สถิติ
เปิดเว็บ | 15/04/2010 |
อัพเดท | 13/11/2024 |
ผู้เข้าชม | 11,382,613 |
เปิดเพจ | 17,032,587 |
สินค้าทั้งหมด | 2,001 |
หนังสือพระไตรปิฎก ทั้ง 45 เล่ม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ส่งตรงจาก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
มจร
-
เข้าชม
44,037 ครั้ง
ยี่ห้อ
มจร
รุ่น
ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี ปั๊มทอง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
10/05/2022 16:09
-
รายละเอียดสินค้า
รายละเอียด และ รายชื่อ หนังสือพระไตรปิฎก
ภาษาไทย ทั้ง 45 เล่ม โดย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ฯ
ปัจจุบัน หนังสือพระไตรปิฎก 45 เล่มภาษาไทย มูลนิธิ
ได้ทำการเปลี่ยนเป็นปกสีฟ้าเหมือนเดิม เรียบร้อยแล้วครับ
ราคามูลนิธิเท่าเดิม คือ 15,000 บาท ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ
#และเพื่อความรวดเร็วในการสนทนาสอบถามรายละเอียด
ช่องทางการติดต่อทาง/ #สั่งซื้อทางLine
LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks#ชมวีดีโอแนะนำหนังสือธรรมะ- #การจัดส่งฯ
📱#YouTube : ชมวีดีโอแนะนำหนังสือ-การจัดส่งฯ
https://www.youtube.com/user/trilakbooks/videosแนะนำหนังสือธรรมะออกใหม่ กิจกรรมการจัดพิมพ์และจัดส่งหนังสือธรรมะ
และกิจกรรมการจัดส่งหนังสือพระไตรปิฎกทั่วประเทศ ในราคามูลนิธิของมหาวิทยาลัยฯ
https://trilakbooks.wordpress.com/--- --- --- --- --- --- ---
#สำหรับท่านที่ประสงค์จะมาเยี่ยมชมด้วยตนเอง
#ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์
แผนที่สำหรับเดินทาง Google maps🚙
ศูนย์ เผยแพร่พระไตรปิฎกพุทธมณฑลสาย4
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2-------------------------------------------------------------
สำหรับท่านที่จะให้ห่อปกพลาสติกแบบสั่งตัดพิเศษ ทั้งชุด 45 เล่ม
กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ เพิ่มเติม ด้วยนะครับ
ค่าจัดทำ ห่อปกสั่งตัดพิเศษ 1000 บาท (ทั้งชุดครับ)รายละเอียดหนังสือพระไตรปิฎกทั้ง 45 เล่ม
เล่ม ๑ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ (๕๖๘ หน้า)
อธิบายสิกขาบทในปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์(กฎหรือข้อบังคับที่เป็นหลักใหญ่สำหรับพระภิกษุ)
๑๙ ข้อแรกซึ่งอยู่ในระดับอาบัติหนักหรือความผิดสถานหนักคือ ปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยต
เล่ม ๒ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒ (858 หน้า)
***โดยนับทุกหน้า ตั้งแต่ เปิดปก จนถึงหน้าสุดท้าย***
อธิบายสิกขาบทในปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ข้อที่เหลือ ซึ่งอยู่ในระดับอาบัติเบา
หรือความผิดสถานเบา คือ ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จนครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗
เล่ม ๓ พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ (๕๑๔ หน้า)
อธิบายสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณี ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ทั้งหมด
เล่ม ๔ พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ (๕๑๐ หน้า)
อธิบายสิกขาบทนอกปาติโมกข์ (ระเบียบทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นอยู่และการดำเนินกิจการของภิกษุสงฆ์)
ตอนต้น มี ๔ ขันธกะ (หมวด) คือ เรื่องกำเนิดภิกษุสงฆ์และการอุปสมบท อุโบสถ จำพรรษาและปวารณา
เล่ม ๕ พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ (๔๘๖ หน้า)
อธิบายสิกขาบทนอกปาติโมกข์ตอนต้น (ต่อ) มี ๖ ขันธกะ (หมวด)
คือ เรื่องเครื่องหนัง เภสัช กฐิน จีวร นิคคหกรรม และการทะเลาะวิวาทและสามัคคี
เล่ม ๖ พระวินัยปิฎก จูฬวรรค ภาค ๑ (๔๗๖ หน้า)
อธิบายสิกขาบทนอกปาติโมกข์ตอนปลาย มี ๔ ขันธกะ คือ เรื่อง นิคคหกรรม
วุฏฐานวิธีและการระงับอธิกรณ์
เล่ม ๗ พระวินัยปิฎก จูฬวรรค ภาค ๒ (๕๓๒ หน้า)
อธิบายสิกขาบทนอกปาติโมกข์ตอนปลาย (ต่อ) มี ๘ ขันธกะ คือ
เรื่องข้อบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงดสวดปาติโมกข์
เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนา ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
ตรวจเช็คหนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย ก่อนดำเนินการจัดส่งทั่วประเทศเล่ม ๘ พระวินัยปิฎก ปริวาร (๘๘๖ หน้า)
อธิบายคู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย
เล่ม ๙ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สัลขันธวรรค (๔๐๐ หน้า)
อธิบายพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร เริ่มด้วย พรหมชาลสูตร (หลายสูตรกล่าวถึง
ความพร้อมด้วยสีลขันธ์ ซึ่งบางทีก็จำแนกเป็นจูลศีลมัชฌิมศีลมหาศีลจึงเรียกว่าสัลขันธวรรค)
เล่ม ๑๐ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค (๕๕๘ หน้า)
อธิบายพระสูตรขนาดยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย
“มหา” เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสมยสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น
เล่ม ๑๑ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (๖๓๐ หน้า)
อธิบายพระสูตรขนาดยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฎิกสูตร
หลายสูตรมีชื่อเสียง เช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญสูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร
เล่ม ๑๒ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (๘๒๖ หน้า)
อธิบายพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร บางสูตรอาจจะคุ้นชื่อ
เช่น ธัมมทายาทสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สติปัฏฐานสูตร รถวินีตสูตร วีมังสกสูตร
เล่ม ๑๓ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (๘๕๔ หน้า)
***โดยนับทุกหน้า ตั้งแต่ เปิดปก จนถึงหน้าสุดท้าย***
อธิบายพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร ที่อาจจะคุ้นชื่อ เช่น
เสขปฏิปทาสูตร ชีวกสูตร อุปาลิวาทสูตร รัฏฐปาลสูตร รถวินีตสูตร อังคุลิมาลสูตร
ธัมมเจติยสูตร
เล่ม ๑๔ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ (๗๑๖ หน้า)
อธิบายพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร มีเนื้อหาแตกต่างกันหลากหลาย เช่น
เทวทหสูตร อานาปานสติสูตร กายคตาสติสูตร ภัทเทกรัตตสูตร จูฬกัมมวิภังคสูตร
ปุณโณวาทสูตร
หนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย 45 เล่ม ที่จัดส่ง โดย ศูนย์จัดส่งพระไตรปิฎกทั่วประเทศ (ไตรลักษณ์)เล่ม ๑๕ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (๕๑๖ หน้า)
อธิบายคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่างๆ เช่น
เทวดา มาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้าโกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคล
และสถานที่มี ๑๑ สังยุต
เล่ม ๑๖ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค (๔๘๐ หน้า)
อธิบายเหตุและปัจจัย คือ หลักปฏิจจสมุปบาท
นอกนั้นมีเรื่องธาตุการบรรลุธรรม สังสารวัฏ ลาภสักการะ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุต
เล่ม ๑๗ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค (๕๔๒ หน้า)
อธิบายขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง สมาธิ และทิฏฐิต่างๆ
ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุต
เล่ม ๑๘ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค (๖๖๐ หน้า)
อธิบายอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึงอสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ
เล่ม ๑๙ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค (๘๗๖ หน้า)
อธิบายโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน
อินทรีย์ สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น อริยสัจ ฌาน
ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอานิสงส์ของการบรรสุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุต
เล่ม ๒๐ พระสุตตันตปิฎก อันคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาตร (๕๗๘ หน้า)
อธิบายธรรม หมวด ๑ (เช่น จิต, ความไม่ประมาท ฯลฯ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ)
อธิบายธรรมหมวด ๒ (เช่น สุข ๒, บัณฑิต ๒, ฯลฯ) อธิบายหมวด ๓ (เช่น อธิปไตย ๓, สิกขา ๓ ฯลฯ)
เล่ม ๒๑ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (๕๘๔ หน้า)
อธิบายธรรม หมวด ๔ (เช่น อริยธรรม หรืออารยธรรม๔, พุทธบริษัท ๔,
ปธาน๔, อคติ ๔, สังคหวัตถุ ๔ ฯลฯ)
เล่ม ๒๒ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต (๘๖๘ หน้า)
อธิบายธรรม หมวด ๕ (เช่น พละ ๕, นิวรณ์ ๕, อภิณหปัจจเวกขณะ ๕, นักรบ ๕ ฯลฯ)
อธิบายธรรม หมวด ๖ (เช่น สาราณียธรรม ๖, อภัพพฐาน ๖, ฯลฯ)
การตรวจเช็คพระไตรปิฎก ก่อนทำการจัดส่งทั่วไทยเล่ม ๒๓ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต (๗๓๖ หน้า)
อธิบายธรรม หมวด ๗ (เช่น อริยทรัพย์ ๗ ภรรยา ๗ ฯลฯ)
อธิบายธรรมหมวด ๘ (เช่น โลกธรรม ๘ ทานวัตถุ ๘ สัปปุริสธรรม ๘ ฯลฯ)
อธิบายธรรม หมวด ๙(อาฆาตวัตถุ ๙ นิพพานทันตา ๙ ฯลฯ)
เล่ม ๒๔ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต (๕๘๖ หน้า)
อธิบายธรรม หมวด ๑๐ (เช่น สังโสยชน์ ๑๐ นาถกรณธรรม ๑๐ วัฑฒิธรรม ๑๐ ฯลฯ)
อธิบายธรรมหมวด ๑๑ (เช่น ลักษณะของผู้มีศรัทธา ๑๑ ประการ, อานิสงส์เมตตา ๑๑ ฯลฯ)
เล่ม ๒๕ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย กล่าวถึงคัมภีร์ ๕ คือ ขุททกปาฐะธัมมบท
อุทาน อิติวุตตกะ และสุตตนิบาท (๑,๐๐๖ หน้า)
อธิบาย ๕ คัมภีร์ คือ (๑) ขุททกปาฐะ รวมบทสวดย่อยๆ เช่น มงคลสูตร รตนสูตร (๒) ธัมมบท
มี ๔๒๓ คาถา (๓) อุทาน พระสูตรแสดงคาถาพุทธอุทานร้อยแก้ว ๘๐ เรื่อง (๔) อิติวุตตกะ เชื่อมความเข้าสู่
คาถาด้วยคำว่า “อิติวุจฺจจิ” รวม ๑๑๒ สูตร (๕) สุตตนิบาต ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ คาถาล้วน รวม ๗๑ สูตร
บรรยากาศ งานถวายหนังสือพระไตรปิฎก ของคณะเจ้าภาพ จัดที่ ศูนย์จัดส่งพระไตรปิฎกทั่วประเทศเล่ม ๒๖ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย กล่าวถึง ๔ คัมภีร์ คือ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ
เถรคาถาและเถรีคาถา (๔๘๕ หน้า)
อธิบายคัมภีร์ย่อย ซึ่งร้อยกรองคือคาถาล้วน ๔ คัมภีร์ คือ (๑) วิมาน เล่าการทำความของตนในอดีต ๘๕ เรื่อง
(๒) เปตวัตถุ เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน ๕๑ เรื่อง (๓) เถรคาถา คาถาของพระอรหันต์ ๒๖๔ รูป (๔) เถรีคาถา
คาถาของพระอรหันตเถรี ๗๓ รูป
เล่ม ๒๗ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ (๘๓๐ หน้า)
อธิบายบทร้อยกรองคือคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งยังเป็น
พระโพธิสัตว์ในอดีตชาติและมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง
ภาคแรก ตั้งแต่ เอกนิบาต-จัตตาฬีสนิบาต รวม ๕๒๕ เรื่อง
เล่ม ๒๘ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ (๖๗๐ หน้า)
อธิบายคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา
ถึงเรื่องมีคาถามากมาย ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา มี ๒๒ เรื่อง
เล่ม ๒๙ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส (๗๕๖ หน้า)
อธิบายภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๐ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส (๖๑๐ หน้า)
อธิบายภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร
ในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตรในอุรควรรคแห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๑ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏสัมภิทามรรค (๙๕๐ หน้า)
อธิบายภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ เช่นเรื่องญาณ
ทิฏฐิ อานาปานะ อินทรีย์ เป็นต้อนอย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน
ที่ศูนย์ส่งพระไตรปิฎก ในช่วงบ่าย ก็จะเตรียมชุดหนังสือพระไตรปิฎกส่งขึ้นบริษัทขนส่งทั่วประเทศเล่ม ๓๒ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ (๙๗๖ หน้า)
อธิบายบทประพันธ์ร้อยกรอง (คาถา) แสดงประวัติพระอรหันต์ โดยเฉพาะในอดีตชาติ
เริ่มด้วยพุทธอปทาน ปัจเจกพุทธอปทาน ต่อด้วยเถรอปทาน เริ่มแต่พระสารีบุตร
พระมหาโมคคัลลานะ ฯลฯพระอานนท์ ต่อเรื่อยไป รวม ๔๑๐ รูป
เล่ม ๓๓ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ (๑,๐๓๖ หน้า)
(๑)อธิบายเถรอปทานประวัติพระอรหันต์เถระต่ออีกจนรถึงรูปที่ ๕๕๐ ต่อนั้น
เป็นเถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม
๑๖ รูป ต่อด้วยพระเถรีที่สำคัญพระมหาปชาปดีโคตรมี พระเขมาและท่านอื่นๆ ต่อไปจนจบ
(๒) อธิบายพระพุทธวงส์ เป็นคาถาประพันธ์พระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์
รวมถึงประวัติของพระองค์เอง รวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์
(๓) อธิบายจริยาปิฎก แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ เรื่อง
เล่ม ๓๔ อภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี (๕๒๒ หน้า)
อธิบายมาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ
เช่น จัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม
จัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสังขตธรรม อสังขตธรรมชุดหนึ่ง โลกียธรรม โลกุตตรธรรมชุดหนึ่ง
เป็นต้น รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ มาติกา
ศูนย์จัดส่งพระไตรปิฎกทั่วประเทศ กราบอนุโมทนาบุญแด่คณะผู้ร่วมจัดถวายหนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทยในครั้งนี้ครับเล่ม ๓๕ อภิธรรมปิฎก ภาษาไทย วิภังค์ (๘๒๒ หน้า)
อธิบายหลักธรรมสำคัญ๐ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่
และวินิจฉัยจนชัดเจรจบไปเป็นเรื่องๆ ๑๘ เรื่อง เช่น ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒
และ ธาตุ ๑๘ และปุคคลบัญญัติ
เล่ม ๓๖ อภิธรรมปิฎก ธาตุกถา (๔๑๒ หน้า)
(๑)อธิบายธาตุกถา คำอธิบายเรื่องธาตุ เป็นคัมภีร์ที่พระผู้มีพระภาคทรง
นำสภาวธรรมแม่บทที่เรียกว่ามาติกาจำนวน ๓๗๑ บท เกี่ยวกับธาตุ ๔
ธาตุ ๖ และธาตุ ๑๘ และ (๒) อธิบายปุคคลบัญญัติกล่าวถึงการ
บัญญัติบุคคลตามคุณธรรมที่มีในบุคคลนั้น จัดเป็นพวกๆ และอธิบายให้เห็นลักษณะอาการ
เล่ม ๓๗ อภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ (๑,๑๒๐ หน้า)
อธิบายคัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓
เรียบเรียงขึ้นเพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่างๆ ซึ่งได้แตกแยกกันออกไปแล้วถึง ๑๘ นิกาย
เป็นคำปุจฉาวิสัชนามีทั้งหมด ๒๑๙ กถา
เล่ม ๓๘ อภิธรรมปิฎก ยมก ภาค ๑ (๙๙๔ หน้า)
อธิบายคัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
(ยมก แปลว่า คู่) เช่นถามว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล เกี่ยวกับ
มูล (เช่น กุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย
ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ
เล่ม ๓๙ อภิธรรมปิฎก ยมก ภาค ๒ (๗๕๐ หน้า)
อธิบายการถามการตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ จิตตยมก
ธัมมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก บรรจบเป็น ๑๐ ยมก
อาคารเก็บหนังสือพระไตรปิฎก ที่เตรียมสำหรับ การจัดส่งไปยัง ที่ต่างๆ ทั่วประเทศเล่ม ๔๐ อภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๑ ปัฏฐาน (๑,๐๖๒ หน้า)
อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ
คือแม่บทหรือบทสรุปธรรม แต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกา เล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔
เล่ม ๔๑ อภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๒ (๗๔๗ หน้า)
อธิบายอนุโลมติกปัฏฐาน คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓
ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่นอดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันนธรรมโดยอารัมมณปัจจัย
(พิจารณารูป เสียง เป็นต้น ที่ดับเป็นอดีตไปแล้ว ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น ฯลฯ) เป็นต้น
เล่ม ๔๒ อภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๓ (๕๖๒ หน้า)
อธิบายอนุโลมทุกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กัน
แห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น โลกียธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกียธรรม
โดยอารัมมณปัจจัย (รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ ) ดังนี้ เป็นต้น
เล่ม ๔๓ อภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๔ (๗๔๒ หน้า)
อธิบายอนุโลมทุกปัฏฐานต่อ
เล่ม ๔๔ อภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๕ (๙๔๐ หน้า)
อธิบายอนุโลมปัฏฐาน แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา
ประกอบด้วย อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงกับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา)
เล่ม ๔๕ อภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๖ (๘๐๖ หน้า)
อธิบายปัจจนียปัฏฐาน คือ อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อนๆ นั่นเอง
แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็นปัจจนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธ เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล
อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัยเป็นอย่างไร อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือ อนุโลม+ปฏิเสธ
เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรม เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน
คือ ปฏิเสธ+อนุโลม
ปัจจุบัน พระไตรปิฎกภาษาไทย 45 เล่มของมหาจุฬาฯ
จัดทำปกสีฟ้าแล้วนะครับท่านสามารถอ่านรายละเอียดหนังสือพระไตรปิฎกชุดนี้ได้ที่
http://www.trilakbooks.com/product/2003444/พระไตรปิฎกภาษาไทย-ฉบับมหาจุฬาลงกรฯ-พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช-15000บาท.htmlผัคคุณสูตร
ว่าด้วยพระผัคคุณะอาพาธ
สมัยนั้นแล ท่านพระผัคคณะ อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น
ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคได้ดังนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระผัคคุณะ
อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มี
พระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระภัคคุณะถึงที่อยู่เถิด
พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยพระอาการดุษณี"
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจาที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปหาท่าน
พระผัคคุณะถึงที่อยู่ ท่านพระผัคคุณะได้เหฌนพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล
จึงลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระผัคคุณะว่า "อย่าเลย
ผัคคุณะ เธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะที่ภิกษุอื่นปูลาดไว้ยังมีอยู่ เราจักนั่งบน
อาสนะนั้น" พระผู้มีพระภาคนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามท่าน
พระผัคคุณะดังนี้ว่า
"ผัคคุณะ เธอยังสบายดีหรอ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ
หรืออาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ"
ท่านพระผัคคุณะกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผูเจริญ ข้าพองค์ไม่สบาย
จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการ
กำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ"
รถขนส่ง หนังสือพระไตรปิฎก และสำหรับขนส่งตู้พระไตรปิฎกทั่วประเทศของศูนย์ฯเปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เหล็กแหลมที่คมแทงศีษะ ฉันใด ลมอันแรงกล้า
ที่เสียดแทงศีษะของข้าพองค์ ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพองค์ไมาสบาย จะเป็นอยู่
ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลลาลงเลย อาการกำเริบ
ปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง พึงใช้เชือกหนังที่เหนียวรัดศีรษะ ฉันใด ความ
เจ็บปวดศีรษะของข้าพองค์ก็มีประมาณยิ่งฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพองค์ไม่สบาย
จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลยอาการ
กำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเทียบคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญพึงใช้มีดแล่เนื้อที่คม
กรีดท้อง ฉันใด ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงท้องของข้าพองค์ ฉันนั้นเหมือนกัน
ข้าพองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น
ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
ตู้พระไตรปิฎก สำหรับใส่หนังสือพระไตรปิฎกแบบลงรักปิดทองเปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง ๒ คนพึงจับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้าง ย่างให้
ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง ฉันใด ความเร่าร้อนในกายของข้าพระองค์มีมากยิ่งฉันนั้น
เหมือนกัน ข้าพองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพองค์มีแต่
กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้ท่านพระผัคคุณะเห็นชัด ชวนใจ
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้หาญแกล้วกล้า ปลอชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์จากไป
การจัดทำรายชื่อผู้สร้างถวายพระไตรปิฎก ลงในพระไตรปิฎกทุกเล่มครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้มรณภาพ
แล้ว ในเวลามรณภาพ อินทรีย์ ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน
ท่านพระผัคคุณะได้มรณภาพแล้ว และในเวลามรณภาพอินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก"
จากหนังสือพระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๓๙
หมายเหตุ หนังสือพระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ทั้ง ๔๕ เล่ม จัดพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๙ (เป็นหนังสือปกแข็ง สีฟ้า และสีเหลือง ตัวอักษรทอง)
ขนาดของเล่ม ๑๘.๒ x ๒๕.๗ cm.
ISBN: 974-575-369-6 มีเลข ISBN เดียวกัน
แนะนำ
หนังสือที่แนะนำ ให้ศึกษา ควบคู่กันกับ หนังสือพระไตรปิฎก หรือ ถวายคู่กันกับหนังสือพระไตรปิฎก
เพื่อความกระจ่าง ในการศึกษาพระไตรปิฎกให้ครบถ้วน ในราคามูลนิธิ ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
และมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่จัดส่งเผยแพร่โดย ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกไตรลักษณ์ จัดส่งทั่วประเทศ
จากไตรลักษณ์ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ริมกำแพงวัดญาณเวศกวัน www.trilakbooks.com
เฉพาะหนังสือพระไตรปิฎก ฉบับเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 45 เล่มของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โทร.086-461-8505,02-482-7358
สมัยพุทธกาล
การรวบรวมคำสอนของพระพุทธศาสนาเริ่มมีขึ้นเมื่อครั้งที่นิครนถนาฏบุตรศาสดาของศาสนาเชนสิ้นชีวิตลง และสาวกของท่านไม่ได้เก็บรวบรวมคำสอนไว้ทำให้เหล่าผู้นับถือศาสนาเชนจึงเกิดการแตกแยกและถกเถียงกันว่าแท้จริงแล้วศาสดาของตนสอนไว้เช่นไรพระจุนทเถระทราบเรื่องจึงนำความขึ้นกราบทูลพระพุทธเจ้าพระองค์จึงได้ตรัสแนะนำให้พระสงฆ์ทั้งปวงร่วมกันทำสังคายนา[4]เพื่อรักษาคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป[5]เมื่อพระสารีบุตรทราบถึงเรื่องราวปัญหาของศาสนาเชน
ก็ได้แสดงวิธีสังคายนาไว้เป็นตัวอย่างต่อหน้าที่ประชุมคณะสงฆ์
โดยรวบรวมข้อธรรมต่างๆ ให้อยู่ตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง
ไปจนถึงหมวดสิบ เมื่อพระสารีบุตรแสดงธรรมจบแล้ว
พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานสาธุการแก่หลักธรรมที่พระสารีบุตรแสดงไว้[6]
ทั้งนี้ ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีการรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นพระไตรปิฎก
แต่ก็มีคำเรียกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า
พฺรหฺมจริย หรือพรหมจรรย์[7] และ ธมฺมวินย หรือธรรมวินัย [2]
ดำเนินการจัดส่งพระไตรปิฎกขึ้นบริษัทขนส่งให้ถึงที่หมายปลายทางทั่วประเทศ[แก้]ปฐมสังคายนา
การทำสังคายนาครั้งแรก เกิดขึ้นภายหลังจากที่พระพุทธเจ้า
เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 3 เดือน ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา
ข้างเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย
ในพระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู
โดยมีพระมหากัสสปเถระทำหน้าที่เป็นประธาน และเป็นผู้คอยซักถาม
มีพระอุบาลีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย และมีพระอานนท์เป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อธรรม
การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระอรหันต์มาประชุมร่วมกันทั้งหมด 500 รูป
ดำเนินอยู่เป็นเวลา 7 เดือน จึงเสร็จสิ้น
มูลเหตุในการทำสังคายนาครั้งนี้
เกิดขึ้นเมื่อพระมหากัสสปเถระทราบข่าวการปรินิพพาน
ของพระพุทธเจ้าหลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน
บรรดาลูกศิษย์พระมหากัสสปเถระ เมื่อได้ทราบข่าวต่างพากันร้องไห้คร่ำครวญ
แต่มีภิกษุอยู่รูปหนึ่งชื่อสุภัททะ ซึ่งเป็นภิกษุแก่ กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะร้องไห้กันไปทำไม
เมื่อสมัยที่พระพุทธเจ้ายังอยู่ พระองค์ทรงเข้มงวดกวดขัน คอยชี้ว่านี่ถูก
นี่ผิด นี่ควร นี่ไม่ควร ทำให้พวกเราลำบาก บัดนี้พระองค์ปรินิพพานไปแล้ว
พวกเราจะได้ทำอะไรตามใจชอบเสียที เมื่อพระมหากัสสปเถระได้ฟังดังนี้ก็รู้สึกสลดใจ
ดำริว่าแม้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปใหม่ๆ
ยังปรากฏผู้มีใจวิปริตจากธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ถ้าปล่อยไว้นานเข้า
คำสอนทางพระพุทธศาสนาอาจถูกบิดเบือนไปได้ จึงริเริ่มวางแผนการทำสังคายนา
อาคารจำหน่ายหนังสือพระไตรปิฎก โดย ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์[แก้]การสังคายนาครั้งที่สอง
การทำสังคายนาครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 100 ที่วาลิการาม
เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย โดยมีพระยสะ กากัณฑกบุตร
เป็นผู้ชักชวน พระเถระผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมทำสังคายนาครั้งนี้ได้แก่
พระสัพพกามี พระสาฬหะ พระขุชชโสภิตะพระวาสภคามิกะ
(ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาจีนกะ) พระเรวตะ พระสัมภูตะ สาณวาสี พระยสะ
กากัณฑกบุตร และพระสุมนะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาฐา) ในการนี้พระเรวตะ
ทำหน้าที่เป็นประธานผู้คอยซักถาม และพระสัพพกามีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย
การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 700 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 8 เดือน จึงเสร็จสิ้น
ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พระยสะ กากัณฑกบุตร
พบเห็นข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการทางพระวินัยของภิกษุวัชชีบุตร
เช่น ควรเก็บเกลือไว้ในเขาสัตว์เพื่อรับประทานได้ ควรฉันอาหารยามวิกาลได้
ควรรับเงินทองได้ เป็นต้น พระยสะ กากัณฑกบุตรจึงชวนพระเถระต่างๆ
ให้ช่วยกันวินิจฉัย แก้ความถือผิดครั้งนี้
ที่ศูนย์บริการจัดส่ง ตู้และหนังสือพระไตรปิฎกทั่วประเทศ จัดส่งถึงที่วัด และที่หมายต่างๆ ตามที่คณะเจ้าภาพมีความประสงค์แจ้งไว้โดยรายละเอียดของปฐมสังคายนาและการสังคายนาครั้งที่สอง
มีกล่าวถึงในพระวินัยปิฎก จุลลวรรค แม้ในวินัยปิฎกจะไม่กล่าวถึงคำว่าพระไตรปิฎก
ในการปฐมสังคายนา และการสังคายนาครั้งที่สองเลย แต่ในสมันตัปปาสาทิกา
ซึ่งเป็นอรรถกถาอธิบายวินัยปิฎกนั้น บอกว่าการจัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธศาสนา
ให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างพระไตรปิฎกนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนาแล้ว
[แก้]การสังคายนาครั้งที่สาม
การทำสังคายนาครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 235 ที่อโศการาม
กรุงปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย โดยมีพระโมคคลีบุตร ติสสเถระ
เป็นประธาน การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 1,000 รูป
ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 9 เดือน จึงเสร็จสิ้น
ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ มีพวกเดียรถีย์
หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช แล้วแสดงลัทธิศาสนา
และความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ
จึงได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชสังคายนา
พระธรรมวินัยเพื่อกำจัดความเห็นของพวกเดียรถีย์ออกไป
ในการทำสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ
ได้แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมไว้ด้วย
และเมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้ว ก็มีการส่งคณะทูตไปประกาศ
พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ในที่นี้มีพระมหินทเถระ
ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่นำพระพุทธศานา
ไปประดิษฐานในลังกา รวมทั้งพระโสณะเถระและพระอุตตระเถระ
ที่นำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ยังดินแดนสุวรรณภูมิด้วย
ภาพด้านหน้าอาคารบรรจุหนังสือพระไตรปิฎก ก็ยังเป็น ศูนย์รวมหนังสือธรรมะ มากกว่า 2000 รายการ จากหลากหลายสำนักพิมพ์ทั่วประเทศ[แก้]การสังคายนาครั้งที่สี่
การทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 643
ที่เมืองชาลันธร แต่บางหลักฐานก็กล่าวว่าทำที่กัศมีร์หรือแคชเมียร์
การสังคายนาครั้งนี้มีลักษณะของศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา
ฝ่ายมหายานเข้ามาผสม ทำให้ฝ่ายเถรวาทไม่นับว่าเป็นหนึ่งในการสังคายนา
[แก้]การสังคายนาครั้งที่ห้า
การทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 460 ที่อาโลกเลณสถาน
มตเลชนบท ประเทศศรีลังกา โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน
การทำสังคายนาครั้งนี้เพื่อต้องการจารึกพระพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษร
หลังจากที่มีการพัฒนาด้านภาษาเขียน จากตัวอักษร อนักษระ
(ภาษารูปภาพ)มาเป็นอักษระ(ภาษาเขียนเลียนแบบเสียงพูด)
ซึ่งภาษาอนักษระพระอรหันต์ในอดีตเห็นถึงความไม่เหมาะสม
ในการบันทึกไว้เพราะจะให้พระพุทธคลาดเคลื่อนเสื่อมสูญได้
ถึงจัดหมวดหมู่แบ่งกันรับผิดชอบท่องจำทรงกันเอาไว้
เมื่อภายหลังมีภาษาเขียนแบบอักษระจึงเห็นควรให้จารึกเป็นลายลักอักษร
[แก้]ปัญหาการนับครั้งการสังคายนา
การนับครั้งการสังคายนามีความแตกต่างกันในพระพุทธศาสนา
ฝ่ายเถรวาทกับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นอกจากนี้
แม้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกันเอง
ก็ยังนับครั้งการสังคายนาไม่ตรงกัน ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
- ประเทศศรีลังกา นับการสังคายนาสามครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย
- และการสังคายนาที่ประเทศตนเองอีก 3 ครั้งโดยครั้งสุดท้ายกระทำเมื่อ พ.ศ. 2408
- โดยการสังคายนาครั้งนี้เป็นที่รู้กันเฉพาะในประเทศศรีลังกาเท่านั้น
- ประเทศพม่า นับการสังคายนาสามครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และนับการสังคายนาครั้งที่ 2
ที่ลังกาเป็นครั้งที่ 4 ที่ประเทศพม่า และนับการสังคายนาที่ประเทศตนเองอีก 2 ครั้ง
โดยครั้งสุดท้าย หรือครั้งที่ 6 ในพม่า มีชื่อเรียกว่าฉัฏฐสังคายนา
เริ่มกระทำเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
การทำสังคายนาครั้งนี้ทำขึ้นเนื่องในโอกาสฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เพื่อพิมพ์พระไตรปิฎก อรรถกถา และคำแปลเป็นภาษาพม่า
โดยได้เชิญพุทธศาสนิกชนจากหลายประเทศเข้าร่วมพิธี
โดยเฉพาะจากประเทศ พม่า ศรีลังกา ไทย ลาว และกัมพูชา - ประเทศไทย นับการสังคายนาสามครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และครั้งที่ 1-2 ที่ลังกา
แต่ในหนังสือสังคีติยวงศ์ หรือประวัติแห่งการสังคายนา
ของสมเด็จพระวันรัต ได้นับเพิ่มอีก 4 ครั้ง คือ - ครั้งที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 956 ในลังกา โดยพระพุทธโฆสะได้แปลและเรียบเรียงอรรถกถา
ซึ่งถือว่าเป็นการชำระอรรถกถา ไม่ใช่พระไตรปิฎก ทางลังกาจึงไม่นับเป็นการสังคายนา - ครั้งที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 1587 ในลังกา โดยพระกัสสปเถระเป็นประธานรจนาฏีกาต่างๆ
ซึ่งถือว่าเป็นการชำระฏีกา ไม่ใช่พระไตรปิฎก ทางลังกาจึงไม่นับเป็นการสังคายนาเช่นกัน - ครั้งที่ 8 เมื่อ พ.ศ. 2020 ในประเทศไทย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา
- ครั้งที่ 9 เมื่อ พ.ศ. 2331 ในประเทศไทย โดยการอุปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
[แก้]เชิงอรรถ- ^ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร .
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก[1]. เข้าถึงเมื่อ 9-7-52 - ^ 2.0 2.1 โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา
ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว และบัญญัติแล้ว
แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป
(สุตตันตปิฎก ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร ข้อ 141) - ^ โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
(สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สังฆาฎิสูตร ข้อ 272) - ^ การทำสังคายนา คือการรวบรวมคำสอนทั้งหลาย
ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ พร้อมจัดหมวดหมู่ให้จดจำได้ง่าย และซักซ้อมทบทวน
สวดสาธยายพร้อมกันเพื่อเป็นแบบแผนในการทรงจำสืบต่อมา โดยคำว่า
สังคายนา หรือ สังคีติ นี้ เป็นภาษาบาลี แปลว่า สวดพร้อมกัน (สํ หมายถึง พร้อมกัน คายน หรือ คีติ หมายถึง การสวด) - ^ เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ใน ปาสาทิกสูตร (สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค)
- ^ เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ใน สังคีติสูตร (สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค)
- ^ จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย
อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ เทเสถ ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ
ปริโยสานกลฺยาณํ สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสถ
ภิกษุทั้งหลาย เธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์
จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ อันบริสุทธ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง (สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย)
[แก้]ดูเพิ่ม
- คัมภีร์อรรถกถา คัมภีร์ชั้นรอง อธิบายความในพระไตรปิฎก
- คัมภีร์ฎีกา คัมภีร์ชั้นสาม อธิบายความในอรรถกถา
[แก้]อ้างอิง
- ^ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย
มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร . พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก[1]. เข้าถึงเมื่อ 9-7-52 - ^ 2.0 2.1 โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา
ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว และบัญญัติแล้ว
แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป
(สุตตันตปิฎก ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร ข้อ 141) - ^ โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
(สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สังฆาฎิสูตร ข้อ 272) - ^ การทำสังคายนา คือการรวบรวมคำสอนทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้
พร้อมจัดหมวดหมู่ให้จดจำได้ง่าย และซักซ้อมทบทวน
สวดสาธยายพร้อมกันเพื่อเป็นแบบแผนในการทรงจำสืบต่อมา
โดยคำว่า สังคายนา หรือ สังคีติ นี้ เป็นภาษาบาลี แปลว่า สวดพร้อมกัน
(สํ หมายถึง พร้อมกัน คายน หรือ คีติ หมายถึง การสวด) - ^ เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ใน ปาสาทิกสูตร (สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค)
- ^ เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ใน สังคีติสูตร (สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค)
- ^ จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย
หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ เทเสถ ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ
ปริโยสานกลฺยาณํ สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสถ
ภิกษุทั้งหลาย เธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์
จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ อันบริสุทธ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง
(สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย)
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)
จากหนังสือ เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ก่อนจะพูดถึงพระไตรปิฎก ควรทำความเข้าใจกันก่อนว่า พระพุทธศาสนาคืออะไรพระพุทธศาสนา ก็คือคำสอนของพระพุทธเจ้า
การที่เรานับถือพระพุทธศาสนา ก็คือนับถือคำสอนของพระพุทธเจ้า
ขอให้นึกย้อนหลังไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าออกประกาศพระศาสนายังไม่มีพระพุทธศาสนา ท่านทั้งหลายที่มาเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า
ก็คือต้องการมาฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า
เพราะเหตุที่ต้องการฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ก็จึงเป็นผู้ฟังที่เราเรียกว่าเป็นสาวก คำว่าสาวกนั้น ก็แปลว่าผู้ฟังนั่นเอง
เมื่อฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าพระพุทธศาสนาแล้วก็ไปปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์
การฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติตามนั้น
ก็เป็นพระพุทธศาสนาอีก พระพุทธศาสนาจึงมีความหมายทั้งเป็น
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และการปฏิบัติตามคำสั่งสอนนั้น
ถึงความหมายขยายไกลก็จับหัวใจพระพุทธศาสนาไว้ให้ได้
ต่อมาก็มีการจัดตั้งเป็นชุมชน เป็นสถาบัน เป็นองค์กรหมายความว่า คนมารวมกันเรียน มาฟังคำสั่งสอน ขยายออกไป
เรียกว่าเล่าเรียนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วก็ปฏิบัติ
ทำกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง เป็นจำนวนมาก ก็ต้องมีการจัดสรรดูแลต่างๆ
เพื่อให้คนทั้งหลายที่มาอยู่รวมกันเพื่อวัตถุประสงค์อย่างนี้
ได้เรียนได้ฟัง แล้วก็ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างได้ผล
การจัดสรรดูแลให้มีการเล่าเรียน สดับฟัง
และปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ก็เรียกว่าเป็นพระพุทธศาสนาด้วย
ความหมายของพระพุทธศาสนาก็เลยกว้างขวางออกไป
พอถึงขั้นจัดตั้ง การดูแลให้มีการเล่าเรียนและปฏิบัติก็เลยรวมไปถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาเป็นชุมชน เป็นองค์กร
เป็นสถาบันหรืออะไรๆ ที่กว้างขวางออกไป
ความหมายของพระพุทธศาสนาก็ขยายออกไป
เป็นอย่างที่เราเข้าใจในปัจจุบันนี้ จนกระทั่งไปๆ มาๆ ก็เลยลืมไปเลย
ไม่รู้ว่าตัวพระพุทธศาสนาคืออะไร อยู่ตรงไหน ถ้าไม่ทบทวนกันไว้ให้ดี
ต่อไปก็จับไม่ถูก ว่าที่แท้นั้นพระพุทธศาสนาก็อยู่ที่จุดเริ่ม
คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้น จะต้องจับตัวพระพุทธศาสนาไว้ให้อยู่ที่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ได้ ไม่ว่าอะไรก็ตาม
ถ้ามีการปฏิบัติ มีการเชื่อถือกันไปมากมายใหญ่โต
แต่เสร็จแล้วไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา
ที่ว่ามานี้เป็นเรื่องแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อน เป็นอันว่าคนที่มาหาพระพุทธศาสนา ก็คือต้องการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เราไม่เอาอะไรอย่างอื่น เราไม่ได้ต้องการคำสั่งสอนของคนอื่น เป็นต้น
เมื่อเราต้องการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าเป็นสมัยพุทธกาลจะทำอย่างไร เราก็ไปฟังพระพุทธเจ้า ถ้าอยู่ในวัดเดียวกับพระองค์
ก็ไปหาไปเฝ้าพระองค์ ไปที่ธรรมสภาที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรม
ไปฟังพระองค์ หรือซักถามพระองค์ ทูลถามปัญหาต่าง ๆ
ให้พระองค์ตรัสตอบให้ ถ้าอยู่ไกลก็เดินทางมา
บางคนมาจากต่างประเทศ ขี่ม้า หรือว่านั่งเกวียน
เดินทางกันมาเป็นวัน เป็นเดือน ก็เพียงเพื่อมาฟังพระพุทธเจ้าสั่งสอน
กราบอนุโมทนาบุญแด่คณะเจ้าภาพผู้ถวายหนังสือพระไตรปิฎก45เล่มภาษาไทย ฉบับปกสีเหลืองของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯศาสนาเป็นเรื่องของการปฏิบัติ
เรื่องของการดำเนินชีวิตหรือการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตจริง
การปฏิบัตินั้น ต้องมีหลักการที่แน่นอนอย่างใดอย่างหนึ่งที่ยอมรับว่าเป็นจริง
โดยมีจุดมุ่งหมายที่แสดงไว้อย่างชัดเจนด้วย
เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติ คือศาสนิกชน เริ่มต้นก็ต้อง
ยอมรับที่จะปฏิบัติตามหลักการของศาสนานั้น
ตามที่องค์พระศาสดา ที่ได้แสดงไว้ ซึ่งเราเรียกว่า คำสอน
ด้วยเหตุนี้ ศาสนิกจึงมุ่งไปที่ตัวคำสอนของพระศาสดา ซึ่งรวบรวม
และรักษาสืบทอดกันมาในสิ่งที่เรียกกันว่า คัมภีร์
บทความตอนหนึ่งของ หนังสือเรื่อง "พระไตรปิฎกสิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้"
จุดเริ่มความคิดรวบรวมรักษาพระพุทธศาสนาต้นแบบของการสังคายนา
ต่อมา พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระองค์จากเราไปแล้วถ้าเราต้องการพระพุทธศาสนา คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เราจะเอาจากที่ไหน พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว
ถ้าไม่มีการรวบรวมบันทึกคำสั่งสอนของพระองค์ไว้
พระพุทธศาสนาก็เป็นอันว่าหมดสิ้น
ฉะนั้น เรื่องต่อไปนี้สำคัญมากคือการรวบรวมและบันทึกจารึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้
ต่อจากนั้นก็นำสืบทอดกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน
ว่าทำอย่างไร พวกเราเวลานี้จึงโชคดีที่มีโอกาสรู้จักพระพุทธศาสนา
ขอย้อนไปเล่าว่า แม้แต่เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่พระพุทธเจ้าเองและพระสาวกองค์สำคัญ โดยเฉพาะพระสารีบุตร
ก็ได้คำนึงเรื่องนี้ไว้แล้วว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว
ถ้าไม่มีการรวบรวมประมวลคำสอนของพระองค์ไว้
พระพุทธศาสนาก็จะสูญสิ้น
ดังนั้น ทั้งๆที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ก็ได้มีการริเริ่ม
เป็นการนำทางไว้ให้เป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นหลังว่า
ให้มีการรวบรวมคำสอนของพระองค์ ซึ่งเราเรียกว่าสังคายนา
สังคายนา ก็คือการรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้แล้วทรงจำไว้เป็นแบบแผนอันเดียวกัน คือรวบรวมไว้เป็นหลัก
และทรงจำถ่ายทอดสืบมาเป็นอย่างเดียวกัน
ตัวอย่างในสมัยพุทธกาลก็มี เป็นพระสูตรหนึ่งเลย
ตอนนั้นก็ปลายพุทธกาลแล้วนิครนถนาฏบุตรผู้เป็นศาสดาของศาสนาเชนได้สิ้นชีวิตลง
สาวกของท่านไม่ได้รวบรวมคำสอนไว้ และไม่ได้ตกลงกันไว้ให้ชัดเจน
ปรากฏว่าเมื่อศาสดาของศาสนาเชนสิ้นชีวิตไปแล้ว
สาวกลูกศิษย์ลูกหาก็แตกแยกทะเลาะวิวาทกันว่า
ศาสดาของตนสอนว่าอย่างไร
ครั้งนั้น ท่านพระจุนทเถระได้นำข่าวนี้มากราบทูลแด่พระพุทธเจ้าและพระองค์ได้ตรัสแนะนำให้พระสงฆ์ทั้งปวง
ร่วมกันสังคายนาธรรมทั้งหลายไว้เพื่อให้พระศาสนา
ดำรงอยู่ยั่งยืนเพื่อประโยชน์สุขแก่พหูชน (ที.ปา.๑๑/๑๐๘/๑๓๙)
เวลานั้น พระสารีบุตรอัครสาวกยังมีชีวิตอยู่คราวหนึ่งท่านปรารภเรื่องนี้แล้วก็กล่าวว่า
ปัญหาของศาสนาเชนนั้น เกิดขึ้นเพราะว่าไม่ได้รวบรวมร้อยกรองคำสอนไว้
เพราะฉะนั้นพระสาวกทั้งหลายทั้งปวงของพระพุทธเจ้าของเรานี้
ควรจะได้ทำการสังคายนา
คือรวบรวมร้อยกรองประมวลคำสอน
ของพระองค์ไว้ให้เป็นหลักเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน
เมื่อปรารภเช่นนี้แล้วพระสารีบุตรก็ได้แสดงวิธีการสังคายนาไว้เป็นตัวอย่างโดยท่านได้รวบรวมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อธรรมต่างๆ
มาแสดงตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง
ไปจนถึงหมวดสิบ คือเป็นธรรมหมวด ๑ ธรรมหมวด ๒ ธรรมหมวด ๓
ไปจนถึงธรรมหมวด ๑๐ เมื่อพระสารีบุตรแสดงจบแล้ว
พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานสาธุการ (ที.ปา.๑๑/๒๒๕-๓๖๓/๒๒๔-๒๘๖)
หลักธรรมที่พระสารีบุตรได้แสดงไว้นี้จัดเป็นพระสูตรหนึ่งเรียกว่าสังคีติสูตร
แปลง่ายๆ ว่าพระสูตรว่าด้วยการสังคายนา หรือสังคีติ
นี้เป็นตัวอย่างที่พระอัครสาวกสูงสุดคือพระสารีบุตรได้กระทำไว้ แต่ท่านพระสารีบุตรเอง
ได้ปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
ก็เป็นอันว่าพระสารีบุตรไม่ได้อยู่ที่จะทำงานนี้ต่อ
แต่ก็มีพระสาวกผู้ใหญ่ที่ได้ดำเนินงานนี้ต่อมาโดยไม่ได้ละทิ้ง
กล่าวคือพระมหากัสสปเถระ
ซึ่งตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานนั้น เป็นพระสาวกผู้ใหญ่
มีอายุพรรษามากที่สุด
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานงานรักษาพระพุทธศาสนาก็เริ่มทันที
พระมหากัสสปเถระนั้นทราบข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ ๗ วัน
ขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่พร้อมด้วยหมู่ลูกศิษย์จำนวนมาก
เมื่อได้ทราบข่าวนั้นลูกศิษย์ของพระมหากัสสปะจำนวนมากซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่
ก็ได้ร้องไห้คร่ำครวญกัน ณ ที่นั้น
ก็มีพระภิกษุที่บวชเมื่อแก่องค์หนึ่ง
ชื่อว่าสุภัททะ ได้พูดขึ้นมาว่า ท่านทั้งหลายจะร้องไห้กันไปทำไม
พระพุทธเจ้าปรินิพพานนี้ก็ดีไปอย่าง คือว่า
ตอนที่พระองค์ยังอยู่นั้น พระองค์ก็คอยดูแล คอยกวดขัน
ตรัสห้ามไม่ให้ทำสิ่งโน้นสิ่งนี้ แนะนำให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ พวกเราก็ลำบาก
ต้องคอยระมัดระวังตัว ทีนี้ พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วนี่
พวกเราคงจะทำอะไรได้ตามชอบใจ ชอบอะไรก็ทำ ไม่ชอบอะไรก็ไม่ทำ
พระมหากัสสปเถระได้ฟังคำนี้แล้ว ก็นึกคิดอยู่ในใจแต่ไม่ได้กล่าวออกมา คือท่านนึกคิดว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปใหม่ๆ
แค่นี้ ก็ยังมีคนคิดที่จะทำให้เกิดความแปรปรวน
หรือประพฤติปฏิบัติให้วิปริตไปจากพระธรรมวินัย
ท่านก็เลยคิดว่าควรจะทำการสังคายนา
ท่านวางแผนไว้ในใจว่าจะชักชวนพระเถระผู้ใหญ่ซึ่งเป็นพระอรหันต์ทั้งหลายที่มีอยู่สมัยนั้น ซึ่งล้วนทันเห็นพระพุทธเจ้า
ได้ฟังคำสอนของพระองค์มาโดยตรงเป็นผู้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า
และได้อยู่ในหมู่สาวกที่เคยสนทนาตรวจสอบกันอยู่เสมอ
รู้ว่าอะไรเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
จะชวนให้มาประชุมกัน มาช่วยกันแสดง ถ่ายทอด รวบรวม
ประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตกลงวางมติไว้ ก็คือคิดว่าจะทำสังคายนา
แต่เฉพาะเวลานั้น ท่านต้องเดินทางไปที่ปรินิพพานและจัดการเรื่องการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระให้เสร็จเสียก่อน
ท่านจึงเดินทางไปยังเมืองกุสินารา
แล้วก็เป็นประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
ในพระราชูปถัมภ์ของกษัตริย์มัลละทั้งหลาย
เมื่องานจัดการเรื่องพระพุทธสรีระเสร็จแล้วพระมหากัสสปเถระก็ดำเนินงานตามที่ท่านได้คิดไว้
คือได้ชักชวนนัดหมายกับพระอรหันต์ผู้ใหญ่ เพื่อจะทำการสังคายนา
ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของงานใหญ่แห่งการสังคายนาซึ่งมีการเตรียมการถึง ๓ เดือน ซึ่งได้ที่ประชุมที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา
ณ ภูเขาชื่อเวภาระ เมืองราชคฤห์
พระเจ้าแผ่นดินตอนนั้นทรงพระนามว่าอชาตศัตรู
ซึ่งได้ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การสังคายนา ตั้งแต่การจัดเตรียมสถานที่
เมื่อจะทำสังคายนา ก็มีการคัดเลือกตัวบุคคลที่จะเข้าร่วมประชุมจึงคัดเลือกได้พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ที่เห็นร่วมกันว่า
เป็นผู้มีคุณสมบัติ มีความรู้ความสามารถ
เช่น เป็นหัวหน้าหมู่คณะ เป็นผู้ได้จำคำสอนของพระพุทธเจ้า
ไว้ได้มากและชัดเจน ในการประชุมนี้ พระมหากัสสปเถระทำหน้าที่เป็นประธาน
โดยเป็นผู้ซักถาม
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าเองทรงแบ่งไว้เป็น ๒ ส่วนเรียกว่าธรรมส่วนหนึ่ง และวินัยส่วนหนึ่ง
ธรรม คือหลักคำสอนว่าด้วยความจริงของสิ่งทั้งหลายพร้อมทั้งข้อประพฤติปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำตรัสแสดงไว้โดยสอดคล้องกับความจริงนั้น
ส่วนวินัย คือประมวลพุทธบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่างๆในการเป็นอยู่ หรือกฎระเบียบต่างๆ ของสงฆ์
ที่จะดำรงไว้ซึ่งภาวะอันเกื้อหนุนให้ภิกษุและภิกษุณีประพฤติ
ปฏิบัติตามธรรมนั้นอย่างได้ผลดี และรักษาพระศาสนาไว้ได้
ด้วยเหตุนี้จึงเรียกพระพุทธศาสนา ด้วยคำสั้นๆ ว่า ธรรมวินัย
ฝ่ายธรรมนั้น ผู้ที่ได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลาเพราะติดตามพระองค์ไป อยู่ใกล้ชิด เป็นผู้อุปัฏฐากของพระองค์
ก็คือพระอานนท์ ที่ประชุมก็ให้พระอานนท์เป็นผู้นำเอาธรรมมา
แสดงแก่ที่ประชุม หรือเป็นหลักของที่ประชุมในด้านธรรม
ส่วนด้านวินัย พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอุบาลีไว้ว่าเป็นเอตทัคคะที่ประชุมก็คัดเลือกพระอุบาลีให้มาเป็นผู้นำในด้านการวิสัชนาเรื่องของวินัย
ทั้งหมดนี้เราก็เรียกกันง่ายๆ ว่า สังคายนาพระธรรมวินัย
เมื่อได้ตัวบุคคลเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มประชุมกันอย่างที่กล่าวแล้วว่า ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา
โดยมีพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ เริ่มการประชุมเมื่อ
พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ ๓ เดือน
การประชุมดำเนินอยู่เป็นเวลา ๗ เดือน
จึงเสร็จสิ้น แสดงว่าเป็นงานที่ใหญ่มาก
เรื่องการทำสังคายนาครั้งแรกนี้ท่านเล่าไว้ในพระไตรปิฎกด้วย ผู้ต้องการความละเอียดสามารถไปอ่านได้เอง
(วินย.๗/๖๑๔-๖๒๘/๓๗๙-๓๙๔)
เมื่อสังคายนาพระธรรมวินัยก็ทำให้พระพุทธศาสนาเถรวาทเกิดขึ้นมา
วิธีการสังคายนา ที่เรียกว่าวิธีการร้อยกรองหรือรวบรวมพระธรรมวินัยหรือประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ก็คือ นำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาแสดงในที่ประชุม
แล้วก็มีการซักถามกัน จนกระทั่งที่ประชุมลงมติว่าเป็นอย่างนั้นแน่นอน
เมื่อได้มติร่วมกันแล้วในเรื่องใด ก็ให้สวดพร้อมกัน
การสวดพร้อมกันนั้น แสดงถึงการลงมติร่วมกันด้วยและเป็นการทรงจำกันไว้อย่างนั้นเป็นแบบแผนต่อไปด้วยหมายความว่า
ตั้งแต่นั้นไป คำสอนตรงนั้นก็จะทรงจำไว้อย่างนั้น
เมื่อจบเรื่องหนึ่งก็สวดพร้อมกันครั้งหนึ่ง อย่างนี้เรื่อยไป ใช้เวลาถึง ๗ เดือน
การสวดพร้อมกันนั้นเรียกว่า สังคายนาเพราะคำว่า “สังคายนา” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
“สังคีติ” แปลว่า สวดพร้อมกันคายนา หรือคีติ
(เทียบกับคีต ในคำว่าสังคีต) แปลว่าการสวด สํ แปลว่าพร้อมกันก็คือสวดพร้อมกัน
สังคายนา ถ้าเป็นชาวบ้านก็ร้องเพลงพร้อมกัน
เป็นอันว่า ผ่านเวลาไป ๗ เดือน พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ก็ได้ทำสังคายนา ประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้า
มาเป็นมติร่วมกันได้เรียบร้อย คำสอนที่รวบรวมประมวลไว้นี้
เป็นที่มั่นใจ เพราะทำโดยท่านที่ได้ทันรู้ทันเห็นทันเฝ้า
ทันฟังจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
คำสอนที่ลงมติกันไว้อย่างนี้ซึ่งเรานับถือกันมาเรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการของพระเถระ
คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ที่ว่าไปแล้วนี้
พระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าวมานี้เรียกว่าเถรวาท หมายความว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
คือพระธรรมวินัย ทั้งถ้อยคำและเนื้อความอย่างไรที่ท่านสังคายนากันไว้
ก็ทรงจำกันมาอย่างนั้น ถือตามนั้นโดยเคร่งครัด
เพราะฉะนั้นจึงต้องรักษาแม้แต่ตัวภาษาเดิมด้วย
หมายความว่ารักษาของแท้ของจริง
ภาษาที่ใช้รักษาพระธรรมวินัยไว้นี้ เรียกว่าภาษาบาลี
เพราะฉะนั้น คำสอนของเถรวาทก็รักษาไว้ในภาษา
บาลีตามเดิมคงไว้อย่างที่ท่านสังคายนา
พระธรรมวินัยสำคัญเพียงใดจึงทำให้ต้องมีการสังคายนา
ธรรมวินัย หรือหลักคำสอนที่สังคายนาไว้นี่แหละเป็นตัวพระพุทธศาสนา เพราะได้บอกแล้วว่า พระพุทธศาสนา
ก็คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรานับถือพระพุทธศาสนา
ก็คือเรานับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
แล้วปฏิบัติไปตามคำสั่งสอนนั้น พร้อมทั้งดูแลจัดสรรทำการต่างๆ
เพื่อให้ชาวพุทธทั้งหลายได้เรียนรู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น
การปฏิบัติอย่างนี้ก็เป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าเองได้ตรัสไว้คือเมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระองค์ได้ตรัสไว้เองว่า
พระองค์ไม่ได้ทรงแต่งตั้งพระภิกษุสาวกองค์ใดให้เป็นศาสดาแทนพระองค์
แต่พระองค์ตรัสไว้เป็นภาษาบาลีว่า
โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา.(ที.ม.๑๐/๑๔๑/๑๗๘)
แปลว่า : ดูกรอานนท์ ธรรมแลวินัยใดที่เราได้แสดงแล้ว และบัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย
ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ในเมื่อเราล่วงลับไป
หมายความว่าพระพุทธเจ้าตรัสให้พระธรรมวินัยคือคำสั่งสอนของพระองค์นี้ เป็นศาสดาแทนพระองค์
เพราะฉะนั้น การสังคายนาจึงถือว่าเป็นการปฏิบัติตามพุทธพจน์ที่เหมือนกับได้ทรงฝากฝังสั่งเสียไว้ว่า
ให้พระธรรมวินัย คือคำสั่งสอนของพระองค์เป็นศาสดาแทนพระองค์ด้วย
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ถ้าเราเคารพพระพุทธเจ้า เราก็ต้องรักษาพระธรรมวินัยไว้ให้ดี เพราะการรักษาพระธรรมวินัยที่สังคายนาไว้
ก็คือรักษาพระศาสดาของเราไว้ คือรักษาพระพุทธเจ้าไว้นั่นเอง
พระธรรมวินัย มาอย่างไรจึงเป็นพระไตรปิฎก
ขอกล่าวต่อไปว่า การสังคายนาที่บอกเมื่อกี้ว่าเป็นการประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้
หรือประมวลพระธรรมวินัยไว้นั้น นอกจากประมวลคือรวมมาแล้ว
ก็มีการจัดหมวดหมู่ไป ด้วย
การจัดหมวดหมู่นั้นก็เพื่อให้ทรงจำได้สะดวก
และง่ายต่อการแบ่งหน้าที่กันในการรักษา กับทั้งเกื้อกูลต่อการศึกษาค้นคว้าด้วย
นอกจากแบ่งโดยส่วนใหญ่เป็นธรรมกับวินัยแล้วก็ยังมีการจัดแยกซอยย่อยออกไปอีก
ธรรมนั้น แยกย่อยออกไปเป็น ๒ ส่วน เพราะธรรมนั้นมากมายเหลือเกินต่างจากวินัยซึ่งมีขอบเขตแคบกว่า
เพราะวินัยเป็นเรื่องของบทบัญญัติเกี่ยวกับการรักษาสังฆะ
คือคณะสงฆ์ไว้ เพื่อให้ชุมชนแห่งพระภิกษุ และพระภิกษุณี
ดำรงอยู่ด้วยดี แต่ธรรมเป็นคำสอนที่ครอบคลุมพระพุทธศาสนาทั้งหมด
สำหรับพุทธบริษัททั้ง ๔
เนื่องจากธรรมมีมากมาย จึงมีการแบ่งหมวดหมู่ออกไปอีก โดยแยกเป็นว่า
๑. ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไปตามกาลเทศะตามเรื่องราวที่เกิดขึ้น คือเสด็จไปพบคนโน้น เขาทูลถามเรื่องนี้
พระองค์ก็ตรัสตอบไป เสด็จไปพบชาวนา ทรงสนทนาโต้ตอบกับเขา
จนจบไป ก็เป็นเรื่องหนึ่ง เสด็จไปเจอกับพราหมณ์ ได้สนทนากับเขา
หรือตอบคำถามของเขา ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไปเจอกษัตริย์หรือเจ้าชาย
ก็สนทนากันอีกเรื่องหนึ่ง ธรรมที่ตรัสแสดงแก่บุคคลต่างๆ
ในสถานการณ์ต่างๆ แต่ละเรื่องๆ จบไปเรื่องหนึ่งๆ นี่ เรียกว่าสูตรหนึ่งๆ
ธรรมมาในรูปนี้มากมาย เรื่องหนึ่งๆก็มีสาระไปอย่างหนึ่ง ตามแต่ว่าพระองค์ได้ตรัสแก่บุคคลประเภทใด
เพื่อทรงชี้แจงอธิบายหรือตอบปัญหา เรื่องไหนตรงกับพื้นเพภูมิหลังความสนใจ
และระดับความรู้ความเข้าใจหรือระดับสติปัญญาของเขา
ฉะนั้นธรรมแบบนี้จึงเห็นได้ว่ามีเนื้อหาแตกต่างกันมาก
พอจบเรื่องนี้ที่ตรัสแก่ชาวนา ซึ่งเป็นธรรมระดับหนึ่ง
เพียงเปลี่ยนไปอีกเรื่องหนึ่งเท่านั้น ก็เป็นธรรมคนละด้านคนละระดับกันเลย
ตัวอย่างเช่นตรัสกับชาวนา เป็นเรื่องการทำมาหากินหรือเรื่องการหว่านพืช ก็อาจจะตรัสเกี่ยวกับความขยันหมั่นเพียร
หรืออาจจะเทียบกับการปฏิบัติของพระภิกษุก็สุดแต่ แต่พอไปอีกเรื่องหนึ่ง
พระองค์สนทนากับพราหมณ์ ก็อาจจะตรัสเรื่องวรรณะ
หรือเรื่องไตรเพทของพราหมณ์ หรือเรื่องการบูชายัญ ดังนี้เป็นต้น
ธรรมที่ตรัสแบบนี้ พอเปลี่ยนเรื่องไป เนื้อหาก็เปลี่ยนไปห่างกันมาก ฉะนั้นเนื้อหาสาระจึงไม่ไปตามลำดับ แต่ละเรื่องๆ
นั้นก็เรียกว่าสูตรหนึ่งๆ
ธรรมที่ตรัสแสดงแบบนี้ คือตรัสแสดงแก่บุคคลโดยปรารภเรื่องราว เหตุการณ์ สถานการณ์คนละอย่างๆ
นี้ รวมไว้ด้วยกัน จัดไว้พวกหนึ่ง เรียกว่า พระสูตร
๒. ธรรมอีกประเภทหนึ่งคือธรรมที่แสดงไปตามเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือเหตุการณ์
ไม่คำนึงว่าใครจะฟังทั้งสิ้น เอาแต่เนื้อหาเป็นหลัก
อย่างที่เรียกกันในปัจจุบันว่าเป็นวิชาการล้วนๆ คือยกหัวข้อธรรมอะไรขึ้นมา
ก็อธิบายให้ชัดเจนไปเลย เช่นยกเรื่องขันธ์ ๕ มา ก็อธิบายไปว่าขันธ์ ๕ นั้น
คืออะไร แบ่งออกเป็นอะไรบ้าง แต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไรๆ
อธิบายไปจนจบเรื่องขันธ์ ๕ หรือว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทก็อธิบายไปในแง่ด้านต่างๆ
จนกระทั่งจบเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้น ธรรมที่แสดงเอาเนื้อหาเป็นหลักอย่างนี้
ก็จัดเป็นประเภทหนึ่ง เรียกว่า พระอภิธรรม ส่วนวินัยก็ยังคงเป็นวินัยอยู่เท่านั้น
เรียกกันว่า พระวินัย
ตอนนี้จะเห็นว่า เมื่อแยกธรรมเป็น ๒ ส่วนคือเป็นพระสูตรกับอภิธรรม แล้วมีวินัยเดิมอีกหนึ่ง
ธรรมเป็น ๒ วินัย ๑ รวมกันก็เป็น ๓
ถึงตอนนี้ก็เกิดเป็นการจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยอีกแบบหนึ่ง
เป็นปิฎก ๓ ที่เรียกว่า พระไตรปิฎก
ปิฎก แปลว่าตะกร้า หรือกระจาดโดยมีความหมายเชิงเปรียบเทียบว่าเป็นที่รวบรวม
เพราะกระจาด ตะกร้า กระบุง บุ้งกี๋นั้น เป็นที่รวบรวมทัพสัมภาระ
ในที่นี้ก็คือรวบรวมจัดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นประเภทๆ
เป็นหมวดๆ จึงเป็น ๓ ปิฎก เรียกว่าไตรปิฎก คือ
๑. พระวินัยปิฎก เป็นที่รวบรวมพระวินัยซึ่งประกอบด้วยกฎเกณฑ์กติกา สำหรับรักษาภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ไว้
๒. พระสุตตันปิฎก เป็นที่รวบรวมพระสูตรทั้งหลายคือธรรมที่ตรัสแสดงแก่บุคคล หรือปรารภเหตุการณ์หรือสถานการณ์อะไรบางอย่าง
เป็นแต่ละเรื่องๆ ไป
๓. พระอภิธรรมปิฎก เป็นที่รวบรวมคำอธิบายหลักคำสอนที่เป็นเนื้อหาสาระ เป็นหลักการแท้ๆ หรือเป็นวิชาการล้วนๆ
พระไตรปิฎกสำคัญเพียงใดเมื่อพูดมาถึงขั้นนี้ก็รวมความได้ว่า พระไตรปิฎก
ก็คือที่รวบรวมพระธรรมวินัย คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่เรียกว่าเป็นพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
นี่แหละคือศาสดาของชาวพุทธทั้งหลาย เราจึงได้ถือกันมาเป็นหลักว่า
จะต้องรักษา แล้วก็เล่าเรียน และปฏิบัติตามหลักคำสอนในพระไตรปิฎกนี้
พร้อมกันนั้นก็ใช้คำสั่งสอนคือพระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกนี้แหละ เป็นหลักเป็นเกณฑ์มาตรฐาน
ในการตัดสินความเชื่อถือและการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายว่า
เป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามที่ได้รวบรวมประมวลสังคายนา
และรักษาสืบต่อไว้ในพระไตรปิฎก หรือคลาดเคลื่อนจากนั้น
ก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา ถ้าถูกต้องตามนั้นก็เป็นพระพุทธศาสนา
สิ่งที่เราเล่าเรียนปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นด้านวินัยของพระภิกษุสงฆ์เช่น การบวช การมีโบสถ์ การสร้างกุฏิ การกรานกฐิน และสังฆกรรมต่างๆ
การใช้ไตรจีวรของพระภิกษุ การที่พระภิกษุทำอะไรได้หรือไม่ได้
การที่จะต้องอาบัติต่างๆ มีปาราชิกเป็นต้น หรือการที่ชาวบ้านจะทำบุญทำทาน
คำว่าทานก็ดี คำว่าบุญก็ดี เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญาไตรสิกขา ภาวนาต่างๆ
ขันธ์ ๕ ไตรลักษณ์ อริยสัจจ์ ตลอดถึงพระนิพพาน
ก็ล้วนมาจากพระไตรปิฎกทั้งนั้น ถ้าไม่มีพระไตรปิฎก เราก็ไม่รู้จักถ้อยคำเหล่านี้เลย
และพระภิกษุก็ไม่มีมาตรฐานที่จะวัดว่าตัวประพฤติปฏิบัติอย่างไรถูก
อย่างไรผิด อะไรเป็นอาบัติปาราชิก อะไรเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์
ไม่มีพระไตรปิฎกเสียอย่างเดียวเป็นอันหมดสิ้น คือ หมดสิ้นพระพุทธศาสนานั่นเอง
เป็นอันว่าเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่เราก็ฟังคำสั่งสอนของพระองค์จากพระพุทธเจ้าโดยตรง
แต่เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เราต้องการพระพุทธศาสนา
คือ ต้องการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เราจะไปเอาจากที่ไหน
ก็ต้องไปเอาจากที่ท่านรวบรวมประมวลไว้ ซึ่งถ่ายทอดสืบต่อกันมาในพระไตรปิฎก
เพราะพระไตรปิฎกเป็นที่รักษาสืบทอดพระพุทธศาสนาไว้
หรือรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้
พระไตรปิฎกยุคท่องจำ แม่นยำแค่ไหน
ทีนี้การรักษาสืบต่อพระไตรปิฎกนั้นท่านทำกันมาอย่างไร เรื่องนี้ต้องแบ่งเป็น ๒ ยุค คือ
๑. ยุคที่สืบต่อมาด้วยการทรงจำด้วยปากเปล่า เรียกว่ามุขปาฐะหรือมุขปาฐ และ
๒. ยุคที่ได้จารึกเป็นตัวอักษร เช่นในใบลาน เป็นต้น
ช่วงแรก เป็นยุคของการรักษาไว้ด้วยการทรงจำโดยสวด หรือสาธยาย แต่ก่อนนี้อาตมาเองก็เคยสงสัย
เหมือนหลายคนสงสัยว่า เมื่อรักษาด้วยการทรงจำ
ก็น่ากลัวว่าจะมีการคลาดเคลื่อนเลอะเลือนหลงลืมไป
แต่เมื่อเวลาผ่านมา ได้พิจารณาไตร่ตรอง และได้เห็นหลักฐานและหลักการต่างๆ
ก็กลายเป็นว่า การรักษาด้วยการท่อง โดยสวดแล้วทรงจำไว้นั่นแหละ
เป็นวิธีที่แม่นยำยิ่งกว่ายุคที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ที่ว่าอย่างนั้นเพราะอะไร? เพราะว่าการท่องที่จะทรงจำพระไตรปิฎก หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่เรียกว่า ธรรมวินัยนั้น ท่านทำด้วยวิธีสวดพร้อมกัน
คือ คล้ายกับที่เราสวดมนต์กันทุกวันนี้แหละ เวลาสวดมนต์พร้อมกัน
เช่นสวดกัน ๑๐ คน ๒๐ คน ๕๐ คน ๑๐๐ คนนั้น
จะต้องสวดตรงกันหมดทุกถ้อยคำจะตกหล่นตัดขาดหายไปก็ไม่ได้
จะเพิ่มแม้คำเดียวก็ไม่ได้ เพราะจะขัดกัน ดีไม่ดีก็สวดล้มไปเลย
เพราะฉะนั้น การที่จะสวดโดยคนจำนวนมากๆ ให้เป็นไปด้วยดีให้สอด คล้องกลมกลืนกัน ก็จะต้องสวดเหมือนกันหมด
ท่านจึงรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ด้วยวิธีนี้
คือทรงจำพระไตรปิฎกด้วยวิธีสวดพร้อมกันจำนวนมากๆ
พระสงฆ์ทั้งหลายนั้นท่านเห็นความสำคัญของพระไตรปิฎกเพราะรู้อยู่ว่า นี้แหละคือพระพุทธศาสนา ถ้าหมดพระไตรปิฎกเมื่อไร
พระพุทธศาสนาก็หมดไปเมื่อนั้น ถ้าพระไตรปิฎกเคลื่อนคลาดไป
พระพุทธศาสนาก็เคลื่อนคลาดไปด้วย
พระเถระรุ่นก่อนนั้น ถือความสำคัญของพระไตรปิฎกเป็นอย่างยิ่งแม้แต่ในยุคที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ก็ต้องถึงกับพูดกันว่า
อักษรจารึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านี้ อักษรเดียวมีค่าเท่ากับพระพุทธรูปองค์หนึ่ง
เพราะฉะนั้น ถ้ามองในแง่บวก ก็คือว่าต้องช่วยกันรักษาไว้ให้ดี
แม้แต่จารึกหรือสนับสนุนการจารึกเพียงนิดหน่อยก็เป็นบุญเป็นกุศลมาก
แต่มองในแง่ลบก็คือ ถ้าใครไปทำให้ผิดพลาด แม้แต่อักษรเดียว
ก็เหมือนทำลายพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เป็นบาปมาก
นี่แหละ ท่านให้ความสำคัญถึงอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระเถระรุ่นก่อน
ท่านจึงระวังมากในเรื่องการรักษาทรงจำพระไตรปิฎกไม่ให้ผิดเพี้ยน รวมความว่า
๑. มีความระมัดระวังเห็นเป็นสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นตัวพระพุทธศาสนา
๒. ถือเป็นงานของส่วนรวม โดยเฉพาะพระเถระผู้ใหญ่ผู้นำหมู่คณะ และพระสงฆ์ทั้งหมดในพระพุทธศาสนา
จะต้องเอาธุระในการดูแลรักษาอย่างยิ่ง
เป็นอันว่า การรักษาด้วยวิธีเดิม คือการทรงจำด้วยการสาธยายนั้นเป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด เพราะรักษาโดยส่วนรวมที่สวดพร้อมกัน
แต่พร้อมกันนั้นแต่ละองค์ก็มีหน้าที่ต้องท่องจำอยู่แล้ว โดยจะต้องมีการซักซ้อม
และทบทวนกันอยู่เสมอ ซึ่งปรากฏแม้แต่ในสมัยนี้ ในพม่าก็ยังรักษาประเพณีนี้ไว้
กล่าวคือในยุคนี้ ทั้งๆ ที่มีคัมภีร์จารึกและพิมพ์เป็นเล่มหนังสือแล้ว
เขาก็ยังพยายามสนับสนุนพระภิกษุให้ทรงจำพระไตรปิฎก
ในพม่าปัจจุบันยังมีประเพณีเป็นทางการของบ้านเมืองคือ มีการสอบพระภิกษุที่มาสมัครเพื่อจะแสดงความสามารถในการทรงจำพระไตรปิฎก
พระภิกษุองค์ใดสอบผ่านแสดงว่าทรงจำพระไตรปิฎกได้หมด
ซึ่งถ้านับเป็นตัวหนังสือพิมพ์เป็นอักษรไทย ก็ได้ ๔๕ เล่ม ๒๒,๐๐๐ กว่าหน้า
ถ้าท่านจำได้หมด ทางการจะตั้งให้เป็น พระติปิฏกธร แปลว่า ผู้ทรงจำพระไตรปิฎก
ได้เป็นพระเป็นที่เคารพนับถือองค์หนึ่ง และทางรัฐบาลจะเลี้ยงดูโยมพ่อแม่ของพระภิกษุนั้น
และอุปถัมภ์บำรุงด้วยประการต่างๆ
เดี๋ยวนี้ก็ยังมีพระติปิฏกธรคือพระภิกษุรูปเดียวที่สามารถจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด๒๒,๐๐๐ กว่าหน้า
ให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ไม่ใช่สิ่งเหลือวิสัย นี่คือองค์เดียวเท่านั้น ก็ยังจำไหว
ในสมัยโบราณต้องใช้วิธีทรงจำโดยท่องปากเปล่าอย่างนี้เพราะไม่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะฉะนั้น
พระภิกษุทั้งหลายก็ทรงจำกันไว้ องค์ไหนทรงจำไว้ได้มากที่สุด
ก็จะได้รับความเชื่อถือ และเคารพนับถือ
พระไตรปิฎกยุคจารึกเป็นลายลักษณ์ถือเป็นหลักของชาติ จึงคงอยู่ได้ด้วยดี
ต่อมาถึง พ.ศ.ใกล้ ๕๐๐ จึงได้เริ่มมีการใช้วิธีจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงในใบลาน พอถึงยุคจารึกลงในใบลานนี้แหละ
กลายเป็นยุคที่จะมีความคลาดเคลื่อนได้ง่าย เพราะคนเริ่มประมาทว่า
เออ เรามีใบลาน มีหนังสือที่จารึกไว้แล้ว
อยากรู้ก็ไปเปิดดูและตรวจสอบได้ง่าย เราไม่ต้องจำให้มาก
ไปๆ มาๆ การสวดสาธยายพระไตรปิฎกก็เหลืออยู่แค่สวดมนต์
อย่างทำวัตรสวดมนต์ที่เราเห็นๆ กันอยู่ คนก็จำพุทธพจน์ได้น้อยลงๆ
เหลือน้อยลงไปทุกที
นอกจากนั้น ในการคัดลอกเป็นลายลักษณ์อักษรที่เรียกว่าจาร เวลาคัดลอกกันทีหนึ่ง ก็อดไม่ได้ที่จะมีการตกหล่นหรือผิดเพี้ยน
เช่นตัว จ เป็น ว หรือตัว ว เป็น จ เป็นต้น เพราะฉะนั้น
จึงต้องมีการคัดลอกในระดับที่เป็นทางการใหญ่ของคณะสงฆ์ทั้งหมด
หรือเป็นระดับของประเทศชาติ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ประเทศพุทธศาสนาทุกประเทศ
จะถือเรื่องนี้เป็นสำคัญ จะต้องมีพระไตรปิฎกฉบับหลวงเป็นของราชการ
เป็นของแผ่นดิน เป็นของประเทศชาติ รักษาไว้เป็นหลักของกลาง
แล้วมาคัดลอกต่อๆ กันไป
นานๆ จึงต้องมีการมาประชุมกันระดับชาติแล้วก็เอามาตรวจสอบกัน เอามาทานกัน
ตรงไหนตกหล่น ผิดพลาดไป ก็ทำเชิงอรรถไว้
คือถือเรื่องความบริสุทธิ์บริบูรณ์
ของพระไตรปิฎกเป็นเรื่องสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา
เพราะนี้คือองค์แทนที่แท้ของพระพุทธเจ้า
ที่เป็นพระศาสดา และเป็นตัวพระพุทธศาสนา
จะเห็นว่า ประเทศพุทธศาสนาทุกประเทศถือเรื่องพระไตรปิฎกเป็นหลักสำคัญยิ่ง เวลานำพระพุทธศาสนาไปประเทศต่างๆ
ก็คือจะต้องนำพระไตรปิฎกไป อย่างพระเจ้าอโนรธามังช่อ
ที่เป็นมหาราชของพุกาม ผู้เป็นต้นความยิ่งใหญ่ของพม่า
ที่ปราบมอญลงได้ ตอนนั้นมอญนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้าอนุรุทธมหาราช
หรือพระเจ้าอโนรธามังช่อไปปราบมอญได้แล้ว หันมานับถือพระพุทธศาสนา
ก็นำเอาพระไตรปิฎกจากมอญไปยังพุกาม
พระภิกษุทั้งหลายเดินทางไปมาระหว่างประเทศในสมัยโบราณก็เพื่อศึกษาพระไตรปิฎก คัดลอกพระไตรปิฎก และอรรถกถา
พระเจ้าแผ่นดินไทยแต่ละยุค เวลาสร้างบ้านเมืองใหม่ก็ทรงถือเรื่องพระไตรปิฎกเป็นการสำคัญ เช่นเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก
ถูกพม่าเผา พระเจ้ากรุงธนบุรีรวบรวมประเทศชาติได้
ทรงตั้งเมืองหลวงใหม่ที่กรุงธนบุรี พอตั้งเมืองหลวงเสร็จ
ก็จัดการเรื่องคณะสงฆ์ หาพระภิกษุที่น่าเคารพนับถือมา
สถาปนาเป็นองค์สมเด็จพระสังฆราช
เสร็จแล้วภาระใหญ่อันสำคัญที่พระองค์ทำ ก็คือให้รวบรวมพระไตรปิฎก
เพราะว่าอยุธยาถูกเผา พระคัมภีร์ถูกไฟไหม้ไปแล้ว
ก็โปรดให้ไปรวบรวมพระไตรปิฎกจากหัวเมือง ทั้งเมืองเหนือ
เมืองใต้ เอามาเลือกคัดจัดตั้งเป็นสมบัติกลางไว้ที่เมืองหลวง
เพื่อเป็นหลักของบ้านเมืองต่อไป
พอมาถึงแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ สมัยกรุงเทพฯก็เหมือนกันพอเริ่มตั้งกรุง เมื่อจัดบ้านเมืองพอเข้าที่ สิ่งที่พระองค์ทรงรีบทำ
คือเรื่องของพระไตรปิฎก ถึงกับมีการสังคายนาของกรุงเทพฯ
ขึ้นมา ครั้นสังคายนาเสร็จเรียบร้อย สอบทานได้พระไตรปิฎกมาเป็นหลัก
ก็จัดตั้งเป็นฉบับหลวงของแผ่นดิน จึงเป็นที่รู้กันว่า
การรักษาพระไตรปิฎกเป็นงานสำคัญอย่างยิ่งยวดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
ในยุคทรงจำด้วยปาก การรักษาพระไตรปิฎกก็คือ ท่องพร้อมกันสวดพร้อมกัน มาสอบทานกันด้วยวาจาอยู่เสมอ
ต่อมาในยุคที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็คือเอาคัมภีร์ที่จารึกไว้ทั้งหลาย
มาเทียบเคียงสอบทานกันอยู่เสมอ
การสอบทานกันนี้ เป็นความหมายของการสังคายนาในยุคหลังซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่า พระไตรปิฎกของเราที่เป็นบาลี จะไปอยู่ในพม่า
ไปเป็นของสิงหลอยู่ในลังกา ไปอยู่ในประเทศไทย
หรือไปอยู่ในประเทศไหน แม้แต่ฝรั่งเอาไปคัดลอกเป็นฉบับอักษรโรมัน
ก็เหมือนกันหมด เนื้อหาอย่างเดียวกัน จะมีแปลกไปก็เพราะพิมพ์ผิดนิดๆ
หน่อยๆ อย่างของเรามีอยู่แห่งหนึ่ง ตกหล่นไป ยาวหน่อย สักครึ่งค่อนหน้า
ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่มากแล้ว
หมายความว่า พระไตรปิฎกบาลีของเถรวาทเรานี้ไม่ว่าจะเป็นของประเทศไหน ทั้งๆ ที่อยู่ห่างไกลกันไปแสนนาน
ก็ยังเหมือนกัน เนื้อหาอย่างเดียวกัน แสดงถึงการที่ท่านให้ความสำคัญกับการรักษา
ในเวลาที่เรามีการตรวจชำระพระไตรปิฎกครั้งหนึ่งเราก็เอาของทุกประเทศมาสอบทานเทียบเคียงกัน
เพื่อดูว่ามีข้อความถ้อยคำหรืออักษรตัวไหนผิดเพี้ยนกันไหม
แม้แต่เล็กๆ น้อยๆ เพียงว่า อักษร จ เป็น ว เราก็จะทำเชิงอรรถไว้ว่า
ตรงนี้ฉบับของเราเป็นอย่างนี้ ฉบับพม่าหรือฉบับไหนเป็นอย่างนั้น
อย่างชื่อพระอัญญาโกณฑัญญะ ก็มีการผิดเพี้ยนกันไปนิดหน่อย
ฉบับของเราเป็นอัญญาโกณฑัญญะ ฉบับอักษรโรมันของ
Pali Text Society เป็นอัญญาตโกณฑัญญะ เป็นต้น
ความแตกต่างแม้แต่นิดเดียว เราก็บันทึกไว้ให้รู้ในเชิงอรรถ
ต้องเข้าใจให้ชัดแค่ไหนใช่ แค่ไหนไม่ใช่สังคายนา
การสังคายนานั้นต้องให้รู้ว่าเป็นการที่จะรักษาคำสอนเดิมเอาไว้ให้แม่นยำที่สุดไม่ใช่ว่าพระภิกษุที่สังคายนามีสิทธิ์เอาความคิดเห็นของตนใส่ลงไป
การสังคายนา ก็คือ การมาทบทวนซักซ้อมตรวจสอบคัมภีร์ให้ตรงตามของเดิม
และซักซ้อมตรวจสอบคนที่ไปทรงจำ หรือไปนับถืออะไรต่างๆ
ที่อาจจะผิดเพี้ยนไป ให้มาทบทวนตัวเอง ให้มาซักซ้อมกับที่ประชุม
ให้มาปรับความเห็น ความเชื่อ การปฏิบัติของตน
ให้ตรงตามพระไตรปิฎกที่รักษากันมาอย่างแม่นยำ ที่เป็นหลักกลางนี้
บางคนเข้าใจผิดว่า ในการสังคายนานี้ ผู้ที่เข้าร่วมสังคายนาจะไปปรับไปแต่งไปทำอะไรกับพระไตรปิฎก
ดีไม่ดีอาจจะถึงกับเข้าใจว่ามาแต่งพระไตรปิฎกกันใหม่
ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปไกล
ซึ่งแสดงว่าไม่รู้จักการสังคายนา และไม่รู้เรื่องอะไรเลย
เพราะฉะนั้น จะต้องย้ำกันว่า การสังคายนาพระไตรปิฎกก็คือ การมาทบทวนตรวจสอบซักซ้อมกันในการที่จะรักษา
พระไตรปิฎกของเดิม ที่ท่านสังคายนาไว้ ในการสังคายนาครั้งที่ ๑
เมื่อ ๓ เดือน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ว่าเป็นอย่างไร
ก็ให้คงอยู่อย่างนั้น อย่างแม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
อะไรที่คลาดเคลื่อน ใครทรงจำผิดไป ก็ให้มาปรับเข้ากับของเดิมของแท้นี้เสีย
เพราะว่าเมื่อเรารักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า
ก็คือเราจะต้องเอาคำตรัสของพระองค์ของเดิมไว้ให้ได้ ถ้าคำสอนคำตรัสเดิมหมดไป
ก็คือพระพุทธศาสนาหมดไปแล้ว
แต่เราก็ต้องรู้ด้วยว่าในพระไตรปิฎกไม่ใช่มีเฉพาะคำตรัสของพระพุทธเจ้าอย่างเดียว
คำของพระสาวกก็มี เช่น คำของพระสารีบุตรที่ได้แสดงวิธีสังคายนาเป็นตัวอย่างไว้นั้น
ก็เป็นพระสูตรอยู่ในพระไตรปิฎก ชื่อ สังคีติสูตร
แต่ธรรมะที่พระสารีบุตรนำมาสังคายนาไว้ในสังคีติสูตรนั้น
ก็คือคำตรัสของพระพุทธเจ้า หรือธรรมที่พระพุทธเจ้า
ได้ทรงแสดงไว้นั่นเอง นอกจากนั้นก็มีคำสนทนากับผู้อื่น ซึ่งมีคำของผู้อื่นอยู่ด้วยในนั้น
หลักคำสอนอะไรเก่าๆ ก่อนพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงยอมรับทรงนำมาเล่าให้นับถือปฏิบัติกันต่อไป ก็มาอยู่ในพระไตรปิฎกด้วย
อย่างเรื่องชาดก เฉพาะส่วนที่เป็นตัวคำสอนแท้ๆ
คัมภีร์ที่นิพนธ์แม้หลังพุทธกาลก็มีบ้าง อย่างในสมัยสังคายนาครั้งที่ ๓สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานสังคายนา
ท่านได้เห็นว่า พระในสมัยนั้นบางพวกมีความเชื่อถือวิปริตผิดแผกแตกออกไป
ท่านก็เรียบเรียงคัมภีร์ขึ้นมาเล่มหนึ่ง เพื่อวินิจฉัยความเชื่อถือ
หรือการสั่งสอนที่ผิดพลาดเหล่านั้นแต่การวินิจฉัยนั้นก็เป็นเพียงว่าท่านมาเชื่อมโยง
โดยยกเอาคำสอนคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่โน้น
ที่นี่ ในเรื่องเดียวกันนั้น มารวมกันไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง
เพื่อแสดงให้เห็นว่า เรื่องนั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร
เพื่อจะวินิจฉัยความเชื่อหรือคำสอนของผู้ที่เชื่อผิดพลาดไปนั้น
อย่างนี้ก็กลายเป็นคัมภีร์ใหม่ แต่แท้จริง ก็เป็นการนำเอาพุทธพจน์ในเรื่องนั้นๆ
มารวมไว้ในอีกลักษณะหนึ่ง โดยมีเรื่องราว หรือข้อคิด หรือข้อพิจารณาอะไรอย่างหนึ่งเป็นแกน
แต่ก็อย่างที่กล่าวแล้วว่า พระไตรปิฎกนี้เป็นประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน เป็นของส่วนรวมที่พระสงฆ์ทั้งหมดโด
ยเฉพาะท่านที่เป็นครูอาจารย์และพระเถระที่รับผิดชอบการพระศาสนาต่างก็คอยจับตา
คอยระแวดระวัง ถือเป็นสำคัญ ฉะนั้นใครจะไปเที่ยวใส่เติมอะไรลงไปไม่ได้
จะต้องเป็นที่ยอมรับกันอย่างแน่นอน และไม่ใช่ประเทศเดียวรักษาไว้
หลายๆ ประเทศต่างก็มี แล้วก็ต้องคอยทานเทียบกัน
หมั่นตรวจสอบไม่ให้คลาดเคลื่อนกันไป
รวมความก็คือให้จำไว้เลยว่า ประเทศพุทธศาสนาเถรวาททั้งหมดมีพระไตรปิฎกชุดเดียวกัน ซึ่งเนื้อหาเหมือนกันทั้งหมด
แม้จะต่างกันในตัวอักษร จ ว บ้าง บางแห่ง หรือตกหล่นบางคำบ้าง
ก็น้อยเต็มที ความสำนึกตระหนักมั่นนี้ อย่าว่าแต่ต่างประเทศเลย
แม้แต่ประเทศไทยเรา ต่อไป ถ้าไม่เห็นความสำคัญ
เราเองก็อาจจะทำให้เลือนลางคลาดเคลื่อน
เวลาแปลคำว่า “สังคายนา” เป็นภาษาอังกฤษเรามักไปเทียบกับภาษาฝรั่ง เช่น Council อย่างของศาสนาคริสต์
เขามี Vatican Council เป็นต้น เราก็แปลว่าเป็นการสังคายนา
อันนั้นเป็นการแปลเพียงเทียบในบางแง่ความหมาย ซึ่งที่จริงไม่
เหมือนกันเลย
การประชุม Council ของศาสนาคริสต์นั้นเป็นอีกแบบหนึ่งซึ่งเป็นการมาตกลงกันกำหนดหลักความเชื่อ
และแม้แต่การวางนโยบายในการเผยแผ่ศาสนาของเขา
แต่การสังคายนาในพระพุทธศาสนาเป็นการรักษา
คำสอนเดิมของพระพุทธเจ้าไว้ให้แม่นยำที่สุด
ไม่ให้ใครมาเที่ยวแก้ไขให้คลาดเคลื่อนหรือตัดแต่งต่อเติม
จะมาทำให้ตกหล่นก็ไม่ได้ ต่อเติมก็ไม่ได้ ต้องรักษาไว้ให้แม่นยำที่สุด
เราเพียงมาตรวจเช็ค มาซักซ้อม ทบทวนกัน
ใครที่เชื่อถือหรือสั่งสอนคลาดเคลื่อน หรือผิดแผกไป ก็มาปรับให้ตรงตามของเดิม
เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาเถรวาทจึงมีความภูมิใจโดยชอบธรรมว่าเรารักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้เป็นแบบเดิมแท้ ส่วนพระสูตรต่างๆ
ของพระพุทธศาสนาแบบมหายานที่เป็นอาจริยวาท/อาจารยวาท
เดี๋ยวนี้ก็รู้กันหมดแล้วว่าเป็นของที่แต่งขึ้นภายหลัง
ไม่รักษาคำสอนเดิมแท้ๆไว้ ก็เลยคลาดเคลื่อนหรือหาย
คัมภีร์ส่วนมากก็สาบสูญไป เขาก็เลยมายอมรับกันว่า
คำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้าที่จะหาได้ครบสมบูรณ์ที่สุด
ก็ต้องมาดูในพระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธศาสนาเถรวาทของเรานี้
เรื่องนี้เป็นที่ยอมรับกันเป็นสากล คือนักปราชญ์ วงวิชาการทั่วโลก
จะเป็นมหายาน หรือเถรวาท หรือเป็นวัชรยาน ก็รู้กันทั้งนั้น
ควรเห็นคุณค่าของอรรถกถาที่ค้ำชูอยู่เคียงข้างพระไตรปิฎก
เมื่อถือพระไตรปิฎกเป็นมาตรฐานชั้นหนึ่งแล้วต่อจากนั้น ก็จะมีการปิดรายการว่า เอาละ พระไตรปิฎกมีแค่นี้
ต่อจากนี้พระเถระ พระอาจารย์ผู้ใหญ่ ที่เป็นนักปราชญ์
ก็ทำหน้าที่ช่วยกันรักษาพระไตรปิฎกนี้ไว้
นอกจากรักษา ท่านก็มีหน้าที่อธิบายด้วยเพราะต้องสั่งสอนลูกศิษย์จำนวนมากมาย
ซึ่งเมื่อศึกษาพระไตรปิฎกนั้น ก็อาจไปติดขัด
ไม่เข้าใจบางส่วนบางตอนที่ยาก พระอาจารย์ผู้ใหญ่เหล่านี้ที่ท่านสืบต่อคำสอนกันมา
และถ่ายทอดคำอธิบายกันมาเรื่อย ตั้งแต่สมัยพุทธกาล
พระเถระจนถึงพระมหาเถระผู้เป็นครูอาจารย์เหล่านี้
ก็อธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน
หรือผู้ที่ศึกษาค้นคว้า แล้วคำอธิบายเหล่านี้ก็มารวบรวมกัน
เป็นคัมภีร์ระดับรองจากพระไตรปิฎก
เรียกชื่อว่า “อรรถกถา” คือไม่จัดรวมเข้าในพระไตรปิฎก
ตอนนี้เท่ากับมีคัมภีร์ ๒ ระดับ
ระดับที่ ๑ คัมภีร์ที่จารึกพุทธพจน์พร้อมทั้งเรื่องเกี่ยวข้องที่เป็นหลักฐานดั้งเดิม
เป็นมาตรฐานใหญ่ เป็นเกณฑ์ตัดสินพระพุทธศาสนา เรียกว่า พระไตรปิฎกและ
ระดับที่ ๒ คัมภีร์เคียงข้างพระไตรปิฎกซึ่งมีมาแต่เดิมเหมือนกัน โดยถ่ายทอดกันมา
เป็นคำอธิบายพระไตรปิฎกนั้นอีกทีหนึ่ง เรียกว่า อรรถกถา
น่าสังเกตว่า การรักษาพระไตรปิฎกกับการรักษาอรรถกถานี้ต่างกัน คือ พระไตรปิฎกนั้นจะต้องรักษาไว้อย่างเดิม
ตัวภาษาก็ต้องของเดิม คือภาษาบาลี แต่อรรถกถา
ซึ่งเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก มุ่งให้ผู้ศึกษาใช้ประกอบการศึกษาให้เข้าใจพระไตรปิฎก
เพราะฉะนั้นอย่างในลังกาสมัยก่อน เดิมนั้นก็รักษากันมาด้วยภาษาสิงหล
ซึ่งเป็นภาษาของชาวลังกา หมายความว่า
ผู้ศึกษาเรียนพระไตรปิฎกโดยอาศัยคำอธิบายของอรรถกถา
จึงเรียนพระไตรปิฎกที่เป็นภาษาบาลี ด้วยอรรกถาคือ
คำอธิบายที่เป็นภาษาสิงหลของชาวลังกาเอง
เป็นเช่นนี้จนกระทั่งต่อมา พ.ศ. ๙๐๐ เศษพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งอยู่ในอินเดีย จึงได้เดินทางมายังลังกา
และแปลอรรถกถาจากภาษาสิงหลกลับเป็นภาษาบาลี
ตอนนั้น ในอินเดีย พระพุทธศาสนาเสื่อมมากแล้ว
กลายเป็นว่าศูนย์กลางพระพุทธศาสนาเถรวาทได้มาอยู่ในลังกา
พระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งอยู่ในอินเดีย ต้องการจะให้คนอินเดีย
ได้เรียนรู้พระพุทธศาสนามากหน่อย
จึงต้องการอรรถกถาซึ่งเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎกที่อยู่ในลังกา
ท่านจึงเดินทางจากอินเดียมาลังกา
แล้วมาขอแปลอรรถกถาภาษาสิงหลกลับเป็นภาษาบาลี เพื่อนำไปศึกษาในอินเดีย
ตอนนี้เราก็เลยได้อรรถกถาที่เป็นภาษาบาลีอีก ก็เลยมีทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาที่เป็นภาษาบาลี
คัมภีร์พุทธศาสนามีหลายชั้นทรงความสำคัญลดหลั่นลงมา
ต่อจากนั้นก็ยังมีคัมภีร์รุ่นสืบมาหลังจากอรรถกถากล่าวคือ เนื้อหาในพระไตรปิฎก ส่วนใดที่อรรถกถาอธิบายไว้
อาจารย์ใหญ่รุ่นต่อมาเห็นว่าอธิบายยังไม่พอ ควรจะให้ชัดกว่านั้น
คือพุทธพจน์บางแห่งในพระไตรปิฎก พระอรรถกถาจารย์เห็นว่าง่าย
รู้กันดีอยู่แล้ว เพราะรุ่นของท่านยังใกล้พุทธกาล ท่านก็ไม่อธิบาย
พระอาจารย์รุ่นต่อมาเห็นว่าคนรุ่นหลังนี้ไม่เข้าใจ ก็อธิบายเสียด้วย
หรือแม้แต่คำของพระอรรถกถาจารย์นั้นเอง คนรุ่นหลังก็อาจเข้าใจไม่ชัด
ก็มีพระอาจารย์ผู้ใหญ่ที่เชี่ยวชาญมาอธิบายขยายความไปอีก
คัมภีร์รุ่นหลังต่อจากอรรถกถานี้เรียกว่า ฎีกา ต่อจากฎีกาก็มีอนุฎีกาลดหลั่นกันลงมา
คัมภีร์เหล่านี้ใช้เป็นหลักที่จะตัดสินวินิจฉัยคำสอนในพระพุทธศาสนาลดหลั่นกันลงมา โดยถือว่าพระไตรปิฎกเป็นอันดับหนึ่ง
เป็นมาตรฐานใหญ่ และเป็นมาตรฐานกลาง
ซึ่งตัดสินเด็ดขาดว่าเป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่
ต่อจากนั้นมาก็มีอรรถกถามาช่วยเป็นเกณฑ์วินิจฉัยต่อ
คือถ้าในพระไตรปิฎกนั้นเรามีข้อสงสัยอะไร ก็มาดูคำวินิจฉัยในอรรถกถา
ที่ว่านี้ไม่ได้หมายความว่า อรรถกถามาตัดสินพระไตรปิฎกแต่หมายความว่า เราคนรุ่นหลังอ่านพระไตรปิฎกกัน อาจจะเข้าใจไม่ชัดเจน
พระอรรถกถาจารย์ก็มาอธิบายไว้ให้ชัด
เราจึงใช้อรรถกถาเป็นเครื่องช่วยวินิจฉัยในส่วนที่เรายังไม่ชัดเจน
ต่อจากนั้นก็มีฎีกา อนุฎีกา ตามลำดับต่อกันไป
คัมภีร์เหล่านี้ท่านถือเป็นสำคัญสืบกันมาเพราะผู้ที่จะเรียบเรียงคัมภีร์ขึ้นมาได้ ก็ต้องเป็นที่ยอมรับ
เป็นครูอาจารย์ เป็นผู้ที่รู้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
เชี่ยวชาญจัดเจนตลอดพระไตรปิฎก และช่ำชองทั่วตลอด
ในคัมภีร์ทั้งหลายในชั้นที่เหนือตนขึ้นไป
และเมื่อนิพนธ์ขึ้นมาแล้วก็ต้องเป็นที่ยอมรับของปราชญ์ด้วยกันในยุคนั้นแล้วจึงอยู่ได้
เพราะฉะนั้น จึงเป็นหลักของพระศาสนา
ส่วนพระอาจารย์รุ่นหลังต่อจากที่ว่ามาแล้วซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ในยุคนั้นๆ ที่มาแสดงคำสอนหรือคำอธิบายต่างๆ
ก็เรียกกันว่าเป็น อัตตโนมติ หมด ไม่ว่าจะเป็นพระอาจารย์องค์ไหนก็ตาม
แต่ละองค์ๆ ก็เรียก อัตตโนมติ คือมติของบุคคล
หรือเป็นมติส่วนตัวของท่านผู้นั้นๆ ซึ่งถือเป็นสำคัญน้อยลงมา
เป็นอันว่า ถือพระไตรปิฎกเป็นหนึ่งอรรถกถาเป็นสอง รองลงมา แล้วก็เป็นฎีกา อนุฎีกา เป็นต้น
จนมาถึงอัตตโนมติของอาจารย์ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
หรือแม้ก่อนนั้น ที่แต่งตำรับตำราไว้หลังจากรุ่นอรรถกถา
ฎีกา อนุฎีกา จัดเป็นอัตตโนมติทั้งหมด
ถ้านับถือพระบรมศาสดาก็ต้องรักษาพระไตรปิฎก
ที่กล่าวมานี้ ก็ด้วยมุ่งจะให้รู้จักว่าพระไตรปิฎกคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
การสังคายนาคืออะไร และการรักษาสืบต่อพระไตรปิฎกทำกันมาอย่างไร
เวลานี้น่าเสียดายว่า ชาวพุทธจำนวนมากไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งเป็นแก่น และเป็นเนื้อตัวของพระพุทธศาสนา
ไม่รู้จักพระไตรปิฎก ไม่รู้จักการสังคายนา ไม่รู้จักวิธีรักษาสืบทอดพระไตรปิฎก
หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าธรรมวินัยนั้น เพราะฉะนั้น จึงเป็นโอกาส
หรือเป็นช่องทางให้เกิดความสับสน ตลอดจนความเสื่อมโทรม
และความคลาดเคลื่อนต่างๆ
พร้อมทั้งคำสอนที่ผิดเพี้ยนแปลกปลอมจะแทรกซ้อนหรือแอบแฝงเข้ามา
เรื่องนี้ต่างจากชาวพุทธในสมัยโบราณมากแม้เขาจะไม่มีการศึกษารู้อะไรมากมายในความหมายของคนปัจจุบัน
แต่เขาเข้าใจสิ่งเหล่านี้ อย่างน้อยรู้จักว่าพระไตรปิฎกคืออะไร
เป็นหลักของพระศาสนาอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร
ต่อความเป็นความตายของพระพุทธศาสนา เพราะว่าถ้าพระไตรปิฎกคลาดเคลื่อน
ก็คือพระพุทธศาสนาคลาดเคลื่อน หรือกำลังเลือนลางไป ถ้าพระไตรปิฎกหายไป หมดไป
ก็คือพระพุทธศาสนาสูญสิ้น เพราะจะไม่มีแหล่งคำสอนของพระพุทธเจ้าเหลืออยู่
อย่างที่กล่าวแล้วว่า เรานับถือพระพุทธศาสนา
ก็คือนับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ต้องการฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เมื่อต้องการรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างไร เราจะไปรู้เอาเองได้อย่างไร
ก็ต้องไปฟังจากพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าไม่อยู่ ก็ต้องไปดูคำสอนที่จารึกไว้
ซึ่งก็ได้จารึกไว้และรักษากันมาในพระไตรปิฎกนี้
ถ้าหมดพระไตรปิฎก ก็คือหมดพระพุทธศาสนาหมดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หมดพระธรรมวินัย หมดพระศาสดาของชาวพุทธ
จึงเป็นหน้าที่ของชาวพุทธ ที่จะต้องรักษาพระธรรมวินัยไว้ด้วยการเล่าเรียนพระไตรปิฎก แล้วก็รักษาพระไตรปิฎกไว้ให้อยู่มั่นคงด้วยดี
ดังที่ชาวพุทธโบราณทุกประเทศได้พยายามรักษากันมาเป็นงานสำคัญของชาติ
ถ้าเราเห็นความสำคัญของพระไตรปิฎก ก็คือเห็นความสำคัญของพระพุทธเจ้าเพราะว่าเรานับถือคำสั่งสอนของพระองค์ ถ้าเรารักษาพระไตรปิฎกไว้ได้
พระพุทธศาสนาก็อยู่อย่างดีที่สุด แล้วก็จะมีหลักที่เป็นแกนกลาง
ที่เรานับถือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในหมู่ชาวพุทธทั้งหมด
ชาวพุทธทั้งปวงในประเทศเถรวาททุกประเทศ
ก็จะมีเอกภาพดังที่เคยมีเอกภาพกันมาแล้ว
อย่างที่กล่าวแล้วว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกของประเทศไทย พม่า ลังกา หรือในประเทศไหนๆ
แม้แต่ที่เอาไปในยุโรป เช่นที่อังกฤษ ก็เป็นเนื้อหาอันเดียวกันหมด
เป็นคำสอนเดียวกัน เช่น ทาน ศีล ภาวนา อันเดียวกัน ศีล สมาธิ ปัญญา ไตรสิกขา
อันเดียวกัน ขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปบาท อันเดียวกัน ไม่ว่าพระสูตรใดๆ
ไปดูเนื้อหาก็เหมือนกันหมด ไปที่ไหนก็ใช้กันได้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ถ้าพระไตรปิฎกที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนายังคงอยู่ชาวพุทธก็ยังมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ถ้าเราเสียหลักเรื่องนี้เมื่อไร
ก็เป็นอันว่าพระพุทธศาสนาจะเริ่มมีปัญหา ชาวพุทธเองก็จะทะเลาะเบาะแว้งกัน
นั่นก็คือความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา
และความเสื่อมโทรมแห่งประโยชน์สุขของประชาชน
ที่จะไม่รู้จักพระพุทธศาสนาที่แท้จริงและไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้อง
เพราะฉะนั้น จะต้องช่วยกันสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระไตรปิฎก และชวนกันรักษาด้วยการศึกษาพระไตรปิฎกกันอย่างจริงจัง
เสรีภาพแห่งความคิดเห็นของบุคคลต้องไม่สับสนกับความซื่อตรงต่อพระศาสดา
อนึ่ง ขอให้แง่คิดไว้นิดหนึ่งว่า การทำเช่นนี้ไม่ใช่หมายความว่าเราติดตำราหรือติดพระไตรปิฎก อันนี้เป็นคนละเรื่องกัน
แต่เป็นการที่เรารู้ว่าอะไรเป็นเกณฑ์ตัดสิน หรือเป็นมาตรฐานคำสอนในพระพุทธศาสนา
ให้ได้รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร และสอนว่าอย่างไร
ส่วนเราจะเชื่อหรือไม่ก็เป็นเรื่องของเรา เป็นสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
แม้แต่ว่าจะเชื่อพระพุทธเจ้าหรือไม่ ก็เป็นสิทธิที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ ต้องแยกให้ถูก
เวลานี้ก็เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือความสับสนของคนในยุคที่เรียกกันว่ามีการศึกษา
แต่การศึกษานี้กำลังพร่ามัวลงไปมาก จนแยกไม่ถูกแม้แต่ระหว่าง
ตัวหลักการกับความคิดเห็นส่วนบุคคล เพียงแค่นี้ก็แยกไม่ถูก
จึงแน่นอนว่าความสับสนจะต้องเกิดขึ้น แล้วก็นำไปสู่ปัญหาต่างๆ มากมาย
ถ้าเราถามว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างไร
หรือสอนเรื่องอะไรว่าอย่างไร เราจะดูที่ไหน เราก็ต้องไปดูพระไตรปิฎก
เพราะเราไม่มีแหล่งอื่นที่จะตอบคำถามนี้ได้ เราจะว่าเอาเอง
หรือไปตอบแทนพระพุทธเจ้าได้อย่างไร ว่าพระองค์สอนอย่างนั้นอย่างนี้
ต่อจากนั้น เมื่อรู้ว่า หรือได้หลักฐานเท่าที่มีว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างไรแล้วเราจะเชื่อคำสอนนั้นหรือไม่ หรือเรามีความเห็นต่อคำสอนนั้นว่าอย่างไร
อันนั้นก็เป็นเรื่องของเรา เป็นเรื่องของบุคคลนั้น
ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องหลักการ แต่เป็นเรื่องของความคิดเห็น
ฉะนั้นจะต้องแยกส่วนนี้ให้ได้เวลาจะพูดกันก็ต้องแยกให้ถูกว่าเรากำลังพูดกันเรื่องว่า
คำสอนของพระพุทธเจ้าว่าอย่างไร พระพุทธเจ้าสอนในเรื่องนี้ว่าอย่างไร
หรือว่าเรากำลังพูดเรื่องว่า เรามีทัศนะความคิดเห็นในเรื่องนั้นว่าอย่างไร
ต้องแยกให้ถูก แล้วก็พูดให้เป็นขั้นตอน เป็นลำดับ ก็จะไม่เป็นปัญหา
เวลานี้ก็เท่ากับว่าได้เกิดปัญหาทั่วไปหมด ตั้งแต่ไม่รู้จักพระไตรปิฎกไม่รู้จักความสำคัญของพระไตรปิฎก
ไม่รู้ว่าการรักษาสืบทอดพระไตรปิฎกเป็นมาอย่างไร
แล้วก็มีความสับสนระหว่างคำสอนของพระพุทธเจ้า ว่าพระองค์สอนอย่างไร
กับความคิดเห็นของบุคคลหรือเราแต่ละคนต่อคำสอนนั้นว่าเราคิดอย่างไร
ทั้งหมดนี้มองกันไม่ชัดเจน คลุมเครือ และว่ากันเลอะเทอะสับสนไปหมด
เพราะฉะนั้นก็แน่นอนว่าจะต้องเกิดปัญหา
ที่จริงเรื่องนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะยากอะไรเลย ก็เพียงแต่แยกให้ถูกถ้าใครมาถามว่า พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างไร เราจะว่าเอาเองก็ไม่ได้
ก็ต้องว่าไปตามที่พระพุทธเจ้าสอน ก็ไปเอาหลักฐานมาแสดงให้ดู
แต่ถ้าเขาถามว่า พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างนี้แล้ว
หรือธรรมะข้อนี้พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าอย่างนี้ คุณจะว่าอย่างไร
อันนี้ก็เป็นเรื่องของเราจะว่าเอา เราคิดอย่างไรก็เป็นสิทธิของเรา
เป็นเสรีภาพของเราที่จะพูด ว่าธรรมะข้อนั้น พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนั้นแล้ว
เราจะว่าอย่างไร เราก็ว่าตามความเข้าใจของเราได้
แต่ที่จริงก็ควรจะศึกษาคำอธิบายของท่านให้ชัดแจ้งก่อนแล้วจึงมาสรุปเอาถ้าสรุปดีก็ตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอน สรุปไม่ดีก็ผิดพลาด ก็ศึกษาค้นคว้าต่อไป
แต่อย่างน้อยก็แยกให้ชัดอย่างที่กล่าวมาแล้วว่า พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างไร
ก็ว่าไปตามที่ท่านสอน แล้วเราเห็นว่าอย่างไร ก็ว่าไปตามที่เราเห็น
เวลานี้คนว่ากันนุงนังสับสนไปหมด
เมื่อเกิดปัญหาอย่างที่รู้กันอยู่ในปัจจุบันก็เป็นโอกาสที่จะต้องมาซักซ้อมในหมู่ชาวพุทธ
เพื่อจะสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและปฏิบัติกันให้ถูกต้อง
ถ้าชาวพุทธจับหลักในเรื่องนี้ได้ มีความเข้าใจถูกต้อง
และมีความตรงไปตรงมา ปฏิบัติด้วยความซื่อตรง
พระพุทธศาสนาก็จะยังคงอยู่เป็นหลักเป็นศูนย์รวมชาวพุทธ
และมีอยู่เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งหลายสืบต่อไป
มีพระไตรปิฎกที่สังคายนาไว้ดีก็ใช้สังคายนาคนได้ด้วย
ได้พูดมายาวมาก จึงควรสรุปไว้อีกครั้งหนึ่งว่าการสังคายนานั้น เป็นการรักษาพระธรรมวินัยคือ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ให้คงอยู่อย่างดีที่สุด
คือให้แม่นยำตรงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เท่าที่เป็นไปได้
ระยะเริ่มแรก ก็มีการประมวลรวบรวมและรักษาไว้
แต่ระยะหลังต่อๆ มา มีแต่การรักษาอย่างเดียวให้คงอยู่อย่างเดิม ให้บริสุทธิ์ แม่นยำที่สุด จะตัด จะต่อ
จะแต่ง จะเติม อย่างไรไม่ได้ทั้งสิ้น ถ้าไปตัดต่อ หรือแต่งเติม
ก็จะกลายเป็นสัทธรรมปฏิรูป คือของปลอมหรือของเทียม
ภาพครั้งงานถวาย หนังสืออรรถกถา แปลไทย ที่จัดพิมพ์โดย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ท่านสามารถดูรายละเอียดหนังสือ อรรถกถาแปลไทย ของมหาจุฬาฯ เพิ่มเติม(คลิ๊กที่ภาพ)
เพราะฉะนั้น ในยุคที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วเวลาสังคายนาก็คือการที่เอาพระไตรปิฎกฉบับต่างๆ
เท่าที่มีอยู่เป็นหลักในประเทศต่างๆ มาตรวจสอบทานกัน
เช่น ฉบับของไทย ของพม่า ของลังกา เป็นต้น เท่าที่มีอยู่ในประเทศ
เถรวาทเป็นภาษาบาลี รวมทั้งฉบับอักษรโรมัน ซึ่งก็มาจากแหล่งเดิมอันเดียวกัน
ตรงกันอยู่แล้ว แต่เกรงว่าห่างกันนานมาจะคลาดเคลื่อนกันไป
สังคายนาในสมัยนี้ก็เป็นการเอาพระไตรปิฎกฉบับของประเทศต่างๆ
เหล่านั้น มาตรวจสอบกัน ถ้ามีผิดแผกอะไร ก็ต้องทำเชิงอรรถลงไป
และจดหมายเหตุไว้ ผู้ที่ทำสังคายนาไม่มีสิทธิไปแก้ไขดัดแปลงอะไรทั้งสิ้น
มีแต่ว่าเราจะต้องสังคายนาคน กล่าวคือ คนบางคนบางกลุ่มอาจจะนับถือเชื่อถือ สั่งสอนผิดแผกไป ก็เอาคนเหล่านั้นมา
ตรวจสอบกับคำสอนดั้งเดิมในพระไตรปิฎก
แล้วก็ปรับให้คนเหล่านั้นสอนให้ถูกต้องตรงตามพระไตรปิฎก
อย่างนี้ก็เป็นความหมายที่ขยายออกไปของคำว่า สังคายนาด้วยเหมือนกัน
เวลานี้จึงเหมือนกับว่า เรามีความหมายของสังคายนา ๒ อย่าง คือ
๑. สังคายนาพระคัมภีร์ หรือสังคายนาพระไตรปิฎกได้แก่ตรวจสอบให้คัมภีร์พระไตรปิฎกคงอยู่อย่างเดิม
บริสุทธิ์ บริบูรณ์ และแม่นยำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ไม่มีอะไรแปลกปลอม
๒. สังคายนาคน เป็นการปรับตัวคนให้สอนให้ตรงตามพระไตรปิฎกถ้าเราจะไม่ต้องมีการสังคายาคนก็ทำได้โดยที่ว่า
พระจะต้องสั่งสอนตรวจสอบตัวเองให้ตรงตามพระไตรปิฎกอยู่เสมอ
ถ้าพุทธบริษัทไม่เสื่อมโทรม ก็ไม่ต้องมีการสังคายนาคนการที่พุทธบริษัทจะเสื่อมโทรมก็เพราะพากันห่างเหินจากพระธรรมวินัย
เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการให้พระพุทธศาสนาเจริญมั่นคงก็จะต้องมีการศึกษาและสั่งสอนพระธรรมวินัยให้ถูกต้องอยู่เสมอ
ผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงในเรื่องนี้ ก็คือพระภิกษุสงฆ์
ซึ่งมีหน้าที่อยู่แล้วว่าจะต้องสั่งสอนพระธรรมวินัย
ในยามปกติ พระสงฆ์ก็ต้องสั่งสอนอยู่แล้วเป็นประจำยิ่งถ้าเกิดเหตุที่แสดงว่าผู้คนไม่รู้ไม่เข้าใจพระธรรมวินัย
พระสงฆ์ก็จะยิ่งต้องเอาใจใส่สั่งสอนชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจให้ถูกต้องและให้รู้
อย่างน้อยให้รู้ว่า ในพระพุทธศาสนานี้จะใช้อะไรเป็นมาตรฐาน
เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน ว่าอะไรถูกต้อง อะไรไม่ถูกต้อง
เป็นพระธรรมวินัยหรือไม่ นั่นก็คือจะต้องรู้จักพระไตรปิฎก
ซึ่งสมัยก่อนคนมีความรู้ความเข้าใจถูกต้องในเรื่องนี้เป็นอย่างดี
เพราะฉะนั้น ปัญหาก็จะเกิดขึ้นได้ยาก
เมื่อเกิดเหตุการณ์คราวนี้ ก็เป็นเครื่องเตือนใจชาวพุทธว่าเราจะต้องหันมารักษาพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์
และรู้จักพระไตรปิฎกที่เป็นตัวหลักเดิมที่รักษาพระธรรมวินัยนั้นไว้
แล้วหันมาฟื้นฟูชาวพุทธให้กลับไปสู่พระธรรมวินัย
ให้รู้จักศึกษาพระไตรปิฎกกันอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง
เรื่องความสำคัญของพระไตรปิฎก และการรักษาพระไตรปิฎก
คือรักษาพระธรรมวินัยด้วยการสังคายนาเป็นต้น ก็จบเพียงเท่านี้
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล 91 เล่มฉบับครบ 200 ปี
แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งหนังสือชุดนี้เป็นพระไตรปิฎก
ฉบับภาษาไทย ทั้งชุดบรรจุอยู่ในกล่องจำนวน 6 กล่อง ที่ดำเนินการจัดส่งทั่วประเทศโดยศูนย์หนังสือไตรลักษณ์
ในราคามูลนิธิของมหามกุฏราชวิทยาลัย ยังไม่รวมค่าจัดส่ง 25,000 บาทหนังสือพระไตรปิฎกชุด45เล่มภาษาไทย โดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
หนังสือชุดนี้ เป็นหนังสือฉบับภาษาไทย ทั้งชุด 45 เล่ม แปลจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี 45 เล่ม ครบทั้งชุด
ซึ่งจัดส่งโดยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ และเป็นหนังสือธรรมะศึกษา สำหรับ
พระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไปที่ใคร่ศึกษา หลักพระธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
ในราคามูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 15,000.- บาท ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ
หนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย45เล่ม(ปกใหม่)
#หน้าปกสีเหลือง จัดพิมพ์จำนวนจัดกัดเพียง 1000 ชุด
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ
ในวาระพิมพ์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
: จัดส่งทั่วไทย โดย ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์
: #จัดพิมพ์จำนวนจำกัด1000ชุด #LINE : @trilakbooks
โทร 087-696-7771, 086-461-8505
พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย พร้อมอรรถกถาแปล จำนวน 100 เล่ม
หนังสือชุดนี้เป็นหนังสือพระไตรปิฎกฉบับ ส.ธรรมภักดี ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ในหมู่ผู้ศึกษาพระไตรปิฎก และยังเป็นหนังสือชุดนี้ เอาไว้สำหรับเทียบเคียงพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ
เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาในภาษาฆราวาส ได้อย่างเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
ราคาหนังสือชุดนี้ ปัจจุบัน 18,000 บาท ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ
หนังสือพระไตรปิฎก 45 เล่มฉบับภาษาบาลี
ทีเป็นหนังสือชุดแรกที่เผยแพร่ในประเทศไทยในลักษณะรูปเล่ม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ภายในหนังสือชุดนี้
เป็นพระไตรปิฎก ภาษาบาลี ตัวอักษรไทย ปัจจุบันหนังสือชุดนี้ราคา 13,000 บาท ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ
หนังสือชุดอรรถกถาภาษาไทย จำนวน 55 เล่ม ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 20000 บาท
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
ชุดหนังสือ-ถวายพระสงฆ์-ชุดหลักแห่งพระพุทธศาสนา-3610-บาท
พระไตรปิฎกฉบับพุทธศาสนสุภาษิต ที่คัดเฉพาะ ตัวพุทธศาสนสุภาษิต
ในพระไตรปิฎกอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมทั้งที่มาที่ไป ว่า พุทธศาสนสุภาษิตนั้นๆ มีที่มาอย่างไร
จำหน่ายในราคา 1300 บาท (ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วไทย) คลิ๊ก อ่านรายละเอียดที่นี่
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
รายละเอียดหนังสือพระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า1. พระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า 1 ชุด มีทั้งหมด 40 เล่ม
(พระวินัยปิฎก เล่ม 1-9 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 10-33 พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 34-40)
2. ขนาดหนังสือพระไตรปิฎกเท่ากระดาษ A4 พับครึ่ง ปก 4 สี อาบมัน ปั๊มนูนอาบสปอต
พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตาเกรด A อ่านสบายตา3. กล่องบรรจุพระไตรปิฎกทำด้วยกระดาษแข็งอย่างดี ทนทาน
จัดเข้าชั้นหนังสือได้ทันที ไม่ต้องหาตู้ใส่พระไตรปิฎกแยกต่างหากต้องการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ “ชวนชาวพุทธอ่านพระไตรปิฎก”
เป็นกิจวัตรประจำวัน โดยการอ่านพระไตรปิฏกฉบับกระเป๋า วันละ 5 หน้าเป็นอย่างน้อย
โดยตั้งมโนปณิธานอย่างแน่วแน่และมั่นคงว่าชาตินี้จะอ่านพระไตรปิฎกให้จบสัก 1 รอบเป็นอย่างน้อยให้สมกับที่ได้เกิดมาเป็นชาวพุทธพบพุทธศาสนา
เชิญท่านสั่งซื้อพระไตรปิฎกฉบับกระเป๋าเพื่อเอาไว้อ่านในครอบครัวของท่านเอง เพื่อถวายวัดถวายพระภิกษุสงฆ์
มอบให้โรงเรียน มอบให้ห้องสมุดต่าง ๆ
หรือมอบเป็นธรรมบรรณาการแด่บุคคลที่เคารพนับถือ
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
หนังสือพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน พิมพ์ใหม่ล่าสุด ราคา 500 บาท
คัมภีร์วิสุทธิมรรคฉบับภาษาบาลี เป็นผลงานรจนาของพระพุทธโฆสะเถระ
นักปราชญ์ชาวอินเดีย รจนาขึ้น เมื่อ พุทธศักราช 956 ในคณะสงฆ์คณะมหาวิหาร
ณ กรุงอนุราธปุระประพเทศลังกา (ศรีลังกา)สำหรับคัมภีร์วิสุทธิมรรค ฉบับแปลเป็นภาษาไทยฉบับนี้
เป็นผลงานแปลและเรียบเรียงโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทฒาจารย์ (อาจ อาสภเถร)
อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์
ซึ่งเป็นฉบับที่ได้รับความนิยมของท่านผู้สนใจใฝ่ศึกษาค้นคว้าหลักธรรมและปฏิบัติธรรมทั่วไป
ให้การยอมรับว่าเป็ฯสำนวนการแปลที่อ่านเข้าใจง่าย
การแปลและเรียบเรียงคำนึงถึงผู้ที่มีพื้นฐานความรู้ภาษาบาลีน้อยจะอ่านเข้าใจยากเป็นความสำคัญ
จึงได้นำข้อความบางส่วนในคัมภีร์ปรมัตถมัญชุสามหาฎีกามาขยายเสริมความทำให้อ่านเข้าใจง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
วิมุตติมรรค ทางแห่งความหลุดพ้น
พระอุปาติสสเถระ : รจนา
(พิมพ์ใหม่ล่าสุด พิมพ์ปี 2560 : โดยมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปกแข็งเย็บกี่อย่างดี)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ : แปล จากภาษาอังกฤษ
วิมุตติมรรค ทางแห่งความหลุดพ้น
พระอุปาติสสเถระ : รจนา
(พิมพ์ใหม่ล่าสุด พิมพ์ปี 2560 : โดยมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปกแข็งเย็บกี่อย่างดี)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ : แปล จากภาษาอังกฤษ
ของพระเอฮารา พระโสมเถระ และ พระเขมินทเถระ
พิมพ์เผยแพร่ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
จำนวน 538 หน้า // ขนาด 16*21.5 เซนติเมตร // ปกแข็งเย็บกี่อย่างดี
หมายเลข ISBN : 978-616-300-339-3
อ่านรายละเอียดหนังสือเล่มนี้เพิ่มเติมที่
http://www.trilakbooks.com/product/1949383/วิมุตติมรรค-ทางแห่งความหลุดพ้น-ราคาเล่มละ300บาท.html
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ราคาจัดพิมพ์เผยแพร่ ในราคามูลนิธิฯ 300 บาท
มีค่าจัดส่ง EMS 80 บาท ต่อ 1 เล่ม
**หากสั่งให้ส่งจำนวนหลายเล่ม ศูนย์จัดส่งจะประมวลค่าจัดส่งให้ใหม่
ในราคาบริษัทขนส่งเอ็กเพรส ทั่วไทย ในราคาที่ถูก ตาม ที่อยู่ที่ให้จัดส่ง ของลูกค้าต่อไปฯ**
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---
... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...
ชุดหนังสือ วิสุทธิมรรค-และ-วิมุตติมรรค-900บาท
เป็นหนังสือที่มีความเกี่ยวเนื่องล้อกันอยู่ถึงแม้จะถูกรจนาขึ้นต่างยุคต่างสมัยก็ตาม
จำนวน 2 เล่ม นี้จึงเป็นที่นิยมใช้ และนำไปเป็นหลักอ้างอิงเชิงพระพุทธศึกษาในวงกว้าง
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
ราคาจัดพิมพ์เผยแพร่ ในราคามูลนิธิฯ 900 บาท
มีค่าจัดส่ง EMS 250 บาท ต่อ 1ชุด
รวมเป็นชุดละ 1150 บาท
--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
อ่านรายละเอียดหนังสือเล่มนี้เพิ่มเติมที่
http://www.trilakbooks.com/product/1961522/ชุดหนังสือวิมุตติมรรค-และ-คัมภีร์วิสุทธิมรรค-900บาท.html
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---
พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
เดิม ย่อจากพระไตรปิฎก ๔๕ เล่มเป็นภาษาไทย ๕ เล่ม แล้วรวม ๕ เล่ม
นั้นพิมพ์ให้เป็นเล่มเดียวเพื่อมิให้กระจัดกระจายและสรุปความให้เหลือเพียบ 1 เล่ม เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และให้เป็นหนังสืออ้างอิงทางวิชาการ
เพื่อให้เป็นหนังสือที่ต่อยอดในการศึกษาพระไตรปิฎกฉบับเต็ม ต่อไป ในราคามูลนิธิ 500 บาท
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิมพ์เผยแพร่
หนังสือ ปกแข็ง หุ้มหนังอย่างดี เย็บกี่
กระดาษ ถนอมสายตาสีครีม
จำนวน 1360 หน้า
จัดพิมพ์ครั้งที่ 39 พ.ศ. 2557
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จำนวน 15,000 เล่ม
อ่านรายละเอียดหนังสือเล่มนี้ ที่
http://www.trilakbooks.com/product/275612/หนังสือพุทธธรรม-700บาท.html
LINE สำหรับสั่งซื้อโดยตรง : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
Tags : พระไตรปิฎก , มหาจุฬา , พระไตรปิฎกภาษาไทย , ถวายพระไตรปิฎก
สินค้าที่ดูล่าสุด
- หนังสือพระไตรปิฎก ทั้ง 45... ราคา 15,000.00 ฿
สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง
-
พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชนย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี45เล่มจากมหามกุฏราชวิทยาลัย
รหัส : 00000 ราคา : 500.00 ฿ อัพเดท : 02/08/2022 ผู้เข้าชม : 87,371ตู้พระไตรปิฎกไม้สักแท้และหนังสือพระไตรปิฎกมจร.พุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญ…
รหัส : ไตรปิฎกไม้สัก ราคา : 8,500.00 ฿ อัพเดท : 20/03/2012 ผู้เข้าชม : 6,463 -
ป้ายทองเหลือง บรรจุรายชื่อ ผู้ร่วมสร้างตู้พระไตรปิฎก
รหัส : ป้ายทองเหลือง ราคา : สอบถามราคากับช่างผู้แกะเนื้องาน อัพเดท : 22/07/2011 ผู้เข้าชม : 4,006ป้ายอลูมิเนียม บรรจุรายชื่อ ผู้ร่วมสร้างตู้พระไตรปิฎก
รหัส : ป้ายทองอลูมิเนียม ราคา : สอบถามราคากับช่างผู้แกะเนื้องา อัพเดท : 20/07/2011 ผู้เข้าชม : 4,932 -
หนังสือพระไตรปิฎก ทั้ง 45 เล่ม…
รหัส : มจร ราคา : 15,000.00 ฿ อัพเดท : 10/05/2022 ผู้เข้าชม : 44,037ตู้ใส่หนังสือธรรมะ ไม้สัก สีน้ำตาล-ดำเคลือบด้าน
รหัส : ตู้พระไตรปิฎก3 ราคา : 8,500.00 ฿ อัพเดท : 11/11/2011 ผู้เข้าชม : 4,679 -
พระไตรปิฎกฉบับที่ทำให้ง่ายแล้ว-โดย-วศินอินทสระ-เรียบเรียง
รหัส : 9786167149066 ราคา : 380.00 ฿ อัพเดท : 13/11/2020 ผู้เข้าชม : 22,032พระไตรปิฎกฉบับย่อความและอธิบายความ-อังคุตตรนิกาย(หมวด1-9)โดยวศินอินทสระ
รหัส : 9786167149127 ราคา : 600.00 ฿ อัพเดท : 27/09/2011 ผู้เข้าชม : 4,709 -
พระไตรปิฎกฉบับขยายความสังยุตตนิกายสคาถวรรคเล่ม15โดยวศินอินทสระ
รหัส : 9786167149202 ราคา : 650.00 ฿ อัพเดท : 27/09/2011 ผู้เข้าชม : 4,004คำบรรยายในพระไตรปิฎก-เสฐียรพงษ์วรรณปกราชบัณฑิต
รหัส : 978-616-03-0498-1 ราคา : 200.00 ฿ อัพเดท : 05/06/2012 ผู้เข้าชม : 16,474 -
พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม1-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-9099-2-5 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 09/06/2012 ผู้เข้าชม : 4,560พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม2-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-9028-23-0 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 11/06/2012 ผู้เข้าชม : 2,876 -
พระไตรปิฎกร่วมสมัยเล่ม3-พระมหาอุเทน
รหัส : 978-974-91103-4-8 ราคา : 80.00 ฿ อัพเดท : 11/06/2012 ผู้เข้าชม : 2,469พระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า
รหัส : 978-974-364-962-2 ราคา : 3,500.00 ฿ อัพเดท : 19/11/2021 ผู้เข้าชม : 13,991 -
พระไตรปิฎกฉบับพิเศษ-คู่มือปฏิบัติธรรมตามวิถีพระพุท
รหัส : 978-974-881817-7 ราคา : 211.00 ฿ อัพเดท : 22/06/2012 ผู้เข้าชม : 4,117นวโกวาท-หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี-30บาท
รหัส : 2010010208837 ราคา : 30.00 ฿ อัพเดท : 15/01/2019 ผู้เข้าชม : 32,552