเดินไป, ไม่ซ้ำที่ ไม่หยุดอยู่กับที่.
๕
เรามองให้เห็นข้อนี้ ว่าจิตเปลี่ยนอยู่ทุกขณะ ๆ แล้วแต่จะกำหนด ขณะว่ายาวสักเท่าไร,
ยาวสัก ๑ นาที สัก ๑ วินาที หรือแม้แต่ว่าขณะจิต เขาเรียกว่ามันเร็วเท่าฟ้าแลบ หรือว่าเร็วยิ่งกว่า
ฟ้าแลบ. แต่ก็พอจะมองเห็นได้ ว่ามันเปลี่ยนอยู่ทุกเวลาจึงพูดได้ว่า พฤติของจิตเปลี่ยนอยู่ทุกเวลา,
เพราะว่าชีวิตมันขึ้นอยู่กับจิตดวงเดียวนั้น, ดังนั้น ชีวิตก็เปลี่ยนอยู่ทุกเวลา.
ถ้ามองเห็นอย่างนี้ก็เรียกว่า มันจะกลายเป็นเรื่องที่จริง ประจักษ์ โดยประจักษ์ คือ
สันทิฏฐิโก. ธรรมะที่จะเป็นธรรมะที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้านั้นต้องเป็นสันทิฏฐิโก, สันทิฏฐิโกที่เรา
ไหว้พระสวดมนต์อยู่เสมอ สฺวากฺขาโต ภควาตา ธมฺโม สนฺทิฏฺ ฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก ฯลฯ ใน ๖
บทนั้นมันมีบทว่า สันทิฏฐิโก อยู่บทหนึ่ง ซึ่ง สำคัญมาก.
ถ้าจะเป็นสวากขาโต คือที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้น ต้องเป็นสันทิฏฐิโก คือเรา
รู้สึกได้ด้วยจิตของเราเอว, ปรากฏอยู่ในความรู้สึกของเราเอง, ไม่ต้องเชื่อคนอื่น, ไม่ต้องเชื่อตาม
ตัวหนังสือ ไม่ต้องเชื่อตามอะไร, แต่มองเห็นชัดในจิตใจของตนเอง ว่าเป็นอย่างไร อย่างนี้เป็น
สันทิฏฐิโก.
นี้ก็อยากจะให้มองเห็นเป็นสันทิฏฐิโก ในเรื่องของจิต ที่มันมีพฤติคือการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง
ก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา; แล้วมันก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยนั้น ๆ ตามที่เราบัญญัติว่า อย่าง
นี้ชั่วอย่างนี้ดี, อย่างนี้บุญอย่างนี้บาป, อย่างนี้กุศลอย่างนี้อกุศล: เราก็เลยเห็นจิตที่คิดหรือกระทำอยู่
เป็นบุญหรือเป็นบาป แล้วจิตได้รับผลบุญหรือได้รับผลบาป รู้อยู่แก่จิตใจของตนเอง. แม้จะไม่รู้จักเรียก
ชื่อว่าอะไรเป็นภาษาบาลีลำบาก ก็ให้รู้ว่ามันมีอย่างนี้แหละ, มันเป็นสิ่งที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งแล้วเปลี่ยน
ไปตามเหตุตามปัจจัยที่ปรุงแต่ง.
จากไตรลักษณ์ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ริมกำแพงวัดญาณเวศกวัน www.trilakbooks.com
สินค้าที่ดูล่าสุด
- ฟ้าสางระหว่าง50ปีที่มีสวน... ราคา 300.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
หลักพระพุทธศาสนาที่ยังเข้าใจผิดกันอยู่
รหัส : 14.ฉ-แถบแดง ราคา : 300.00 ฿ อัพเดท : 25/04/2011 ผู้เข้าชม : 2,640